ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,604 รายการ

ชื่อผู้แต่ง         วัดไร่ขิง ชื่อเรื่อง            พุทธาทิกลัส นมตภุ : ของขลังคำกลอน ครั้งที่พิมพ์       -           สถานที่พิมพ์    นครปฐม สำนักพิมพ์      พระปฐมการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2524 จำนวนหน้า      80 หน้า รายละเอียด              พุทธาทิกัสสะ นะมะตะภุ หรือของขลังคำกลอน แต่งเป็นกลอนแปดต้นหลัง เป็นพระคาถา ชินบัญชร และคำแปล  และหลังจากคำแปลเป็นคาถาชินบัญชรคำกลอน


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 154/2เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/8เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 142 หน้า สาระสังเขป : หนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เกิดขึ้นโดยกระแสพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกสรรเรื่องในพระราชพงศาวดารให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพและทรงคิดทำกรอบกระจกสำหรับรูปภาพทั้งปวงนั้นและให้มีโคลงบอกเรื่องพระราชพงศาวดารตรงที่เขียนติดไว้ประจำทุกกรอบ รูปขนาดใหญ่จำนวนโคลงรูปละ 6 บทรูปขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนโคลงรูปละ 4 บท ท่านเจ้าภาพได้โปรดให้ทำแม่พิมพ์ภาพประกอบจากฉบับพิมพ์ครั้งแรก 5 ภาพ พิมพ์รวมไว้ด้วย


องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเรื่อง กำแพงเมืองและสะพานไม้ของเมืองกำแพงเพชรเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และตำแหน่งที่ตั้งของเมืองนับว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการสงครามที่มีบทบาทเป็นอย่างมาก เมืองแห่งนี้จึงจำเป็นต้องมีการก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ชื่อเมืองกำแพงเพชรยังปรากฏในเส้นทางการเดินทัพของทั้งฝ่ายกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพม่า และฝ่ายล้านนา มาโดยตลอดแผนผังเมืองกำแพงเพชรเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวขนานไปกับแม่น้ำปิง ตัวเมืองมีขนาดกว้างประมาณ ๖๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๒,๔๒๐ เมตร แนวกำแพงเมืองด้านเหนือพบร่องรอยคูน้ำและคันดินจำนวน ๓ ชั้น กำแพงเมืองชั้นในที่ล้อมรอบตัวเมืองเป็นระยะทางทั้งสิ้น ๕,๓๑๓ เมตร แนวกำแพงมีความกว้าง ๖.๕ เมตร สูงประมาณ ๔.๗ – ๕.๒ เมตร แนวกำแพงเมืองที่ล้อมรอบตัวเมืองก่อสร้างด้วยศิลาแลงอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญของเมือง มีองค์ประกอบสำคัญคือ แนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมา ประตูเมือง และป้อมปราการ ประตูเมืองกำแพงเพชรที่ยังคงปรากฏหลักฐานอยู่ในปัจจุบันจำนวน ๙ ประตู ได้แก่ ประตูหัวเมือง ประตูผี ประตูสะพานโคม ประตูวัดช้าง ประตูเตาอิฐ ประตูท้ายเมือง ประตูบ้านโนน ประตูดั้น และประตูเจ้าอินทร์ป้อมปราการพบจำนวน ๑๑ ป้อม  ได้แก่ ป้อมมุมเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ ป้อมบ้านโนน ป้อมเจ้าจันทร์ ป้อมวัดช้าง ป้อมเตาอิฐ ป้อมหลังทัณฑสถานวัยหนุ่มป้อมเจ้าอินทร์ป้อมเพชร และป้อมข้างประตูเตาอิฐอย่างไรก็ตามอาจมีป้อมและประตูบางแห่งที่ไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน เช่น ประตูน้ำอ้อย ป้อมมุมเมืองทิศตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปรากฏหลักฐานในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ และในแผนที่เมืองกำแพงเพชรที่เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ทั้งสองฉบับ ปรากฏข้อความที่แสดงพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ลักษณะของป้อมปราการ ประตูเมือง และคูเมือง ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเปรียบเทียบในปัจจุบัน โดยเฉพาะแผนที่เมืองกำแพงเพชรที่เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง เป็นแผนที่ที่แสดงตำแหน่งของป้อมประตูเมืองกำแพงเพชร พบประตูน้ำอ้อยซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบันแต่ในแผนที่ระบุตำแหน่งไว้เป็นบริเวณถัดจากประตูบ้านโนนมาด้านทิศตะวันออก และที่สำคัญคือบริเวณมุมที่บรรจบของแนวกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ หรือมุมเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบว่ามีป้อมปราการตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วยซึ่งเป็นพื้นที่ในการดำเนินการขุดตรวจทางโบราณคดีในครั้งนี้ก่อนการดำเนินโครงการก่อสร้างพัฒนาสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว (พัฒนาระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แหล่งมรดกโลกกำแพงเพชร)ของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกำแพงเพชร โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓และดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีโดยอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรพื้นที่การดำเนินงานตั้งอยู่บริเวณพิกัดเส้นรุ้งที่ ๑๖ องศา ๒๘ ลิปดา ๕๓.