ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,759 รายการ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถด้านภาษาไทย และทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระมหาธีรราชเจ้า” และเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “วรรณคดีสโมสร” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย มีสารประโยชน์ เนื่องจากในยุคสมัยนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือจากภาษาต่างประเทศ ทำให้ใช้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป ทั้งนี้เพื่อประกาศยกย่องหนังสือเล่มนั้นๆ และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชญจกรตรามังกรคาบแก้วเป็นเครื่องหมายของโบราณคดีสโมสร ถือว่าต้นกำเนิดเป็นครั้งแรกของรางวัลวรรณกรรมไทยที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ
ควบคุมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
เรียบเรียงโดย : นางสาวกาญจนาภา คำบุญเรือง สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา และนางสาวศิรินภา ติยะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
แหล่งอ้างอิง :
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์. พระราชประวัติรัชกาลที่ ๖. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=185&lang=th
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. “๑๐๐ ปี วรรณคดีสโมสร.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ๓๙, ๓ (กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๕๗): ๒๑๗-๓๓๗.
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. วรรณคดีสโมสร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณคดีสโมสร
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. พระราชกฤษฎีการตั้งวรรณคดีสโมสร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1046045.pdf
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. นิยายเบงคอลี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/นิยายเบงคลี
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. บทละคร เรื่อง อิเหนา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/บทละคร-เรื่อง-อิเหนา
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. พระนลคำหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/พระนลคำหลวง
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/พระราชพิธีสิบสองเดือน
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. มัทนะพาธา หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/มัทนะพาธา-หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. ลิลิตพระลอ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/ลิลิตพระลอ
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. สมุทรโฆษคำฉันท์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/https://vajirayana.org/สามก๊ก
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. สามก๊ก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/สามก๊ก
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. หัวใจนักรบ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/หัวใจนักรบ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถด้านภาษาไทย และทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระมหาธีรราชเจ้า” และเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “วรรณคดีสโมสร” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย มีสารประโยชน์ เนื่องจากในยุคสมัยนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือจากภาษาต่างประเทศ ทำให้ใช้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป ทั้งนี้เพื่อประกาศยกย่องหนังสือเล่มนั้นๆ และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชญจกรตรามังกรคาบแก้วเป็นเครื่องหมายของโบราณคดีสโมสร ถือว่าต้นกำเนิดเป็นครั้งแรกของรางวัลวรรณกรรมไทยที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ
ควบคุมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
เรียบเรียงโดย : นางสาวกาญจนาภา คำบุญเรือง สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา และนางสาวศิรินภา ติยะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
แหล่งอ้างอิง :
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์. พระราชประวัติรัชกาลที่ ๖. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=185&lang=th
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. “๑๐๐ ปี วรรณคดีสโมสร.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ๓๙, ๓ (กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๕๗): ๒๑๗-๓๓๗.
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. วรรณคดีสโมสร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณคดีสโมสร
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. พระราชกฤษฎีการตั้งวรรณคดีสโมสร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1046045.pdf
