ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,608 รายการ

          เมื่อเอ่ยว่า"ท่าแฉลบ"คนจันทบุรีน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเป็นท่าเทียบเรือเก่า วิวทางทะเลดี แถมอาหารทะเลสดๆขึ้นจากเรือชาวประมงลงกระทะกันเลยทีเดียว           ผู้เขียนก็เลยอยากมาชวนเพื่อนๆย้อนไปกับเอกสารจดหมายเหตุว่าในสมัยที่การคมนาคมทางทะเลยังเป็นหัวใจของการเดินทาง ชาวจันทบุรีใช้ท่าเทียบเรือแห่งนี้สำหรับเดินทางไปไหนกันบ้าง พบว่าเมื่อครั้งรัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสเมืองจันทบุรีโดยประทับเรือพระที่นั่งมหาจักรี ในวันที่ 21 เมษายน 2470 มีการกล่าวถึง"ท่าแฉลบ"ว่า...เมื่อเรือพระที่นั่งมหาจักรีมาจอดที่ที่จอดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีลงไปเฝ้าในเรือพระที่นั่ง แล้วรีบกลับมาคอยเฝ้าถวายพระแสงราชาวุธที่ปรำที่ท่าแฉลบ...           นอกจากนี้ยังมีเอกสารรายงานการตรวจเรือเมล์เทียบท่าแฉลบ ใน พ.ศ.2478 ว่ามีเรือเมล์ไปและมายังท่าแฉลบแห่งนี้ มีเรืออะไรบ้าง 1.เรือนิภา ไป-กลับ กรุงเทพฯ ฮาเตียน(เวียดนาม) เรือออกเวลา 12.40 น. 2.เรือปากพนัง ไป-กลับ คลองใหญ่(ตราด) กรุงเทพฯ เรือออกเวลา 09.10 น. 3.เรืออ่างหิน ไป-กลับ วันยาว(ขลุง) กรุงเทพฯ เรือ ออกเวลา 09.30 น. 4.เรือรีดัง ไป-กลับ ตราด กรุงเทพฯ เรือออกเวลา 17.30 น. 5.เรือสาบไตย ไป-กลับ ตราด กรุงเทพฯ เรือออกเวลา 24.00 น.และ 04.45 น. 6.เรือภานุรังษี ไป-กลับ กรุงเทพฯ ฮาเตียน(เวียดนาม) เรือออกเวลา 12.00 น. 7.เรือลิ่วทะเล ไป-กลับ จันทบุรี กรุงเทพฯ เรือออกเวลา 12.50 น. 8.เรือตลบล่องคลื่น ไป-กลับ จันทบุรี ตราด เรือออกเวลา 05.30 น.           แม้กาลเวลาเปลี่ยนไป จากการคมนาคมทางเรือ มาสู่การใช้ถนนเป็นหลัก แต่ท่าแฉลบแห่งนี้ก็ยังเป็นสถานที่ที่น่าสนใจของเมืองจันทบุรีอีกแห่งหนึ่ง ที่ท่านสามารถมาท่องเที่ยวและชื่นชมกับอาหารทะเลแสนอร่อยได้ตลอดค่ะ---------------------------------------------------------ผู้เขียน : สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังสี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ---------------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (13)มท 2.6/3 เรื่องเสด็จพระราชดำเนินของเจ้าคุณมานิตย์ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมณฑลจันทบุรี เดือน เมษายน 2470 (14 มีนาคม 2469 – 6 กรกฎาคม 2470). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ 1.2.4/50 เรื่องรายงานการตรวจเรือเมล์เทียบท่าแฉลบ (พ.ศ.2478).


          พิธีแรกนาขวัญ หรือ"พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" เป็นพระราชประเพณีสำคัญในการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร และเป็นสัญญาณให้เริ่มการทำนา ถือปฏิบัติมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาล นอกจากนี้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และได้ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง พระมหากษัตริย์ในอดีตทรงเห็นความสำคัญของพิธีนี้ เมื่อถึงเวลาเริ่มการเพาะปลูกพืชผล จึงทรงประกอบพระราชกรณียกิจ โดยเป็นผู้นำในการลงมือไถหว่านพืชพันธุ์ธัญญาหาร     “พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ในประเทศไทยแต่เดิมมีเพียงการประกอบพิธีตามลัทธิพราหมณ์ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้น เป็นพิธีหนึ่งต่างหากเรียกว่า “พระราชพิธีพืชมงคล” โดยประกอบพิธีภายในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เรียกรวมกันว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” เป็นราชประเพณีมีกำหนดสองวัน จัดขึ้นในเดือนหก วันแรกเป็นพิธีสงฆ์ วันที่สองเป็นพิธีพราหมณ์ ประกอบด้วยการจัดริ้วขบวนพระยาแรกนา การบูชาเทวรูป ตลอดจนการเสี่ยงทายผ้านุ่ง และเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยง          ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระราชพิธีพืชมงคลกระทำที่ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวงในปัจจุบัน) ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญกระทำที่ทุ่งส้มป่อย นอกพระนคร (บริเวณสนามม้าราชตฤณมัย หรือสนามม้านางเลิ้งในปัจจุบัน) โดยพระยาแรกนาขวัญกับเทพีทั้ง ๔ จะเข้าฟังพระสงฆ์สวดในปะรำพิธีพืชมงคลในวันแรกก่อน แล้วจึงไปแรกนาในวันรุ่งขึ้น         ในหนังสือเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีแรกนาฯของหลวงในหัวเมืองไว้ด้วยดังความว่า    “…ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ่งส้มป่อยครั้งหนึ่ง ภายหลังโปรดให้มีการแรกนาที่กรุงเก่าและที่เพชรบุรี ได้เสด็จพระราชดําเนินทอดพระเนตรพระยาเพชรบุรี (บัว) แรกนาที่เขาเทพนมขวดครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง…” และทรงกล่าวถึงภาพบรรยากาศของพระราชพิธีนี้ไว้อย่างน่าสนใจความตอนหนึ่งว่า   “...ในการจรดพระนังคัลเป็นเวลาคนมาประชุมมาก ถึงจะอยู่บ้านไกลๆ ก็มักจะมาด้วยมีประโยชน์ความต้องการเมื่อเวลาโปรยข้าวปลูกลงในนา พอพระยากลับแล้วก็พากันเข้าแย่งเก็บข้าว จนไม่มีเหลืออยู่ในท้องนาเลย เมื่อรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดให้ไปชันสูตรหลายครั้งว่ามีข้าวงอกบ้างหรือไม่ ก็ไม่พบเหลืออยู่จนงอกเลย เมื่อทอดพระเนตรแรกนาที่เพชรบุรี พอคนที่เข้ามาแย่งเก็บพรรณข้าวปลูกออกไปหมดแล้ว รับสั่งให้ตํารวจหลายคนออกไปค้นหาเมล็ดข้าวว่าจะเหลืออยู่บ้างหรือไม่ ก็ไม่ได้มาเลยจนสักเมล็ดหนึ่ง พันธุ์ข้าวปลูกซึ่งเก็บไปนั้น ไปใช้เจือในพรรณข้าวปลูกของตัว ให้เป็นสวัสดิมงคลแก่นาบ้าง ไปปนลงไว้ในถุงเงินให้เกิดประโยชน์งอกงามบ้าง การแรกนาจึงเป็นที่นิยมของคนทั้งปวงไม่จืด ยังนับว่าเป็นพระราชพิธีซึ่งเป็นที่ต้องใจคนเป็นอันมาก…”   ภาพ : ภาพท้องสนามหลวง ฝั่งทิศใต้มองเห็นพระบรมมหาราชวัง ด้านนี้คือบริเวณที่ประกอบพิธีแรกนาสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ พระราชพิธีสิบสอง


