ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,604 รายการ

ชื่อเรื่อง                                 ตำนานว่าวพนัน ตำราผูกว่าว วิธีชักว่าวและการเล่นว่าวต่อสู้กันในอากาศผู้แต่ง                                     พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด ภิรมย์ภักดี) ประเภทวัสดุ/มีเดีย                  หนังสือหายากISBN/ISSN                            -หมวดหมู่                                การบันเทิง นันทนาการ กีฬาเลขหมู่                                   796.158สถานที่พิมพ์                           พระนครสำนักพิมพ์                             โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์                                 2464ลักษณะวัสดุ                           177 หน้าหัวเรื่อง                                  ว่าวภาษา                                    ไทยบทคัดย่อ/บันทึก               กล่าวถึงความเป็นมาของการเล่นว่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ อธิบายวิธีและขั้นตอนในการเล่นว่าวพนัน วิธีการชักว่าว การเล่นว่าว นอกจากนี้ยังอธิบายการทำว่าวปักเป้า อุปกรณ์เล่นว่าว เหนียงว่าวปักเป้า วิธีบังคับว่าวปักเป้า และตำราว่าวจุฬา รวมทั้งกติกาการเล่นว่าวสนามหลวงสวนดุสิต รัตนโกสินทร์ศก 125


ชื่อผู้แต่ง          อวย เกตุสิงห์และวัฒนา โอสถานุเคราะห์ ชื่อเรื่อง           ภพอื่นและเรื่องควรคำนึง พิสูจน์บุญ-บาปในปัจจุบัน ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๓ สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๖ จำนวนหน้า      ๑๔๖ หน้า หมายเหตุ        นายอุบล นางสุมน สังสิทธิ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่เล็ก ศรีประทีป                       หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องไว้ล้วนเป็นเรื่องจริง และเป็นประสบการณ์ของบุคลที่มีตัวตนมีหลักฐานยืนยันพอเชื่อถือได้ ผู้อ่านจะเห็นความจริงตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คนเราธรรมดาเมื่อตายแล้วจะต้องไปเกิดอีก เพราะฉะนั้นบาปบุญที่ได้กระทำไว้ในปัจจุบัน ถ้ายังไม่เห็นผลในชาตินี้ก็จะส่งผลในชาติต่อๆไป เราควรจะละเว้นความชั่วและตั้งหน้าสร้างกุศลเพื่อประโยชน์ในภายภาคหน้า




-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : สุราต้องไม่ค้ากำไร -- ปี 2491 สุราหรือเหล้ามีบทบาทต่อการลดค่าครองชีพช่วยเหลือข้าราชการ เป็นบทบาทสำคัญที่ขนาดกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือถึงคณะกรมการจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อแจ้งเรื่องที่เกี่ยวข้องดังสรุปความว่า แรกเริ่มกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้สโมสรข้าราชการจังหวัดปราจีนบุรีซื้อสุราจากผู้ขายส่ง โดยเสียค่าธรรมเนียมพิเศษ ค่าขนส่ง และกำไรให้แก่ผู้ขาย ซึ่งขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการลดค่าครองชีพช่วยเหลือข้าราชการ กระทรวงอุตสาหกรรมชี้แจงว่า โรงงานสุราเกิดอุปสรรคบางประการ ไม่สามารถผลิตส่งได้ตามความต้องการดังเดิม จึงลดจำนวนการขายให้สโมสรประจำจังหวัดก่อน กอปรกับมีผู้ลักลอบขนสุราจากที่อื่นและสุราปลอมไปขาย ดังนั้น จึงขอแก้ไขปัญหาโดยให้ผู้ขายส่งทุกพื้นที่ขายสุราแก่สโมสรประจำจังหวัดในราคาทุน บวกค่าขนส่ง ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพิเศษอีกต่อไป จากรายละเอียดข้างต้น ทำให้ทราบความสำคัญของสุราว่า เกิดผลกระทบอย่างไรต่อการขาย ในเอกสารที่นำมาแสดงระบุยี่ห้อสุราเช่นกัน ซึ่งน่าสนใจว่าเหตุใดถึงไม่ใช่ยี่ห้ออื่นๆ ด้วย หรือผู้ผลิตรายนั้นประมูลได้ ? ถัดมา ความน่าจะเป็นในการช่วยเหลือค่าครองชีพควรเกี่ยวกับปัจจัยสี่มากกว่า "น้ำเมา " เป็นไปได้ว่าอาจช่วยสนับสนุนสินค้าอุตสาหกรรมของคนไทยหรือไม่ ? อย่างไรก็ตาม การแจ้งเรื่องที่เกี่ยวข้องของกระทรวงมหาดไทยนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่รัฐช่วยเหลือค่าครองชีพ หลักฐานที่ปรากฏเพียงเอกสารหนึ่งแผ่น จึงไม่อาจนำเสนอผลตอบรับ รายงานปฏิบัติ และแนวโน้มต่อไปในอนาคต ทำให้ไม่ทราบถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมายตามนโยบายในขณะนั้น.ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. สท 1.2.2/26 เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดสุโขทัย เรื่อง การลดค่าครองชีพช่วยเหลือข้าราชการ [ 4 ส.ค. 2491 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


          กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในเทศกาลมหาสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รับความรู้คู่ความสนุกกับ “สงกรานต์แฟร์ : นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ” วันที่ 7 - 9 เมษายน 2566 จัดกิจกรรมในลักษณะการออกร้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมต่าง ๆ ในหัวข้อ “สงกรานต์แฟร์ : นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ”      ระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2566 ซึ่งประกอบด้วย 9 กิจกรรม ดังนี้            1. นิทรรศการ “เก้าดารา” เรียนรู้เกี่ยวกับเทวดานพเคราะห์ในวิถีชีวิตไทย            2. เปิด “ตลาดเก้าล้าน” แสดงและจำหน่ายสินค้าที่นักศึกษา ศิลปิน และอาสาสมัคร ได้พัฒนาต่อยอดมาจากโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           3. “สถานีเก้าสิปป์” กิจกรรมเวิร์กชอปงานศิลปะที่หยิบเล่นได้ โดยนักศึกษาและศิลปินอาร์ตทอย ณ ระเบียงด้านข้างหมู่พระวิมานฝั่งทิศเหนือ ข้างอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์           4. กิจกรรม “ทัวร์เก้ามณี” นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเรียนรู้ถึงที่มาของเทวดานพเคราะห์และเทศกาลมหาสงกรานต์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในห้องจัดแสดงต่าง ๆ           5. กิจกรรม “ล่าขุมทรัพย์เก้าแต้ม” รับสมุดประทับตราแล้วออกตามหาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ  ที่เกี่ยวเนื่องกับเทวดานพเคราะห์ จำนวน 9 จุด เพื่อแลกรับถุงเครื่องราง “นวธัญมงคล” (เมล็ดพืชอันเป็นมงคล   9 ชนิด) เป็นของที่ระลึก วันละ 500 ชิ้นเท่านั้น           6. จิบชาเก้าชนิด “จิ๋วจ่งฉา” โดย อ๋อง ที บาย บี๋ (Ong Tea by Bee) ณ เรือนชาลีลาวดี            7. ลุ้นกาชาปองชุดพิเศษ “นวพ่าห์” สัตว์พาหนะเก้าชนิดของเทพนพเคราะห์โดย Little Turtle Studio           8. พิเศษสุดกับการเสี่ยงทายพระคเณศ “นวคเณศ” ซึ่งออกแบบโดยศิลปินอาร์ตทอยเพื่องานสงกรานต์แฟร์ 2566 โดยเฉพาะและมีจำนวนจำกัด           9. ทุกคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในช่วงงานสงกรานต์แฟร์ วันที่ 7 - 9 เมษายน 2566 จะได้รับเหรียญที่ระลึก “พิพิธคเณศ” เป็นรูปพระคเณศแบบต่าง ๆ ที่ศิลปินร่วมกันออกแบบไว้ 15 แบบ จำนวน 15,000 ชิ้น โดยจำกัดคนละ 1 เหรียญ/คน/วัน            กรมศิลปากร จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรม“สงกรานต์แฟร์ : นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ”  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา 09.00 – 16.00 น. ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊ก เพจ National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หรือ โทรศัพท์ 0 2224 1333, 0 2224 1402


เลขทะเบียน : นพ.บ.550/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : พงศาวดารจีน เรื่อง ชิดก๊กไซ่ฮั่น พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายตันซิวเม้ง หวั่งหลี ต.ม. และนางทองพูล หวั่งหลี จ.ม.,ข.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2515ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2515สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ตีรณสาร จำนวนหน้า : 598 หน้า สาระสังเขป : พงศาวดารจีน เรื่อง ชิดก๊กไซ่ฮั่น กล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในระยะที่กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นเป็นเป็นผู้ครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง เรื่องไซ่ฮั่นเป็นเรื่องราวตอนหนึ่งที่แสดงถึงการทำสงครามล้างอำนาจ ตั้งตัวเป็นใหญ่มีบุคคลสำคัญในเรื่องนี้สองคน คือ เล่าปัง (หรือเล่าปั๋ง)คนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเป็นฮั่นอ๋องแล้วเป็นพระเจ้าฮั่นเต้ และห้างอิ๋ อีกคนหนึ่ง ต่อมาเป็นพระเจ้าฌ้อปาอ๋อง ได้ทำสงครมรบขับเคี่ยวกันจนในที่สุด เล่าปัง มีชัยชนะได้รับความยกย่องนิยมนับถือสูงสุด แล้วได้เสวยราชสมบัติเป็นฮองเต้ ปฐมราชวงศ์ฮั่น




