ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 44,116 รายการ

วันที่ 9 - 11 เมษายน 2568 นักเรียนจากโรงเรียนมารีย์วิทยา จำนวน 6 คน ได้เข้ารับการฝึกประสบการณ์ และปฏิบัติหน้าที่จิตอาสา โดยการทำความสะอาดชั้นหนังสือ จัดทำคลิปสั้นแนะนำหนังสือ ทำความสะอาดเอกสารโบราณประเภทใบลาน ร่วมทำกิจกรรมจารใบลาน เรียนรู้อักษรโบราณ และทำความสะอาดห้องบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ เพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ตรงจากภาระหน้าที่ ขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ และเป็นการเพิ่มพูนความรู้เตรียมทักษะในการเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา นักเรียนที่เขารับการฝึกประสบการณ์ และปฏิบัติหน้าที่จิตอาสา มีดังนี้ 1. นางสาวพิณไพเราะ พิทักษ์ภิญโญกุล 2. นายนฬภัทธ สีหะวงษ์  3. นายจิรายุ นีละเสวี 4. นางสาวฐิติกานต์ ศรีสำราญ 5. นางสาวอนุธิดา องคไทร 6. นางสาวธนพร ใจเย็น โดยมีผู้ควบคุมการฝึกประสบการณ์ ได้แก่  1. นายพีรยุทธ กษิติบดินทร์ชัย บรรณารักษ์ปฏิบัติการ  2. นางสาวเพ็ญศรี จีนทั่ง เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน  3. นายวรธน พึ่งเฮง เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน 4. นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ร่วมกับสาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เรียนฟรีช่วงซัมเมอร์ ทุกวันพุธ พฤหัสบดี และศุกร์ เวลา 09.30 - 12.00 น. เริ่มวันที่ 10 เมษายน 2568 เป็นต้นไป กิจกรรมประกอบด้วย การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ วาดภาพ ระบายสีภาพพิมพ์ ปั้นดิน เพ้นท์กระถางดินเผา, เรียนการปั้นกระถาง, สร้างสรรค์ออกแบบอาร์ตทอย (Art Toy, ระบายสีกระถางสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สอบถามเพิ่มเติม โทร 0 4525 1015 หรือในกล่องข้อความเพจเฟสบุ๊ก Ubon Ratchathani National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี 


           ในเดือนเมษายนนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญทุกท่านร่วมชมนิทรรศการ  “In My Mind 3” ซึ่งเป็นการรวมตัวของศิลปินหญิงผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ จํานวน 3 ท่าน คือ เมตตา สุวรรณศร ,พัชรินทร์ อนวัชประยูร และสุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ จัดแสดงผลงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ครั้งนี้เป็นการรวมกลุ่มครั้งที่ 3 การแสดงงานนิทรรศการครั้งนี้มีแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานมาจากความรู้สึกของอารมณ์ภายในที่มีผลกระทบกับจิตใจ ผ่านผลงานศิลปกรรมในรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกันออกไปของทั้ง 3 ศิลปิน เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 5 – 27 เมษายน 2568 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ตั้งเเต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวันพุธ - อาทิตย์ (ปิดให้บริการวันจันทร์ - อังคาร) 


             สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวน นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ใน“วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ (National Library of Thailand Journal)” ISSN 2985-2668 (Print) | ISSN 2985-2676 (Online)กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม ธันวาคม              เปิดรับบทความ ประเภทบทความวิชาการ บทความวิจัย หรือบทความวิจัยจากวิทยานิพนธ์ บทความปริทัศน์บทวิจารณ์หนังสือ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) โดยเนื้อหาบทความมีเนื้อหาเกี่ยวกับบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ภาษา เอกสาร หนังสือ และมรดกศิลปวัฒนธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ บทความที่จัดส่งจะผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน โดยเป็นระบบ Double-blinded review system สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ โทร. 0 2280 9828-32 ต่อ 646, 679 Email: rldbkk.nlt@gmail.com ดูรายละเอียดข้อกำหนดการส่งบทความได้ที่ https://shorturl.at/qFJJN  รายละเอียดเพิ่มเติม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nlt *ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์


วันศุกร์ที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๐.๐๐ น. บุคลากรหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เข้าร่วมอบรมการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากฐานข้อมูล Hibrary ผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting



           อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ปีพุทธศักราช 2568 เปิดพิเศษ!!! "เล่นน้ำกลางแสงไฟ ใจกลางเมืองมรดกโลกอยุธยา" เปิดให้ประชาชนเข้าชมโบราณสถานยามค่ำคืน 4 วัด ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม และวัดไชยวัฒนาราม ตั้งแต่วันที่ 11 - 16 เมษายน 2568 เวลา 18.00 - 21.00 น. (กลางวันเปิดเวลาปกติ) 



