ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,402 รายการ


ยาแก้ไข้และยาแก้งูกัด ชบ.ส. ๑๒๓ พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0 เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.34/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



          กรมศิลปากร ขยายเวลาจัดแสดงนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ประจำปี ๒๕๖๔ "ศักย ขุนพลพิทักษ์" ถึงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ อาคารนิทรรศการ ๔ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้เทคนิคการเขียนภาพเหมือนของจิตรกรเอกของกรมศิลปากรได้มีเวลาในการเข้าชมมากขึ้น           นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้จัด นิทรรศการพิเศษในโครงการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโสประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพื่อเชิดชูเกียรติศิลปิน “ศักย ขุนพลพิทักษ์” อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ศิลปินผู้ประสานจิตรกรรมไทยและตะวันตกเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยกำหนดจัดนิทรรศการถึงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ แต่เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ทำให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ปิดให้บริการไประยะหนึ่ง และขณะนี้มติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ เห็นชอบมาตรการผ่อนคลายการดำเนินการกิจการและกิจกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะเดียวกัน แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน เป็นต้นไป และขยายเวลาการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ศักย ขุนพลพิทักษ์ ไปจนถึงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ พร้อมย้ำให้ทุกหน่วยงานดำเนินตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด          นายศักย ขุนพลพิทักษ์ ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในแวดวงศิลปะแนวภาพเหมือน เชี่ยวชาญทั้งในงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลแบบสากลและงานจิตรกรรมไทย เป็นศิลปินที่สามารถเขียนภาพจิตรกรรมไทยแบบดั้งเดิมและภาพจิตรกรรมแบบใหม่ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้อย่างลงตัว โดยฝากฝีมือการออกแบบเขียนภาพจิตรกรรมไทยในวัดสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้เป็นจำนวนมาก นิทรรศการครั้งนี้ได้รวบรวมผลงานการสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์ ทั้งที่อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร ผลงานในครอบครองของครอบครัวขุนพลพิทักษ์ และผลงานในครอบครองของเอกชน โดยเป็นงานจิตรกรรม จำนวน ๓๑ รายการ และประติมากรรม จำนวน ๔ รายการ นอกจากนี้ยังมีผลงานร่วมจัดแสดงภายในนิทรรศการจากศิลปินทรงคุณวุฒิ อาทิ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์เกียรติคุณพงศ์เดช ไชยคุตร ศาสตราจารย์เกียรติคุณรสริน กาสต์ สมภพ บุตราช ศิลปินรับเชิญ และศิลปินสำนักช่างสิบหมู่ รวมทั้งสิ้น ๕๒ รายการ นำมาจัดแสดงเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและเผยแพร่เกียรติคุณของศิลปินอันทรงคุณค่าของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และของประเทศ ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์


องค์ความรู้ เรื่องวันอาสาฬหบูชา การบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๘ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (ก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน) ในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓  คำว่า “อาสาฬหบูชา” ย่อมาจากคำว่า “อาสาฬหบุรณมีบูชา” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ (ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลัง) วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ในโอกาสเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์ ทรงประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดพระอริยสาวกสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา จึงถือได้ว่าเป็นวันแรกที่ครบองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ หรือที่รู้จักว่าคือวันวิสาขบูชา  ต่อมาทรงคำนึงว่า ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ที่เคยมีอุปการคุณแก่พระองค์ จึงเสด็จออกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ถึงในตอนเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ประทับแรมอยู่กับปัญจวัคคีย์ ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือเดือนอาสาฬหะ พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ต่อจากนั้นทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ หลักความจริงของชีวิตที่จะช่วยให้คนพ้นจากห้วงความทุกข์ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์  หมายถึง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ สมุทัย หมายถึง เหตุให้เกิดทุกข์ คือความอยากต่างๆ นิโรธ   หมายถึง ความดับทุกข์ คือ นิพพาน มรรค         หมายถึง ทางที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะ ซึ่งเป็นหัวหน้าปัญจวัคคีย์มีความเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธองค์ก่อนผู้ใด จึงทูลขออุปสมบทเป็นคนแรก นับเป็น “ปฐมสาวก” พระพุทธองค์ประทานอนุญาต จึงนับว่าท่านโกณฑัญญะเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา แต่เดิมวันนี้ไม่มีพิธีใดเป็นการพิเศษ คงเนื่องมาจากเป็นวันก่อนวันเข้าพรรษาเพียงวันเดียว  และพุทธศาสนิกชนก็ทำบุญตักบาตรในวันพระเป็นปกติอยู่แล้ว ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๐๑ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ขณะดำรงตำแหน่งสังฆมนตรี ได้เสนอให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาอีกวันหนึ่ง คือ  วันอาสาฬหบูชาหรือวันธรรมจักร ด้วยเป็นวันสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมที่เรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการดังกล่าว และเสนอให้รัฐบาลเห็นชอบ จากนั้นจึงนำความกราบบังคมทูล พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ และต่อมาจึงออกประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑ กำหนดระเบียบปฏิบัติการบำเพ็ญกุศลในวันอาสาฬหบูชาเพื่อให้ทุกวัด ถือปฏิบัติโดยทั่วกัน สืบมาตราบจนถึงทุกวันนี้ ....................................................................... อรวรรณ ทรัพย์พลอย นักอักษรศาสตร์เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์  (ประวัติศาสตร์และจารีตประเพณี) สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ค้นคว้าเรียบเรียง  .................... ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วันอาสาฬหบูชา วัดสระกระเทียม เครดิตภาพ ธวัชชัย  รามนัฎ




