ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 33,536 รายการ

ทาคาชิ, อิบูคิ. คนฉลาดแสร้งโง่ (ฉบับสมบูรณ์). พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: ภาพพิมพ์, 2561.           คนฉลาดแสร้งโง่ฉบับสมบูรณ์นี้เป็นหนังสือขายดีติดอันดับในญี่ปุ่น ด้วยเนื้อหาที่ลึกซึ้งจากแก่นความคิดปรัชญาโบราณในตันติวรรณคดีจีน ที่ส่งผลต่อชาวญี่ปุ่นหลายด้านตั้งแต่โบราณตราบถึงทุกวันนี้ผู้เขียนนำเสนอเนื้อหาด้วยบทความสั้นๆ จบในตัว มีการประยุกต์กับตัวอย่างรูปธรรมจริงในปัจจุบัน แฝงแง่คิดให้ผู้อ่านได้ขบคิดใคร่ครวญ ให้แง่คิดสำหรับพัฒนาและปรับปรุงตนเอง ทั้งในด้านทัศนคติ มนุษยสัมพันธ์ หลักการบริหาร และศิลปะการเป็นผู้นำ เป็นต้น 158 ท374ค ห้องหนังสือทั่วไป 1  


แนะนำหนังสือน่าอ่าน เรื่อง  ‘พะซาช์อง’ ฟื้นวิถีชาติพันธุ์...ผ่านห้องเรียน   ‘พะซาช์อง’ ฟื้นวิถีชาติพันธุ์...ผ่านห้องเรียน. เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค, 2546. 42 หน้า. ภาพประกอบ                    ชาวตะเคียนทอง และคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี ที่คนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายชาวชอง และพูดจา “ภาษาชอง” กันมายาวนาน ปัจจุบันคงเหลือแต่ผู้เฒ่า ผู้แก่ที่ใช้ภาษาชองในวิถีประจำวันเพียงไม่กี่คน ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งมิอาจนิ่งดูดาย พยายามพลิกฟื้นภาษาชองขึ้นมา โดยนำเข้าหลักสูตรท้องถิ่นระดับประถมศึกษา และลงพื้นที่เข้าหาชาวบ้านในท้องที่ มีการหาเครือข่ายทีมงานนักวิชาการจาก สถาบันการศึกษาต่างๆ และเกิดเป็นงานวิจัย เรื่องนี้เกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้ คือความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยชุมชนชอง ตำบลตะเคียนทอง และ ตำบลคลองพลู ซึ่งปัจจุบันนี้ ชาวบ้านได้ร่วมกันก่อตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ของชาวบ้านขึ้นแล้ว เพื่อใช้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมของชาวชองต่อไป                     ท               495.917                พ493             (ห้องจันทบุรี)


พระครูธรรมสรคุณ. ประเพณีชอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยรายวัน, 2546.  56 หน้า. ภาพประกอบ  คำว่า “ชอง” มี 2 กระแส คือ ชอง คือชนพื้นเมืองเดิมจันทบุรี ที่อพยพเข้าไปอยู่ในป่าแถบกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ ซึ่งกำลังจะสูญพันธ์แล้ว  กระแสที่ 2 กล่าวว่า ชอง คือ เจ้าของแผ่นดินภาคตะวันออก เป็นบรรพบุรุษของชาวจันทบุรี ระยอง ตราด ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่พูดภาษาชองได้ อยู่ที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ และกลุ่มที่พูดภาษาชองไม่ได้แล้ว มีอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออก พระครูธรรมสรคุณ ท่านเป็นผู้นำด้านความคิดของกระแสที่ 2 นี้ ท่านได้ค้นคว้า ทบทวน และรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ของชอง ว่า ชอง มิใช่เป็นคนป่าคนดงที่ด้อยคุณค่าไร้วัฒนธรรม หากแต่ ชอง คือ บรรพบุรุษของคนตะวันออก ที่มีวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน จนตกทอดถึงคนรุ่นปัจจุบันนี้                      ท                  390                พ322ป             (ห้องจันทบุรี)  