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. นิยายเบงคอลี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/นิยายเบงคลี
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. บทละคร เรื่อง อิเหนา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/บทละคร-เรื่อง-อิเหนา
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. พระนลคำหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/พระนลคำหลวง
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/พระราชพิธีสิบสองเดือน
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. มัทนะพาธา หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/มัทนะพาธา-หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. ลิลิตพระลอ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/ลิลิตพระลอ
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. สมุทรโฆษคำฉันท์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/https://vajirayana.org/สามก๊ก
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. สามก๊ก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/สามก๊ก
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. หัวใจนักรบ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/หัวใจนักรบ
วันพุธที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาที่ ๖ โรงเรียนบ้านระเภาว์ ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๒๐ คน คุณครู ๑๑ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ และนายธนากร วงศ์สิริพัฒนะ นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ น. หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ร่วมงานสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นสู่สากล (Eel Dinner by Chef’s Table) ใน “เทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ และงานกาชาดชุมพลบุรี ประจำปี ๒๕๖๗” จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ และสภาวัฒนธรรมอำเภอชุมพลบุรีร่วมกับเครือข่าย โดยมีนางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวราชการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานเปิดงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายชำนาญ ชื่นตา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ องค์การเอกชน เครือข่ายศิลปวัฒนธรรม และประชาชนเข้าร่วมงาน
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน “Night at the Museum เรือพระราชพิธี ศรีแห่งนครา” เปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ให้เข้าชมความงดงามของเรือพระราชพิธี มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งสายน้ำ ระหว่างวันที่ 27 - 29 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 20.30 น. ไฮไลท์อยู่ที่การแสดงเรือพระราชพิธีประดับแสงไฟในบรรยากาศยามค่ำคืน การแสดงเห่เรือประกอบการพายเรือ กิจกรรมเวิร์คชอบ การออกร้านสินค้าทางวัฒนธรรม และอาหารเลิศรสย่านบางกอกน้อย มีพื้นที่จอดรถในกองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ซึ่งเดิมเป็นอู่เรือเก่า ได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อพุทธศักราช 2517 จัดแสดงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พร้อมทั้งเรือที่มีโขนเรือ 4 ลำ ประกอบด้วย เรือเอกชัยเหินหาว เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรืออสุรวายุภักษ์ รวมทั้งยังมีนิทรรศการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเรือพระราชพิธี ซึ่งบรรจงสร้างขึ้นด้วยฝีมือประณีต แสดงภูมิปัญญาของช่างไทยหลายแขนง ทั้งช่างแกะสลัก ช่างรัก ช่างประดับกระจก ช่างไม้ ช่างเขียน องค์ประกอบสำคัญของกระบวนเรือพระราชพิธี และอื่นๆ
กิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน “Night at the Museum เรือพระราชพิธี ศรีแห่งนครา” ประกอบด้วย
- ชมความวิจิตรตระการตาของเรือพระราชพิธีในบรรยากาศยามค่ำคืน นำชมรอบพิเศษ วันละ 3 รอบ
17.00 น. 18.00 น. 19.00 น.
- การแสดงเห่เรือและพายเรือพระราชพิธีประดับแสงไฟ วันละ 3 รอบ 17.30 น. 18.30 น. 19.30 น.
- สะสมตราประทับที่ระลึกการจัดงาน Night at the Museum ครั้งที่ 1 เรือพระราชพิธีศรีแห่งนครา เปิดให้ประทับตราในงาน 3 วันเท่านั้น มาสะสมให้ครบตั้งแต่การจัดงานครั้งที่ 1 กันนะ
- เช็ค & แชร์ พิเศษสำหรับท่านที่ร่วมกิจกรรม เช็ค & แชร์ จะได้รับโปสการ์ดที่ระลึก ภาพสีฝุ่นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ซึ่งวาดขึ้นสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ ให้สะสมคู่กับตราประทับที่ระลึกการจัดงาน
- เวิร์คชอป DIY งาน Craft ฟรี สำหรับท่านที่ซื้อบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี รับจำนวนจำกัด 20 ท่านต่อวัน สำรองที่นั่งสแกน QR Code จัดโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
- แนะนำของสะสม ของใช้ของทหารสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
- ตลาดพิพิธภัณฑ์ Aphidet Thai-Art Shop - อภิเดช ลายไทย Collection กระเป๋าลายรดน้ำ สวย เก๋ เท่ ทันสมัย
