ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,406 รายการ

ภายในห้องจัดแสดงชั้นล่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี มีการจัดแสดงพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรอยู่ ๑ องค์ เป็นพระพุทธรูปยืนที่หล่อขึ้นจากโลหะผสมประเภทสำริด มีการตกแต่งพระพุทธรูปองค์นี้ด้วยการลงรักปิดทองและประดับกระจก .. พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีการครองจีวรห่มเฉียง โดยจีวรนั้นมีการตกแต่งลวดลายให้เป็นจีวรลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นลวดลายจีวรที่เป็นที่นิยมมากในการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์เลยก็ว่าได้ .. พระพุทธรูปยืนองค์นี้พระรัศมีได้หักหายไป และยังมีความชำรุดของผิวพระพุทธรูปด้วยลวดลายบางส่วนแตกหลุดหายไป ตามกาลเวลา พระพุทธรูปยืนองค์นี้ ยืนบนฐานบัวทรงกลม ที่รองรับด้วยฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนกัน ๔ ชั้น บริเวณฐานพระพุทธรูปชั้นล่างสุด ด้านหน้า ปรากฎจารึกว่า “นายพุ้ม เป็นที่หลวงประชุ่ม คุนแม่ทิมภรรยา ทร่างไว้แต่ปีระกา ๑๑๖” จากจารึกดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ .. ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร มีอยู่ว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปประกาศพระศาสนา ยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงขอประทับอยู่ในสำนักของอุรุเวกัสสปะ ซึ่งเป็นหัวหน้าชฎิล (นักบวชผู้บูชาไฟ) และเป็นที่เลื่อมใสของชาวแคว้นมคธ พระพุทธองค์ทรงแสดงความจริงที่ได้ตรัสรู้มาแก่อุรุเวกัสสปะ แต่หัวหน้าชฎิลผู้นี้ยังทนง ตนว่าตัวเองมีฤทธิ์ เป็นอรหันต์ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์หลายครั้ง เพื่อให้อุรุเวกัสสปะคลายความทนงตนลง โดยครั้งสุดท้ายได้แสดงปาฏิหาริย์โดยการห้ามน้ำที่กำลังไหลบ่ามาจากทุกสารทิศ มิให้เข้ามาในที่ประทับ เนื่องจากได้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมใหญ่ อุรุเวกัสสปะคิดว่าพระพุทธเจ้าคงจะจมน้ำเสียแล้ว แต่เมื่อพายเรือไปดูก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจงกรมบนพื้นดินภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง ด้วยปาฏิหาริย์ และหลักธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดง ทำให้อุรุเวกัสสปะคลายความทนงตน และเกิดความเลื่อมใสในพุทธานุภาพ จึงทูลขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งเหล่าชฎิล ๕๐๐ ซึ่งเป็นบริวาร .. พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ เดิมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร โดยพระชัยนาทมุนี (นวม สุทัตโต) เป็นผู้รวบรวมไว้ ภายหลังจึงมอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เก็บรักษาและจัดแสดง


          วันศุกร์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) ในเรื่อง การบูรณะโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร การบุกรุกโบราณสถาน และการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล โดยมีนายธีรยุทธ สุวลักษณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ นายณัฐพงศ์ ศิริวัฒนพิเชษฐ์ นักโบราณคดีชำนาญการ เป็นผู้จัดทำข้อมูลรับชมได้ ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=-EnjO-2sU2cอ่านข่าวได้ ที่นี่ theactive.net