เ เฉลียว ราชบุรี. ความเชื่อของชาวตะวันออก. ระยอง: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง, 2551. 104 หน้า.               เป็นหนังสือเกี่ยวกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญของภาคตะวันออก เพื่อจะเก็บข้อมูล และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมของภาคตะวันออก ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่สำคัญ เป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ข้อมูลแก่สถานศึกษา เครือข่ายทางวัฒนธรรมและผู้สนใจได้มีแหล่งศึกษาค้นคว้า เนื้อหาด้านในประกอบด้วย ความเชื่อและลักษณะความเชื่อของชาวภาคตะวันออก ประเภทของความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับวิถีชีวิต ฯลฯ                  ท           390.09593              ฉ449ค           (ห้องจันทบุรี)


เฉลียว ราชบุรี.  ภาพอดีตร้อยเรื่องเมืองระยอง.  ระยอง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง, 2554. 90 หน้า. ภาพประกอบ.               เป็นหนังสือที่รวมรวม ภาพ และเรื่องราวในอดีต ของจังหวัดระยองที่น่าศึกษาและอนุรักษ์เรื่องราวดีๆ เหล่านี้เอาไว้ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลัง ได้ชื่นชมและรำลึกถึง ไม่ว่าจะเป็นด้าน  ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงาม  รวมทั้งพื้นฐานความทรงจำ ของบรรพบุรุษของคนระยอง ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคนระยอง เพื่อบันทึกความทรงจำของบรรพบุรุษ ในอดีตไม่ให้สูญหาย                  ท            959.325              ฉ449ร          (ห้องจันทบุรี)


เฉลียว ราชบุรี. ตามรอยสุนทรภู่ จากวังหลังถึงวัดป่ากร่ำ (นิราศเมืองแกลง). ระยอง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง, ๒๕๕๘. ๒๙๘ หน้า.               หนังสือเรื่องตามรอยสุนทรภู่ฯ เล่มนี้ กล่าวถึง เส้นทางที่สุนทรภู่กล่าวไว้ในนิราศเมืองแกลง จำนวน ๖๖ สถานที่ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเดินทาง คือ กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ,ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดระยอง มีจำนวน ๒๘ หมุด ผู้เขียนได้รวมรวมข้อมูลเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคตอนต้นของรัตนโกสินทร์ เพื่อประโยชน์ของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป                  ท           ๘๙๕.๙๑๑๒              ฉ๔๔๙ต           (ห้องจันทบุรี)  


จิรพันธุ์ สัมภาวะผล. บ้านเพที่ไม่ทันได้เห็น. ระยอง: เทศบาลตำบลบ้านเพ, [25๖๕]. ๗๐ หน้า.               บ้านเพ ถือเป็นพื้นที่เมืองท่าแห่งการสัญจร และการค้าขายทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน อีกทั้งยังเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์มากมาย อาทิเช่น เรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นับแต่กรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นที่ตั้งของหมุดกวีที่ ๑๗ ของท่านสุนทรภู่ กวีเอกของโลก เนื้อหาด้านในประกอบด้วย บ้านเพ เกาะเสม็ดในตราประจำจังหวัดระยอง เพ มาจากไหน บ้านเพ เกาะเสม็ดในแผนที่โลก บ้านเพในอดีต วิถีชีวิตชาวบ้านเพ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และบุคคลสำคัญกับบ้านเพ เกาะเสม็ด กองพลโรงเรียนทหารเรือที่ ๖ สนามบินประจำจังหวัดจันทบุรี ถนนหนทาง แรกมีรถโดยสาร บ้านเพ บ้านเพเมืองท่า วัดเภตราสุขารมย์ วัดบ้านเพ ฯลฯ                  ท             ๘๕๙.๓๒๕              จ๔๙๖บ           (ห้องจันทบุรี)


พระครูธรรมสรคุณ (เขียน ขนฺธสโร).  จันทบุรี มีดีอะไร?.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยรายวัน, 2544. 35 หน้า. ภาพประกอบ. 35 บาท.               หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อนำเสนอการรักท้องถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของคนชาวจันทบุรี จังหวัดจันทบุรีถ้าเปรียบเป็นคนแล้วก็คือผู้อาวุโส มีรูปร่างอาหารครบ 32 มี ศรีษะ มีหน้า มีตา มีแขน มีขา ฯลฯ ศรีษะของเมืองจันทบุรี คือ รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ หน้าตาของเมืองจันท์ คือ ผลไม้ แขนซ้าย แขนขวา ของเมืองจันท์ คือน้ำตกพลิ้ว น้ำตกกระทิง ขอของเมืองจันท์คือ หาดทรายชายทะเล หัวใจของเมืองจันท์ คือ พระบรมราชา-     นุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ข้อเสนอแนะต่างๆ ก็ล้วนมาจากเจตนาที่ดีต่อแผ่นดินบ้านเกิดของผู้เขียนเท่านั้น         ท         915.9326            พ322จ         (ห้องจันทบุรี)


