ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 38,993 รายการ

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 67 เวลา 16.00 น. คุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคุณประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีเทศบาลนครราชสีมา และคณะ เดินทางมาเยี่ยชม การขุดตรวจทางโบราณคดีบริเวณกำแพงเมืองนครราชสีมา ด้านทิศตะวันออก โดยมีนายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา บรรยายสรุปหลุมขุดตรวจ



วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ จัดโครงการค่ายวิชาการภาษาอังกฤษ "English Camp On Tour 2024" (ค่ายเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๒ จึงได้ขอความอนุเคราะห์สถานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ นำโดย นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่จัดกิจกรรมถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๗ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ณ บริเวณหน้าห้องนิทรรศการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์


วันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น.นักเรียนชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนเทศบาล๑(หนองสิมใหญ่) อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑๐๔ คน คุณครู ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น.นักเรียนชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านโคกกลางหนองเหล็ก ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๖๐ คน คุณครู ๑๖ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอภิญญา สุขใหญ่ นางศรีสุดา ศรีสด พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม



วันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เข้าร่วมรับฟังการเสวนาวิชาการ Thailand Literacy Seminar และร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "เครือข่ายห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมล้านนา" ออนไลน์ผ่านระบบไมโครซอฟท์ ทีมส์


พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยล้านนา พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หล่อขึ้นที่วัดป่าตาลน้อย (วัดตาลวันมหาวิหาร) เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๒๗ เป็นวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๔ นิ้ว สูง ๑๑๒ นิ้ว พระพุทธรูปมีน้ำหนัก ๓,๙๖๐ กิโลกรัม มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ คือ พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์หนาแบะซ้อนกัน ๒ เส้น พระหนุเหลี่ยม มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นหนาขนาดใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน นอกจากนี้มีลักษณะพิเศษ คือพระชงฆ์แข็งเป็นสันขึ้นหรือหน้าแข้งตัดคม จึงเรียกว่า “พระเจ้าแข้งคม” เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กระทรวงวัฒนธรรม. กรมการศาสนา.  ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา, ๒๕๖๐. กระทรวงวัฒนธรรม. กรมศิลปากร.  จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. กระทรวงวัฒนธรรม. กรมศิลปากร.  จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1435 ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่) ด้านที่ ๑.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26526 ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่) ด้านที่ ๒.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26527 ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค).  พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖. พระรัตนปัญญาเถระ.  ชินกาลมาลีปกรณ์.  แปลโดย แสง มนวิทูร.  พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑. พิริยะ ไกรฤกษ์.  ลักษณะไทยพระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย.  กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน, ๒๕๕๑. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ .  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๒๙.  กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน          โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๔๘.


พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยล้านนา พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หล่อขึ้นที่วัดป่าตาลน้อย (วัดตาลวันมหาวิหาร) เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๒๗ เป็นวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๔ นิ้ว สูง ๑๑๒ นิ้ว พระพุทธรูปมีน้ำหนัก ๓,๙๖๐ กิโลกรัม มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ คือ พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์หนาแบะซ้อนกัน ๒ เส้น พระหนุเหลี่ยม มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นหนาขนาดใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน นอกจากนี้มีลักษณะพิเศษ คือพระชงฆ์แข็งเป็นสันขึ้นหรือหน้าแข้งตัดคม จึงเรียกว่า “พระเจ้าแข้งคม” เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กระทรวงวัฒนธรรม. กรมการศาสนา.  ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา, ๒๕๖๐. กระทรวงวัฒนธรรม. กรมศิลปากร.  จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. กระทรวงวัฒนธรรม. กรมศิลปากร.  จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1435 ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่) ด้านที่ ๑.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26526 ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่) ด้านที่ ๒.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26527 ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค).  พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖. พระรัตนปัญญาเถระ.  ชินกาลมาลีปกรณ์.  แปลโดย แสง มนวิทูร.  พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑. พิริยะ ไกรฤกษ์.  ลักษณะไทยพระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย.  กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน, ๒๕๕๑. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ .  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๒๙.  กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน         โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๔๘.


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live การแถลงข่าวการประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๒.๓๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


วันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมพิธีอัญเชิญน้ำสรงและผ้าไตรพระราชทาน ในพิธีสมโภชน์พระมหาธาตุเจดีย์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


วันพุธที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ สมาคมหมอลำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทั้งสองเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมและร่วมกันอนุรักษ์ ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมหมอลำและกันตรึม โดยสมาคมหมอลำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ขอความอนุเคราะห์สถานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์


            นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้มอบ กรมศิลปากร ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ซึ่งจัดขึ้นที่สาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างวันที่ 21 ถึง 31 กรกฎาคม 2567 เนื่องจากมีวาระประชุม เพื่อรับรองอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยคาดว่าจะนำเข้าพิจารณา ในวันที่ 26 หรือ 27 กรกฎาคม 2567 ทั้งนี้ จากศักยภาพภูพระบาท และการเตรียมข้อมูลที่สมบูรณ์ของคณะทำงานในการนำเสนอ เชื่อมั่นว่า ภูพระบาท จะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่อย่างแน่นอน ซึ่งทางกรมศิลปากรจะถ่ายทอดบรรยากาศส่งตรงจากสาธารณรัฐอินเดีย และจัดการแถลงผลการประกาศ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ให้ได้ร่วมลุ้นไปพร้อมกันทั่วประเทศ ผ่านทาง facebook live: กรมศิลปากร              รมว. สุดาวรรณ จึงขอเชิญชวนชาวไทย ร่วมส่งกำลังใจช่วยเชียร์ให้ภูพระบาท ได้รับการรับรองเป็นมรดกโลก อันจะทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงและเป็นเกียรติภูมิที่สำคัญบนเวทีโลกต่อไป 


ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้ได้รับคัดเลือกเพื่อจ้างบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว 1/2567 (ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ)


Messenger