ວິຫານ ວັດໂພສີ ບ້ານເໜືອງແພ່ ແຂວງໄຊຍະບຸລີ ສປປ.ລາວ จิตรกรรมฝาผนังวิหาร วัดโพธิ์ศรี บ้านเหมืองแพร่ แขวงไชยบุรี สปป.ลาว ติดกับบ้านเหมืองแพร่ ต.นาแห้ว อ.นาแห้ว จ.เลย เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนผนังปูน เล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ทศชาติชาดก พระมาลัย และสอดภาพแทรกวิถีชีวิต สามารถข้าม"พรมแดน"เข้าชมความงดงามได้ในทุกๆ"วันพระ"ວິຫານ ວັດໂພສີ ບ້ານເຫມືອງແພ່ ແຂວງໄຊຍະບຸລີ ເມືອງບໍ່ແຕນ ສປປ.ລາວ


ไซอิ๋ว เล่ม ๔.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.           ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง 


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/19 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                   50 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


โครงการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อศึกษาแหล่งโบราณคดี วัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี             ปีงบประมาณ 2566 สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ดำเนินโครงการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อศึกษาแหล่งโบราณคดีวัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาโครงการสำรวจ ขุดค้นเพื่อศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรในภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย              เนื่องจากพื้นที่บริเวณชุมชนโบราณเมืองไชยาตั้งอยู่บนเส้นทางข้ามคาบสมุทรที่สำคัญ พบแหล่งโบราณคดี/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ  ที่สำคัญเป็นจำนวนมาก และในปีงบประมาณ 2565 สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในพื้นที่เมืองโบราณไชยา ประกอบกับเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 มีการขุดพบพานทองคำ ที่วัดโพธาราม สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราชจึงดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาพัฒนาการทางโบราณคดีของแหล่งโบราณคดีดังกล่าวและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีในเส้นทางข้ามคาบสมุทรเพิ่มเติม            การดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่วัดโพธาราม ดำเนินการขุดเป็นหลุมขุดค้นขนาด 2 x 2 เมตร ตั้งอยู่ห่างจากกำแพงวัดด้าน ทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 1 เมตร หลุมขุดค้นวางตัวขนานกับแนวกำแพงวัด กำหนดระดับอ้างอิงหลักไว้ที่บริเวณหลังกำแพงวัด   การดำเนินงานขุดค้น           การดำเนินงานขุดค้นได้ทำการขุดค้นตามระดับชั้นดินสมมติครั้งละ 10  เซนติเมตร จนถึงระดับชั้นดินธรรมชาติ เเละในระหว่างขุดค้นได้ทำ การร่อนดินในแต่ละระดับชั้นดินสมมติควบคู่กันไปเพื่อตรวจสอบลูกปัดแก้วที่อาจปะปนอยู่ในดินที่ขุดค้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ในบริเวณตำบลพุมเรียงเป็นพื้นที่ที่พบการกระจายตัวของลูกปัดแก้วอยู่ทั่วไป ผลการดำเนินงาน            จากการขุดศึกษาทางโบราณคดีพบว่าสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ในหลุมขุดค้น มีลักษณะของชั้นดินที่ถูกรบกวนจากกิจกรรมในปัจจุบันในช่วงตั้งแต่ระดับชั้นผิวดิน (65 cm.dt.) จนถึงระดับความลึกประมาณ 75 เซนติเมตรจากผิวดิน (140 cm.dt.) ดินที่พบในระดับชั้นนี้มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เนื้อดินละเอียด มีเศษชิ้นส่วนวัสดุและขยะปัจจุบันปะปนอยู่ร่วมกับโบราณวัตถุประเภทต่าง ๆ โดยโบราณวัตถุที่พบมากสุดในระดับชั้นดินนี้ ได้แก่ เศษกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาประเภทกาบกล้วย เศษอิฐหัก ภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน ลูกปัดแก้ว ชิ้นส่วนต่างหูทองคำ (?) เหรียญอีแปะจีน             ระดับชั้นดินตั้งแต่ 75 เซนติเมตรจากผิวดิน (140 cm.dt.) ลงมาจนถึงระดับ 115 เซนติเมตร จากผิวดิน (180 cm.dt.) ในระดับชั้นดินนี้ไม่ปรากฏการปะปนของเศษวัสดุหรือขยะในปัจจุบันแล้ว ลักษณะของดินที่พบในระดับชั้นนี้มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ในระดับชั้นนี้ได้ปรากฏ            1. ร่องรอยของแนวอิฐที่วางเรียงกันเป็นลักษณะวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120 เซนติเมตร ปรากฏอยู่ในบริเวณผนังหลุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ (SW)  ลักษณะเป็นเศษอิฐไม่เต็มก้อนวางปูเรียงกันเพียงชั้นเดียวคล้ายพื้น หรือฐานรากของสิ่งก่อสร้างที่ถูกขุดรื้อออกไป             2. ร่องรอยของหลุม ภายในหลุมปรากฏหม้อดินเผา เนื้อดิน ก้นกลม ตกแต่งด้วยลายกดประทับจำนวน 1 ใบ วางคว่ำอยู่ ภายในหม้อดินเผาบรรจุเศษกระดูกที่หลงเหลือจากการเผาศพไว้ ไม่ปรากฏโบราณวัตถุใด ๆ อยู่ภายใน             นอกจากนี้ในระดับชั้นดินนี้ยังพบ เศษกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาประเภทกาบกล้วย ภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง ภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน พบลูกปัดแก้วปะปนอยู่แต่มีปริมาณน้อยกว่าระดับชั้นดินช่วงบน ระดับชั้นดินตั้งแต่ 115 เซนติเมตรจากผิวดิน (180 cm.dt.) จนถึงระดับ 160 เซนติเมตรจากผิวดิน (225 cm.dt.) ดินในระดับชั้นนี้มีลักษณะเป็นดินทราย เนื้อละเอียด มีสีเทา ลักษณะคล้ายดินชายทะเล มีความชื้นในดินมาก และปรากฏน้ำใต้ดินซึมขึ้นมาตั้งแต่ระดับ 150 เซนติเมตรจากผิวดิน (215 cm.dt.) ในระดับชั้นนี้ไม่ปรากฏโบราณวัตถุใด ๆ ปรากฏอยู่ ซึ่งกำหนดให้เป็นระดับชั้นสิ้นสุดวัฒนธรรม ประกอบกับน้ำใต้ดินขึ้นสูงมากจนไม่สามารถดำเนินการขุดค้นต่อได้ จึงยุติการขุดค้นที่ระดับความลึก 160 เซนติเมตร จากผิวดิน (225 cm.dt.) โบราณวัตถุ 1. โบราณวัตถุประเภทชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาประเภทกระเบื้องกาบกล้วย และกระเบื้องปลายตัด, ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผาปูพื้น และชิ้นส่วนอิฐ 2. โบราณวัตถุประเภทภาชนะดินเผาจากแหล่งผลิตภายในประเทศ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง และเศษภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน สามารถกำหนดอายุได้ราวสมัยอยุธยา – สมัยรัตนโกสินทร์ แต่ไม่สามารถระบุแหล่งผลิตได้ชัดเจน 3. โบราณวัตถุประเภทภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาต่างประเทศ ได้แก่  เศษภาชนะดินเผาเนื้อละเอียดจากแหล่งเตาในประเทศจีน สามารถกำหนดอายุได้ในช่วงสมัยราชวงศ์ชิง และสมัยสาธารณรัฐ 4. โบราณวัตถุประเภทอื่น ๆ ได้แก่ ชิ้นส่วนลูกปัดแก้ว, เหรียญอีแปะจีน, เบี้ยดินเผา, ลูกกระสุนดินเผา, ขี้แร่เหล็ก (Slag), ชิ้นส่วนต่างหูทองคำ (?) และชิ้นส่วนลูกปัดกระดูกปลา ชั้นดินทางวัฒนธรรมและสรุปผลการดำเนินงาน จากการดำเนินงานทางโบราณคดีสามารถเเบ่งชั้นวัฒนธรรมได้ เป็น 2 สมัย ดังนี้ สมัยที่ 1  มีความหนาของชั้นดินประมาณ 40 เซนติเมตร ต่ำกว่าระดับพื้นดินในปัจจุบันประมาณ 75 เซนติเมตร ลักษณะเป็นชั้นดินร่วนปนทราย เป็นชั้นกิจกรรมของวัดโพธารามในอดีต ปรากฏร่องรอยหลักฐานเป็นแนวพื้นอิฐเรียงอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับแนวกำแพงวัดปัจจุบัน และร่องรอยกิจกรรมการฝังอุทิศกระดูก การกำหนดอายุเชิงเทียบ (Relative Dating) ของ ชั้นวัฒนธรรมนี้กับโบราณวัตถุประเภทเครื่องถ้วยจีนสามารถกำหนดอายุได้ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย – ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่  23 – 24  สมัยที่ 2  มีความหนาของชั้นดินประมาณ 75 เซนติเมตรตั้งแต่ระดับผิวดินลงมา ลักษณะเป็นชั้นดินร่วนปนทราย เป็นชั้นกิจกรรมของวัดโพธารามในปัจจุบันหรืออดีตที่ไม่ห่างไกลมากนัก ปรากฏร่องรอยของการถมปรับและขุดตัดพื้นที่อยู่โดยรอบ ซึ่งจากข้อมูลการสัมภาษณ์ทราบว่ามีการนำดินจากภายนอกและภายในวัดมาปรับถมพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณผนังหลุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ การกำหนดอายุเชิงเทียบ (Relative Dating) ของชั้นวัฒนธรรมนี้เป็นไปได้ยาก เนื่องจากพบโบราณวัตถุปะปนหลายสมัย แต่หากกำหนดจากระดับของชั้นทับถมที่อยู่เหนือจากชั้นวัฒนธรรมแรกเริ่มจึงอาจกำหนดได้ว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในชั้นวัฒนธรรมที่ 2 นี้อยู่ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ราวพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นต้นมา