๖๘ฟิลิปดา เหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๓๑ ลิปดา ๓๓.๑๕ฟิลิปดา ตะวันออก ด้านหลังที่ทำการไปรษณีย์ สาขาชากังราว บนถนนราชดำเนิน ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สภาพก่อนการดำเนินงานเป็นพื้นผิวถนนแบบแอสฟัลติกคอนกรีต (Asphaltic Concrete) และตั้งอยู่บริเวณที่จะดำเนินการวางท่อลอดเพื่อเชื่อมต่อคูเมืองกำแพงเพชรด้านทิศใต้และทิศตะวันออกเข้าด้วยกัน และได้กำหนดขุดหลุมขุดค้นทางโบราณคดีเป็น ๒ หลุม ขนาดกว้าง ๒ เมตร และยาว ๔๐ เมตร และ ๓๐ เมตร ตามลำดับ และวางหลุมขุดค้นทั้งสองหลุมตัดกันเป็นรูปกากบาทจากการขุดค้นทางโบราณคดีได้พบร่องรอยผิดวิสัยทางโบราณคดี (Archaeological Feature) สำคัญ๒ จุดคือ๑. พบโครงสร้างสะพานไม้ที่สันนิษฐานว่าใช้เป็นทางสัญจรในอดีต เป็นเสาตอม่อสะพานแบบคานแต่ไม่พบชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานด้านบนหรือไม้กระดานที่วางพาดสำหรับเดินข้ามแต่อย่างใด พื้นที่ดังกล่าวน่าจะเป็นคูเมืองด้านทิศตะวันออกต่อทิศใต้มาก่อน และมีกิจกรรมการปรับถมคูเมืองและพื้นที่โดยรอบเพื่อก่อสร้างถนนราชดำเนิน ๑ ที่ใช้สัญจรกันในปัจจุบัน เนื่องจากพบโบราณวัตถุอายุตั้งพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๖ ซึ่งโบราณวัตถุมีลักษณะการพบที่ไม่เรียงลำดับตามอายุสมัย ทั้งนี้ยังปะปนกันในชั้นดินที่นำมาถมร่วมกับการพบวัตถุร่วมสมัยทั้งชิ้นส่วนพลาสติก แก้ว และโลหะ จากรูปแบบโครงสร้างสะพานไม้ที่พบยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาการสร้างและการใช้งานได้อย่างชัดเจน แต่จากการพบชิ้นส่วนน้ำยาขัดรองเท้ายี่ห้อ KIWI ที่ปรากฏเครื่องหมายการค้าอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๕๑๖ ที่อยู่ในชั้นดินที่นำมาถมคูเมือง และประกอบกับแผนผังเมืองกำแพงเพชรเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ และภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.๒๕๑๗ ทั้งสองต่างปรากฏถนนในพื้นที่การดำเนินงานแล้ว จึงสามารถระบุได้เบื้องต้นว่ามีการปรับถมคูเมืองเพื่อสร้างถนนราชดำเนินน่าจะอยู่ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๕๐๔๒. พบแนวโบราณสถานที่ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานจากตำแหน่งที่พบว่าน่าจะเป็นแนวกำแพงเมืองด้านทิศใต้ และมีอายุสมัยของแนวโบราณสถานที่พบสันนิษฐานว่ามีอายุร่วมสมัยกับแนวกำแพงเมืองกำแพงเพชรด้านอื่น ที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ และแนวกำแพงเมืองด้านทิศใต้ในบริเวณนี้น่าจะถูกรบกวนจากการปรับถมพื้นที่ไปพร้อมกับช่วงถมคูเมืองเพื่อก่อสร้างถนนราชดำเนิน ๑ ด้วยเช่นกันสามารถสรุปการใช้งานของพื้นที่ดังกล่าวได้ว่า แนวถนนราชดำเนิน ๑ เป็นทางสัญจรที่ใช้เข้าและออกเมืองกำแพงเพชรเดิมก่อนปีพ.ศ.๒๕๐๔ จากการพบแนวโครงสร้างสะพานไม้ที่เป็นหลักฐานแสดงถึงการสร้างสะพานข้ามคูเมือง และในเวลาต่อมาได้มีการปรับถมพื้นที่ทั้งส่วนคูเมืองและกำแพงเมืองเพื่อก่อสร้างถนนราชดำเนิน ๑*บทความฉบับนี้เรียบเรียงเพื่อประกอบการนำเสนอผลงานวิชาการในการสัมมนา “วิจัยวิจักขณ์” ประจำปี ๒๕๖๕ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ ของนางสาวจินต์จุฑา เขนย นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเอกสารอ้างอิงประทีป เพ็งตะโก. “ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา”. ศิลปากร. ปีที่ ๔๐, ฉบับที่ ๕ (ก.ย.-ต.ค. ๒๕๔๐) หน้าที่ ๕๐-๖๕.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕.พิมพ์ครั้งที่ ๒๖. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า, ๒๕๒๙.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๑๙.