การดำเนินการยกฐานะกิ่งอำเภอศรีรัตนะขึ้นเป็นอำเภอศรีรัตนะ ประวัติอำเภอศรีรัตนะ เดิมอำเภอศรีรัตนะ มีพื้นที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกันทรลักษ์ ประชาชน คณะครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า ฯลฯ ในพื้นที่ ๔ ตำบล คือ ตำบลศรีแก้ว ตำบลพิงพวย ตำบลตูม และตำบลสระเยาว์ เห็นว่าพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพลเมืองมาก กรอปกับท้องที่ของ ๔ ตำบลนี้อยู่ห่างไกลจากอำเภอ ประชาชนต้องใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการเดินทางไปติดต่อราชการ จึงได้ประชุมกันเพื่อขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๑ มติที่ประชุมตกลงเลือกให้บ้านสำโรงระวี เป็นที่ตั้ง และใช้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอสำโรงระวี”แต่เมื่อดำเนินการขอไปยังอำเภออำเภอได้พิจารณาแล้วเห็นว่าที่ดินที่จะมอบให้เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอนั้นมีเนื้อที่น้อยไม่เพียงพอที่จะตั้งได้ ทั้งเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง จึงได้ระงับไป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการขอตั้งกิ่งอำเภอ ในพื้นที่ ๔ ตำบลขึ้นอีก โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล คณะครู พ่อค้า ประชาชน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (นายประเทือง ธรรมสาลี) ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๓ ที่โรงเรียนวัดบ้านสะพุง ตำบลตูม มติที่ประชุมได้เลือกโนนหนองทึม ที่บ้านตูม ตำบลตูม เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอโดยให้ใช้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอหนองทึม” แต่ได้ล้มเลิกไป เนื่องจากอำเภอไม่เห็นด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีการขอตั้งกิ่งอำเภอขึ้นอีก โดยมีการประชุมคณะกรรมการดังกล่าว เพื่อปรึกษาหารือและดำเนินการขอตั้งกิ่งอำเภอ เมื่อ ๘ พฤษภาคม ๒๕๑๓ ที่โรงเรียนบ้านตระกาจ ตำบลศรีแก้ว ซึ่งมติที่ประชุมให้ดำเนินการขอตั้งกิ่งอำเภอที่บ้านตระกาจ ตำบลศรีแก้ว ให้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอสระแก้วมโนสุข” แต่ก็ยังไม่สามารถขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ เนื่องจากอำเภอพิจารณาเห็นว่าที่ดินที่มอบให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้อยเกินไปไม่เพียงพอที่จะขยายพื้นที่ได้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๙ สมัยนายรังสฤษฏ์ มณีนิล รักษาการในตำแหน่งนายอำเภอกันทรลักษ์ ได้ให้กำนันตำบลศรีแก้ว เชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล คณะครู พ่อค้า ประชาชน ตำบลศรีแก้ว ตำบลพิงพวย ตำบลตูม และตำบลสระเยาว์ มาประชุมดำเนินการขอตั้งกิ่งอำเภออีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๑๙ ที่โรงเรียนบ้านตระกาจ โดยมีสมาชิกสภาจังหวัดประจำอำเภอกันทรลักษ์ เข้าร่วมประชุมด้วย มติที่ประชุมตกลงเอาที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินของนายหนูเล็ก พรหมมานนท์ ซึ่งเป็นประชาชนตำบลศรีแก้ว มอบให้ที่บ้านโคน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลศรีแก้ว เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอ ได้ดำเนินการขอตั้งกิ่งอำเภอผ่านไปอำเภอ จังหวัด และกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๔ โดยใช้ชื่อว่า “ กิ่งอำเภอศรีรัตนะ” โดยแบ่งท้องที่การปกครองออกจากอำเภอกันทรลักษ์ จำนวน ๔ ตำบล ดังกล่าวข้างต้น ต่อมาได้มีการดำเนินการเพื่อขอยกฐานะกิ่งอำเภอศรีรัตนะขึ้นเป็นอำเภอในปีงบประมาณ ๒๕๓๐ ตามโครงการวางแผนจัดตั้งฯ และยกฐานะระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๔) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๖ โดยหลักเกณฑ์ในการขอยกฐานะกิ่งอำเภอเป็นอำเภอ ดังนี้ ๑. มีจำนวนพลเมืองตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ คนขึ้นไป ๒. ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอที่ตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือไม่น้อยกว่า ๓ ปี ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ๓. มีรายได้จากภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อปีขึ้นไป ๔. ต้องได้รับความเห็นชอบที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและสภาจังหวัด และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งเป็นอำเภอ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐๖ ตอนที่ ๘๓ หน้าที่ ๒๔๙ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๒ และได้ยกฐานะเป็นอำเภอศรีรัตนะ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒ เรียบเรียงโดย นางสาวอุไรวรรณ แสงทอง นักจดหมายเหตุชำนาญการ อ้างอิง https://www.govesite.com หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี : เอกสารสำนักทางหลวงที่ ๗ อุบลราชธานี (๖) คค ๒.๑.๕.๖/๗๗





          กรมศิลปากรขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การแถลงข่าวนิทรรศการ "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : บันทึกน้ำท่วมเมืองพะเยา -- ตั้งแต่ล่วงเข้าเดือนสิงหาคมมาหลายๆ พื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยที่มากับธรรมชาติ ประสบกับปัญหาแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม สูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียไร่นาเกษตรกรรม หรือแม้นแต่สูญเสียสมาชิกในครอบครัว จังหวัดพะเยาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบภัยธรรมชาติเหล่านี้อย่างหลีกเลียงมิได้ โดยเฉพาะเหตุอุทกภัย ดังได้มีการบันทึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีตของพะเยาที่สะท้อนให้เห็นถึงความสูญเสียที่มากับภัยของธรรมชาติ บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมเมืองพะเยา ของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ ความโดยสรุปว่า วันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๔๘ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) เวลากลางคืน มหาเมฆตั้งขึ้นร้องคราง เสียงดังน่าอัศจรรย์มาก ฝนตกลงมาห่าใหญ่น่ากลัวมาก ตกอยู่ตลอดคืนไม่มีขาด จนทำให้เกิดน้ำท่วมเมืองพะเยา น้ำท่วมทะลุบ้านแม่นาเรือ เรือนโค่นลงสองหลัง นางติ๊บกับลูกสาวคนหนึ่งเสียชีวิต น้ำกว๊านเอ่อขึ้นท่วมถึงปลายนิ้วมือพระเจ้าตนหลวง และน้ำเอ่อขึ้นถึงชายคาพระวิหารหลวงซดหน้า (มุขหน้า) ตรงที่น้ำบ่อประตูเหล็กหยั่งลงไม่ถึง ข้าวในนาชาวบ้านตุ่น บ้านบัวน้ำท่วมคนหายไป ๗ คน ภูเขาพังลงมาปิดร่องน้ำแม่ตุ่น น้ำป่าทะลุเอาไม้ หินทรายมาทับถมบ้านคนเสียชีวิต ๑๖ คน บ้านเหล่า ๔ คน บ้านสางเหล่า ๑๒ คน  อีกหนึ่งบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมเมืองพะเยา ที่ถูกบันทึกโดยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖ และอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (พระอารามหลวง) ว่า “ระยะห่างกัน ๒๑ ปี เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ครั้งนั้นข้าพเจ้าย้ายมาอยู่วัดศรีโคมคำแล้ว จึงมาประสบกับน้ำท่วมดังรายละเอียดต่อไปนี้ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๖ ตรงกับวันพุธแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ เหนือ ปีฉลู ก่อนหน้านี้ ๒ วัน เมฆฝนตั้งขึ้นปกคลุมทั้งป่าเขา ทุ่งนาและหมู่บ้าน มองไปทางไหนมืดครึ้มทั้งวันทั้งคืน จากนั้นฝนก็ตกลงมาไม่ขาดสายตลอดทั้งวันทั้งคืน ทำให้น้ำป่าไหลลงมาจากภูเขา ลงสู่หมู่บ้าน ทุ่งนาลงกว๊านพะเยาเอ่อท่วมขึ้นถนนหนทางจากห้าแยกประตูเหล็กถึงวัดศรีโคมคำ ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ  ในบริเวณวัดศรีโคมคำ ในพระวิหารลึก ๑.๒๐ เมตร ข้างนอกลึก ๑.๕๐ เมตร ขึ้นองค์พระประธานพระเจ้าตนหลวง ๘๐ เซนติเมตร ทำให้องค์พระเจ้าตนหลวงทรุดลงเอนหลังไปเกือบติดฝาผนัง เสนาสนะอื่นทรุดโทรมไปหลายแห่ง จะหาทางป้องกันก็ไม่ทัน เพราะน้ำบ่าเข้าท่วมวัด เวลา ๐๕.๐๐ น. พอสว่างพระเณรเตรียมสิ่งของเพราะเป็นวันพระ แรม ๘ ค่ำ ศรัทธาจะมาตักบาตร ดูน้ำไหลบ่าเข้าประตูศาลา เข้าไปดูพระวิหารน้ำเข้าท่วมเต็มหมด จึงย้ายการทำบุญไปยังศาลาบาตรด้านเหนือตรงมุมโค้ง พอตักบาตรเสร็จก็ต้องรีบขนเสื่อเครื่องทำบุญออกจากศาลา ทันใดน้ำก็ท่วมศาลาอีก มองในวัดเหมือนกับกว๊าน ถึงเวลาเย็นประชาชนไม่รู้มาจากไหนต่างก็มาจับปลากันถึงในวัดเต็มไปหมด หันไปมองชาวบ้านหลายหมู่บ้าน ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลที่อยู่ติดกับชายกว๊านถูกน้ำท่วมหมด ไร่นาทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยงต่างๆ ล้มตายจมน้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหมู่บ้านแม่ต๋ำทั้ง ๔ หมู่บ้าน จมอยู่ใต้น้ำ ที่ลำบากที่สุดหมู่บ้านแม่ต๋ำภูมินทร์ และแม่ต๋ำเมืองชุม เพราะท่วมจนมิดหลังคาบ้านก็มี การท่วมคราวนั้นท่วมอยู่นาน เพราะทางบ้านเมืองสร้างถนนไฮเวย์ขึ้นสูงถึง ๒.๕๐ เมตร แต่ท่อระบายน้ำไม่เพียงพอ มีสะพานเพียงแห่งเดียว มีท่อระบายน้ำอีกแห่ง นอกจากนี้ก็มีประตูน้ำ-ประมง แต่ระบายไม่ทัน ทำให้น้ำขังอยู่นานเกือบ ๒ เดือน น้ำแห้งขาดจากในวัดศรีโคมคำ ถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ น้ำท่วมครั้งนี้ข้าพเจ้าได้แต่งค่าวไว้อยู่เรื่องหนึ่งชื่อว่า ค่าวน้ำท่วมพะเยา”   จากบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพะเยาทั้งสองครั้ง นอกจากจะสะท้อนความเสียหายของภัยที่มากับธรรมชาติแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เหตุการณ์ยิ่งเก่ายิ่งสืบค้นหาข้อมูลเทียบเคียงอ้างอิงยาก บันทึกเหล่านี้มีประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป ………………………………ผู้เรียบเรียง:  นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)..............................ภาพถ่าย : 1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. ภ พย (อ) 6/10 น้ำท่วมวัดพระเจ้าตนหลวง, 2516. 2. ภาพชุดจัดทำนิทรรศการ “บันทึกน้ำท่วมพะเยา” มีนาคม 2555, วัดศรีโคมคำข้อมูลอ้างอิง:วัดศรีโคมคำ. อัครดุษฎีบัณฑิตแห่งภูกามยาว พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา. 2550. หน้า 254-259.พระมหาโยธิน ฐานิสฺสโร. บันทึกวัดศรีโคมคำ. เชียงราย:อินเตอร์พริ้นท์, 2552. หน้า 30, 39-42.พระธรรมวิมลโมลี. บันทึกสถิติน้ำท่วมเมืองพะเยาและค่าวน้ำท่วม. พิมพ์แจกในงานฉลองสัญญาบัตรพัดยศ , เชียงราย: หจก.เชียงรายไพศาลการพิมพ์, 2538 หน้า 1-15 (เอกสารสำเนา).สารานุกรมกว๊านพะเยา. บันทึกน้ำท่วมเมืองพะเยา (Online), http://www.phayaolake.ict.up.ac.th/content/66 สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ





          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามบดีจักรีวงศ์" ในรายการ “ผันผ่านกาลเวลา ล้ำเลอค่าโรงละคร” เนื่องในวาระปิดปรับปรุงโรงละครแห่งชาติ (เพิ่มรอบการแสดง) วันอาทิตย์ ๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ           รายการแสดง ประกอบด้วย           ๑. การบรรเลง - ขับร้อง ดนตรีสากล “สำเนียงเสียงฝรั่งหลวง งามโชติช่วงเพลงกรมศิลป์”           ๒. ละคร เรื่องไกรทอง ตอนไกรทองรบชาละวัน           ๓. โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามบดีจักรีวงศ์" นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต  กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์  อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท ซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒, ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


ชื่อเรื่อง                                ปรมตฺถธมฺมสุตฺต(ปรมัตถะ) สพ.บ.                                 อย.บ.12/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง         วัดไร่ขิง ชื่อเรื่อง            พุทธาทิกลัส นมตภุ : ของขลังคำกลอน ครั้งที่พิมพ์       -           สถานที่พิมพ์    นครปฐม สำนักพิมพ์      พระปฐมการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2524 จำนวนหน้า      80 หน้า รายละเอียด              พุทธาทิกัสสะ นะมะตะภุ หรือของขลังคำกลอน แต่งเป็นกลอนแปดต้นหลัง เป็นพระคาถา ชินบัญชร และคำแปล  และหลังจากคำแปลเป็นคาถาชินบัญชรคำกลอน


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 154/2เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/8เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)