- หัวโขนลูกพระพายแห่งบ้านบุ เวิร์คชอประบายสีหัวโขนจำลอง
- กลุ่มศิลปินอาร์ตทอย รวมงาน Craft ของขวัญสำหรับเทศกาลปีใหม่ ได้แก่ toy muse, Logman: wooden art toy, Midnight Sculpt, มือกระบี่, Insine Cartoonist, Mu-Seam Studio 061, เรือนชาลีลาวดี Frangipani Tea house
พบกับบรรยากาศชิลๆ ฮีลใจ กับ ดนตรีโฟล์กเพลงสากล ไทยย้อนยุค อาหารและเครื่องดื่ม เปิดตลาด เวลา 15.00 น. – 20.30 น. การแสดงดนตรีเริ่ม เวลา 17.00 น. ค่าบัตรเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ต่างชาติ 100 บาท นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุไม่เสียค่าบัตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2424 0004 สามารถที่จอดรถกองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ https://maps.app.goo.gl/NxzQnJCiX2jcC7JH9
เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2568 กรมศิลปากรได้จัดกิจกรรมของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ณ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญออกให้พุทธศาสนิกชนสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลในเทศกาลปีใหม่ อาทิ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน “นบพระปฏิมา ๙ นครามหามงคล ๒๕๖๘” อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์อันงดงาม มีประวัติความเป็นมาจากนครโบราณต่าง ๆ ของไทย รวม ๑๐ องค์ มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่ออำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่
คหบดีชาวนา. ความขยัน. กรุงเทพฯ: คิด อ่าน ดี, 2558. (ย ค182ท)
คหบดีชาวนา. ทางเจริญ. กรุงเทพฯ: คิด อ่าน ดี, 2558. (ย ค182ท)
มาตังคะ. ความสามัคคี. กรุงเทพฯ: คิด อ่าน ดี, 2558. (ย ม437ค)
มาตังคะ. มิตรแท้. กรุงเทพฯ: คิด อ่าน ดี, 2558. (ย ม437ค)
สรัณกันธิชา ฤกษ์วรลักษณ์. น้องเอ็นดู ตะลอนรู้... หัวหิน. ประจวบคีรีขันธ์: เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, 2566. (ย ส349น)
โอกาวะ, โยโกะ. กระดุมน้อยเดินทาง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์คิดดี้, 2566. (ย อ694ก)
หมวด 000 ความรู้ทั่วไป
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 42. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, 2564. (039.95911 ส678)
หมวด 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
ไพโรจน์ รัตนพล [และคนอื่น ๆ], บรรณาธิการ. จอมทัพไทยกับกองทัพอากาศ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2542. (923.1593 ภ671จ)
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อของแผ่นดิน พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2549. (923.1593 ส229พ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. นางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมงานแถลงข่าวการจัดงานฤดูหนาว นางสาวเชียงใหม่ และงาน OTOP ของดีเมืองเชียงใหม่ ประจำปี ๒๕๖๘ ณ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ (สวน อบจ.เชียงใหม่)
คิม, รันโด. เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด. กรุงเทพฯ: Springbooks, 2562.
หนังสือแนวจิตวิทยาสำหรับผู้คนที่ประสบกับปัญหาต่างๆ อาจจะหลงทางไปกับกระแสสังคม หรือกำลังรู้สึกเหน็ดเหนื่อย สับสน ผิดหวังซ้ำไปซ้ำมา หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้สามารถทบทวนกับสิ่งต่างๆ เรื่องราวที่เกิดขึ้น เพื่อก้าวไปข้างหน้าต่อไปได้อย่างสวยงาม เป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น
155.5
ค451พ
ห้องหนังสือทั่วไป 1
Night at the Museum ส่งท้ายปีณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี27 - 29 ธันวาคม 2567 เวลา 15.00 - 20.30 น.___________________________พบกับกิจกรรมน่าสนใจ หลากหลายกิจกรรม ประกอบไปด้วย- การบรรยายนำชมรอบพิเศษ- การเห่เรือโดยกองเรือพระราชพิธี- ร่วมสนุกกับการ Check & Share เพียงท่านถ่ายภาพและเช็คอินที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี รับไปเลยโปสการ์ดสีฝุ่น ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พร้อมแสตมป์ตราพระคเณศ ที่มีเฉพาะงานนี้เท่านั้น- ผ่อนคลายไปกับตลาด Night Market ที่ยกมาทั้งร้านอาหาร เครื่องดื่ม สินค้า Art Toy ฯลฯ พร้อมฟังเสียงดนตรี Folk Songs ยามค่ำคืน
เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๗ นายวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีชำนาญการ พร้อมด้วยนางสาวนภัสสร แย้มคงเมือง นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เป็นวิทยากรนำชมคณะกรรมการนักเรียนนายร้อยจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๒๙ พร้อมครอบครัว กิจกรรมเพื่อสังคมและการท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ณ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
วันเสาร์ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. คณะผู้สูงอายุจากกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นางศรีสุดา สีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม