ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,438 รายการ

โครงการสร้างภาคีเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมสร้างภาคีเครือข่ายในการดูแล รักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (รวมใจ ร่วมรักษา ร่วมอนุรักษ์ และ ร่วมพัฒนา “มรดกศิลปวัฒนธรรมบ้านเอ๋ง”) สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๔




ผู้แต่ง                            -หมวดหมู่                        หนังสืองานศพ-อนุสรณ์เลขหมู่                           089.95911 พ717อสถานที่พิมพ์                    พระนครสำนักพิมพ์                      โรงพิมพ์จันหว่าปีที่พิมพ์                         2511ภาษา                            ไทยหัวเรื่อง                         -ประเภทวัสดุ/มีเดีย             หนังสือหายากลักษณะวัสดุ                    282 หน้า : ไม่มีภาพประกอบ ; กว้าง 18.7 ซม.  ยาว 26.5 ซม.บทคัดย่อ                        -


เลขทะเบียน: กจ.บ.8/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฺฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาดประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 108 หน้า


ชื่อเรื่อง                                นิสัยจตุกกนิบาต (นิสัยจตุกกนิบาต) สพ.บ.                                  358/12ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 



เลขทะเบียน : นพ.บ.251/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


โรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชบายที่จะขยายโรงเรียนสอนหนังสือไทยออกไปทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้เรียนรู้วิชาหนังสือไทย สามารถอ่านเขียนและคิดเลข อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตได้ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ ข้าหลวงพิเศษที่เสด็จขึ้นมาจัดการป้องกันพระราชอาณาเขตทางชายแดนด้านเมืองนครเชียงใหม่ เมื่อ ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) จึงสนองพระบรมราโชบายด้วยการทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนหลวงสอนหนังสือไทยขึ้นเป็นแห่งแรกที่ศาลากลางสวน ในบริเวณตำหนักที่ประทับ ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๒ เรียกชื่อว่า “โรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่” ต่อมา ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออก “ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง” ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ เพื่อขยายการศึกษาหนังสือไทยออกไปทั่วราชอาณาจักร แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการศึกษา รวมทั้งให้เกิดความเป็นเอกภาพของราชอาณาจักร จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสอนหนังสือไทยขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เรียกชื่อว่า “โรงเรียนวัดพระเจดีย์หลวง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนพระเจดีย์หลวงนครเชียงใหม่” และในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย” ตามที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร พระราชทานนามไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพ นับเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ขอร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง : ๑. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. ๒๕๕๐. พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปี นามพระราชทาน นครเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ การพัฒนา การศึกษา และสังคมนครเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.๒. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. ม.ป.ป. เกี่ยวกับโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (Online). https://www.yupparaj.ac.th/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔




ชื่อเรื่อง : อิทธิบาท ๔ ชื่อผู้แต่ง : พร มลิทอง ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : คุรุสภา จำนวนหน้า : 72 หน้า สาระสังเขป : หนังสือ อิทธิบาท ๔ เป็นหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก นายพร มลิทองเป็นผู้แต่ง ได้รับพระราชทางรางวัลชั้นที่ 1 ในการประกวดประจำ พ.ศ. 2479


#ภาชนะรูปแบบเด่นที่พบในภูมิภาคอีสานใต้ กับ #ถ้วยสำริด ซึ่งความพิเศษมิได้อยู่ที่ลวดลาย เเต่เป็นของที่บรรจุอยู่ภายใน หากพูดถึง "ถ้วยสำริด" เป็นสิ่งที่สามารถพบในแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์นับตั้งเเต่สมัยสำริดเป็นต้นมา หรือราว 4,000-1,500 ปีมาเเล้ว นอกจากจะนำเสนอ ถ้วยสำริด ที่พบเเล้ว ยังจะนำเสนอสิ่งที่พบภายใน ถ้วยสำริด ที่พบจากการเก็บกู้โบราณวัตถุ ในเขตพื้นที่บ้านหนองแซงใหญ่ ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งพบโดยการปรับพื้นที่ จากการเก็บกู้โบราณวัตถุ เราพบถ้วยสำริดจำนวน 2 ชิ้น ซึ่งภายในบรรจุชิ้นส่วนกระดูกและฟันมนุษย์ ดังนี้ #ชิ้นที่1 ความสูง 4.5 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เซนติเมตร กลางภาชนะมีแท่งทรงกรวยสูง 2 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนขากรรไกรล่างและฟันมนุษย์ ได้แก่ 1. ชิ้นส่วนขากรรไกรล่างขวา และฟัรกรามใหญ่ซี่ที่ 1-2 2. ชิ้นส่วนขากรรไกรล่าง และหันกรามน้อยซี่ที่ 2 และฟันกรามใหญ่ซี่ที่ 1-2 และ 3. ฟันตัด 6 ซี่ ฟันกรามน้อย 5 ซี่ และฟันกรามใหญ่ 2 ซี่ #ชิ้นที่2 มีความสูง 4 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร บริเวณก้นมีการเจาะรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เซนติเมตร ภายในถ้วยพบชิ้นส่วรกระดูกมนุษย์ 2 ชิ้น ได้ แก่ 1. กระดูกมือ (ระบุข้างไม่ได้) ส่วน Lunate 1 ชิ้น เเละส่วน Trapezoid จำนวน 1 ชิ้น นอกจากนี้จากการเก็บกู้โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีบ้านหนองแซงใหญ่ยังพบโบราณวัตถุ อาทิ ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ แวดินเผา เบี้ยดินเผา กระสุนดินเผา โกลนขวานหินขัด ตลอดจนชามดินเผาเนื้อดินธรรมดา ปลายก้นตัด ซึ่ง ร.ศ.ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธิ์ ระบุว่า ภาชนะรูปแบบดังกล่าวเป็นตัวแทนของภาชนะดินเผาสมัยเหล็ก จึงกำหนดอายุเบื้องต้น ว่าเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยเหล็ก ทั้งนี้เป็นการกำหนดอายุเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากมิได้ดำเนินการศึกษาทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบ จึงมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์หลักฐานที่พบ ข้อมูลโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ แหล่งอ้างอิงข้อมูล ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส. 2560.



ชื่อผู้แต่ง          - ชื่อเรื่อง            ธรรมานุภาพ ๖ ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร ปีที่พิมพ์          2513 จำนวนหน้า     77 หน้า