ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,406 รายการ

          กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับภัณฑารักษ์ เพื่อ ตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุศิลปะคันธาระ ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ          นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ในระยะเวลา ๒ ปีที่ผ่านมา มีผู้นำ วัตถุเลียนแบบโบราณวัตถุสกุลช่างคันธาระ มาขอรับใบอนุญาตจากกรมศิลปากรเพื่อนำส่งออกนอกราชอาณาจักรไทยมากขึ้น ซึ่งสกุลช่างคันธาระนั้นเป็นผลงานการสร้างพุทธศิลปกรรมภายใต้ราชวงศ์กุษาณะเมื่อราว ๑,๙๐๐ ปีมาแล้ว บริเวณประเทศปากีสถานในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสมัยแรกที่มีการสร้างพระพุทธรูป จึงเป็นมรดกวัฒนธรรมสำคัญของโลก กรมศิลปากรเล็งเห็นถึงความสำคัญในการตรวจพิสูจน์ของภัณฑารักษ์กรมศิลปากร ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองมรดกของโลกนี้ได้ หากมีความแม่นยำในการตรวจพิสูจน์ และรู้เท่าทันสถานการณ์ลักลอบค้าโบราณวัตถุดังกล่าว จึงมอบหมายสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เพื่อให้ภัณฑารักษ์ผู้ปฏิบัติงานตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องศิลปะคันธาระอย่างครอบคลุม ในหลายมิติ โดยได้รับเกียรติจากนายฟารุก ชารีฟ อุปทูตที่ปรึกษาด้านการค้าและการลงทุน สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย มาให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายด้านการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมของปากีสถาน Dr.E’tienne CLE’MENT ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายลักลอบค้าโบราณวัตถุระหว่างประเทศของยูเนสโก บรรยายเรื่องสถานการณ์และนโยบายการควบคุมการลักลอบค้าโบราณวัตถุระหว่างประเทศ ดร.วรรณพร เรียนแจ้ง นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีคันธาระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้แทน กรมศุลกากร ร่วมบรรยายกับภัณฑารักษ์และนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ          อธิบดีกรมศิลปากร ยังกล่าวอีกว่า กิจกรรมนี้นับเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและ ปากีสถานที่กรมศิลปากรดำเนินงานต่อเนื่องมาจากปี ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ ๗๐ ปี สัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างรัฐบาลไทยและปากีสถานพระพุทธรูป หิน และชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะคันธาระ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ พบที่เมืองฮัดดา ประเทศอัฟกานิสถาน จัดแสดงที่ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


องค์ความรู้ เรื่อง “หนังตะลุง” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ตอนที่ ๑ เครื่องดนตรี ค้นคว้า/เรียบเรียงโดย  นางปรางวไล ทองบัว เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ปฏิบัติงาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช






          กรมศิลปากร เตรียมจัดนิทรรศการพิเศษชุดใหญ่ส่งท้ายปีของกรมศิลปากร เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” (The Endless Epic of Japanese-Thai Ceramic Relationship in the World’s Trade and Culture)” ซึ่งเป็นความร่วมมือแลกเปลี่ยนนิทรรศการและวัฒนธรรมระหว่างกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น นำโบราณวัตถุ จาก “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเซรามิกคิวชู” พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาจัดแสดงให้ชม ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รอติดตามชมกันได้ในเร็วๆ นี้ #佐賀県有田焼展覧会バンコク国立博物館 #SagaAritaThaiceramicexhibitionBangkokNationalmuseum #นิทรรศการไทยญี่ปุ่นเซรมิกอาริตะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร





          กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต จัดการแสดงรายการ "เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต" โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ซึ่งเป็นการแสดงประจำปีของสำนักการสังคีต เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยมีการแสดงหลากหลายรูปแบบทั้งการแสดงโขน ละคร วิพิธทัศนา การบรรเลงดนตรีไทย ดนตรีสากล โดยศิลปินของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กำหนดจัดการแสดงทุกวันอาทิตย์ ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ค่าเข้าชมการแสดงคนละ ๒๐ บาท            ทั้งนี้ ยังได้จัดรายการพิเศษ “นาฏกรรมสุขศรี สุนทรีย์พร    ปีใหม่” ชมการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ และโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “สุครีพสุริโยโอรส” โดยงดเก็บค่าเข้าชมในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมการแสดงรายการ “เหมันต์เบิกบาน  สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th และเฟสบุ๊ก เพจ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร 