ชื่อเรื่อง                         มาเลยฺยสูตฺต (มาลัยสุตร)      สพ.บ.                           412/5หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    มาลัยสูตรประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    52 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 57.2 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี






องค์ความรู้ของสำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เรื่อง ธาตุปูนอีสาน เรียบเรียงโดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น


     กรมศิลปากรได้รับมอบหมายจากกระทรวงวัฒนธรรมให้จัดพิมพ์หนังสือ “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ สุโขทัยเมืองมรดกโลก” เพื่อเป็นคู่มือในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง เนื้อหาของหนังสือนี้ประกอบด้วย เรื่องความเป็นมา ตำนาน และคติความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง เรื่องงานประเพณี “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย” มรดกไทยสู่มรดกโลก และเรื่องประเพณี “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย” ในมิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ      กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือ “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ สุโขทัย เมืองมรดกโลก”จะเป็นสื่อในการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง อันจะส่งเสริมให้คนไทยรักและหวงแหนในมรดกวัฒนธรรมของชาติโดยทั่วกัน


       เหรา หนึ่งสัตว์หิมพานต์ประดับงานศิลปกรรมไทย      เหรา (อ่านว่า เห-รา) เป็นสัตว์หิมพานต์ประเภทหนึ่ง มีประวัติว่า เหรา เป็นลูกของพญานาค และมีแม่คือมังกร ดังความที่ปรากฏในบทดอกสร้อย บทหนึ่ง กล่าวว่า   ๏ เจ้าเอยเหรา  รักแก้วข้าเหราเอ๋ย บิดานั้นนาคา มารดานั้นเป็นมังกร มีตีนทั้งสี่ หน้ามีครีบหลังมีหงอน เป็นทั้งนาคทั้งมังกร เรียกชื่อว่าเหราเอย ฯ        กล่าวกันว่าเหรามีลักษณะคือ ส่วนหัวและตัวเป็นนาค มีเท้าและหนวดเป็นมังกร และมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เหราพต” อย่างไรก็ตามเอกสารบางฉบับกล่าวว่า ลักษณะของเหราในศิลปะไทยนั้นไม่ปรากฏ เขา หนวด และเครา อย่างมังกรจีน แต่กลับมีฟันหรือเขี้ยวคล้ายจระเข้ ดังนั้นเหราที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทยจึงน่าจะเป็นการผสมรูปแบบระหว่าง จระเข้ (ส่วนหัวและเท้า) กับนาค (ลำตัวและหาง) มากกว่า        ตัวเหรานั้นเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏชื่อเรือลำหนึ่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์ นามว่า เรือเหรา ปัจจุบันตัวเหรายังปรากฏในรูปแบบงานประติมากรรมประดับสถาปัตยกรรม เช่น ประติมากรรมเหราบริเวณราวบันได ประติมากรรมเหราประดับชั้นหลังคาส่วนปลายของสันตะเข้ ส่วนประกอบของซุ้มหน้าบัน บริเวณปลายของรวยระกา ที่เรียกว่า “รวยระกาเหรา”        สำหรับที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีตัวอย่างงานศิลปกรรมที่ปรากฏรูปจำหลัก “เหรา” ได้แก่    แผงพระพิมพ์ไม้      แผงพระพิมพ์ไม้ จำหลักลาย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ จัดแสดงอยู่ที่ มุขเด็จในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นงานจำหลักไม้รูปเหราคายนาคที่ส่วนปลายรวยระกาของกรอบหน้าบัน ตู้พระธรรมขาหมูลงรักประดับมุก      ตู้พระธรรมขาหมูลงรักประดับมุก ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓ จัดแสดงอยู่ที่ มุขหน้าพระที่นั่งพรหมเมศธาดา ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ฝาตู้ด้านซ้ายมีงานประดับมุกรูปเหรา พระวอ      พระวอ ศิลปะธนบุรี-รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ จัดแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นงานไม้จำหลักรูปเหราคายนาค ส่วนปลายรวยระกาของชั้นหลังคาพระวอ  เขนง       เขนง (เครื่องเป่าบอกอาณัติสัญญาณในการศึก หรือภาชนะใส่ดินปืน) งาช้างจำหลักลายเหรา ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ จัดแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งบูรพาพิมุข ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลักษณะเป็นงาช้างจำหลักรูปเหราปรากฏส่วนหัว ลำตัวและเท้าของเหรา   อ้างอิง กรมศิลปากร. สมุดภาพสัตว์หิมพานต์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๑. สมคิด จิระทัศนกุล. อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม ๔ องค์ประกอบ “ส่วนหลังคา”. กรุงเทพฯ: คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙. สมใจ นิ่มเล็ก. สรรพสัตว์ ในงานสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.    


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.36/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)