ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,731 รายการ

รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๖๗ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์


วันศุกร์ที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๘ Mr.Hong Geung Pyo มอบหนังสือเกี่ยวกับบันทึกชีวิตในเกาหลีตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๖๐ ถึงปัจจุบัน เพื่อให้บริการที่มุมหนังสือเกาหลี หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่




กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน ลงพื้นที่ตรวจสอบกำกับดูแลการดำเนินการติดตั้งทับหลังจำลอง ในเขตพื้นที่โบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ ร่วมกับ นายทวีทรัพย์ โล้เจริญรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลศีขรภูมิ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลตำบลศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ ๑๔ และ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ . นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน





เนื่องในโอกาสปีใหม่ ๒๕๖๘ ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ได้โปรดอำนวยพรให้ท่านและครอบครัว โชคดีปีใหม่ มีความสุข ความสำเร็จ และสมหวัง ในสิ่งที่ปรารถนาตลอดปีใหม่นี้ ขอให้บุญรักษา เทวดาคุ้มครอง พระรัตนตรัยปกป้องท่านและครอบครัว จงมีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต สุขภาพร่างกายแข็งแรง โรคภัยจงอย่าได้แผ้วพาน ขอให้ท่านและครอบครัวมีแต่ความร่มเย็น ร่ำรวยเงินทองทรัพย์สิน สูงส่งด้วยบารมี พรใดล้ำ พรใดเลิศ พรใดประเสริฐ ขอจงบังเกิดแก่ท่าน และครอบครัวตลอดปีใหม่ ๒๕๖๘


            กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ แหล่งรวบรวมงานโบราณคดีในเขตภาคเหนือตอนบน” วิทยากร นางสาวฉัตรลดา สินธุสอน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๘ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร             รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ - กันยายน ๒๕๖๘


สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ขอแสดงความยินดี นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมในโอกาสที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๗


วันเสาร์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดประทุมธรรมชาติ ต.แกใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุรินทร์ โดยมีนายวสันต์ ชิงชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธี


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถด้านภาษาไทย และทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระมหาธีรราชเจ้า” และเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “วรรณคดีสโมสร” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย มีสารประโยชน์ เนื่องจากในยุคสมัยนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือจากภาษาต่างประเทศ ทำให้ใช้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป ทั้งนี้เพื่อประกาศยกย่องหนังสือเล่มนั้นๆ และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์  เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทานพระราชญจกรตรามังกรคาบแก้วเป็นเครื่องหมายของโบราณคดีสโมสร ถือว่าต้นกำเนิดเป็นครั้งแรกของรางวัลวรรณกรรมไทยที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ควบคุมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เรียบเรียงโดย : นางสาวกาญจนาภา คำบุญเรือง สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา และนางสาวศิรินภา ติยะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์.  พระราชประวัติรัชกาลที่ ๖.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=185&lang=th รื่นฤทัย สัจจพันธุ์.  “๑๐๐ ปี วรรณคดีสโมสร.”  วารสารราชบัณฑิตยสถาน.  ๓๙, ๓ (กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๕๗): ๒๑๗-๓๓๗. วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี.  วรรณคดีสโมสร.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณคดีสโมสร สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.  พระราชกฤษฎีการตั้งวรรณคดีสโมสร.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1046045.pdf ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  นิยายเบงคอลี.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/นิยายเบงคลี ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  บทละคร เรื่อง อิเหนา.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/บทละคร-เรื่อง-อิเหนา ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  พระนลคำหลวง.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/พระนลคำหลวง ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  พระราชพิธีสิบสองเดือน.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/พระราชพิธีสิบสองเดือน ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  มัทนะพาธา หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/มัทนะพาธา-หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  ลิลิตพระลอ.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/ลิลิตพระลอ ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  สมุทรโฆษคำฉันท์.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/https://vajirayana.org/สามก๊ก ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  สามก๊ก.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/สามก๊ก ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  หัวใจนักรบ.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/หัวใจนักรบ


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถด้านภาษาไทย และทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระมหาธีรราชเจ้า” และเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “วรรณคดีสโมสร” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย มีสารประโยชน์ เนื่องจากในยุคสมัยนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือจากภาษาต่างประเทศ ทำให้ใช้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป ทั้งนี้เพื่อประกาศยกย่องหนังสือเล่มนั้นๆ และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์  เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทานพระราชญจกรตรามังกรคาบแก้วเป็นเครื่องหมายของโบราณคดีสโมสร ถือว่าต้นกำเนิดเป็นครั้งแรกของรางวัลวรรณกรรมไทยที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ควบคุมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เรียบเรียงโดย : นางสาวกาญจนาภา คำบุญเรือง สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา และนางสาวศิรินภา ติยะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์.  พระราชประวัติรัชกาลที่ ๖.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=185&lang=th รื่นฤทัย สัจจพันธุ์.  “๑๐๐ ปี วรรณคดีสโมสร.”  วารสารราชบัณฑิตยสถาน.  ๓๙, ๓ (กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๕๗): ๒๑๗-๓๓๗. วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี.  วรรณคดีสโมสร.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณคดีสโมสร สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.  พระราชกฤษฎีการตั้งวรรณคดีสโมสร.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1046045.pdf ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  นิยายเบงคอลี.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/นิยายเบงคลี ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  บทละคร เรื่อง อิเหนา.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/บทละคร-เรื่อง-อิเหนา ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  พระนลคำหลวง.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/พระนลคำหลวง ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  พระราชพิธีสิบสองเดือน.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/พระราชพิธีสิบสองเดือน ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  มัทนะพาธา หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/มัทนะพาธา-หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  ลิลิตพระลอ.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/ลิลิตพระลอ ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  สมุทรโฆษคำฉันท์.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/https://vajirayana.org/สามก๊ก ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  สามก๊ก.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/สามก๊ก ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  หัวใจนักรบ.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/หัวใจนักรบ


วันพุธที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาที่ ๖ โรงเรียนบ้านระเภาว์ ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๒๐ คน คุณครู ๑๑ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ และนายธนากร วงศ์สิริพัฒนะ นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม