ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 34,643 รายการ

ชื่อเรื่อง                           สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา(เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  108/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 53.9 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                           กจฺจายนมูล (กัจจายนมูล)สพ.บ.                             185/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           64 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 กัจจายนมูลบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-ยมก)สพ.บ.                                  127/4กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี



ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ.                                  161/17ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ประเพณีลอยโขมดเป็นประเพณีที่ชาวบ้านต้นธง ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน รวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง จัดขึ้นในช่วงยี่คืนวันเพ็ญในเดือนยี่เป็ง หรือเพ็ญเดือนสิบสอง  ชาวบ้านจะมีการนำกาบกล้วยมาทำเป็นกระทงทรงกระโจมสำหรับใส่สิ่งของต่างๆ ลอยไปตามลำน้ำกวงบริเวณหน้าวัดรมณียาราม หรือวัดกู่ระมัก ในเวลากลางคืนพร้อมทั้งจุดเทียนไปในกระทงนั้นด้วย ทำให้เกิดแสงแวววาวกระทบกับผิวน้ำในคืนวันเพ็ญคล้ายกับดวงไฟของผีโขมด ซึ่งผีโขมดนี้ เป็นชื่อเรียก ผีป่า ที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพะเนียงไฟมองเห็นเป็นระยะอย่างผีกระสือ ชาวล้านนา จึงเรียกว่า ลอยโขมด  +++ประเพณีการลอยโขมดเชื่อว่ามีต้นเค้ามาจากตำนานจามเทววีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย และชินกาลมาลีนี ที่แต่งขึ้นในสมัยล้านนา กล่าวถึงการลอย “ขาทนียโภชนียาหาร” ตามน้ำลงไปทางใต้ ในตำนานกล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากพระเจ้ากมลราชกษัตริย์พระองค์หนึ่งในนครหริภุญไชย ได้เกิดโรคระบาด (อหิวาตกโรค) ชาวนครหริภุญไชยจึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่เมืองสุธรรมนคร หรือเมืองสุธรรมวดี(สะเทิม) แล้วจึงย้ายไปอาศัยในเมืองหงษาวดีราว ๖ ปี ต่อมาเมื่อโรคระบาดหายแล้ว ชาวนครหริภุญไชยบางส่วนได้เดินทางกลับมายังที่เดิม บางส่วนก็สมัครใจที่จะอาศัยอยู่ในเมืองหงษาวดี  เมื่อกลับมาแล้วต่างอาลัยถึงญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ทางนั้นจึงได้แต่งเครื่องสักการะลอยไปในแม่น้ำเพื่อเป็นการระลึกถึงชาวนครหริภุญไชยที่อาศัยอยู่หงษาวดี ในตำนานยังกล่าวไว้ด้วยว่าเป็นจารีตที่ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน บางแห่งได้มีการทำเป็นรูปแบบของกระทงเป็นรูปสำเภา หรือสะเปา ในภาษาถิ่นภาคเหนือใส่เครื่องบูชาและจุดประทีบดวงไฟเช่นเดียวกัน   สำหรับประเพณีลอยโขมด ตำบลต้นธง ครั้งที่ ๖ จัดขึ้นที่ท่าน้ำวัดรมณียาราม หรือวัดกู่ระมัก ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน จัดขึ้นในวันที่ ๖-๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ในกิจกรรมจะมีการบรรยายและสาธิตให้ความรู้เกี่ยวกับการทำโขมด การก่อเจดีย์ทราย การทำประตูป่า และจะขบวนแห่โขมดหลวงและพิธีลอยโขมดในช่วงค่ำของวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓  +++++ อ้างอิง  -พระโพธิรังสี. จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. นนทบุรี: ศรีปัญญา, ๒๕๕๔. -ทองทวี ยศพิมสาร. ฮีตคนเมือง ฉบับสัปป๊ะเรื่องเมืองล้านนา. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์, ๒๕๕๓.  -สงวน โชติสุขรัตน์. ประเพณีไทยภาคเหนือ. (พิมพ์ครั้งที่ ๓) นนทบุรี: ศรีปัญญา, 25๕๓. -สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน. (๒๕๕๙). ประเพณีลอยโขมดบ้านต้นธงประจำปี ๒๕๕๙. สืบค้นเมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓.จาก https://www.m-culture.go.th/lamphun/ewt_news.php?nid=540.