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอเชิญประชาชนทั่วไปส่งผลงานภาพถ่ายเข้าประกวด เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ ๔๐ ปี แห่งการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ในหัวข้อ “ความทรงจำ ๔๐ ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี” เพื่อแสดงถึงความประทับใจ และความทรงจำที่มีต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี ที่ผ่านมา ผ่านสายตาของผู้เข้าชม พร้อมชิงรางวัลของที่ระลึกสุดพิเศษ สามารถส่งผลงานได้แต่แต่วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๘ จนถึงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๘   เงื่อนไขข้อกำหนดในการส่งภาพถ่ายเข้าประกวด ๑. การส่งผลงานภาพถ่าย ผู้สมัคร ๑ คน สามารถส่งภาพเข้าประกวดจำนวน ๑ ภาพ โดยให้ Upload เป็นไฟล์ภาพถ่ายลงใน Google Form (https://forms.gle/5X315HgkRAWLHPnz6) ๒. ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ถ่ายภาพที่ส่งเข้าประกวดด้วยตัวเอง ห้ามมิให้นำผลงานของผู้อื่นมาส่งแทน และห้ามมิให้ส่งผลงานในนามผู้อื่น ๓. ผู้สมัครจะต้องรับผิดชอบ หากผลงานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์อื่นใดของบุคคลอื่น ๔. ผลงานภาพถ่ายที่ได้รับรางวัล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี มีสิทธิ์คัดเลือกนำไปจัดแสดงในที่ต่างๆ และมีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่อสารสนเทศทุกประเภท   รางวัล รางวัลตัดสินจากภาพถ่ายที่มียอดกดถูกใจภาพถ่ายใน Facebook Fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี มากที่สุด ๑. รางวัลชนะเลิศ จำนวน ๑ รางวัล หนังสือ และของที่ระลึกจัดทำพิเศษในวาระครบรอบ ๔๐ ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ๒. รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน ๓ รางวัล ชุดของที่ระลึก (เสื้อ และกระเป๋าที่ระลึก) ๓. รางวัลชมเชย จำนวน ๑๐ รางวัล เสื้อที่ระลึก หมายเหตุ: สามารถชมภาพเสื้อ และกระเป๋าที่ระลึกได้ในช่อง comment   กำหนดการการส่งภาพถ่าย Upload ภาพถ่ายผ่านทาง Google Form (https://forms.gle/5X315HgkRAWLHPnz6) ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๘   การตัดสินภาพถ่าย ๑. เปิดโหวตการให้คะแนนภาพถ่ายผ่านทาง Facebook Fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๘ - วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๘ ๒. ประกาศผลการตัดสินผ่านทาง Facebook Fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๘ -------------------------------------- สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๗๒๑ ๑๕๘๖ เปิดบริการวันพุธ - อาทิตย์ ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์-อังคาร ค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๕๐ บาท พระภิกษุ สามเณร นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุเกิน ๖๐ ปี เข้าชมฟรี  พิกัด ถ.ปราจีนอนุสรณ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕๐๐ google map : https://maps.app.goo.gl/tAcTjUtEEgV7zY9s9




