ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,291 รายการ

กรมศิลปากรจัดนิทรรศการพิเศษและจัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ระหว่างวันที่ ๒๗ มีนาคม-๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ และจัดกิจกรรมประกอบทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดการจัดแสดงนิทรรศการ ได้แก่ การเสวนาทางวิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การสาธิต Walk Rally อวดของสะสม และ การบรรยายแบ่งกลุ่มนำชม ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑.  การเสวนาทางวิชาการ (ถ่ายทอดสด Facebook live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)       ๑.๑ กรุงศรีอยุธยาในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ วันเสาร์ที่ ๓๐ มี.ค. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์               วิทยากร                       นางสาวเปรมา สัตยาวุฒิพงศ์, นายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์, นางสาวระชา  ภุชชงค์               ผู้ดำเนินรายการ            นายเอกลักษณ์ ลอยศักดิ์          ๑.๒ สามก๊ก : จากเรื่องจีนสู่เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม วันเสาร์ที่ ๒๐ เม.ย. ๒๕๖๗              หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์              วิทยากร                       นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, นางดาวรัตน์  ชูทรัพย์             ผู้ดำเนินรายการ             นางสาวสุธีรา  สัตยพันธ์          ๑.๓ แผนภูมิของแผ่นดิน วันเสาร์ที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๖๗              หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์              วิทยากร                       นางณิชชา  จริยเศรษฐการ, นายไอยคุปต์ ธนบัตร, นายภูวนารถ สังข์เงิน              ผู้ดำเนินรายการ            นายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์           ๑.๔ ตราประจำจังหวัด วันเสาร์ที่ ๑๘ พ.ค. ๒๕๖๗                หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ               วิทยากร                       นายกำพล เวชสุทัศน์, นายสุเมธ พุฒพวง, นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร, นางสาวมณีรัตน์ พุทธอุปถัมภ์               ผู้ดำเนินรายการ            นางประภาพร ตราชูชาติ         ๑.๕ สานสัมพันธ์ด้วยสัญญา วันเสาร์ที่ ๑ มิ.ย. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ              วิทยากร                        นางภาวิดา  สมวงศ์, นางสาวทรายทอง ทองเกษม, ผู้แทนกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์              ผู้ดำเนินรายการ             นางสาวนัทธมน จิตเจตน์         ๑.๖ แรกมีการพิมพ์ วันเสาร์ที่ ๘ มิ.ย. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักหอสมุดแห่งชาติ              วิทยากร                        นางอัจฉรา จารุวรรณ, นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน, นายยุทธนาวรากร  แสงอร่าม              ผู้ดำเนินรายการ             นางสาวอุดมพร  เข็มเฉลิม         ๑.๗ ต้นร่างสร้างเมืองเรืองรองศิลปกรรม วันเสาร์ที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ               วิทยากร                        ดร.วสุ โปษยะนันท์, นายจักริน อุตตะมะ, ดร.พรธรรม ธรรมวิมล, นางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล               ผู้ดำเนินรายการ             นางสาวชนาธิป พฤกษ์อุดม         ๑.๘ ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง วันเสาร์ที่ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๖๗                หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ               วิทยากร                        นางจุฑาทิพย์  อังศุสิงห์, นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา               ผู้ดำเนินรายการ             นางบุศยารัตน์ คู่เทียม         ๑.๙ ด้วยพระปรีชาญาณ นำประชาราษฎร์จากทาสสู่ไท  วันเสาร์ที่ ๒๙ มิ.ย. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ     สำนักหอสมุดแห่งชาติ               วิทยากร                         นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวณัฏฐา  กล้าหาญ, นางสาวฉัตรลดา สินธุสอน               ผู้ดำเนินรายการ              นายบารมี  สมาธิปัญญา         ๑.๑๐ เล่าขานประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๖๗                หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์                วิทยากร                        นางสาวนันทพร  บรรลือสินธุ์, นางสาวรัตติกาล  สร้อยทอง, นางสาวกมลทิพย์  ชัยศุภมงคลลาภ                ผู้ดำเนินรายการ             นางสาวพัชรา  สุขเกษม   ๒.  การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)       ๒.๑ การซ่อมหนังสือชำรุด วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักหอสมุดแห่งชาติ                วิทยากร    นางสาวเกศสรินทร์ ประมวลพัฒน์, นางสาวอุษา สาริกบุตร, นางสาววชิราภรณ์ เขียวเจริญ, นายณัฐกรณ์ พงศ์พันธุ์         ๒.๒ การจัดทำอัลบั้มเพื่ออนุรักษ์ภาพถ่าย วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เม.ย. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ               วิทยากร    นางสาวอาทิพรรษ์ ผาจันดา, นางกฤตพร หย่องเจริญ, นางสาวณัฐชยา สระทองคำ, นางสาวชิตวรรณ เจริญสิน         ๒.