ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,623 รายการ

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญร่วมกิจกรรมบรรยายทางวิชาการ เรื่อง : การนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผ่านการศึกษาแหล่งที่มาของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (เส้นทางที่ ๑ เส้นทางท่องเที่ยวภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา) ในวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น. ณ ห้องบรรยายฯ อาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา***ท่านที่สนใจร่วมฟังการบรรยาย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สมัครได้ทาง QR code ตามที่แนบ ภายในวันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๕ (รับจำนวนจำกัด) ทั้งนี้ ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการบรรยายทางวิชาการ ผ่าน facebook live : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กรมศิลปากร และชมย้อนหลังได้ที่ YouTube พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กรมศิลปากร







-- องค์ความรู้ เรื่อง สะดือเมืองภูกามยาว ที่ไม่ได้อยู่อำเภอภูกามยาว --  เสาหลักเมือง หรือ สะดือเมือง ใจเวียง ลำใจเวียง แล้วแต่ละภูมิภาคหรือท้องที่เรียก หมายคือวัตถุที่เป็นที่จำหมายเป็นสัญลักษณ์ของของการก่อตั้งชุมชน หรือเมือง อันบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจความร่มเย็นเป็นสุข เสาหลักเมืองถือเป็นใจของเมือง  ต่อเนื่องจากอาทิตย์ก่อนที่ลงเรื่อง เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยาที่สร้างมาจากไม้มงคล เพื่อเป็นเสาหลักของเมือง โดยเป็นเสาหลักเมืองที่ดำริสร้างขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเสาหลักเมืองอีกหนึ่งหลักของจังหวัดพะเยา ที่สร้างมาจากหินทราย กล่าวว่ามีประวัติความเป็นมายาวนาน จากการสันนิษฐานและการสืบค้นข้อมูลของนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดพะเยา   ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ ที่จะถึงนี้ ถือเป็นการครบรอบ ๑ ปี ของการอัญเชิญเสาหลักเมืองโบราณนี้ หรือที่เรียกกันว่าสะดือเมืองภูกามยาวขึ้นสู่แท่นฐานและจัดพิธีบวงสรวงสมโภช ซึ่งถือเป็นหนึ่งเหตุการณ์สำคัญของจังหวัดพะเยา...........................................ผู้จัดทำ: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ




ชื่อเรื่อง                                 วารสารสมาคมสุพรรณพระนครผู้แต่ง                                    -ประเภทวัสดุ/มีเดีย                  หนังสือหายากISBN/ISSN                            -หมวดหมู่                               ประวัติศาสตร์เลขหมู่                                  -สถานที่พิมพ์                          พระนครสำนักพิมพ์                             โรงพิมพ์ประเสริฐศิริปีที่พิมพ์                                 2506ลักษณะวัสดุ                           29 ซม. : 380 หน้าหัวเรื่อง                                  ประเทศไทย--ประวัติศาสตร์ภาษา                                    ไทยบทคัดย่อ/บันทึก               มีบทความต่างๆ อาทิ เช่น  เจดีย์, สถานที่น่าเที่ยวจังหวัดเลย, กรรมลิขิต, ลำดับสมเด็จพระสังฆราชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์, อ้ายเสือแหกคุก, รอยประทับที่หัวใจ ฯลฯ


ชื่อผู้แต่ง         ธนิต  อยู่โพธิ์    ชื่อเรื่อง           เครี่องดนตรีไทย ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ 11 สถานที่พิมพ์    ม.ป.ท. สำนักพิมพ์      ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์          2551 จำนวนหน้า      129 หน้า หมายเหตุ        พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์เทพยพงศ  เทวกุล รายละเอียด              เป็นหนังสือที่ระลึกงานศพรวม 2 เรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เรื่องแรก เครื่องดนตรีไทย นำเสนอเครื่องดนตรีไทย  56  ชนิด และอีกเรื่องตำนานการผสมวงมโหรี ปีพาทย์ และเครื่องสายของไทย