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต) สพ.บ.                                  270/ก/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           56 หน้า กว้าง4.5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-มหาราช) สพ.บ.                                  263/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           50 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                   ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 3 หมวดราชจารีตโบราณครั้งที่พิมพ์               -ผู้แต่ง                     จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411   ประเภทวัสดุ/มีเดีย     หนังสือหายากISBN/ISSN             -หมวดหมู่                 ความรู้ทั่วไปเลขหมู่                    089.95911 จ196ชสถานที่พิมพ์             พระนคร  สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์                  2474ลักษณะวัสดุ             24 ซ.ม. 32 หน้า.หัวเรื่อง                   ความรู้ทั่วไป                             รวมเรื่อง                                                          ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ภาคที่ 3 หมวดราชจารีตโบราณ ว่าด้วยเรื่อง อากรค่าน้ำ อากรไม้ปกำใบและน้ำมัน พิกัดเงินตรา การใช้เบี้ย พิกัดทองคำ ตราภูมิคุ้มห้าม ดวงตราที่ใช้ในตราภูมิ สักเลขหมายหมู่ ละคอนผู้หญิงของหลวง และนายบ่อนทดรองเงินให้ผู้เล่นเบี้ย  


พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)  ชบ.บ.67/1-1ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



//ร่องรอยแหล่งตีเหล็ก​สมัยล้านนา​ ในแอ่งที่ราบเชียงใหม่​-ลำพูน//- เรียบเรียง​โดย​ นาย​ยอด​ดนัย​ สุขเกษม​ นัก​โบราณคดี​ปฏิบัติ​การ​ สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​.- ช่วง​ 4-5 ปีที่ผ่านมา สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​เชียงใหม่​ ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งโลหกรรม​โบราณ​มาอย่างต่อเนื่อง​ ทำให้มีการค้นพบแหล่งถลุง​เหล็ก​โบราณ​หลายแห่งในแอ่งที่ราบเชียงใหม่​-ลำพูน​ ​กระจายตัวเกาะกลุ่มตามสายแร่เหล็ก​ เช่น​ กลุ่มดอยเหล็ก​ และกลุ่มแม่โถ​ เป็นต้น.-  หลักฐานที่ปรากฏ​แหล่งถลุงเหล็กเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า​ ราวช่วงพุทธ​ศตวรรษ​ที่​ 20​ -​ 23​ มีความต้องการทรัพยากรเหล็ก​ค่อนข้างมากจนถึงขนาดตั้งถิ่นฐาน​ชุมชนรอบบ่อเหมืองเหล็ก​โบราณเพื่อผลิตและใช้สอยทรัพยากร.- แต่อย่างไรก็ตาม การสำรวจที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีการค้นพบแหล่งผลิตเป็น​เครื่องมือหรือแหล่งตีเหล็ก​เลยแม้แต่แหล่งเดียว.- กระทั่งในช่วงต้นปี​ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา​ ทางทีมนักโบราณคดี​เริ่มได้ข้อมูล​มุขปาฐะพื้นถิ่น​ เกี่ยวกับชุมชนยุคก่อนสมัยพระเจ้ากาวิละ​ ทำหน้าที่ผลิตอาวุธ​เพื่อทำสงคราม​ ตั้งอยู่พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองลำพูน .- ด้วยความร่วมมือในการทำงานระหว่าง​เจ้าหน้าที่สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ และ​ เครือข่าย​ อส.มศ.​ อำเภอเมืองลำพูน​ ทำให้มีการค้นพบร่องรอยชุมชนตีเหล็กโบราณ​ ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้​ อำเภอเมือง​ จังหวัดลำพูน​ .- การสำรวจทางโบราณคดี​บริเวณ​ร่องรอยชุมชนตีเหล็กดังกล่าว พบหลักฐานสำคัญ​หลายประการ​ เช่น​ ตะกรันก้นเตาตีเหล็ก​ (phano-convex Slag)​ และหินลับเครื่องมือเหล็กจำนวนมาก​ กระจายตัวปะปนอยู่กับเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาล้านนาและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์​หมิง​อย่างหนาแน่น  .