           เนื่องในโอกาสที่องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖              กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ศรีเทพกับมรดกโลก” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ – ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ เพื่อเผยแพร่เรื่องราว คุณค่า และความสำคัญของเมืองโบราณศรีเทพ ให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกในครั้งนี้             นิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการขนาดเล็กที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย จัดแสดงเรื่องราวของเมืองศรีเทพ ประกอบด้วยเรื่อง ศรีเทพ: มรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทย, คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของเมืองโบราณศรีเทพ, แผนที่ประเทศไทย แสดงจังหวัดเพชรบูรณ์, แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ, ลำดับกาลของเมืองโบราณศรีเทพ, เมืองโบราณศรีเทพ, โบราณสถานเขาคลังนอก, โบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ โดยมีเนื้อหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญจากเมืองศรีเทพมาจัดแสดงให้ชมด้วย ได้แก่ พระสุริยเทพ พระกฤษณะ พระวิษณุ ๔ กร ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่พบที่เมืองศรีเทพ และเศียรพระพุทธรูป เศียรพระโพธิสัตว์ และชิ้นส่วนพระหัตถ์ ซึ่งเดิมได้จำหลักที่ผนังถ้ำเขาถมอรัตน์ ตำบลโคกสะอาด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โบราณวัตถุเหล่านี้ได้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี            ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ เรื่อง “ศรีเทพกับมรดกโลก” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดทำการวันพุธ  วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร)


           หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ  ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมรับฟังรายการ "สนทนา..ประสาหนุ่มสุพรรณ" การสัมภาษณ์อดีตผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ นางทัศนีย์ เทพไชย สาวเชียงใหม่ที่โชคชะตาฟ้าลิขิตให้มาผูกพันกับเมืองสุพรรณบุรี เป็นเวลาเกือบ 30 ปี ข้าราชการผู้ทุ่มเทกับการทำงานจนเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวสุพรรณที่เคยร่วมงาน ว่าเป็นตัวอย่างของบุคคลที่มีความตั้งใจ มุ่งมั่น และให้ความเป็นกันเอง  สัมภาษณ์เปิดใจเล่าถึงชีวิตส่วนตัว ประสบการณ์ชีวิตต่าง ๆ รวมถึงให้ข้อแนะนำ ข้อคิด ฯลฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชาวสุพรรณ ข้าราชการ รุ่นต่อๆ ไป ได้เป็นอย่างดี                        รายการ "สนทนาประสาหนุ่มสุพรรณ" ในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมโดยวัดพระรูป พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป และ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ  จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 - 16.00 น. ถ่ายทอดสดจากหอสมุดแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ดำเนินรายการและสัมภาษณ์โดย ชนินทร์ อรุโณทัย / กวินภพ ทองนาค ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live : ชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ   (https://www.facebook.com/groups/suphanhistory)


Messenger