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 153/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ลิลิตนารายน์สิบปาง พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มิตรสยาม จำนวนหน้า : 588 หน้า สาระสังเขป : หนังสือลิลิตนารายน์สิบปาง เนื้อเรื่องกล่าวถึงการอวตารปางต่างๆ ทั้ง 10 ปาง ของพระนารายณ์ พร้อมทั้งพระราชนิพนธ์อธิบายและอภิธาน ท่านผู้อ่านจะศึกษาความเป็นมาและหลักฐานต่างๆ ของหนังสือเรื่องได้จากพระราชนิพนธ์คำนำในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พุดตาน : ดอกไม้เทศแห่งกรุงรัตนโกสินทร์พุดตาน เป็นชื่อที่คนสยามเรียกลวดลายดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทยกันติดปาก แต่แท้จริงแล้วพุดตานเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและไต้หวัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hibicus mutabilis L. และมีชื่อในภาษาจีนว่า 芙蓉花 (ฝูหรงฮวา) ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ ๒ - ๕ เมตร ออกดอกตลอดทั้งปี กลีบดอกซ้อนกันใหญ่สวยงาม ลักษณะพิเศษอีกอย่าง คือ กลีบดอกจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิในแต่ละวัน โดยตอนเช้าจะเป็นสีขาว กลางวันเป็นสีชมพู และกลางคืนจะกลายเป็นสีชมพูเข้มหรือแดงเข้ม ทั้งยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลาย และยังนำมาใช้เป็นเครื่องหมายมงคลเนื่องจากชื่อของดอกไม้ชนิดนี้ออกเสียงพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายมงคลในด้านความมั่งคั่ง ความร่ำรวย และยศถาบรรดาศักดิ์ คนจีนจึงนิยมวาดดอกพุดตานลงในภาพวาด ใช้ตกแต่งข้าวของเครื่องใช้ และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มทั้งที่เป็นของใช้ตนเองและมอบให้เป็นของขวัญแทนคำอวยพรแด่ผู้รับ รวมทั้งในปรัชญาจีนยังได้นำลักษณะการบานของดอกพุดตานมาใช้เป็นสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบกับวัฏจักรชีวิตของมนุษย์ ทำให้พุดตานเป็นไม้ที่ผูกพันในวิถีชีวิตของคนจีนมาช้านานและแพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่คนจีนเดินทางไปถึงมีนักวิชาการสันนิษฐานว่า พุดตานน่าจะเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผ่านทางคนจีนที่เข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าขายกับสยาม แต่ในด้านงานศิลปกรรมไทยที่ปรากฏลวดลายดอกพุดตานหรือที่ช่างไทยนิยมเรียกว่า ลายดอกฝ้ายเทศ นั้น มีแนวคิดเกี่ยวกับที่มาอยู่ ๒ แนวคิด ได้แก่ แนวคิดที่ ๑ คือ ได้รับอิทธิพลมาจากดอกฝูหรงที่นำเข้ามาจากจีน ส่วนแนวคิดที่ ๒ คือ เป็นลายเดียวกันกับลายดอกโบตั๋นหรือพัฒนาขึ้นมาจากลายดอกโบตั๋นเดิม อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อถือกันว่าลายดอกพุดตานอาจเกิดขึ้นจากการเลียนแบบเครื่องลายครามของจีน ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานไว้ โดยลายดอกพุดตานที่พบในประเทศไทยมักเป็นลวดลายตกแต่งภาชนะ เช่น เครื่องลายครามที่พ่อค้าจีนนำติดตัวมาหรือนำมาขาย และเครื่องเบญจรงค์ หรือพบในงานจิตรกรรม งานประดับสถาปัตยกรรมที่ เรียกว่า ลายพุดตานก้านแย่งฺ ซึ่งเป็นที่นิยมมากตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เป็นต้นมา


ชื่อผู้แต่ง         สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ชื่อเรื่อง          โลกานุศาสนี ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๘ จำนวนหน้า      ๒๖๖ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ธมฺมธรเถร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๑๘                       หนังสือโลกานุศาสนี เล่มนี้ รวบรวมเกี่ยวกับสุภาษิต มาจากคัมภีร์ต่างๆ เมื่อปี ๒๔๘๖ เป็นพุทธภาษิตบ้าง สาวกภาษิตบ้าง อิสิภาษิตบ้าง เทวดาภาษิตบ้าง แบ่งเป็น ๑๐ บทตามประสงค์ คือบทที่หนึ่ง การเรียนรู้กับการเรียนทำ บทที่สอง กรรมดีและกรรมชั่ว บทที่สาม วาจาคำพูด บทที่สี่ วาจาทุพภาษิต บทที่ห้า วาจาสุภาษิต บทที่หก เรื่องคนพาล บทที่เจ็ด เรื่องบัณฑิต บทที่แปด เรื่องวิถีชีวิตของคน บทที่เก้า ว่าด้วยสุภาษิต และบทที่สิบ ว่าด้วยลักษณะของคน


ครุฑสมัยสุโขทัยครุฑสมัยสุโขทัย การรับรู้มี ๒ แนวคิดเช่นเดียวกัน คือ ครุฑตามคติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และครุฑตามคติทางพระพุทธศาสนาเถรวาท งานศิลปกรรมที่สะท้อนแนวคิดเรื่องครุฑพบที่ศาสนสถานไม่มากนัก เช่น ครุฑปูนปั้นประดับชั้นเชิงบาตร ปรางค์ วัดศรีสวาย ชิ้นส่วนครุฑปูนปั้นตกแต่งศาสนสถาน จากวัดพระพายหลวงเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ยังพบเครื่องสังคโลกประดับสถาปัตยกรรม เช่น ชิ้นส่วนปั้นลมรูปพระนารายณ์ทรงครุฑพบจากเตาทุเรียงเมืองสุโขทัย ชิ้นส่วนรูปครุฑ พบจากศาสนสถานเมืองสุโขทัย ส่วนยอดเจดีย์ทรงปรางค์จำลอง มีรูปครุฑประดับสี่ด้าน เป็นต้นIn Sukhothai period, Garuda was perceived in the beliefs of two religions: Bramanism and Theravada Buddhism. Garuda stucco decorating the Prang of Wat Si Sawai and fragments of Garuda decorating the sanctuary of Wat Phra Pai Luang in Sukhothai Province. There are also Sangkhalok ceramic architectural decorations, such as a part of a gable-end depicting Vishnu riding Garuda found in Turiang Kiln, a fragment of Garuda from the sanctuary in the Historic Town of Sukhothai, a finial of the model of the prang with Garudas at the four corners and so on.ภาพ: ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมสังคโลกรูปครุฑศิลปะสุโขทัยได้จากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานเมืองโบราณสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย


Messenger