             กรมศิลปากร ขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๘ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๔ เมษายน ๒๕๖๘ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร               กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย โดยอัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมประดิษฐานในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญ  ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเทวดานพเคราะห์ ๙ องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำขอพร ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ เนื่องด้วยในสมัยโบราณ คนไทยมักไม่นิยมนับอายุตามวันเกิด แต่จะนับตามการเถลิงศักราชใหม่ในช่วงปีใหม่ไทยคือ สงกรานต์ หากปีใดมีความป่วยไข้ หรือทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนทักษา โดยเฉพาะเจ้านายก็จะขึ้นเกยส่งเทวดาเก่ารับเทวดาใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะนำพาสิริมงคลมาพร้อมกับศักราชใหม่               เทวดานพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์)  ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวง พระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสา พระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ และ พระเกตุ ทรงนาค               นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดงาน “สงกรานต์แฟร์ ๒๐๒๕ : มู x คราฟต์” ชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เก้าดารา” ณ ระเบียงด้านหน้าพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมุนกาชาปองชุดพิเศษ "เทวดานพเคราะห์ รุ่นมหาโชค" สะสมตราประทับที่ระลึก และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย                ขอเชิญพุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ และงาน “สงกรานต์แฟร์ ๒๐๒๕ : มู x คราฟต์” เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๘ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๘ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒--------------------------------------------- พระธาตุ ๒๓ องค์ ประดิษฐานในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๒ เซนติเมตร สูง ๓.๕ เซนติเมตร เป็นภาชนะทองคำทรงโกศยอดปริกขนาดเล็กภายในประดิษฐานพระธาตุ ๒๓ องค์ เดิมทีพระกรัณฑ์นี้อยู่ในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบันความเป็นมาของพระธาตุนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด อาจมีการประดิษฐานไว้ในพระเศียรพระพุทธสิหิงค์มาก่อนแล้วจึงมีการสร้างพระกรัณฑ์ทองคำลงยาถวายภายหลัง หรือเป็นการประดิษฐานในภายหลังทั้งหมดก็เป็นได้ การจำหลักลายแล้วลงยาสีที่รู้จักกันในชื่อ การลงยา นั้น ปรากฏหลักฐานการใช้งานมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากลวดลายที่ปรากฏ รวมทั้งสีและเทคนิคในการลงยาสันนิษฐานว่า อาจจะทำขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์   พระอาทิตย์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพ นพเคราะห์ทั้งปวง พระอิศวรทรงใช้ราชสีห์ ๖ ตัว ป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีแดง พรมด้วยน้ำอมฤต ลักษณะเป็นบุรุษมีผิวกาย สีแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระแต่ซื่อสัตย์ เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร สัญลักษณ์เลข ๑ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๖   พระจันทร์ พระอิศวรทรงสร้างจากเทพธิดา ๑๕ นาง บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษรูปงาม มีสีผิวกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะประจำอยู่ทิศตะวันออก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร และอาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี สัญลักษณ์เลข ๒ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕   พระอังคาร พระอิศวรทรงสร้างจากกระบือ ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีชมพูหม่น พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษผิวสีทองแดงทรงกระบือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน เป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ สัญลักษณ์เลข ๓ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘   พระพุธ พระอิศวรทรงใช้ช้าง ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษมีผิวกายสีเขียว ทรงช้างเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ชอบพูดชอบเจรจา สุขุม รอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย เป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหู สัญลักษณ์เลข ๔ มีกำลัง พระเคราะห์เป็น ๑๗  พระพฤหัสบดี พระอิศวรสร้างจากฤษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีส้มแดง พรมน้ำอมฤตได้เป็นพระพฤหัสบดี มีผิวกายสีส้มแดง ทรงกวางเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุม รอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น เป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ สัญลักษณ์เลข ๕ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ เป็นครูของเทพทั้งหลาย จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี พระศุกร์ พระอิศวรทรงสร้างจากโค ๒๑ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีฟ้าอ่อน พรมด้วยน้ำอมฤตเป็นพระศุกร์ มีผิวกายสีฟ้าทรงโคเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ กิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ สัญลักษณ์เลข ๖ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ พระศุกร์เป็นครูของเหล่ายักษ์   พระเสาร์ พระอิศวรทรงสร้างจากเสือ ๑๐ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ พรมด้วยน้ำอมฤตได้พระเสาร์มีสีกายดำคล้ำ ทรงเสือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ สัญลักษณ์เลข ๗ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐   พระราหู พระอิศวรทรงสร้างจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว (บางตำราว่าผีโขมด ๑๒ ตัว) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง พรมน้ำอมฤตได้เป็นพระราหู มีกายสีนิลออกไปทางทองแดง ทรงครุฑเป็นพาหนะ มีวิมานสีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทาง ลุ่มหลงมัวเมา เป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับพระพุธ สัญลักษณ์เลข ๘ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๒   พระเกตุ พระอิศวรทรงสร้างจากพญานาค ๙ ตัว กายสีทองคำทรงนาคเป็นพาหนะ มีวิมานสีดอกบุษบา(เปลวไฟ) ประจำอยู่ในทิศท่ามกลาง บ้างว่าพระเกตุเกิดจากหางของพระราหู ซึ่งขโมยดื่มน้ำอมฤต พระอินทร์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวขาด ด้วยอำนาจแห่งน้ำอมฤตทำให้พระราหูไม่ตาย หางที่ขาดนั้นกลายเป็นพระเกตุ ซึ่งจะไม่เสวยอายุโดยตรง แต่จะเข้าแทรกเพื่อบรรเทาเรื่องร้ายและส่งเสริมในเรื่องดี สัญลักษณ์คือเลข ๙  


วันพุธ ที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๘ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้ นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร ตรวจสอบและประเมินผลจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากแผ่นดินไหว พบว่าอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ มีรอยปูนฉาบแตกร้าวบริเวณผนัง หลังจากดำเนินการตรวจสอบแล้วนั้น ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่