ชื่อเรื่อง                               โพธิสตฺต(บาลีโพธิสขุย) สพ.บ.                                 อย.บ.13/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           56 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 154/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/9เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ลิลิตพายัพ ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวนหน้า : 154 หน้าสาระสังเขป : ลิตพายัพ นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 ซึ่งในปีนั้นการสร้างทางรถไฟสายเหนือสำเร็จตลอดถึงเมืองนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปเปิดทางรถไฟที่สถานีรถไฟบ้านพาชี แล้วเลยเสด็จประพาสเมืองลพบุรี และมณฑลนครสวรรค์ อันเป็นที่สุดของทางรถไฟ ในการเสด็จเปิดทางรถไฟคราวนี้ ได้โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จไปประพาสหัวเมืองพายัพ โดยมีพระราชประสงค์ให้ทรงคุ้นเคยกับราชการหัวเมืองประเทศราชที่ห่างไกล ซึ่งเสด็จทางชลมารคที่สถานีปากน้ำโพ ไปขึ้นบกที่อุตรดิตถ์ และเสด็จโดยกระบวนม้าและช้างต่อไป


กำไลสำริด แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูนแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ เป็นแหล่งโบราณคดีที่พบหลุมฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยฝังศพในท่านอนเหยียดยาว หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบสิ่งของที่บรรจุอยู่ข้างลำตัว เช่นเครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ลูกปัดหินสี ตุ้มหู และภาชนะดินเผา ชุมชนโบราณบ้านวังไฮกำหนดอายุในยุคโลหะ ซึ่งใช้เหล็กเป็นเครื่องมือ และใช้สำริดเป็นเครื่องประดับ ประมาณ ๒,๘๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว กำไลสำริด พบจากการขุดค้น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๓๐ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ (ปัจจุบันคือสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่) และโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) ในหลุมทดสอบที่ ๒ พบเพียงส่วนกระดูกปลายแขนด้านขวาอยู่ในสภาผุกร่อน และกำไลสำริดทรงกระบอก ๔ ข้อต่อกัน วางอยู่ใต้ภาชนะดินเผา ๒ ใบ ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาทาสีแดง ก้นกลม ลายหยาบ กำไลสำริด เป็นกำไลปลอกแขน มี ๔ ข้อต่อกัน สนิมจับจนเขียว แต่ละข้อตรงกลางคอดเล็กน้อย ขอบทั้งสองข้างตกแต่งด้วยลายเส้นเล็กๆ โดยรอบ ๒ เส้น ขอบมุมหนาเป็นสัน ผิวตรงกลางเรียบไม่มีลวดลาย อยู่ในสภาพสวมอยู่ที่กระดูกต้นแขนซ้าย แต่ไม่สามารถระบุเพศผู้สวมใส่ได้ เนื่องจากพบเพียงชิ้นส่วนแขนเท่านั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นกลุ่มชนชั้นสูงทางสังคมในชุมชนบ้านวังไฮแห่งนี้  การพบเครื่องประดับในแหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งโบราณคดีประเภทหลุมฝังศพนี้ มักพบสิ่งของอุทิศชนิดต่างๆ ที่ฝังลงไปพร้อมกับผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆ ที่มีทั้งที่เป็นลูกปัดหินสี แก้ว หรือเป็นโลหะ เช่น สำริด รวมถึงอาวุธและเครื่องใช้ในชนิดต่างๆ ที่ทำจากสำริดและเหล็ก ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ อาจะเป็นสิ่งของที่ผู้ตายเคยใช้เมื่อขณะยังมีชีวิตอยู่ แสดงสถานะทางสังคมแตกต่างไปตามจำนวนและชนิดของสิ่งที่อุทิศลงไปในหลุมฝังศพนั้น นอกจากการฝังเครื่องประดับร่วมกับโครงกระดูกที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ยังพบการฝังเครื่องประดับพร้อมภาชนะดินเผาในลักษณะเดียวกันที่แหล่งโบราณคดี บ้านสันป่าค่า บ้านยางทองใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโบราณคดีที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำกวงที่ร่วมสมัยกัน เป็นชุมชนโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์สมัยหริภุญไชยในที่สุดอ้างอิง ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.ศิลปากร, กรม. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ลำพูน. กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์พาณิชย์. ๒๕๓๒.