๓ ออกแบบฉลุลาย ปั๊มลาย เขียนสี วันอาทิตย์ที่ ๒๘ เม.ย. ๒๕๖๗              หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักช่างสิบหมู่              วิทยากร    นางสาวนิธีราฤดี ภาตะนันท์, นายธรรมรัตน์ กังวานก้อง, นายวิสูตร ศรีนุกูล, นายสิทธิพร สระโพธิ์ทอง, นางสาวสุภัทรา ทรัพย์สงเคราะห์         ๒.๔ แกะภาพพิมพ์ลายไม้พิมพ์ลายกระเป๋า วันอาทิตย์ที่ ๕ พ.ค. ๒๕๖๗              หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักช่างสิบหมู่              วิทยากร   นายสาโรจน์ แสงสี, นายชรินทร์ ฉายอรุณ, นางสาวชุลีวัลย์ วงค์บุญ, นายรัชชานนท์ เสนวงค์, นายพิพัฒน์พงศ์ ราชภักดี,   นางสาวพรพรรณ์ พัฒนธาดาพงษ์       ๒.๕ เขียนลายรดน้ำ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ พ.ค. ๒๕๖๗                หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักช่างสิบหมู่               วิทยากร    นายยิ่งพันธ์ ปิยาเล่ธนกาญจน์, นายสุเพล สาตร์เสริม, นายสุธี สกุลหนู, นายธราธร แก้วโสนด, นายคฑา ม่วงเทศ, นางสาวชุตินันท์ กฤชนาวิน       ๒.๖ การจารใบลานและทำที่คั่นหนังสือ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ พ.ค. ๒๕๖๗              หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักหอสมุดแห่งชาติ              วิทยากร   นางศิวพร เฉลิมศรี, นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวชญานุตย์ จินดารักษ์, นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย       ๒.๗ หัดเขียนลายสือไทย วันอาทิตย์ที่ ๒ มิ.ย. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักหอสมุดแห่งชาติ               วิทยากร     นายเทิม มีเต็ม, นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, นางศิวพร เฉลิมศรี, นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวชญานุตย์ จินดารักษ์   ๓.  การสาธิต (ถ่ายทอดสด Facebook live) / Walk Rally       ๓.๑ การสวดมหาชาติคำหลวง : ราชประเพณีที่สืบทอดจากกรุงศรีอยุธยา วันอาทิตย์ที่ ๙ มิ.ย.๒๕๖๗              หน่วยงานที่รับผิดชอบ   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และเจ้าหน้าที่จากกรมการศาสนา              วิทยากร                       นายเฉลิมชัย ดงจันทร์, นายณัฐพล เกิดเอี่ยม, นายทินวุฒิ บัวรอด, นายรณกร ด้วงโยธา              ผู้ดำเนินรายการ            นางสาวชนิดา สีหามาตย์          ๓.๒ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ สู่การแสดง ‘นารายณ์ปราบนนทก’ ของกรมศิลปากร  วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๖๗              หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์              วิทยากร                        นายจรัญ พูลลาภ, นายพิรชัช สถิตยุทธการ, ศิลปิน ๒๕ คน         ๓.๓ Walk Rally ร่วมสนุกตามหาเอกสารล้ำค่าจารึกสยาม วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิ.ย. ๒๕๖๗              หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   ๔.  อวดของสะสม (ถ่ายทอดสด Facebook live)       ๔.๑ นักสะสมบันทึกสยามของต่างชาติ วันเสาร์ที่ ๒๗ เม.ย. ๒๕๖๗               หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ               วิทยากร                        นายอรรถดา คอมันต์, ผศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง, ร.ต. สามารถ เวสุวรรณ์               ผู้ดำเนินรายการ             นางภาวิดา สมวงศ์            ๔.๒ อวดของสะสมนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ และของที่ระลึก ๑๐๐ปี หอสมุดแห่งชาติ วันเสาร์ที่ ๔ พ.ค. ๒๕๖๗ หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ                  วิทยากร                     นายวีระ  โรจน์พจนรัตน์, นางสาวพิมพ์พรรณ  ไพบูลย์หวังเจริญ                   ผู้ดำเนินรายการ          นายทัตพล พูลสุวรรณ          ๔.๓ พระ/เทวรูป วันเสาร์ที่ ๒๕ พ.ค. ๒๕๖๗ หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ                 วิทยากร                      นายพนมบุตร  จันทรโชติ (อธิบดีกรมศิลปากร), นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร                 ผู้ดำเนินรายการ           นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์         ๔.๔ หนังสือเก่า/ลายพระหัตถ์ ร.๕ ตั้งพระนามพระธิดา กับแผนที่กรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พ.ค.๒๕๖๗ หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ                  วิทยากร                     นายอเนก นาวิกมูล, นายธงชัย ลิขิตพรสวรรค์                   ผู้ดำเนินรายการ         นางสาวบุบผา ชูชาติ    ๕. การแบ่งกลุ่มบรรยายนำชมนิทรรศการ ทุกวันอาทิตย์ วันละ ๖ คน จำนวน ๑๔ วัน  หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ                 วิทยากรนำชมประกอบด้วย                 ๑) ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (นางรักชนก โคจรานนท์) หรือผู้แทน                 ๒) ผู้แทนสำนักสถาปัตยกรรม                 ๓) ผู้แทนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร                 ๔) ผู้แทนสำนักหอสมุดแห่งชาติ                 ๕) ผู้แทนสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ                 ๖) ผู้แทนสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์


ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุขสมหวัง สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงตลอดปีและตลอดไป


วันศุกร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบกรมศิลปากร เป็นประธานพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร มาประดิษฐานบนมณฑปพิธี ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในเทศกาลสงกรานต์


           กรมศิลปากร ขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย โดยอัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมประดิษฐานในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญ  ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเทวดานพเคราะห์ ๙ องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำขอพร ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ เนื่องด้วยในสมัยโบราณ คนไทยมักไม่นิยมนับอายุตามวันเกิด แต่จะนับตามการเถลิงศักราชใหม่ในช่วงปีใหม่ไทยคือ สงกรานต์ หากปีใดมีความป่วยไข้ หรือทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนทักษา โดยเฉพาะเจ้านายก็จะขึ้นเกยส่งเทวดาเก่ารับเทวดาใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะนำพาสิริมงคลมาพร้อมกับศักราชใหม่              ทั้งนี้ เทวดานพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวง พระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสา พระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ และ พระเกตุ ทรงนาค             ขอเชิญพุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต อันเป็นวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ของไทย และเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนสืบทอดองค์ความรู้ในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น  


           วันนี้ (วันศุกร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗) เวลา ๐๙.๔๕ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสมโภชพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ นำออกให้ประชาชนสักการะและสรงน้ำขอพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนร่วมในพิธี           กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย เนื่องด้วยในสมัยโบราณ คนไทยมักไม่นิยมนับอายุตามวันเกิด แต่จะนับตามการเถลิงศักราชใหม่ในช่วงปีใหม่ไทยคือ สงกรานต์ หากปีใดมีความป่วยไข้ หรือทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนทักษา โดยเฉพาะเจ้านายก็จะขึ้นเกยส่งเทวดาเก่ารับเทวดาใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะนำพาสิริมงคลมาพร้อมกับศักราชใหม่ จึงได้อัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมทีประดิษฐานในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญที่ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำขอพร ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์  เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต อันเป็นวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ของไทย และเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนสืบทอดองค์ความรู้ในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้ เทวดานพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่   นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์)  ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวงพระจันทร์ ทรงม้าพระอังคาร ทรงมหิงสาพระพุธ ทรงคชสารพระพฤหัสบดี ทรงกวางพระศุกร์ ทรงโคพระเสาร์ ทรงพยัคฆ์พระราหู ทรงพญาครุฑและ พระเกตุ ทรงนาค             สำหรับประติมากรรมเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ที่อัญเชิญมาประดิษฐานตามระบบทักษาในแผนผังอัฐจักรนี้ สร้างขึ้นตามแบบเทวดานพเคราะห์ของไทย แต่งกายคล้ายคลึงกับภาพเทวรูปในสมุดไทยหมวดตำราภาพเทวรูปไสยาศาสตร์ เล่มที่ ๗๐ สำนักหอสมุดแห่งชาติ สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๒ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วังหน้าองค์ที่ ๔ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งประติมากรรมเทวดานี้มีความคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมเทพยดาบนบานประตูหน้าต่างด้านในของพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ทรงร่วมในการควบคุมการก่อสร้างเช่นกัน ความพิเศษของประติมากรรมชุดนี้ คือ สามารถถ่ายทอดรูปแบบของเทวดา  นพเคราะห์ให้ออกมาเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว แสดงท่าทางและลักษณะได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ และลักษณะของเทพแต่ละองค์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา โดยเปรียบเทียบลักษณะประติมานวิทยากับภาพใน  สมุดไทย และรูปสัตว์ที่มีความเหมือนจริงเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากตะวันตก    พุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 





           สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังการเสวนาอวดของสะสม “นักสะสมบันทึกสยามจากต่างแดน” ภายใต้งานนิทรรศการพิเศษ เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม ณ ห้องดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 เวลา 13.00-16.00 น. วิทยากรโดย นายอรรถดา คอมันตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พีรศรี โพวาทอง และเรืออากาศตรี สามารถ เวสุวรรณ์ ดำเนินรายการโดยนางภาวิดา สมวงศ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ พร้อมจัดแสดงเอกสาร ภาพถ่ายเก่า และศิลปวัตถุทรงคุณค่าจารึกสยาม ในความดูแลของภาคเอกชนในงานเสวนา เพียงวันเดียวเท่านั้น !            ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานรับฟังการเสวนา พร้อมลุ้นรับของที่ระลึก ตาม QR Code หรือผ่านลิงก์ https://url.in.th/kJBWs รับจำนวนจำกัด 100 ท่าน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ หรือจนกว่าจะเต็ม


วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมด้วยนางสาวสุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมโครงการสรงน้ำพระธาตุเจ้าเวียงกุมกาม และโครงการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ "สืบฮีตสานฮอย ผ่อกอยเวียงกุมกาม" ณ โบราณสถานเวียงกุมกาม (วัดอีก้าง) ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่


           สำนักการสังคีต ขอเชิญชมการแสดงโขน ประกอบแสง สี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง ในโครงการการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจร วันอังคารที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ ปราสาทเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีตกำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต ชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑




หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ดำเนินการสร้างห้องลดฝุ่น โดยติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ๒ เครื่อง เพื่อลดการสัมผัสฝุ่น และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยการป้องกันฝุ่นไม่ให้เข้าห้องหรือมีฝุ่นน้อยลง ได้ที่ห้องหนังสือเยาวชน


กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการศิลปากรสัญจรครั้งที่ 3 “สืบสานธรรมเนียมโบราณ นมัสการพระใหญ่ในพระนคร” พาทุกท่านเข้ากราบนมัสการพระใหญ่ 4 พระอารามสำคัญในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดกัลยาณมิตร และวัดอินทรวิหาร แถมท้ายด้วยสักการะขอพรเจ้าแม่กวนอิม ณ ศาลเจ้าเกียนอันเกง พร้อมรับฟังบรรยายพิเศษตลอดเส้นทางโดย นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ศิลปินแห่งชาติ รศ. ดร.ศานติ ภักดีคำ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และ ผศ.ธนโชติ เกียรติณภัทร อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำกัดเพียง 40 ที่นั่งในราคา 1,500 บาทต่อท่าน (ราคารวม อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารว่าง น้ำดื่ม และค่ารถ)ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่ คุณสุภาพร ปัญญารัมย์ โทร 09-2634-8583