สมโภชน์ วาสุกรี.  ตำนานโบราณพื้นบ้าน เรื่อง ตาม่องล่าย.  ตราด: สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตราด, 2559. 138 หน้า. ภาพประกอบ.               หนังสือตำนานโบราณพื้นบ้าน เรื่อง ตาม่องล่าย โดยเนื้อหาดูเสมือนเป็นตำนานโบราณจริงๆ แต่ผู้เขียนได้นำข้อมูลของจังหวัดตราดมาบรรจุไว้เพื่อความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกาะแก่งต่างๆของจังหวัดตราดที่สมารถขยายความเข้าใจเรื่องคำขวัญของจังหวัดตราดที่ว่า เมืองเกาะครึ่งร้อย... ได้อย่างสมบูรณ์ ตาม่องล่าย นี้มีพื้นที่เชื่อมโยงไปหลายจังหวัด บางจังหวัดยังรักษาเนื้อเรื่องไว้ แต่บางจังหวัดได้ดัดแปลงไป การจัดทำหนังสือเล่มนี้ เพื่อสอดคล้องกับกาลสมัยที่เรียกว่า ไร้พรมแดน จึงได้ริเริ่มแปลเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาจีน อีกทั้งเก็บความงดงามทางภาษาไทยเชิงร้อยกรองไว้         ท           895.911            ส278ต         (ห้องจันทบุรี)


บุรุษประชาภิรมย์ (กี้ บุณยัษฐิติ), หลวง.  นิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ.    ธนบุรี: โรงพิมพ์บรรหาร, 2505. 43 หน้า.               หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อแจกเป็นที่ระลึก เนื่องในงานทอดผ้าป่าเจ็ดวัด    ที่จังหวัดจันทบุรี วันที่ 14 พฤษภาคม 2505 เป็นนิราศ ซึ่งเป็นสำนวนของคนจันทบุรี ในสมัยเมื่อร้อยปีมาแล้ว โดยผู้จัดพิมพ์ ได้แก้ไขตัวสะกดให้ถูกต้องตามพจนานุกรม เพื่อให้อ่านง่าย และเพื่อแสดงให้เห็นว่า ถ้อยคำโบราณ ปัจจุบันนี้ก็ยังใช้ได้เป็นส่วนมาก         ท         895.911326            บ649น         (ห้องจันทบุรี)


                สนองชาติ เศรษฐศิโรตม์.  ผะหมี.   กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2562. 80 หน้า. ภาพประกอบ.  หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกเรื่องราวของ “ผะหมี” เพื่อเป็นหลักฐานให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่าผะหมีคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร หลายสถานที่ที่มีการเล่นผะหมีอย่างแพร่หลาย เช่นที่ ตำบลคลองด่าน ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางย่อ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบัน “นายโรงผะหมี” เสียชีวิตไปหลายคน ปัจจุบันเหลือ มีอยู่ที่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เพราะนำผะหมีไปเล่นในโรงเรียน โดยเชื่อว่านักเรียนจะช่วยอนุรักษ์การเล่นผะหมีไว้ได้         ท           796.73            ส196ผ             ฉ.02         (ห้องจันทบุรี)


                รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา.  สื่อการแสดงพื้นบ้านจันทบุรี : คุณลักษณะและรูปแบบการปรับตัวภายในบริบทประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน.  กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น, 2561. 331 หน้า. ภาพประกอบ.               การรักษาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ในพื้นที่ของสังคมยุคโลกาภิวัตน์ เป็นเจตนารมณ์ของหนังสือเล่มนี้ ที่ผู้เขียนได้สื่อสะท้อนสู่สาธารณชนอย่างมีเสน่ห์ สาระวิชาการ และสร้างสรรค์เพื่อเป็นแนวทางการมีจิตสำนึกร่วมต่อการสืบสานจารีตนิยมท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี เนื้อหาประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับสื่อพื้นบ้าน วัฒนธรรม การปรับตัวทางวัฒนธรรม ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และสังคมวัฒนธรรมอาเซียน บริบทสื่อการแสดงพื้นบ้านจันทบุรี บริบทสื่อการแสดงพื้นบ้านชอง บริบทสื่อการแสดงพื้นบ้านละครเท่งตุ๊ก บริบทการแสดงพื้นบ้านรำสวด การพัฒนารูปแบบการแสดงพื้นบ้านจันทบุรี ภายใต้ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนนั้น สามารถสังเคราะห์เป็นรูปแบบแนวทางการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านในบริบทอาเซียนได้ ตลอดจนการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์กับการก้าวไปข้างหน้าในระบบโลกาภิวัฒน์ต่อไป         ท         793.319326            ร319ส         (ห้องจันทบุรี)


โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี กลุ่มงานแพทย์แผนไทย. คู่มือการใช้ยาสมุนไพร ในบัญชีหลักแห่งชาติ 71 ตำรับ ระบุสีตามรสยาสมุนไพร แต่ละชนิด. จันทบุรี: โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี, [2555]. 84 หน้า. ภาพประกอบ               คู่มือการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 71 ตำรับ ระบุรสยาสมุนไพร แต่ละชนิด จัดเรียบเรียงและพิมพ์เพื่อให้ผู้ใช้ยาสมุนไพรในบัญชีหลักแห่งชาติ และเป็นคู่มือในการใช้ยารักษาผู้ป่วย โดยพิมพ์ชื่อยาเป็นสีที่มีรสยาหลัก 9 รส ที่ใช้ในตำรับยานั้นๆ รสยาอื่นๆ ที่เป็นระดับรอง เพื่อให้ผู้ใช้สมุนไพรในบัญชีหลักแห่งชาติ 71 ตำรับ เข้าใจง่ายไม่สับสน เนื้อหาด้านในประกอบด้วย ยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต  ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ยาแก้ไข้ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ยาบำรุงโลหิต ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ ฯลฯ                  ท             615.321              พ343ค           (ห้องจันทบุรี)


โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. คู่มือส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรคโดยใช้หลัก 8 อ. ของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเครือข่าย 8 จังหวัดภาคตะวันออก. จันทบุรี: โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี, 2556. 60 หน้า. ภาพประกอบ                 คู่มือการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรค โดยใช้หลัก 8 อ. ของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สำหรับเครือข่าย 8 จังหวัดภาคตะวันออก จัดพิมพ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขทุกระดับบริการ ได้ใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรคอย่างง่าย คู่มือการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  ปี 2555 ได้นำมาปรับปรุง เพิ่มเติม โดยมีจังหวัดจันทบุรีเป็นแม่ข่าย ใช้ในการอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ เนื้อหาด้านในประกอบด้วย ธาตุสมุฏฐาน พฤติกรรมมูลเหตุก่อโรค อ.ที่ 1 : อิริยาบถ การเตรียมตัวก่อนที่จะฝึกกายบริหารแบบไทย อ.ที่ 2 : อาหาร  อ.ที่ 3 : อากาศ อ.ที่ 4 : อโรคยา อ.ที่ 5 : อาจิณ อ.ที่ 6 : อุเบกขา อ.ที่ 7 : อุดมปัญญา อ.ที่ 8. อาชีพ                    ท              615.88              พ343ค                ฉ.01             (ห้องจันทบุรี)  


พืชสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2555. 343 หน้า. ภาพประกอบ.            กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยสถาบันวิจัยสมุนไพร มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการศึกษาวิจัยสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ โดยดำเนินการภายในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันความหลากหลายของพืชสมุนไพรที่อนุรักษ์ไว้มีจำนวนมากกว่า 600 ชนิด ส่วนหนังสือพืชสมุนไพร ณ สวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยข้อมูลสมุนไพร รวม 60 ชนิด ตัวอย่างเช่น กะเจียน กระตังใบ กระทกรก กระเบา กระวาน คงคาเดือด จันทน์เทศ เถาวัลย์เหล็ก เทียนดำหลวง ปลาไหลเอก เท้ายายม่อม รงทอง ว่านเพชรหึง ส้มป่อย อัคคีทวาร ฯลฯ                   ท             581.634              พ815           (ห้องจันทบุรี)