ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,309 รายการ

ชื่อเรื่อง : ตำนานคณะสงฆ์ ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : สามมิตร


          วัดศรีสวายตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ และอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศใต้ โบราณสถานสำคัญประกอบไปด้วยปรางค์ ๓ องค์ ที่มีรูปแบบศิลปะลพบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม แต่ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียวตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ มีลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ ส่วนด้านหน้าขององค์ปรางค์ มีวิหาร ๒ หลังที่สร้างเชื่อมต่อกัน โบราณสถานทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งก่อด้วยศิลาแลง          จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้สันนิษฐานว่าวัดศรีสวายสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และมีการบูรณะเพิ่มเติมในสมัยอยุธยา สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่า วัดนี้เดิมคงเป็นเทวสถานและคงมีชื่อเรียกว่า “ศรีศิวายะ” ซึ่งหมายถึงพระศิวะ และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ พระบรมโอรสาธิราชได้เสด็จประพาสและทรงพบรูปพระสยม “พระศิวะ” ในวิหารและหลักไม้ปักอยู่ในโบสถ์ซึ่งทรงสันนิษฐานไว้ว่า “เดิมคงเป็นโบสถ์พราหมณ์ใช้ในพิธีโล้ชิงช้า(ตรียัมปวาย)” บริเวณรอบนอกกำแพงแก้วมีสระน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า “สระลอยบาป” ตามศาสนาฮินดู อาจใช้ในพิธีลอยบาปหรือล้างบาป ในเวลาต่อมาวัดนี้จึงถูกแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา //ข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


ชื่อเรื่อง : รามเกียรติ์ เล่ม 11 ชื่อผู้แต่ง : พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 330 หน้า สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร  ดำเนินเรื่องโดยการเล่าเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบ พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ เล่ม 11 เริ่มจากตอน พระรามสารภาพผิดขอให้สีดากลับเข้าเมืองแต่สีดาไม่ยอมกลับ พระรามเลิกทัพกลับเมือง หนุมานไปลวงนางสีดา นางสีดาหนีไปเมืองบาดาล พระรามรำพึงถึงนางสีดา สดุดีพระรามและนางสีดา จนถึงตอนพระราชประสงค์ของผู้ทรงนิพนธ์รามเกียรติ์


ว่าด้วย ตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้ทราง, ยาแทงทอง, ยาแก้ไข้เนื้อสาริบาด, แก้ปวด, ยาถอนพิษ, ยากะทุงกาน เป็นต้น


จักรปาณี (ฤกษ์), หลวง.  นิราศทวาราวดี และ บทละคอนเรื่องมณีพิไชย.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2512.        เรื่องนิราศทาวารวดี นี้ หลวงจักรปาณี (ฤกษ์) เปรียญ กวีในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เป็นผู้แต่ง เนื้อหาหัวข้อ นิราศร้างห่างไกลอาลัยสมร นอกจากนี้ในเล่มยังมีเนื้อหาบทละครเรื่องมณีพิไชย ตอนพราหมณ์ยอพระกลิ่นขอพระมณีพิไชยไปเป็นทาส พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อีกด้วย




รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562




ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ ปีที่พิมพ์ : 2486 หมายเหตุ : พิมพ์เนื่องในงานฉลองวันชาติประจำปี พ.ส. 2486               วิวัธนาการ แห่งการทหาน และ สัตราวุธในกองทัพบกสมัยโบราณ เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของนักรบไทยสมัยโบราณ ลักษณะและประเภทของอาวุธ หลักการจัดทหานและวิธีรบ และการสดุดีเกียตคุนนักรบไทยในสมัยโบราณ


ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศิวพร จำนวนหน้า : 952 หน้า สาระสังเขป : หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เป็นบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติไทย กล่าวถึงเรื่องการสร้างกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วยเหตุการณ์เมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ประวัติไทย ประวัติขอม ประวัติพม่า พงศาวดารของพระเจ้าอู่ทอง ประวัติของราชอาณาจักรสุโขทัย และประวัติอาณาจักรล้านนาไทย และอธิบายเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