ครุฑสมัยอยุธยาครุฑสมัยอยุธยา นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เมื่อมีการยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นดั่งองค์พระนารายณ์อวตารมาเป็นพระราม กษัตริย์แห่งสูรยวงศ์ผู้ครองเมืองอโยธยาในคัมภีร์มหากาพย์รามายณะ ดังนั้นครุฑในฐานะสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ จึงถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลายด้าน และปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รวมถึงครุฑโขนเรือพระที่นั่งด้วยงานศิลปกรรมที่สะท้อนคติเรื่องครุฑในสังคมสมัยอยุธยานั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานสถาปัตยกรรมประติมากรรม จิตรกรรม รวมถึงประณีตศิลป์ ซึ่งนอกจากครุฑที่เป็นสัญลักษณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์แล้ว ยังมีครุฑตามความเชื่อทางพุทธศาสนาด้วย การนำรูปครุฑมาตกแต่งศาสนสถาน เพื่อสื่อความหมายว่าครุฑคือผู้พิทักษ์ ศาสนสถานยังสืบทอดต่อมา งานสถาปัตยกรรมจึงปรากฏรูปครุฑอยู่หลายส่วน เช่น ครุฑปูนปั้นประดับเจดีย์ทรงปรางค์ ที่ชั้นเชิงบาตรครุฑแบกพระมหาธาตุเจดีย์ วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครุฑที่หน้าบันอุโบสถ วิหาร มีทั้งงานจำหลักไม้ งานปูนปั้น ทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หรือรูปครุฑอย่างเดียวก็มี เช่น พระนารายณ์ทรงครุฑ หน้าบันจำหลักไม้ วัดแม่นางปลื้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครุฑปูนปั้นหน้าบันอุโบสถ วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี พระนารายณ์ทรงครุฑปูนปั้น หน้าบันอุโบสถ วัดไผ่ล้อม จังหวัดเพชรบุรี ครุฑแบกปูนปั้นประดับฐานเสมาวัดสระบัว จังหวัดเพชรบุรีครุฑในงานจิตรกรรมมักอยู่ในภาพเทพชุมชุม เช่น ครุฑชุมชุม จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี ครุฑในภาพเทพชุมชุม จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ครุฑประดับเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา อาทิ ครุฑประดับธรรมมาสน์ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ครุฑในตู้พระธรรมลายรดน้ำ หีบพระธรรม เช่น พญาครุฑบนบานประตูตู้พระธรรม ฝีมือช่างครูวัดเชิงหวาย ครุฑในงานประณีตศิลป์ เช่น ครุฑทองคำประดับพระปรางค์จำลองครุฑทองคำเหยียบนาค พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาIn Ayutthaya period, Garuda was adopted as a symbol that referred to Thai kings who were worshipped as an avatar of Narayana, King Rama of Suryavamsha dynasty ruling Ayodhya city in the epic Ramayana. Thus, Garuda, as a symbolic image of Narayana, became the symbol representing the kings of the Ayutthaya Kingdom for various affairs which appeared in many designs, especially royal seals, Phra Ratcha Lanchakon including royal barge bows .The artworks reflecting the beliefs on Garuda in the Ayutthaya period were found in a diversity of arts, such as architecture, sculptures, paintings and fine arts. Apart from being a symbol referring to kings, Garuda is also related to Buddhist beliefs. For example, Garuda image is used to decorate religious places signifying that he is the guardian. Also, Garuda served as architectural ornaments are found in many artworks, for instance, Garuda stucco decoration on the Prang of Wat Ratchaburana, Pra Nakhon Si Ayutthaya Province, Vishnu riding Garuda depicted on the carved wooden gable at Wat Mae Nang Pluem, Pra Nakhon Si Ayutthaya Province, Garuda stucco on the gable of the chapel in Wat Khao Bandai It, Phetchaburi Province, Vishnu riding Garuda stucco on the gable of the ordination hall of Wat Phai Lom, Phetchaburi Province, Garuda stucco in carrying posture decorated at the base of sima boundary stone at Wat Sa Bua, Phetchaburi Province, etc.Garuda in paintings is usually depicted in an assembly of divinities, such as mural paintings on the chapel of Wat Ko, Phetchaburi Province, mural paintings at Wat Yai Suwannaram, Phetchaburi Province. Garuda decoration is also presented in Buddhist temple furniture, such as Garuda decoration on the sermon throne at Wat Maha That, Phitsanulok Province, and Garuda decoration on lacquer and gilt scripture cabinet and scripture box.A notable work of such decoration is Garuda on doors of a cabinet created by artisans of Wat Choeng Wai. Furthermore, Garuda is presented in fine arts, such as golden Garuda decoration on the miniature Prang, golden Garuda standing on Naga found at the crypt inside the Prang of Wat Ratchaburana, Pra Nakhon Si Ayutthaya Province, etc.ภาพ: หน้าบันปูนปั้นรูปครุฑยุดลายกนกศิลปะอยุธยาตอนปลาย อุโบสถวัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรีข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค