ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,621 รายการ

          อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยดำเนินการขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานวัดเกาะไม้แดง เนื่องในโครงการบูรณะและเสริมความมั่นคงโบราณสถานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพื่อเก็บข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ที่อยู่ใต้ดิน ก่อนที่จะดำเนินการบูรณะเสริมความมั่นคงต่อไปในอนาคต วัดเกาะไม้แดงหรือโบราณสถานร้าง ต.อ.๑๕ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก โดยอยู่ห่างจากประตูกำแพงหักไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และห่างจากวัดเจดีย์สูงไปทางทิศใต้ประมาณ ๙๐ เมตร หรือสามารถเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของวัดเกาะไม้แดงได้ตามลิ้งก์นี้ >>>https://goo.gl/maps/ARgstrsDtCFd48NM8           สภาพก่อนการขุดค้นทางโบราณคดี ในหนังสือทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ระบุว่าโบราณสถานแห่งนี้เคยมีการขุดแต่งและบูรณะมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ นี้มีคูน้ำล้อมรอบ ๔ ด้าน ภายในประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลักเรียงตามแนวแกนทิศตะวันออกไปตะวันตกดังนี้คือ ฐานวิหารก่ออิฐ ขนาด ๕ ห้อง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๖.๓ เมตร เสาทำด้วยศิลาแลง ด้านหลังวิหารหรือด้านทิศตะวันตกของวิหาร มีมณฑปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ขนาดกว้าง ๗.๕ เมตร ยาว ๙.๗ เมตร ภายในมณฑปเป็นห้องสี่เหลี่ยมใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ห่างออกมาด้านทิศตะวันตก ๑๕ เมตร ปรากฏมณฑปสี่เหลี่ยมก่ออิฐ ขนาดกว้างยาวประมาณ ๗ เมตร ภายในเป็นห้องสี่เหลี่ยมประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น รอบๆ ฐานมณฑปสี่เหลี่ยมมีการก่อเป็นฐานยื่นออกมาสามด้าน นอกจากนี้ยังมีฐานเจดีย์รายเหลืออยู่ ๒๗ องค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วก่ออิฐ ที่ก่อล้อมมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านและเจดีย์รายไว้ ๓ ด้านคือทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้           การดำเนินงานขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานวัดเกาะไม้แดง ในขณะนี้ได้ดำเนินการขุดค้นขุดแต่งไปแล้วบางส่วนเท่านั้นคือบริเวณพื้นที่ภายในกำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้าน และพื้นที่ระหว่างมณฑปทั้ง ๒ หลัง ทำให้ทราบในเบื้องต้นว่าก่อนการสร้างมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านที่เห็นในปัจจุบันนั้น มีการใช้งานพื้นที่มาก่อน เนื่องจากพบแนวอิฐที่เป็นกำแพงแก้วรอบล้อมกลุ่มฐานของเจดีย์ราย ฐานเจดีย์ราย นอกจากนี้ยังมีการขุดพบฐานวงกลมก่ออิฐฉาบปูนจำนวน ๒ ฐานซึ่งยังไม่ทราบหน้าที่การใช้งานที่ชัดเจน บริเวณใกล้ๆ กับมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านพบแนวอิฐที่ใช้รองรับโครงสร้างอาคารอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามณฑป สันนิษฐานว่าเป็นแนวอิฐของโครงสร้างอาคารหลังเก่าที่มีมาก่อนที่มีมาการก่อสร้างมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านซ้อนทับในสมัยหลัง           ทั้งนี้การดำเนินงานขุดค้นขุดแต่งยังไม่แล้วเสร็จ หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีที่วัดเกาะไม้แดงได้ตามที่ลิ้งก์แผนที่ที่แนบในย่อหน้าที่สองของบทความ และสามารถติดตามคืบหน้าของการศึกษา วิจัย ทางโบราณคดีของโบราณสถานวัดเกาะไม้แดงได้ในรูปแบบรายงานทางวิชาการที่จะเผยแพร่ผ่านทางหน้าเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต่อไปในอนาคต หรือสามารถสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4100167870035690&id=180332008685982&sfnsn=mo --------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย




          จากเอกสารจดหมายเหตุจังหวัดนครพนม แผนกมหาดไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘ กรมโลหกิจ (ปัจจุบันคือ กรมทรัพยากรธรณี) ได้มีหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เรื่อง ขอทราบแหล่งเต๊กไต๊ท์ ตามเนื้อความระบุว่า           “เนื่องจากปรากฏในรายงานธรณีวิทยาของต่างประเทศว่าวัตถุชะนิดหนึ่งชื่อเต๊กไต๊ท์ (Tectite) ได้พบแพร่หลายในประเทศออสเตรเลีย, หมู่เกาะฟิลิปปินส์, อินโดจีน และในภาคอีสานของประเทศไทยบางท้องที่ วัตถุนี้มีประโยชน์ในงานธรณีวิทยา และกรมโลหกิจใคร่จะได้ทราบว่ามีปรากฏที่ใดบ้าง จึงได้แนบภาพถ่ายของเต๊กไต๊ท์ที่พบในอินโดจีนมากับหนังสือนี้สองภาพ เพื่อขอความร่วมมือจากท่านช่วยสืบค้นว่ามีผู้พบ หรือมีแหล่งปรากฏที่ใดบ้าง และหากจะได้ตัวอย่างด้วยก็เป็นการดีมาก วัตถุเหล่านี้มักพบปรากฏอยู่ตามผิวดิน ปนกับกรวดทรายในร่องห้วย ตามลาดเนิน ลักษณะคล้ายหินหรือแก้วหรือเหล็กเป็นสนิม ผิวมักจะขรุขระดังผิวลูกมะกรูดหรือเป็นร่อง เป็นแอ่ง เป็นรูเล็ก ๆ มีขนาดต่างกันตั้งแต่ขนาดผลพุดซาไปจนถึงขนาดผลส้มโอขนาดใหญ่ วัตถุเหล่านี้เป็นวัตถุเดียวกับที่ชาวบ้านเรียกว่า คดพระจันทร์ ขวานพระจันทร์ หรือขวานฟ้า”           แต่ทั้งนี้จากการตรวจสอบเอกสารจดหมายเหตุที่ได้รับมอบไม่พบเอกสารแนบภาพถ่าย ผู้เรียบเรียงจึงขอยกตัวอย่างแร่เต๊กไต๊ท์ ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี ดังนี้ Tektite เป็นหินอุลกมณี หรือหินดาวตกประกอบด้วยแร่ซิลิกา ลักษณะเป็นเนื้อแก้วที่ผิวมีหลุมเล็ก ๆ หรือเป็นร่องยาว มีหลายขนาดและรูปแบบ เช่น ทรงกลมคล้ายผลส้ม กลมและแบนแบบจาน รูปหยดน้ำ รูปดัมเบล และรูปกระสวย ในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าว ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมมีหนังสือแจ้งไปยังส่วนราชการในอำเภอต่าง ๆ ให้สำรวจและรายงานข้อมูล พบว่า จากการสำรวจของนายไพฑูรย์ เก่งสกุล นายอำเภอนาแก ในบริเวณพื้นที่ตำบลกกตูม อำเภอนาแก มีการพบหินที่สงสัยว่าจะมีแร่ธาตุบางชนิดรวม ๑๔ ชิ้น กรมโลหกิจ จึงส่ง นายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน นายช่างธรณีวิทยา และนายวิลเลี่ยม เอ. แคสซิตี้ ให้มาดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมและเก็บตัวอย่างหิน ๑๔ ชิ้น กลับมายังกรมโลหกิจ เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างหิน แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่           ๑. ตัวอย่างหินที่ได้จากภูกะติ๊บ บ.โคกกลาง อ.เมือง จ.สกลนคร เป็นแร่ทองแดง จำนวน ๗ ชิ้น ๒. ตัวอย่างจาก ตำบลกกตูม อำเภอนาแก จ.นครพนม เป็นแร่และวัตถุต่าง ๆ คือ ๒.๑ แร่เหล็ก ชนิดไลโมไน้ท์ จำนวน ๑ ชิ้น ๒.๒ แร่เหล็ก ชนิดไพไร้ท์ จำนวน ๑ ชิ้น ๒.๓ กรวดมีคราบแร่ทองแดง จำนวน ๓ ชิ้น ๒.๔ ซากกระดูกกลายเป็นหิน จำนวน ๒ ชิ้น           ภายหลังจากที่มีการวิเคราะห์ผลทางวิทยาศาสตร์ กรมโลหกิจ ได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการจัดการหากราษฎรพบหินที่มีลักษณะดังกล่าวไว้ว่า           “ตัวอย่างแร่ทองแดงจากภูกระติ๊บ แสดงลักษณะของแร่ซึ่งเคยพบเป็นก้อนในหินทรายในที่อื่น ๆ และมักจะไม่เป็นแหล่งใหญ่ แต่ก็ควรสนใจติดตามให้ทราบแน่นอนว่ามีมากสักเพียงใด ส่วนแร่เหล็กและทองแดงจากตำบลกกตูม ไม่แสดงลักษณะสำคัญควรแก่การสนใจ แต่ทรากกระดูกกลายเป็นหิน ๒ ชิ้น ควรจะได้สืบทราบแหล่งที่มาแน่นอน และถ้ายังมีส่วนใดเหลืออยู่เอาออกจากหินได้ยาก ก็ควรจะได้รับความคุ้มครองจากผู้ปกครองท้องที่มิให้ถูกทำลายไปโดยชาวบ้าน เพื่อจักได้ทำการศึกษาในโอกาสอันควรข้างหน้า เพราะวัตถุเหล่านี้มีค่าในทางการศึกษาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาตร์”------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวพัชราภรณ์ สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง- กรมทรัพยากรธรณี. (ม.ป.ท.). ประวัติความเป็นมาของกรมทรัพยากรธรณี. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/n_more_news.php... - กรมทรัพยากรธรณี. (ม.ป.ท.). tektite เกิดได้อย่างไร ส่วนประกอบทางเคมีเป็นอย่างไร ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/fq_more.php?page=8&f_id=19&f_sub_id=21 - หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี. นพ ๑.๒/๓๒ ให้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดนครพนม (๑๘ ม.ค. - ๑๗ ก.ย. ๒๔๙๘) ภาพประกอบ - อุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก. (ม.ป.ท.). เมื่อไม้กลายเป็นหิน. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/.../article/article_20171002133400.pdf - https://www.mindat.org/min-10859.html


          วันศุกร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการประชุมจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ MOU กับนายธฤต จรุงวัฒน์ เลขาธิการมูลนิธิไทย พร้อมคณะ เพื่อร่วมกันนำเสนอจุดเด่นของความเป็นไทย การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในต่างประเทศในด้านต่าง ๆ ณ ห้องประชุม ๑ กรมศิลปากร



พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)  ชบ.บ.67/1-1ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  415/8ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 4.4 ซม. ยาว 55.9 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.286/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 121  (258-265) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มาเลยฺยสตฺต(มไลยยโจทนา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง "พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม : หลักฐานร่องรอยราชวงศ์พูคาปกครองเมืองน่าน"เรียบเรียงโดย : นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่.     ราชวงศ์พูคาเป็นราชวงศ์ชาวกาวที่ปกครองเมืองน่านอย่างน้อยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ตามตำนานมีปฐมกษัตรย์คือขุนฟอง ราชวงศ์พูคาเดิมมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปัว (วรนคร) และมีการย้ายเมืองมายังเวียงพูเพียงแช่แห้งในรัชสมัยพญาครานเมือง (กานเมือง) ราวปี พ.ศ.1908 ต่อมาในสมัยพญาผากองย้ายเมืองน่านจากเวียงพูเพียงแช่แห้งมายังเวียงน่านริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เมื่อปี พ.ศ.1911 ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ.1992 ตรงกับรัชสมัยพญาผาแสง และสิ้นสุดอำนาจในการปกครองอย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ.2004 หลังจากพญาผาแสงสิ้นพระชนม์ และราชสำนักเชียงใหม่ได้ส่งขุนนางปกครองเมืองน่านแทน.     ในช่วงที่ราชวงศ์พูคาปกครองเมืองน่านมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ่นกับอาณาจักรสุโขทัย โดยรับเอารูปศิลปสถาปัตยกรรมจากศิลปะสุโขทัยมาค่อนข้างมาก เช่น เจดีย์ช้างล้อม วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร หรือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เก่าของวัดสวนตาล เป็นต้น และหนึ่งในงานศิลปกรรมที่สำคัญอีกกลุ่มที่ถือเป็นหลักฐานแสดงการมีอยู่จริงของราชวงศ์พูคาและเป็นงานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอย่างสวยงามประณีตคือ พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม ทั้ง 5 องค์.     พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม เป็นกลุ่มพระพุทธรูปที่สมเด็จพระญางั่วฬารผาสุมหรืองั่วฬารผาสุมกษัตริย์นครน่านแห่งราชวงศ์พูคา องค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์ในราวปี พ.ศ. 1969 พระองค์ทรงให้หล่อขึ้นประกอบด้วยพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (ห้ามสมุทร) จำนวน 1 องค์ และพระพุทธรูปปางลีลาจำนวน 4 พระองค์ โดยส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะพุทธศิลป์เหมือนกับพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ หากแต่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการเช่น การแสดงออกของสีหน้าพระพักต์ พระวรกายที่อวบอ้วนมากยิ่งขึ้น หรือชายขอบจีวรซ้อนกันสองเส้น เป็นต้น นอกจากนี้ที่ฐานของพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ มีจารึกที่มีเนื้อความเดียวกันเกี่ยวการสร้างพระพุทธรูปของสมเด็จเจ้าพระญางั่วฬารผาสุม หากแต่ข้อความมีความสมบูรณ์เพียงหนึ่งองค์ ความว่า          "สมเด็จพระยาสารผาสุมเสวยราชย์ในนันทปุระ สถาบกสมเด็จพระเป็นเจ้า 5 พระองค์ โพระจะให้คงในศาสนา 5 พันปีนี้ ตั้งเป็นพระเจ้าในปีมะเมีย เพื่อบุญจุลศักราช 788 มหาศักราช 1970 เดือน 6 วันพุธ เดือน 7 ยาม ปราถนาทันพระศรีอาริยไมตรีเจ้า".     จากข้อความในจารึกข้างต้นสามารถกำหนดอายุสัมบูรณ์ของพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ ไว้ที่ พ.ศ. 1970 หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 20 โดยจะขอยกตัวอย่างพุทธศิลป์ของพระพุทธรุปางห้ามสมุทร 1 องค์ และปางลีลา 1 องค์ ซึ่งเก็บรักษาไว้ภายในพระวิหาร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ดังนี้     - พระพุทธรูปสำริด ประทับยืน ปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (ปางห้ามสมุทร) เป็นพระพุทธรูปสำริดประทับยืน พระพักต์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโค้ง งุ่มลงเล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มคลุม มีผ้าจีบหน้านาง ประทับยืนตรง แสดงปางประทานอภัยสองพระหัตถ์ เป็นที่น่าสังเกตว่าการแสดงปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์และการมีผ้าจีบหน้านางประดับ มักพบในศิลปะอยุธยา  อาจกล่าวได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยาด้วยอีกทางหนึ่ง ลักษณะพระพุทธรูปางห้ามสมุทร เป็นการแสดงอิริยาบถตามเรื่องราวในพุทธประวัติ 2 เรื่อง คือเรื่องแรกเป็นการแสดงปาฏิหารย์ของพระพุทธองค์เพื่อทำลายมิจฉาทิฏฐิของเหล่าพี่น้องตระกูลชฎิล เมืองพาราณสี โดนพระองค์แสดงปาฏิหาริย์หยุดน้ำฝนมิให้ตกหนักในบริเวณริมแม่น้ำเนรัญชรา แขวงอรุเวฬา เมื่อเหล่าพี่น้องตระกูลชฎิลเห็นจึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ขอเข้าบรรพชาอุปสมบทพร้อมกับบริวารจำนวน 1,000 คน และพระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่หมู่พี่น้องตระกูลชฎิลทั้งสามและบริวารจนบรรลุพระอรหันต์ ส่วนเรื่องที่สองคือพระพุทธองค์ทรงห้ามพระประยูรญาติแห่งราชวงศ์ศากยะที่กำลังวิวาทะแย่งน้ำแม่น้ำโรหิณีใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ นิโครธาราม     - พระพุทธรูปสำริด ปางลีลา เป็นพระพุทธรูปสำริด ประทับยืน พระพักต์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง งุ้มลงเล็กน้อย แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฐิพาดผ่านพระอังสาซ้ายตกลงเสมอพระนาภี ปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ แสดงปางลีลา โดยพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ ใต้พระกรจีวรมีลักษณะเป็นริ้วพลิ้วไหวตามธรรมชาติ พระหัตถ์ขวาทิ้งลงข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายดำเนินเยื้องไปข้างหน้า ส่วนพระบาทขวาอยู่ข้างหลังยกขึ้นเล็กน้อย แสดงออกถึงลักษณะทรงดำเนิน.     สำหรับพระพุทธรูปลีลาของนครน่านนั้นได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ หากแต่มีลายละเอียดแตกต่างออกไปบ้างเช่นการแสดงออกของสีพระพักตร์ พระวรกายที่อวบอ้วนมากยิ่งขึ้น ชายผ้าจีวรบางองค์ทำเป็นลายเส้นสองเส้นทับซ้อนกันและเว้า ที่สำคัญคือชายจีวรส่วนล่างที่ตกลงและตัดเป็นเส้นทแยงมุมซึ่งไม่ปรากฏในศิลปะสุโขทัย  ทั้งนี้การสร้างพระพุทธรูปลีลาช่างสุโขทัยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปะพม่าหรือลังกาในพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดางดึงส์หลังทรงโปรดพุทธมารดาอีกทอดหนึ่ง และยังมีแรงบันดาลใจจากงานศิลปะภายในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะศิลปะทวารวดีที่ปรากฏลักษณะของจีวรที่ตกจากพระหัตถ์ที่ยกขึ้น เห็นเป็นริ้วคลื่น เป็นต้น  ส่วนเมืองน่านนั้นได้รับการถ่ายทอดลักษะทางศิลปกรรมดังกล่าวจากราชสำนักสุโขทัยผ่านทางความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจอีกทอดหนึ่ง------------------------------------อ้างอิง-ประเสริฐ ณ นคร, จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1  (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 87.สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา (กรุงเทพฯ :เมืองโบราณ,2542), 143.วิสันธนี โพธิสุนทรและเมธินี จิระวัฒนา, พระพุทธรูปปางต่างๆ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2552), 44.ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย (กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556), 195.พรชัย พฤติกุล, ประติมานวิทยาของพระพุทธรูปลีลาในศิลปะสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, 2549), 26-28.สรัสวดี อ๋องสกุล, พื้นเมืองน่าน : ฉบับวัดพระเกิด. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2539.




เมื่อครั้งริเริ่มสร้างอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี ได้มีการขอรับบริจาคโละหะประเภทต่างๆ จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา เพื่อใช้ในการหล่อองค์พระ ในจำนวนเนื้อโลหะที่ได้รับการบริจาคนั้น มีโลหะเงินปนอยู่ ซึ่งถ้าหากนำโลหะเงินไปหล่อรวมกับโลหะประเภทอื่นๆ แล้วก็จะไม่สวยงาม จึงนำโลหะเงินไปหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พิธีหล่อและพุทธาภิเษกพระพุทธเจ้าจอมเมือง จัดขึ้นที่วัดศรีอุบลรัตนาราม โดยมีพระเทพมงคลเมธี (กิ่ง มหปฺผโล) รองเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) ให้ศีลและเป็นประธานจุดเทียนชัย คุณพ่อมหาเชย จันสุตะ เป็นผู้นำคณะพราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง พระราชสุมธี (สุทฺธจิตฺโต สิงห์ ภาระมาตย์) เจ้าคณะภาค 10 (ธ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม เป็นประธานดับเทียนชัย พระโพธิญาณมุนี (ภทฺทิโย สุธีร์ ดวงมาลา) เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี(ธ) เจ้าอาวาสวัดเลียบ เป็นประธานอำนวยการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ พิธีเททองหล่อพระพุทธเจ้าจอมเมืองจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2523 เวลา 09.09 น. มีนายทองหยด จิตตวีระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเททองฝ่ายฆราวาส ช่างที่ทำการหล่อพระพุทธเจ้าจอมเมืองเป็นช่างที่มาจากบ้านปะอาว ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อหล่อพระพุทธรูปแล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธเจ้าจอมเมือง" และได้มอบพระพุทธรูปองค์นี้ให้กับทางจังหวัดอุบลราชธานี (ในสมัยนั้น) นำมาประดิษฐานที่ห้องประชุมศาลากลางหลังเก่า ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ข้อมูลอ้างอิง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ภาพประกอบ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี (รับมอบจากนายปกรณ์ ปุกหุต)


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญร่วมกิจกรรมบรรยายทางวิชาการ เรื่อง : การนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผ่านการศึกษาแหล่งที่มาของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (เส้นทางที่ ๑ เส้นทางท่องเที่ยวภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา) ในวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น. ณ ห้องบรรยายฯ อาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา***ท่านที่สนใจร่วมฟังการบรรยาย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สมัครได้ทาง QR code ตามที่แนบ ภายในวันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๕ (รับจำนวนจำกัด) ทั้งนี้ ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการบรรยายทางวิชาการ ผ่าน facebook live : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กรมศิลปากร และชมย้อนหลังได้ที่ YouTube พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กรมศิลปากร




Messenger