กฏหมายพระธรรมศาสตร์ ชบ.ส. ๙๓ เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.30/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง         พระครูประกาศสมาธิคุณ  ชื่อเรื่อง           หลวงพ่อเงิน กับ มฤคทายวันมหาวิหาร     พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพ สำนักพิมพ์       โอเดียนสโตร์ ปีที่พิมพ์          2513 จำนวนหน้า      52  หน้า                     หลวงพ่อเงิน กับ มฤคทายวันมหาวิหาร  จัดพิมพ์เป็นพุทธบูชาในการทอดผ้าป่าวันอาสาฬหบูชา  เมื่อวันที่ 18  กรกฎาคม  2513  เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวชาวไทยพุทธและชาวพุทธชาติต่าง ๆ  ได้เดินทางไปประเทศอินเดียเพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง  4 คือสถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ  ตรัสรู้  แสดงปฐมเทศนา  และปรินิพาน  สิ่งที่จูงใจให้ทุกคนไปชมพูทวีป   


          เมื่อจะนึกถึงเรื่องราวการฉายภาพยนตร์กลางแปลงหรือตามโรงภาพยนตร์ในอดีต ย้อนกลับไปสัก 40-60 ปี ภาพยนตร์ที่ได้รับความสนใจก็จะเป็นภาพยนตร์ไทย และภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่เป็นเรื่องราวสงคราม การต่อสู้ ความรัก เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้จากการปฏิบัติงาน ผู้เขียนได้อ่านเอกสารเรื่องหนึ่งของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี โดยปกของเอกสารจุดหมายเหตุปึกเรื่องนี้ เขียนเพียงว่า “ภาพยนต์พระราชทาน” มีเอกสารทั้งหมด 52 แผ่น เป็นเรื่องราวการฉายภาพยนตร์พระราชทานในท้องที่จังหวัดจันทบุรี ด้วยเรื่องราวย้อนไปถึงเหตุการณ์ในช่วง พ.ศ. 2503 หรือกว่า 60 ปีผ่านมา ซึ่งผู้เขียนแน่นอนว่าไม่ทันกับเหตุการณ์ในช่วงนั้น จึงพยายามหาข้อมูลอื่นมาประกอบกับเอกสารชุดนี้ ประกอบเป็นเรื่องราวสะท้อนเหตุการณ์ในอดีตของจันทบุรีพอสังเขป          จากข้อมูลของหอภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ฟิล์มภาพยนตร์และภาพนิ่งส่วนพระองค์ ดำเนินการถ่ายทำโดย ฝ่ายภาพยนตร์และภาพนิ่งส่วนพระองค์ สำนักพระราชวัง ซึ่งได้เริ่มมีการถ่ายทำภาพยนตร์ม้วนแรก และเก็บสะสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 จำนวนกว่า 6,000 ม้วน ถ่ายทำด้วยฟิล์มสี ขนาด 16 มิลลิเมตร ครั้งแรกที่ชาวไทยได้มีโอกาสชมภาพยนตร์ส่วนพระองค์ โดยการฉายภาพพระราชพิธีบนจอภาพยนตร์ คือ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 9) ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ วังสระปทุม จากการศึกษาเรื่องการอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ส่วนพระองค์ โดยหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ทำให้ทราบว่า ภาพยนตร์ส่วนพระองค์อย่างน้อยอีก 16 เรื่อง ได้รับการฉายในโรงภาพยนตร์ไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2510           ในช่วงที่โทรทัศน์ ยังไม่แพร่หลายและมีเฉพาะอยู่ในกรุงเทพฯ ประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรีก็มีโอกาศได้รับชมภาพยนตร์ส่วนพระองค์ เช่นกันใน พ.ศ.2503 ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 9) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ชุดเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคใต้ เดินทางออกฉายทั่วประเทศ โดยไม่เก็บค่าเข้าชม โดยหน่วยเคลื่อนที่ของเจ้าหน้าที่ของสำนักพระราชวัง โดยจังหวัดจันทบุรี กำหนดฉาย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2503 เวลา 20.00 น. ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรี (ปัจจุบันคือหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี) จากรายงานพบว่ามีประชาชนกว่า 100 คนเข้าร่วมชมภาพยนตร์ส่วนพระองค์ในครั้งนี้            คลิกดู ภาพยนตร์พระราชทาน ชุดเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคใต้ จาก หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=EEGmN902AxE            ภาพยนตร์ชุดนี้ เป็นการบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์การเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ โดยเสด็จฯ ทางรถไฟจากสถานีสวนจิตรลดา สู่จังหวัดนครปฐม และเสด็จไปยังจังหวัดชุมพร ต่อจากนั้นเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส และสุราษฎร์ธานี           ใน พ.ศ. 2504 จังหวัดจันทบุรี ได้ขอพระราชทานภาพยนตร์ส่วนพระองค์ มาจัดฉายเพื่อเก็บรายได้บำรุงโรงพยาบาลพระปกเกล้า โดยจัดฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ชุดเสด็จเยี่ยม เวียดนาม อินโดนีเซีย และพม่า จัดฉายระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน 2504 ณ โรงภาพยนตร์จันทบุรีภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์เฉลิมจันทร์ โรงภาพยนตร์บุญปัญญา อำเภอขลุง และโรงภาพยนตร์ท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ โดยเก็บค่าบัตรผ่านประตู ชั้นพิเศษ 20 บาท ชั้นที่ หนึ่ง 10 บาท ชั้นที่สอง 8 บาท ชั้นที่สาม 5 บาท นักเรียน 3 บาท ขายบัตรในการฉายภาพยนตร์ในครั้งนี้ทั้งหมด 850 ใบ ได้เงินรายได้บำรุงโรงพยาบาลพระปกเกล้ากว่า 10,602 บาท           สำหรับการฉายในกรุงเทพฯ จะมีการประชาสัมพันธ์การเข้าฉายของภาพยนตร์ส่วนพระองค์ด้วยการให้รถปิคอัพขับไปรอบกรุงเทพฯ และกระจายข่าวทางลำโพง นอกจากนี้ ภาพยนตร์ส่วนพระองค์หลายเรื่องที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพฯ จะมีจำนวนผู้เข้าชมสูงมาก ดังจะเห็นได้จากการที่ขายบัตรเข้าชมได้มากกว่าภาพยนตร์ฮอลลิวูดและภาพยนตร์ไทยเรื่องอื่นๆ ที่เข้าฉายในเวลาเดียวกัน ซึ่งการนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์เรื่องใหม่ออกฉาย เป็นสิ่งที่ผู้ชมเฝ้ารอกันอย่างมาก---------------------------------------------------------ผู้เขียน อดิศร สุพรธรรม นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี---------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. จบ1.2.4/895 เอกสารชุดจังหวัดจันทบุรี ส่วนสำนักงานปกครองจังหวัด. เรื่องภาพยนต์พระราชทาน (26 มกราคม 2503 – 4 พฤษภาคม 2504) หอภาพยนต์ส่วนพระองค์(2564) สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564 จาก http://www.thaicadet.org/.../RoyalPrivateFilmArchive.html


+++++กู่โพนระฆัง+++++ ----- กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๔๐๐ เมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๒ หน้า ๒๖ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน ๑๗ ตารางวา ----- กู่โพนระฆัง สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปราสาทประธาน ฐานก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานเขียง ๕ ชั้น มีบันไดทางขึ้น ๔ ด้าน เรือนธาตุก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ก่อมุขยื่นออกมาด้านหน้าและเจาะช่องหน้าต่างที่ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านหน้าปราสาทประธานมีชาลา (ทางเดิน) เชื่อมกับโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่กึ่งกลางแนวกำแพงทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายมีผังเป็นรูปกากบาท มีห้องมุขด้านทิศตะวันออก มีบรรณาลัย ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันตก โดยรอบก่อกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน และมีสระน้ำกรุขอบสระด้วยศิลาแลงอยู่ด้านนอกของกำแพงแก้วทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ----- จากหลักฐานจารึกปราสาทตาพรหม ได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดฯให้สร้าง “อโรคยาศาล” หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ตามเส้นทางจากเมืองพระนครไปยังหัวเมืองต่างๆ จำนวน ๑๐๒ แห่ง ซึ่งในประเทศไทยพบอโรคยาศาลจำนวนหลายแห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรศิลปะแบบบายน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘) จากลักษณะแผนผังของกู่โพนระฆัง แสดงให้เห็นว่าเป็นหนึ่งในอโรคยาศาลที่ถูกกล่าวถึงในจารึกปราสาทตาพรหม เพราะแผนผังและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอโรคยาศาลจะเป็นแบบแผนเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อยบางอย่าง เช่น ขนาดของอาคาร การเจาะช่องหน้าต่าง และการทำมุขปราสาทประธาน เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่าโบราณสถานประเภทนี้สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน โดยช่างฝีมือในท้องถิ่นกรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นขุดแต่งกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ บูรณะสระน้ำของกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ และบูรณะกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ ----- จากการขุดศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชุมชนที่อยู่บริเวณบ้านกู่กาสิงห์ในขณะนั้น ได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบมหายานแทนศาสนาฮินดู ตามแบบอย่างราชสำนักในเมืองพระนคร ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ทรงโปรดฯให้สร้างอโรคยาศาล ตามชุมชนในเขตการปกครองของพระองค์ ---------------------------------------------------------------- -- อ้างอิง -- ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. รายงานการบูรณะกู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑. ปุราณรักษ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ๒๕๕๑. ศิลปากร, กรม. โดย สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี. รายงานการขุดค้น-ขุดแต่งเพื่อการออกแบบบูรณะโบราณสถานกู่โพนระฆัง บ.กู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด. ม.ป.ท. : ม.ป.ป., ๒๕๔๕. (อัดสำเนา) ข้อมูล นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ    


พระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร).  นิทานเทียบสุภาษิต ฉบับพระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร) พระสุวรรณรัศมี เฉพาะภาคที่ 4 และภาคที่ 5 บางเรื่อง (เรื่องที่ 20 - 30).  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2523.         นิทานเทียบสุภาษิตนี้เป็นเรื่องที่มีคุณค่า เป็นแนวทางสอนที่ดีให้ยึดถือปฏิบัติซึ่งพระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร) หรือพระสุวรรณรัศมี ได้รวบรวมแต่งไว้เป็นนิทาน  84 เรื่อง ในเล่มนี้ ประกอบด้วย เรื่องที่ 20-30


ว่าด้วยชื่อเมืองศรีเทพ : ข้อสังเกตเพิ่มเติม “…สืบถามต่อไปถึงชื่อเมืองอภัยสาลี แกว่าเป็นแต่พระธุดงค์บอกชื่อให้ หม่อมฉันจึงยุติว่าเมืองสีเทพ หรือศรีเทพหรือสีห์เทพ คงเป็นชื่อเมืองโบราณนั้น” นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2447 เมืองโบราณร้างขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำป่าสักก็ถูกรู้จักในนาม “เมืองศรีเทพ” จากพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งเสด็จไปตรวจราชการที่เพชรบูรณ์ ในนิทานโบราณคดี เรื่องความไข้เมืองเพชรบูรณ์ระบุว่า. “…ทรงสืบหาเมืองโบราณแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า “ศรีเทพ” เนื่องจากพระองค์เคยพบชื่อเมืองศรีเทพจากทำในทำเนียบเก่าบอกรายชื่อหัวเมืองและสมุดดำต้นร่างกะทางให้คนเชิญตราไปบอกข่าวสิ้นรัชกาลที่ 2” เมื่อพบกับพระยาประเสริฐสงคราม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดวิเชียรบุรี ได้ความว่า เมืองวิเชียรบุรีแต่เดิมมีชื่อเป็น 2 อย่าง คือเมืองท่าโรง และเมืองศรีเทพ โดยเรียกตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดว่า “พระศรีถมอรัตน์” จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้ยกเมืองศรีเทพขึ้นเป็นเมืองตรี เปลี่ยนนามเมืองเป็นวิเชียรบุรี ส่วนชื่อเมืองอภัยสาลีเป็นชื่อที่พระธุดงค์เรียกจะเอาเป็นไม่ได้ แล้วเหตุใดจึงมีพระวินิจฉัยว่า เมืองโบราณขนาดใหญ่ใกล้เมืองวิเชียรบุรีจึงเป็นเมืองศรีเทพ ? ในเรื่องความไข้เมืองเพชรบูรณ์ได้ระบุข้อความที่น่าสนใจว่า “...มาถึงบ้านนาตะกุด อันเป็นท่าที่จะขึ้นเดินบกไปยังเมืองโบราณในวันนั้น ให้เรียกพวกชาวบ้านศรีเทพอันอยู่ใกล้เมืองโบราณมาถามถึงเบาะแส...” และ “...เมืองโบราณนั้นพวกพราหมณ์จะขนานชื่อว่ากระไรก็ตาม เป็นมูลของชื่อเก่าเมืองวิเชียรที่เรียกว่า เมืองศรีเทพ เพราะยังเรียกเป็นชื่อตำบลบ้านชานเมืองมาจนบัดนี้…” จากข้อความข้างต้นชวนให้คิดสงสัยว่า “ศรีเทพ” นั้นเป็นชื่อของชุมชนที่อยู่ใกล้เมืองโบราณ (แต่ยังมิได้เรียกเมืองโบราณดังกล่าวว่าเมืองศรีเทพ) จึงเป็นเหตุให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่าเป็นมูลของชื่อเก่าเมืองวิเชียรบุรี ต่อมาในปีพ.ศ.2478 กรมศิลปากรได้ทำการประกาศขึ้นทะเบียนเมืองศรีเทพหรือไพศาลีเป็นโบราณสถาน และในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานชื่อเดิมของเมือง เมืองโบราณแห่งนี้จึงยังคงชื่อเมืองศรีเทพไปก่อน ถึงกระนั้น จากเรื่องราวการเสด็จเมืองวิเชียรบุรีของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทำให้มองเห็น ‘ร่องรอย’ ความสัมพันธ์ของเมืองวิเชียรบุรีและเมืองโบราณศรีเทพ เมื่อชื่อเดิมของตำแหน่งเจ้าเมืองวิเชียรบุรีเรียก “พระศรีถมอรัตน์” อันเป็นชื่อของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งจากการค้นคว้าเพิ่มเติม พบชื่อ พระศรีสมอรัตนราชภักดีศรีบวรพัช เมืองท่าโรง ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ตรงกับที่พระยาประเสริฐสงครามให้ข้อมูลไว้ว่าเมืองท่าโรงมีพระศรีถมอรัตน์เป็นเจ้าเมือง ทว่าเมื่อค้นคว้าชื่อเมืองศรีเทพ กลับพบว่าในเอกสารบางฉบับกล่าวถึงชื่อเมืองศรีเทพแยกออกจากเมืองท่าโรง อาทิ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวถึงเจ้าคณะซ้ายเมืองเหนือ ความว่า “… เมืองไชยบาดาล ๑ เมืองสระบุรี ๑ เมืองท่าโรง ๑ เมืองนครราชสีมา ๑ เมืองนางรอง ๑ เมืองพิมาย ๑ เมืองศรีเทพ ๑…” และจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 ความว่า “...แตบัวชุมไปศรีเทพวัน แต่สิเทพไปถาโรงครึ่งวัน แตทาโรงไปกองทูนวัน...” นักวิชาการบางท่านได้ตั้งข้อสังเกตถึงชื่อตำแหน่งขุนนางว่า ศรีเทพ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ตำแหน่งหมอศรีเทพ กรมหมอช้าง และขุนสีเทพ สังกัดกรมพระคลังวิเศศ ,พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ตำแหน่งพันบุตรศรีเทพ พนักงานเฝ้าหอพระ และในพงศาวดาร ฉบับไมเคิล วิกเคอรี กล่าวถึงทหารผู้สมคบคิดกับพระยาแก้วพระยาไทยก่อกบฏลอบปรงพระชนม์สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ความว่า “...นายง้วศรีนายศรีหวิไชย นายศรีเทพศุก นายเจดห้วอิกห้วพันหัวปากนาย” คำว่านายศรีเทพศุก ก็อาจเป็นคำเรียกชื่อตำแหน่งทหารเช่นเดียวกัน (ผู้เรียบเรียง) ถึงแม้คำว่า “ศรีเทพ” จะปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณหลายฉบับ จนขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่จะเชื่อมโยงถึงเมืองโบราณศรีเทพ อันเป็นเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีแต่อย่างใด เพราะจากหลักฐานทางโบราณคดีบอกว่า เมืองศรีเทพค่อย ๆ ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้างไปในที่สุดในพุทธศตวรรษที่ 18 ก่อนอาณาจักรอยุธยาถือกำเนิดขึ้นราว 200 ปี อย่างไรก็ตาม มีเพียงร่องรอยเดียวที่แสดงความสัมพันธ์อันเป็นปริศนาระหว่างเมืองโบราณศรีเทพ และเมืองวิเชียรบุรี นั่นก็คือ ชื่อเขาถมอรัตน์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโบราณศรีเทพ (สมัยทวารวดี) และเป็นมงคลนามเรียกเจ้าเมือง จนนำไปสู่การตั้งชื่อเมืองวิเชียรบุรี (สมัยอยุธยา) เรียกสืบมาจนถึงปัจจุบัน เรียบเรียงโดย นางสาวธนัชญา เทียนดี นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ


          บอร์ดเกม (Board Game) คือ เกมกระดานที่ออกแบบมาเพื่อให้เล่นร่วมกันได้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ที่รู้จักกันดีอย่างเช่น เกมเศรษฐี (Monopoly) หรือเกมบันไดงู (Snakes and Ladders) ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการสร้างสรรค์และออกแบบบอร์ดเกมอย่างมากมาย เพื่อตอบสนองกับรูปแบบความสนใจ โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนในยุคสมัยนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจไม่น้อย เพราะในขณะที่ทุกอย่างถูกนำไปสู่โลกออนไลน์ แต่กลับกลายเป็นว่าในระยะหลังนั้นกลับเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมจากเด็กและเยาวชนมากขึ้น และมีการเล่นกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งนี่อาจเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าเด็กและเยาวชนในยุคนี้อาจไม่ได้จมอยู่ในโลกออนไลน์เพียงอย่างเดียวอย่างที่เราเข้าใจ          สามารถดาวน์โหลดเพื่อทดลองเล่นได้ฟรี!!! ที่ http://www.nlt-sp.com/-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ -----------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง กรมวิชาการ. นิทานย่านสุพรรณ. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2523. เลขหมู่ 398.2 ว546น เกมกระดาน เสริมสร้างทักษะและความสัมพันธ์ในครอบครัว. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.trueplookpanya.com/blog/content/81863/-blog-teaartedu-teaart- (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564) นวลพรรณ ยิ้มยวน. ประเพณีพื้นบ้าน ตานานท้องถิ่นของเมืองสุพรรณ. สุพรรณบุรี : โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย, 2535. เลขหมู่ 390.0899591 น332ป นิทานพื้นบ้านเมืองสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี : สานักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี, 2549. เลขหมู่ 398.2 น597 บอร์ดเกม เกมที่ไม่ได้มีแค่เรื่องเล่น ๆ แต่มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพผู้เล่นถึง 10 ประการ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.morethanagamecafe.com/th (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564) Board Game ตะลุยตานานนิทานพื้นบ้านสุพรรณฯ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.nlt-sp.com/ (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564)


สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์เสวนา ประจำปี 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Facebook Live : Office of National Museums, Thailand พิพิธภัณฑ์เสวนา ครั้งที่ 5 เรื่อง “ลพบุรีศรีรามเทพนคร : จากหลักฐานโบราณคดีและเอกสารโบราณ" วันจันทร์ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น. บรรยายพิเศษ หัวข้อ : ลพบุรีศรีรามเทพนคร โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม หัวข้อ : ศรีรามเทพนคร-นครพระราม จากหลักฐานเอกสารโบราณโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ศานติ ภักดีคำ สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ Facebook Page : Office of National Museums, Thailand