ชื่อผู้แต่ง          วิริยังค์ สิรินธโร ชื่อเรื่อง           ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ฉบับสมบูรณ์และใต้สามัญสำนึก ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       อาทรการพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๑ จำนวนหน้า       ๑๕๑ หน้า หมายเหตุ        อนุสรณ์ในการฌาปนกิจศพ คุณย่ามั่น บุญฑีย์กุล ๑๕ มกราคม ๒๕๒๑ ณ เมรุวัดธรรมมงคล                       ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ฉบับสมบูรณ์และใต้สามัญสำนึกแล้วนี้ได้กล่าวถึงผู้เขียนได้เขียนจากการไต่ถามด้วยปากคำกับท่านเองระหว่างนั้นผู้เขียนได้เป็นพระอปัฏฐากและบีบนวดถวายท่านและบันทึกไว้เป็นอักษรตลอดเวลา จึงได้บันทึกประวัติของท่านไว้ด้วยความเลื่อมใส บูชา เคารพ นับถือ และหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน


สุขาวดี แห่งครุฑพญาครุฑเป็นผู้มีฤทธิ์มาก อาศัยอยู่วิมานฉิมพลี แต่พญาครุฑมีอำนาจและจิตใจที่แน่วแน่ เพื่อที่จะบำเพ็ญธรรมะบารมี ถวายพระพุทธเจ้าเป็นพุทธบูชา เพื่อให้สังคมมีความสงบสุขสันติอยู่ร่วมกันอย่างมีปกติสุข ด้วยการรักษาจิต ไม่ให้มีความเร่าร้อน มีการสวดมนต์ ภาวนา รักษาความดีงาม และคอยค้ำจุนพระพุทธศาสนา และปรารถนาแดนสุขาวดี เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในการต่อไปGaruda’s ParadiseThe powerful Garudas live in Wiman Chimpli (Simbali). They have strong and determined minds to perform meritorious acts as an offering to the Buddha. Besides, they retain peaceful minds, pray and meditate, maintain goodness and devote themselves to Buddhism for the purpose of peacefully coexisting in society. They also wish for the land of happiness in order to achieve nirvana in the future. Artist : Mr. Sutee Sakulnooผู้ออกแบบ: นายสุธี สกุลหนู นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน สำนักช่างสิบหมู่ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ตามเค้าเข้าป่า -- ปี 2510 ป่าไม้เขตแพร่มีคำสั่งให้พนักงานป่าไม้ท่านหนึ่งเข้าป่าสัมปทานน้ำแหง - น้ำสา จังหวัดน่าน เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ภารกิจนั้นคือ " สำรวจไม้สักตายแห้งขอนนอนยืนต้นตายตามธรรมชาติ " และปฏิบัติการดังต่อไปนี้ด้วย 1. ตีตราไม้สักตายแห้งจริงเท่านั้น แล้วทำบัญชีขนาดไม้พร้อมแผนที่ระบุตำแหน่งไม้ 2. ให้ใช้ตราตีไม้จากเขตป่าไม้แพร่ 3. เศษไม้ ปลายไม้ที่ผู้ร้ายขโมยตัด ให้ทำบัญชีนำเสนอ ความน่าสนใจของปฏิบัติการอยู่ที่ต้องตีตราไม้แห้งจริง เพื่อป้องกันใครก็ตามสวมรอยต้นไม้นั้นๆ อีกทั้งทำให้ทราบว่า แผนที่ระบุตำแหน่งไม้ดังที่นำเสนอจุดหมอนไม้เมื่อครั้งก่อน พนักงานป่าไม้เป็นผู้จัดทำมิใช่ผู้รับสัมปทาน ถัดมา ตัวตราสำหรับตีต้องเบิกมาจากเขตป่าไม้ ป้องกันการปลอมแปลงหรืออาจรู้เห็นกับผู้รับสัมปทาน สุดท้าย เศษไม้/ปลายไม้ที่พบจากการลักลอบตัด พนักงานต้องสำรวจให้ครบ เพื่อยืนยันได้ว่า " สมบัติสาธารณะ " ห้ามละเมิดเด็ดขาด จากเอกสารจดหมายเหตุคำสั่งดังกล่าว ทำให้พบภารกิจหลักของพนักงานป่าไม้ เป็นหน้างานแนวหน้าที่ต้องเผชิญภัยธรรมชาติ สัตว์ป่า และคนร้าย ถือเป็นภาระ " หนัก " ไม่น้อย แต่สามารถจ้างคนงานมาช่วยแบ่งเบาได้บ้าง น่าเสียดายที่เอกสารมิได้ระบุจำนวนวันปฏิบัติการ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้นอกจากตราตีไม้ หรือหากพบผู้กระทำผิดกฎหมายต่อหน้าต้องปฏิบัติอย่างไร ? เพราะหาไม่แล้วการเข้าป่าครั้งนั้นจะทำให้ผู้ค้นคว้า " สนุก " ไปกับหลักฐานชั้นต้นอย่างแน่นอน.ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา นน 1.6.3.5/11 เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน เรื่อง การสำรวจไม้สักตายแห้งตามธรรมชาติ และสำรวจประมาณการไม้สักที่ถูกลักตัดในสัมปทานน้ำแหง น้ำสา ภาค 4 แปลงที่ 10 [ 16 ก.พ. - 30 ต.ค. 2510 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