องค์ความรู้ เรื่อง พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย


ผู้แต่ง : พระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2501 หมายเหตุ : หม่อมราชวงศ์ พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต พิมพ์สนองรพระเดชพระคุณในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี               เป็นบันทึกของพระวิชิตณรงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งตรีทูต จดไว้เมื่อคราว    โปรดฯให้พระยาศรีพิพัฒน์เป็นราชทูตออกไปเจริญทางพระราชไมตรียังราชสำนักพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ในสมัยรัชชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2404 เนื้อความแบ่งออกเป็นตอนๆ ดังนี้ ตอนที่ 1 กล่าวถึงการเดินทางออกจากรุงเทพฯถึงสิงคโปร์ ตอนที่ 2    การเดินทางจากสิงคโปร์จนถึงเกาะลังกา ตอนที่ 3 ออกเดินทางจากเกาะลังกาถึงเมืองเอเดน ตอนที่ 4 ออกเดินทางจากเมืองเอเดนถึงเมืองไกโรและเมืองอาเล็กซันดรี ตอนที่ 5 ออกเดินทางจากเมืองอาเล็กซานดรี ถึงเมืองตุลน เมืองมาเซ เมืองไลยอน และเมืองปารีส ตอนที่ 6 กล่าวถึงราชทูตเข้าเฝ้าเอมเปอเรอฝรั่งเศส ตอนที่ 7 กล่าวถึงการเที่ยวดูสถานที่ต่าง ๆ


          เครื่องทำเสียงสัญญาณสำหรับแขวนคอวัวควาย ทำด้วยโลหะ รูปร่างคล้ายระฆังแต่เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนโค้งมน มีหูสำรับสอดไม้แขวนลอยอยู่ระหว่างขาไม้โค้ง ซึ่งตั้งอยู่บนฐานไม้           ผางลางใช้วางไว้บนหลังวัวหรือเกวียนเล่มแรกของขบวนขนส่งสินค้า เพื่อให้เกิดเสียงดัง เช่นเดียวกับกระดิ่งหรือกะลอที่แขวนคอวัว แต่ผางลางจะมีเสียงก้องกังวานไปไกล เป็นสัญญาณให้ขบวนวัวที่อยู่ถัดไปตามได้ถูกทางและรู้ตำแหน่งของหัวหน้าขบวนหรือผู้นำทางของตน           ในกองคาราวานของพ่อค้าวัวต่างมักประกอบด้วยพ่อค้าวัวต่าง ๓-๕ คน พ่อค้าแต่ละคนอาจมีวัวต่างของตัวเอง ๑๐-๖๐ ตัวโดยอาจว่าจ้างคนในหมู่บ้านหรือพี่น้องเครือญาติช่วยควบคุมวัวของตนเอง ในการเดินทางขบวนวัวต่างมักเดินตามกันเป็นแถว โดยวัวตัวที่นำหน้าอาจมีผางลางวางบนหลัง หรือมีกระดิ่งแขวนไว้ที่คอ เพื่อเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากองคาราวานเดินทางไปถึงไหน และยังเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากองคาราวานได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านแล้ว หลังเสร็จสิ้นภารกิจในการเดินทางแต่ละวัน พ่อค้าวัวต่างต้องหยุดพักที่ปาง โดยต้องเลือกทำเลที่มีหญ้า มีน้ำ อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ราบหรือพื้นที่ที่ค่อนข้างโล่งปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและสัตว์ป่า มีการจัดเวรยามเพื่อเฝ้าระวังอันตราย -----------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน -----------------------------------------------เอกสารอ้างอิง พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน : รศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ สนพ.เมืองโบราณ รายงานการวิจัยเรื่องพ่อค้าวัวต่าง : ชูสิทธิ์ ชูชาติ ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น, ๒๕๔๕