ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,383 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.34/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ เห็นชอบมาตรการผ่อนคลายการดำเนินการกิจการและกิจกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะเดียวกัน แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงเตรียมเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๑๖ มิถุนายนนี้ พร้อมย้ำให้ทุกหน่วยงานดำเนินตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด           สำหรับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มี ๔ แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรีอนุสรณ์


องค์ความรู้ เรื่อง  เทศกาลเข้าพรรษา  วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (หลังวันอาสาฬหบูชา ๑ วัน) ในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓   คำว่า “เข้าพรรษา” หมายถึง พักฝน เป็นวันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะหยุดพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝน เป็นเวลา ๓ เดือน โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ กำหนดวันเข้าพรรษาแบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ  ปุริมพรรษา คือ พรรษาต้น เป็นช่วงระยะเวลาที่พระสงฆ์เข้าอยู่พรรษาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  ปัจฉิมพรรษา คือ พรรษาหลัง เป็นช่วงระยะเวลาที่พระสงฆ์เข้าอยู่พรรษาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  เหตุที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการจำพรรษา เนื่องจากในสมัยพุทธกาล ชาวบ้านติเตียนกันว่า พวกสาวกของพระพุทธองค์ไม่หยุดสัญจรไปมาแม้กระทั่งในฤดูฝน ทำให้เหยียบย่ำข้าวกล้าที่ชาวบ้านเพิ่งลงมือหว่านไถเพาะปลูกเสียหาย เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบจึงได้วางระเบียบให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอดฤดูฝนเป็นเวลา ๓ เดือน เรียกกันทั่วไปว่า “เข้าพรรษา” ชาวบ้านจึงถือโอกาสนี้เข้าวัดทำบุญถวายเครื่องไทยทานที่จำเป็นแก่พระสงฆ์ รวมทั้งรักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนาตั้งมั่นประกอบคุณงามความดี  ประเพณีทำบุญเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานั้น ปรากฏหลักฐานนับแต่สมัยสุโขทัย โดยจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงระบุว่า พระมหากษัตริย์ ขุนนาง และราษฎรร่วมกันถือศีลบำเพ็ญกุศลในเทศกาลเข้าพรรษา ดังความตอนหนึ่งว่า   “พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งหญิงทั้งชาย ฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน”  ในสมัยอยุธยา เอกสารประวัติศาสตร์ เรื่อง คำให้การขุนหลวงหาวัด กล่าวถึงการพระราชกุศลต่างๆ ในระหว่างเข้าพรรษา พระมหากษัตริย์ทรงสมาทานอุโบสถศีล เดือนละ ๘ ครั้ง   ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในวรรณกรรม เรื่อง นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวของข้าราชการฝ่ายใน ตลอดจนพระราชประเพณีต่าง ๆ ใน ๑๒ เดือน เฉพาะประเพณีเข้าพรรษาอยู่ในเดือน ๘ รวมทั้งพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระราชพิธี ๑๒ เดือน” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายและพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับธรรมเนียมประเพณีเข้าพรรษา ในหัวข้อเรื่อง “พระราชพิธีเดือนแปด”  ปัจจุบันการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ยังมีประเพณีสำคัญที่คงถือปฏิบัติสืบต่อมา คือ  ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่สมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ดังเช่นปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาต้องปฏิบัติกิจวัตร เช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้า – เย็น การศึกษาพระปริยัติธรรม ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้จำเป็นต้องใช้แสงสว่าง ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่ตั้งขบวนแห่ไปถวายพระอาราม เรียกว่า “เทียนจำนำพรรษา” มีความเชื่อว่าอานิสงส์การถวายเทียนจำนำพรรษาจะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญาดี สว่างไสวดั่งแสงเทียน  ปัจจุบัน มีประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาที่มีชื่อเสียงหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี นครราชสีมา นครพนม และสุพรรณบุรี เป็นต้น  ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน ประเพณีนี้เกิดขึ้นแต่ครั้งพุทธกาลคือ มหาอุบาสิกาชื่อ นางวิสาขา ได้ทูลขออนุญาตพระพุทธองค์ให้พระสงฆ์มีผ้าอาบน้ำฝน เพื่อผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำในระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงนับเป็นสตรีคนแรกที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์  ประเพณีตักบาตรดอกไม้ เป็นประเพณีที่มีตำนานมาแต่ครั้งพุทธกาล มีความเชื่อกันว่า การตักบาตรดอกไม้เป็นการสร้างอานิสงส์ที่สูงส่งอย่างยิ่ง จะทำให้ชีวิตมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ปัจจุบันเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติที่วัดหลายแห่ง เช่น วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ส่วนดอกไม้ที่นำมาถวายพระสงฆ์ เพื่อนำไปสักการะรอยพระพุทธบาทก็เป็นดอกไม้ท้องถิ่นที่ออกดอกในช่วงเวลานี้พอดี คือ “ดอกหงส์เหิน” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ดอกเข้าพรรษา”  อนึ่ง ก่อนเทศกาลเข้าพรรษาและเวียนเทียนนั้น มีธรรมเนียมประเพณีที่กุลบุตรอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะอุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนา เพื่อศึกษาพระธรรมในช่วงเวลาเข้าพรรษา ส่วนพุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญที่วัด รับอุโบสถศีล ฟังพระธรรมเทศนา รวมทั้งยังปวารณาตั้งมั่นบำเพ็ญคุณความดีในเทศกาลเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน เช่น งดดื่มเหล้ารวมทั้งละเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น  เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาและการคลี่คลายของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ๑๙ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จึงจัดกิจกรรมอัญเชิญพระไภษัชยคุรุ พระพุทธเจ้าบรมครูแห่งโอสถในคติพุทธศาสนานิกายมหายาน ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ๒๑ แห่ง ระหว่างวันพุธที่ ๑ กรกฎาคม – วันศุกร์ที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ เพื่อให้ประชาชนสักการบูชาสร้างขวัญกำลังใจให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยในส่วนกลาง อัญเชิญพระไภษัชยคุรุ ๖ องค์ ประดิษฐานให้ประชาชนสักการะ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๖๓   วันจันทร์ที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์หล่อเทียนพรรษา จำนวน ๑๐ ต้น ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้หน่วยงานในกระทรวงวัฒนธรรมและองค์กรเครือข่ายร่วมเป็นเจ้าภาพนำเทียนพรรษาไปถวายพระอาราม จำนวน ๑๐ แห่ง ได้แก่ ๑. วัดพรหมวงศาราม เขตดินแดง ๒. วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน ๓. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร ๔. วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง ๕. วัดเทพลีลา เขตบางกะปิ ๖. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร ๗. วัดชัยพฤกษมาลา เขตตลิ่งชัน ๘. วัดเสมียนนารี เขตหลักสี่ ๙. วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ ๑๐. วัดสามพระยา เขตพระนคร  วันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถแห่เทียนพรรษา ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม   ส่วนกรมศิลปากร ในวันนี้ ( ๖ ก.ค. ๒๕๖๓) เวลา ๑๓.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการถวายเทียนพรรษาและเครื่องสังฆทานของกรมศิลปากร เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๓ แด่พระธรรมปัญญาบดี (พีร์ สุชาโต) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ  ....................................................................... อรวรรณ ทรัพย์พลอย นักอักษรศาสตร์เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ (ประวัติศาสตร์และจารีตประเพณี) สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ค้นคว้าเรียบเรียง .................... ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เทศกาลเข้าพรรษา วัดสระกระเทียม เครดิตภาพ ธวัชชัย รามนัฏ