เลขทะเบียน : นพ.บ.418/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 148  (81-85) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : ปิฎก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.552/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 3.5 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : เถราภิเสกกถา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากรปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โพธิ์สามต้นการพิมพ์ จำนวนหน้า : 670 หน้าสาระสังเขป : "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน" เล่มนี้ ได้รวบรวมประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อ จ.ศ.712 (พ.ศ.1893) จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) เมื่อ จ.ศ.1129 (พ.ศ.2310) ถือเป็นเอกสารอ้างอิงสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งต่อชนรุ่นหลัง และผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคสมัยหนึ่งของพัฒนาการสู่สังคมไทยในปัจจุบัน




องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง พระพุทธสิหิงค์ พระคู่เมืองนครศรีธรรมราช    พระพุทธสิหิงค์ เมืองนครศรีธรรมราช ประดิษฐานอยู่ที่ "หอพระพุทธสิหิงค์" ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งวังของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช พระพุทธสิหิงค์องค์นี้ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชอย่างช้านาน เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน   ในประเทศไทยมี "พระพุทธสิหิงค์" หลายองค์ประดิษฐานตามจังหวัดต่าง ๆ แต่พระพุทธสิหิงค์ที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวไทยสักการบูชามาแต่ครั้งโบราณมี ๓ องค์ คือ  ๑) พระพุทธสิหิงค์ที่กรุงเทพมหานคร ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในวังหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร ๒) พระพุทธสิหิงค์ที่เชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์  จังหวัดเชียงใหม่ ๓) พระพุทธสิหิงค์ที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งนำมากล่างถึงในองค์ความรู้ชุดนี้   ลักษณะของพระพุทธสิหิงค์ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะสำริด พุทธลักษณะ ประทับนั่ง ปางมารวิชัย “ขัดสมาธิเพชร” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ เซนติเมตร สูง ๔๒ เซนติเมตรพระวรกายอวบอ้วน มักเรียกว่า “แบบขนมต้ม” วงพระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาค่อนข้างใหญ่ พระรัศมีรูปดอกบัวตูม พระอุระนูน ครองจีวรห่มเฉียง มีชายสังฆาฏิสั้นเป็นแบบเขี้ยวตะขาบเหนือพระอังสาซ้าย ซ้อนทบกันหลายชั้น เรียกว่า “เล่นชายจีวร” ฐานเตี้ยและเรียบไม่มีบัวรอง ส่วนที่เป็นฐานบัวทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา แต่มีเอกลักษณ์ทางศิลปะแห่งเมืองนครศรีธรรมราช จึงกำหนดเรียกรูปแบบศิลปะว่าเป็น "ศิลปะอยุธยา สกุลช่างนครศรีธรรมราช"    เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์มีผู้แต่งไว้หลายฉบับ เช่น พระโพธิรังสี นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเชียงใหม่ได้แต่งไว้เป็นภาษามคธ เรียกว่า "สิหิงคนิทาน" ซึ่งน่าจะเป็นฉบับที่นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่าเก่าแก่ที่สุด นอกจากนี้ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งไว้โดยสังเขปเล่มหนึ่ง และหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ได้แต่งเป็นตำนานโดยย่อและเรียบเรียงข้อวิจารณ์ทางศิลปกรรมและโบราณคดีไว้ด้วยอีกเล่มหนึ่ง    เนื้อหาใน "สิหิงคนิทาน" มีลักษณะเชิงตำนาน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๘ ปริเฉท มีเนื้อความสรุปได้ว่า พระพุทธสิหิงค์สร้างขึ้นในประเทศลังกา โดยพระราชาชาวลังกา ๓ องค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๒๐ รูป ได้ร่วมกันสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๗๐๐ เพื่อให้เป็นที่สักการะของทวยเทพ ท้าวพระยาและมหาชนโดยทั่วกัน ก่อนสร้างได้ปรึกษาสอบสวนถึงพุทธลักษณะอย่างถี่ถ้วน โดยหมายจะให้ได้รูปที่เหมือนองค์พระพุทธเจ้ามากที่สุด ถึงกับมีตำนานเล่าว่ามีพญานาคตนหนึ่งซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้า ได้นิรมิตให้เห็นเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับสมาธิเหนือรัตนบัลลังก์ สมบูรณ์ด้วยพระมหาปุริสลักษณะ เมื่อถึงสมัยสุโขทัยกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า"ไสยรงค์" ทรงทราบถึงลักษณะอันงดงามของพระพุทธสิหิงค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตไปขอพระพุทธสิหิงค์จากพระเจ้ากรุงลังกา พระเจ้ากรุงลังกาก็ถวายมาตามพระราชประสงค์ พระเจ้าไสยรงค์ทรงโสมนัสมาก เสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงเมืองนครศรีธรรมราช แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย หลังจากนั้นกล่าวถึงการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานที่เมืองต่างๆ ตามลำดับดังนี้ คือเมืองพิษณุโลก กรุงศรีอยุธยา เมืองกำแพงเพชร เมืองเชียงราย จนถึงไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  เรื่องราวพระพุทธสิหิงค์ที่พระโพธิรังษีแต่งไว้ก็จบลงเพียงเท่านี้ แต่พระพุทธสิหิงค์ยังมีเรื่องราวในพงศาวดารและมีผู้แต่งต่อเติมขยายความต่อมาอีกมาก   ที่มาของชื่อ "พระพุทธสิหิงค์" นั้นกล่าวกันว่าอาจมาได้ ๒ ทาง คือทางหนึ่งมาจากการเปรียบลักษณะของพระพุทธรูปนี้ว่าสง่างามดั่งพญาราชสีห์ ความเชื่อนี้มีมาแต่สิหิงคนิทาน ดังที่ แสง มนวิทูร ได้แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า "...มีลักษณะท่าทางเหมือนราชสีห์จึงเรียกชื่อว่า พระสิหิงค์ อีกนัยหนึ่งลักษณะท่าทางของราชสีห์เหมือนลักษณะท่าทางของพระผู้มีพระภาค จึงเรียกชื่อว่า สิหิงค์ (สีหอิงค)" ส่วนอีกทางหนึ่งอาจมาจากการที่เราเรียกชาวลังกาอีกชื่อหนึ่งว่า "ชาวสิงหล"และด้วยที่เชื่อกันว่ามีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับชาติลังกาดังกล่าวแล้ว ต่อมาจึงเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า "พระสิงห์"หรือ "พระพุทธสิหิงค์" ซึ่งก็คือพระพุทธรูปสิงหลนั่นเอง   เรียบเรียง/ภาพ: นายทัศพร กั่วพานิช นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช   อ้างอิง กรมศิลปากร. นิทานพระพุทธสิหิงค์ : ว่าด้วยตำนาน พระพุทธสิหิงค์. D-Library | National Library of Thailand, accessed March 28, 2023, http://digital.nlt.go.th/items/show/1105 เข้าถึงเมื่อ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ ดิเรก พรตตะเสน."แห่พระพุทธสิหิงค์ : นครศรีธรรมราช." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๘.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒. ๘๗๔๔-๘๗๔๕ พรศักดิ์ พรหมแก้ว. "พระพุทธสิหิงค์ : นครศรีธรรมราช." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๑.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒. ๕๐๙๐-๕๐๙๔. หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์.เรื่องพระพุทธสิหิงค์ กับวิจารณ์เรื่องพระพุทธสิหิงค์.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๔๗๗


ไซอิ๋ว เล่ม ๖.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.           ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง   


Messenger