ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,264 รายการ


กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ขอเชิญชวนครูสอนดำน้ำ (Dive Instructor) ครูผู้ช่วยสอนดำน้ำ (Dive Master) ร่วมเป็นอาสาสมัครสำรวจตรวจสภาพและเก็บข้อมูลแหล่งเรือจมสุทธาทิพย์ ในโครงการ "พัฒนาศักยภาพแหล่งเรือจมสุทธาทิพย์ (Hardeep) เพื่อการอนุรักษ์และเป็นจุดดำน้ำท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม" ในวันเสาร์ ที่ 11 หรือ วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2567 (เลือกวันใดวันหนึ่ง) ณ แหล่งเรือจมสุทธาทิพย์ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี   โดยกองโบราณคดีใต้น้ำจะคัดเลือก Dive Instructor หรือ Dive Master จำนวน 12 ท่าน จากผู้สมัครทั้งหมด ร่วมเป็นอาสาสมัครในการศึกษาบันทึกข้อมูลติดตามสภาพความเปลี่ยนแปลงของแหล่งเรือจมสุทธาทิพย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกองโบราณคดีใต้น้ำ   สมัครได้ที่ลิงค์: https://forms.gle/YDBau3KpYV9BR1UD7   เปิดรับสมัคร: วันนี้ - เสาร์ ที่ 20 เมษายน 2567   ประกาศรายชื่อ: จันทร์ ที่ 22 เมษายน 2567   กิจกรรม: - เสาร์ ที่ 11 พฤษภาคม 2567 จำนวน 6 ท่าน - อาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม 2567 จำนวน 6 ท่าน   คุณสมบัติผู้สมัคร: 1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย 2) ผ่านหลักสูตรการดำน้ำระดับ Dive Master หรือ Instructor (ต้องแสดง Cert.)   หมายเหตุ** - ไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ - ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องเดินทางมาลงเรือที่อำเภอสัตหีบด้วยตนเองและนำอุปกรณ์ดำน้ำของท่านมาด้วย - สถานที่ขึ้น-ลงเรือจะแจ้งให้ทราบภายหลัง - กองโบราณคดีใต้น้ำขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกอาสาสมัครโดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลในการคัดเลือก   สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Inbox หรือ โทร.สอบถาม 062-380-3217 (คุณป่าน)



วันพุธที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๗ ผู้อำนวยการพร้อมด้วยบุคลากรหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นบุคลากรได้ร่วมรดนำดำหัว ขอพรจากผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ตามประเพณีล้านนา


วันพุธที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๗ นางสาวปรัศนีภรณ์ พลายกำเหนิด นักภาษาโบราณปฏิบัติการ จากสำนักหอสมุดแห่งชาติ และคณะ เข้าพบท่านผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมทั้งเยี่ยมชม และพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับงานด้านเอกสารโบราณ


วันพุธที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือ "ทศพิธ ทศมรัช" เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ พร้อมด้วยนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดีกรมศิลปากร นางสาวศิริรัตน์ ทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และมีคณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ กวีนิพนธ์ภาษาและวรรณกรรมแขนงต่างๆ ร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ชั้น ๖ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์


"สยามมานุสติ" เป็นโคลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความแข็งแกร่ง ความมั่นคงของผืนแผ่นดิน เพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง ในช่วงยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย.  พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗,          จาก: https://kingchulalongkorn.car.chula.ac.th/th/history/rama6_bio. ไทยบันเทิง.  ค่ายบางระจัน (๒๔๘๒).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/ค่ายบางระจัน_(2482) วรชาติ มีชูบท.  ๖๓. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี (๑).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_63.htm. วิกิพีเดีย.  สยามานุสสติ.  [ออนไลน์].   สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/สยามานุสสติ. Athip channel.  เพลงสยามานุสสติ กรมดุริยางค์ทหารบก.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=B_Jdvx8nI8o, ๒๕๖๒.  Madoo United.  เพลง สยามานุสสติ ๒๕๖๔ [Complete edition] [4K].  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=6a_xqlZ1S50, ๒๕๖๕. Marsh of the Nation.  เพลง สยามมานุสสติ บรรเลง (ต้นฉบับ).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=dVexPiAfnzc, ๒๕๖๔. 


"สยามมานุสติ" เป็นโคลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความแข็งแกร่ง ความมั่นคงของผืนแผ่นดิน เพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง ในช่วงยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย.  พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗,         จาก: https://kingchulalongkorn.car.chula.ac.th/th/history/rama6_bio. ไทยบันเทิง.  ค่ายบางระจัน (๒๔๘๒).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/ค่ายบางระจัน_(2482) วรชาติ มีชูบท.  ๖๓. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี (๑).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_63.htm. วิกิพีเดีย.  สยามานุสสติ.  [ออนไลน์].   สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/สยามานุสสติ. Athip channel.  เพลงสยามานุสสติ กรมดุริยางค์ทหารบก.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=B_Jdvx8nI8o, ๒๕๖๒.  Madoo United.  เพลง สยามานุสสติ ๒๕๖๔ [Complete edition] [4K].  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?v=6a_xqlZ1S50, ๒๕๖๕. Marsh of the Nation.  เพลง สยามมานุสสติ บรรเลง (ต้นฉบับ).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=dVexPiAfnzc, ๒๕๖๔. 


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชวนร่วมกิจกรรมในงาน “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” 2 เสาร์สุดท้ายของเดือนเมษายนนี้ พบกับกิจกรรม “ศิลปะการปั้นดินอิสระ” และ ”งานสานตั๊กแตน จากใบทางมะพร้าว” โดยอาจารย์พนม เสมาทอง ในวันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3525 1586 หรือทาง Facebook Page พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม : Chantharakasem National Museum 


กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กำหนดจัดกิจกรรมเสวนาทางวิชาการประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม (Priceless Document of Siam)"เรื่อง " สามก๊ก : จากเรื่องจีนสู่เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม"ในวันเสาร์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครท่านผู้สนใจสามารถลงทะเบียน (google form) ได้ทางhttps://docs.google.com/.../1nXkYOBy0yDnH1Kkbg.../edit...หรือติดตามรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง facebook กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จัดนิทรรศการ เรื่อง "กว่าจะมาเป็นการคัดลอกภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะเสมือนจริงลงบนแผ่นกระเบื้องดินเผา" เนื่องในโอกาสวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ จัดแสดงระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยนิทรรศการนำเสนอเรื่องราวการจัดทำกระเบื้องพิมพ์ลายภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะ ที่จัดแสดงอยู่ในอาคารนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ที่มา และการดำเนินการจำลองภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะลงบนกระเบื้องดินเผาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะกรุและภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะ ตลอดจนเทคนิควิธีการในการเก็บรักษาข้อมูลโบราณสถานเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังต่อไป             ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษนี้ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ อาคารนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดวันอังคาร - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗



วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นคราชสีมา ร่วมพิธีบวงสรวงสมโภชเปิดสถานพระนารายณ์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลโบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงกับนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ณ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


            กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ตามรอยฝรั่ง เล่าความหลังเมืองพริบพรี (เพชรบุรี)” วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, นางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และนายเชิดพงศ์ สุทธิวงษ์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร            รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗


วันอังคาร ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติ และบุคลากร ร่วมงานสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ป้อเมืองเจียงใหม่" ประจำปี ๒๕๖๗  ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสดงความเคารพ ขอสุมาคารวะ และขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในวันพญาวัน หรือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประจำปี ๒๕๖๗