พระธาตุ ๒๓ องค์ ประดิษฐานในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๒ เซนติเมตร สูง ๓.๕ เซนติเมตร เป็นภาชนะทองคำทรงโกศยอดปริกขนาดเล็กภายในประดิษฐานพระธาตุ ๒๓ องค์ เดิมทีพระกรัณฑ์นี้อยู่ในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบันความเป็นมาของพระธาตุนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด อาจมีการประดิษฐานไว้ในพระเศียรพระพุทธสิหิงค์มาก่อนแล้วจึงมีการสร้างพระกรัณฑ์ทองคำลงยาถวายภายหลัง หรือเป็นการประดิษฐานในภายหลังทั้งหมดก็เป็นได้ การจำหลักลายแล้วลงยาสีที่รู้จักกันในชื่อ การลงยา นั้น ปรากฏหลักฐานการใช้งานมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากลวดลายที่ปรากฏ รวมทั้งสีและเทคนิคในการลงยาสันนิษฐานว่า อาจจะทำขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์   พระอาทิตย์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพ นพเคราะห์ทั้งปวง พระอิศวรทรงใช้ราชสีห์ ๖ ตัว ป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีแดง พรมด้วยน้ำอมฤต ลักษณะเป็นบุรุษมีผิวกาย สีแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระแต่ซื่อสัตย์ เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร สัญลักษณ์เลข ๑ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๖   พระจันทร์ พระอิศวรทรงสร้างจากเทพธิดา ๑๕ นาง บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษรูปงาม มีสีผิวกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะประจำอยู่ทิศตะวันออก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร และอาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี สัญลักษณ์เลข ๒ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕   พระอังคาร พระอิศวรทรงสร้างจากกระบือ ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีชมพูหม่น พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษผิวสีทองแดงทรงกระบือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน เป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ สัญลักษณ์เลข ๓ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘   พระพุธ พระอิศวรทรงใช้ช้าง ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษมีผิวกายสีเขียว ทรงช้างเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ชอบพูดชอบเจรจา สุขุมรอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย เป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหู สัญลักษณ์เลข ๔ มีกำลัง พระเคราะห์เป็น ๑๗    พระพฤหัสบดี พระอิศวรสร้างจากฤษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีส้มแดง พรมน้ำอมฤตได้เป็นพระพฤหัสบดี มีผิวกายสีส้มแดง ทรงกวางเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุม รอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น เป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ สัญลักษณ์เลข ๕ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ เป็นครูของเทพทั้งหลาย จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี   พระศุกร์ พระอิศวรทรงสร้างจากโค ๒๑ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีฟ้าอ่อน พรมด้วยน้ำอมฤตเป็นพระศุกร์ มีผิวกายสีฟ้าทรงโคเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ กิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ สัญลักษณ์เลข ๖ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ พระศุกร์เป็นครูของเหล่ายักษ์   พระเสาร์ พระอิศวรทรงสร้างจากเสือ ๑๐ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ พรมด้วยน้ำอมฤตได้พระเสาร์มีสีกายดำคล้ำ ทรงเสือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ สัญลักษณ์เลข ๗ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐   พระราหู พระอิศวรทรงสร้างจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว (บางตำราว่าผีโขมด ๑๒ ตัว) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง พรมน้ำอมฤตได้เป็นพระราหู มีกายสีนิลออกไปทางทองแดง ทรงครุฑเป็นพาหนะ มีวิมานสีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทาง ลุ่มหลงมัวเมา เป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับพระพุธ สัญลักษณ์เลข ๘ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๒   พระเกตุ พระอิศวรทรงสร้างจากพญานาค ๙ ตัว กายสีทองคำทรงนาคเป็นพาหนะ มีวิมานสีดอกบุษบา (เปลวไฟ) ประจำอยู่ในทิศท่ามกลาง บ้างว่าพระเกตุเกิดจากหางของพระราหู ซึ่งขโมยดื่มน้ำอมฤต พระอินทร์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวขาด ด้วยอำนาจแห่งน้ำอมฤตทำให้พระราหูไม่ตาย หางที่ขาดนั้นกลายเป็นพระเกตุ ซึ่งจะไม่เสวยอายุโดยตรง แต่จะเข้าแทรกเพื่อบรรเทาเรื่องร้ายและส่งเสริมในเรื่องดี สัญลักษณ์คือเลข ๙               กรมศิลปากร ขอเชิญพุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ และงาน “สงกรานต์แฟร์ ๒๐๒๕ : มู x คราฟต์” เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๘ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๘ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