- การฉาย Projection Mapping พร้อมไฟประดับตกแต่ง ณ หอพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา สัมผัสการเล่าเรื่องราวแห่งดนตรีและวัฒนธรรมของเชียงใหม่ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านการฉาย Projection Mapping ขนาดใหญ่ ที่จะถ่ายทอดวิถีชีวิตและความงดงามของล้านนาไปสู่ทุกสายตา โดยใช้หอพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาเป็นฉากสำหรับการนำเสนอประวัติศาสตร์ ความทรงจำ และเสียงดนตรีของเชียงใหม่ที่เชื่อมโยงอดีตสู่ปัจจุบันอย่างวิจิตรตระการตา
- ซุ้มไฟ Hop ณ ลานข่วงประตูท่าแพ ซุ้มไฟประดับอย่างยิ่งใหญ่อลังการ ความยาวกว่า ๑๕๐ เมตร สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “ล่องแม่ปิง” โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากอัตลักษณ์ของภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นลายผ้าชาวเขาอาข่า,โคมตุงล้านนา,ร่มบ่อสร้าง และท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์ของบทเพลง อมตะที่ จรัล มโนเพ็ชร รังสรรค์ไว้ เพื่อเป็นเส้นทางแห่งความสว่างไสวและจุดถ่ายรูป ที่จะนำผู้คนเข้าสู่โลกแห่งศิลปะและดนตรี HOP Chiangmai Art & Music Festival
“สะพานดนตรี” Musical Bridge ณ สะพานขัวเหล็กการแสดงแสง สี และเสียงแบบอินเทอร์แอคทีฟที่มีเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว ทุกครั้งที่มีรถหรือผู้คนผ่านบนสะพาน แสงไฟจะสว่างไสว พร้อมกับโน้ตดนตรีที่บรรเลงออกมาเป็นบนเพลง “ล่องแม่ปิง” ในทำนองเปียโน สร้างบรรยากาศที่สนุกและมีชีวิตชีวาให้สะพานขัวเหล็กกลายเป็นเส้นทางแห่งเสียงเพลงและแสงสีที่เคลื่อนไหวตามจังหวะการเดินทาง