ชื่อเรื่อง                         ท้าวเต่าคำ (ท้าวเต่าคำ)  สพ.บ.                           383/2หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทย-อีสานหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    นิทานคติธรรม                                    นิทานชาดกประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    54 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี




          ประติมากรรมดินเผารูปคชลักษมี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองประติมากรรมดินเผารูปคชลักษมี สูงประมาณ ๘ เซนติเมตร ตรงกลางเป็นรูปพระลักษมี เกล้าพระเกศา พระพักตร์กลม พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา แย้มพระสรวล ทรงกุณฑลทรงกลมและกรองศอ พระหัตถ์ทั้งสองทรงถือก้านดอกบัวตูมยกขึ้นในระดับพระอุระ นั่งขัดสมาธิราบ มีช้างขนาบสองข้าง ส่วนศีรษะช้างหักหายไป สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปช้างชูงวงถือหม้อน้ำเพื่อรดน้ำอภิเษกพระลักษมี รองรับด้วยฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัว กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) สันนิษฐานว่า อาจใช้เป็นฝาจุกภาชนะ หรือประดิษฐานเพื่อการเคารพบูชา หรือใช้เป็นเครื่องรางสำหรับติดตัวพ่อค้าหรือนักเดินทาง           คชลักษมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ มีที่มาจากคติการบูชาเพศหญิงซึ่งเป็นเพศผู้ให้กำเนิด ส่วนช้างเป็นสัตว์มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของเมฆฝน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชพันธุ์เจริญงอกงาม คชลักษมีจึงเป็นสัญลักษณ์มงคลที่ปรากฏทั้งในศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “มายาเทวี” หมายถึงพุทธประวัติตอนประสูติของพระพุทธเจ้า ส่วนในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เรียกว่า “คชลักษมี” หมายถึงการรดน้ำอภิเษกแก่พระลักษมีซึ่งเป็นชายาของพระวิษณุ           นอกจากประติมากรรมคชลักษมีชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปคชลักษมีรูปแบบอื่นๆ ในเมืองโบราณสมัยทวารวดี เช่น แผ่นดินเผารูปคชลักษมีสำหรับการเจิมในการทำพิธีการทางศาสนาของพราหมณ์ และคชลักษมีประดับที่ส่วนล่างของธรรมจักร พบที่เมืองนครปฐมโบราณ เครื่องรางดินเผารูปคชลักษมีและท้าวกุเวร ซึ่งอาจใช้เป็นเครื่องรางสำหรับพกติดตัวของพ่อค้าหรือนักเดินทาง พบที่เมืองซับจำปา จังหวัดลพบุรี เป็นต้น โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยทวารวดี คชลักษมี เป็นรูปเคารพตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู โดยมีความหมายร่วมกันคือ ความมีโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงอาจถูกใช้เป็นเครื่องรางด้วย ------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง :กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. รูปแบบและความเชื่อของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี-ลักษมีที่พบใน ประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก 1,000 ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.



ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-มหาราช) สพ.บ.                                  263/11ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


กองโบราณคดีใต้น้ำนำข้อมูลที่ได้จากการขุดค้นแหล่งเรือจมเกาะคราม จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 1 – 25 ธันวาคม 2564 มาแบ่งปันค่ะ แหล่งเรือจมเกาะครามนับเป็นจุดเริ่มต้นของงานโบราณคดีใต้น้ำ มีสำรวจและขุดค้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน รวมเป็น 9 ครั้ง พบหลักฐานโครงสร้างเรือยาวประมาณ 30.50 เมตร ความกว้างยังไม่แน่ชัด จมอยู่ที่ระดับความลึกจากผิวน้ำทะเล 40 เมตร ในระวางเรือพบภาชนะดินเผาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย และเตาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย แหล่งเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี แหล่งเตาบ้านบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องถ้วยเวียดนาม จากแหล่งเตา Binh Dinh และเครื่องถ้วยจีน นอกจากนี้ยังพบข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวเรือ ครั้งนี้เราทำการขุดค้น ในพื้นที่ขนาด 8 x 2 เมตร พบเศษชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจำนวนมาก พบหลักฐานเพิ่มเติมคือกลุ่มภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ้านบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 3 ใบ กระปุกขนาดเล็ก จากเตาบ้านเกาะน้อย ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แผ่นดินเผาทรงกลมจำนวน 3 ใบ และตุ้มน้ำหนักตราชั่ง 1 ชิ้น ผลจากการขุดค้นพบว่าเป็นส่วนท้องเรือ ยังไม่ใช่ส่วนหัวเรือ โดยในอนาคตจะทำการขุดค้นไปทางทิศเหนือเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ต่อไป จากการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์และการศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุ แหล่งเรือเกาะคราม กำหนดอายุได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 -20 สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือหลวงของสยาม เนื่องจากบรรทุกภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาภายในประเทศจำนวนมาก และคงจะอับปางลงในร่องน้ำครามระหว่างแล่นออกไปค้าขาย


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.36/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)  ชบ.บ.67/1-1ฆ  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)