ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,241 รายการ
ปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี องเมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย มอบให้ เกียรติมุขหรือหน้ากาลเป้นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มจระนำของโบราณสถาน โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งสะท้อนถึงคติ ความเชื่อที่ปรากฎในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขนมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศีรษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็นกระบังหน้า ตามคติในศาสนาฮินดู เกียรติมุขหรือหน้ากาล หมายถึง "เวลา" ผู้ซึ่งกลืนกินสรรพสิ่งทั้งมวล จึงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง กาลหรือหน้ากาล มีความหมายเดียวกับเวลา เป็นชื่อของพระยม ผู้พิพากษาคนตายในอาถรรพเวทของสาสนาฮินดู ต่อมาจึงมีความเชื่อว่าการสร้างหน้ากาลไว้เหนือประตูทางเข้าศาสนสถานจะเป็นเสมือนสิ่งคุ้มครองปกปักรักษามิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาสู่ศาสนสถานนั้นๆ
๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ กิจกรรมส่งเสริมศีลธรรมและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ทำความดีด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เจริญจิตภาวนาและปฏิบัติธรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะที่ถึงพร้อมด้วยปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ และทรงแสดงเป็นแบบอย่างให้เห็นถึงการเป็นชาวพุทธที่ดี นำโดยนายรุ่งชัย ใบกว้าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร นางธาดา สังข์ทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา พร้อมกันร่วมปฏิบัติธรรม ณ วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
วัสดุ ดินเผา
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมเกษตรกรรม (ประมาณ 2,500-1,800ปีมาแล้ว)
สถานที่พบ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านสำโรง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
พบได้ทั่วไปในแหล่งโบราณคดีในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ศาสตราจารย์ชาร์ลไฮแอม แห่งมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ขุดพบครั้งแรกที่แหล่งโบราณคดีโนนเดื่อ ดอนตาพัน บ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ.2520
ลักษณะเด่น
ภาชนะเนื้อสีขาว หรือสีส้ม ความหนาเฉลี่ยโดยประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ จากนั้นลบลายให้เรียบแล้วทาน้ำดินทับในแนวขวาง ซึ่งน้ำดินที่นิยมจะมีสีส้ม น้ำตาล ดำ และแดง
เนื้อดิน
เมื่อเผาสุกแล้วเนื้อดินจะมีสีขาว (ดินเกาลิน) เป็นแบบเนื้อดินธรรมดา (earthen ware) เนื้อดินผสมดินเชื้อ (grog) การปั้นภาชนะขนาดเล็กจะปั้นบางมาก
การตกแต่ง
นิยมตกแต่งผิวภาชนะด้วยลายเชือกทาบ โดยทาบด้วยเชือกเส้นเล็กๆ อย่างเป็นระเบียบ และทำให้เรียบ แล้วทาด้วยน้ำดินเป็นแถบ น้ำดินที่ใช้ทำมีสีแดง สีน้ำตาล สีดำ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ - ๓ โรงเรียนบ้านตรมไพร ตำบลตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๕๙ คน คุณครูจำนวน ๒ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
อธิบดีกรมศิลปากรนายเอนก สีหามาตย์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการพิเศษ "พุทธประติมาสัญลักษณ์แห่งความเชื่อความศรัทธาในสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไท"
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก และได้เชิญสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เพื่อจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ งานนิทรรศการดังกล่าว ในการนี้ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษกได้ขอเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาต่อพระพุทธรูปไม้ต่างๆที่นำมาจัดแสดง พุทธประติมาที่เป็นความเชื่อและศรัทธาในสังคมตระกูลไทนั้น ได้มาร่วมเข้าชมและสักการะดอกไม้ได้ ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษกคลองห้า ปทุมธานี ใกล้กับหออัครศิลปินและพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 9.30 - 15.30 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ ปิดวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
อนุสรณ์จากกองตำรวจน้ำในงานฉลองรัฐธรรมนูญ ๒๔๙๖. พระนคร : โรงพิมพ์ศึกษานุกูล, ๒๔๙๖.
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี , ไทยหัวเรื่อง วรรณกรรมพื้นบ้านไทย พุทธศาสนากับวรรณคดี วรรณคดีไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ กว้าง 5 ซม. ยาว 50 ซม.; 16 หน้า บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534