- หลักฐาน​ข้างต้นแสดงให้เห็นถึงร่องรอยชุมชนช่างตีเหล็ก​ขนาดใหญ่​ ที่น่าจะตั้งถิ่นฐาน​อยู่บริเวณ​นี้ร่วมสมัยล้านนา​ ราวช่วงพุทธ​ศตวรรษ​ที่​ 20​ -​ 23​ นับ​เป็น​การค้นพบร่องรอยชุมชนช่างตีเหล็กโบราณ​แหล่งแรก ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเชิงลึกกันต่อไปในอนาคต#โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา



สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ นายอธิยุตชัย ป้องภัย (อายุ ๔๖ ปี) นักจัดรายการวิทยุ ได้สังเกตพบรอยฝ่ามือและภาพเขียนต่างๆบนก้อนหินขนาดใหญ่ จึงได้แจ้งทางอำเภอโพธิ์ไทร และ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกันเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ ----- แหล่งภาพเขียนสีแห่งใหม่ตั้งอยู่ที่ บ้านกะลึง หมู่ ๖ ตำบลสารภี อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านเรียกบริเวณที่พบภาพเขียนสีนี้ว่า “ลานหินทองคำ ภูถ้ำพระวัดถ้ำไฮ” ----- บริเวณที่พบภาพเขียนสีมีสภาพเป็นเพิงหินขนาดใหญ่ กว้างประมาณ ๑๑.๖ เมตร ยาวประมาณ ๒๑.๕ เมตร สูงประมาณ ๔ เมตร พบภาพเขียนสีทั้งบนผนังและเพดานของเพิงผา ภาพที่พบเขียนด้วยสีแดงแบบน้ำหมาก โดยสามารถแบ่งกลุ่มภาพออกได้สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มภาพทางด้านทิศเหนือของเพิงหิน และ กลุ่มภาพทางด้านทิศใต้ของเพิงหิน สภาพของภาพเขียนสีส่วนใหญ่ลบเลือนไปค่อนข้างมาก บางจุดยากแก่การสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า ----- ภาพเขียนสีทั้งหมดที่พบ สามารถจำแนกออกได้ ๓ ประเภทหลักๆ ได้แก่ รอยฝ่ามือ ภาพคน และภาพลายเส้น โดยแหล่งภาพเขียนสีบ้านกะลึงแห่งนี้ พบรอยฝ่ามือทั้งหมดจำนวน ๒๒ มือ แบ่งออกเป็นมือข้างซ้าย จำนวน ๓ มือ มือข้างขวาจำนวน ๑๒ มือ และไม่สามารถระบุข้างได้จำนวน ๗ มือ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นมือเด็กข้างขวาจำนวน ๒ มือ และมือเด็กข้างซ้ายจำนวน ๑ มือ พบภาพคนทั้งหมดจำนวน ๙ คน เขียนแบบลักษณะเงาทึบ ให้เห็นแต่ด้านหน้าตรง ไม่เห็นตา จมูก ปาก ส่วนแขนและขากางออกจากลำตัว ยืนทำท่าทางในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ส่วนภาพลายเส้นที่พบเป็นภาพแบบคตินิยม (Idealism) ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติ ยากแก่การแปลความหมาย เช่น ลายเส้นซิกแซก (Zigzag) ลายเส้นคู่ขนานไขว้ตัดกัน ลายเส้นเรขาคณิต ลายจุดไข่ปลา (เส้นประ) และกลุ่มลายเส้นที่ไม่สามารถระบุลวดลายที่แน่ชัดได้ จากลักษณะภาพเขียนสีและบริบทสภาพแวดล้อมที่พบ สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าภาพเขียนสีแห่งนี้อยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุประมาณ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ----- ภาพเขียนสีเหล่านี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการมีตัวตนของคนในอดีตแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในสมัยโบราณว่าอยู่กันเป็นกลุ่ม และการแสดงถึงรูปแบบความเชื่อภายในกลุ่มสังคม เช่น การประทับรอยฝ่ามือลงบนหิน นอกจากจะเป็นการแสดงตนเชิงสัญลักษณ์แล้ว อาจมีความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องโชคลางและสุขภาพ จึงทำให้พบทั้งรอยฝ่ามือเด็กและฝ่ามือผู้ใหญ่ เป็นต้น ดังนั้นภาพเขียนสีจึงเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งอีกประเภทหนึ่ง ข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ




-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยา -- “เสาหลักเมือง” หรือ “สะดือเมือง” คือวัตถุที่เป็นที่จำหมายเป็นสัญลักษณ์ของของการก่อตั้งชุมชน หรือเมือง อันบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจความร่มเย็นเป็นสุข เสาหลักเมืองถือเป็นใจของเมือง เป็นที่สถิตของเทพยดาผู้ปกปักพิทักษ์บ้านเมือง มีธรรมเนียมว่าก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่ที่เป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น  สิ่งที่จะนำมาใช้เป็นเสาหลักเมือง   ไม้มงคล คือ ไม้ชัยพฤกษ์ เป็นไม้เนื้อแข็งคงทน ส่วนมากโบราณนิยมใช้ไม้นี้มากกว่าไม้อย่างอื่นเหตุเพราะชื่อเป็นมงคลนาม ไม้ราชพฤกษ์ เป็นไม้ตระกูลเดียวกับไม้ชัยพฤกษ์ เป็นมงคลนาม หมายถึงความเป็นใหญ่ ไม้กัลปพฤกษ์ ไม้สักทอง ไม้พยุง ไม้คันทรง ไม้จันทน์ ใช้หินเป็นแท่ง หินทราย หินแกรนิต เป็นต้น จะต้องสกัดออกมาให้เป็นแท่งตามสโลก (โฉลก) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นมงคล ได้แก่ เจดีย์ พระพุทธรูป องค์เสาหลักเมืองของจังหวัดพะเยานั้น ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ โดยนายสุวิทย์ สุทธิวนา ผู้จัดการโรงเลื่อยจักรพนาชัย เป็นผู้จัดหาจากป่าในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง ติดต่อกับอำเภอเมืองพะเยา ซึ่งไม้ดังกล่าวมีขนาดวัดโดยรอบลำต้น โดยประมาณ 140-150 เซนติเมตร ขึ้นอยู่ในป่าลึก ใช้ช้างชักลากออกมาสู่ถนนใหญ่ และได้มอบหมายให้นายน้อย หนักตื้อ ชาวอำเภอดอกคำใต้ เป็นช่างกลึงไม้ทำเป็นเสาหลักเมือง โดยใช้เวลากลึงอยู่ 17 วัน ตั้งแต่วันที่ 7 - 23 เมษายน 2530 มีผู้ช่วยช่างเพียง 1 คน คือนายสุรพล หนักตื้อ มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกองค์หลักเมือง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2530 ซึ่งถือเป็นปีที่ครบรอบ 10 ปี การประกาศจัดตั้งจังหวัดพะเยา (พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา พุทธศักราช 2520 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2520)  ในวันพุธที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2531 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และคณะ เฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายเสาสะดือเมือง จังหวัดเชียงราย และองค์เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยา เพื่อทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน   หลังจากนั้น ได้นำยอดเสาหลักเมืองมาพักไว้ที่วิหารวัดศรีโคมคำ ในวันที่ 28 มกราคม พุทธศักราช 2531 จัดพิธีแห่และสมโภชยอดหลักเมือง และสวมยอดองค์หลักเมือง ในวันที่ 28 สิงหาคม ของทุกปี จังหวัดพะเยาจะประกอบพิธีทำบุญเมืองและบวงสรวงศาลหลักเมือง ………………………………ผู้เรียบเรียง:  นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)........................................ข้อมูลอ้างอิง : 1. หนังสือที่ทำการปกครองจังหวัดพะเยา ที่ พย0016/ว94 ลงวันที่ 24 มกราคม พุทธศักราช 25312. โทรพิมพ์ในราชการกระทรวงมหาดไทย ด่วนมากที่ มท 0201/806 ลงวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 25313. นที เมืองมา, เอกสารการทำบุญเมือง บวงสรวงวิญาณพระมหากษัตริย์พะเยาและศาลหลักเมือง,ในโอกาสฉลอง 900 ปี ภูกามยาว 20 ปี จังหวัดพะเยา. (พะเยา : นครนิวส์การพิมพ์, 2540), หน้า 34-39.4. ชมรมเสวนาประวัติศาสตร์ไชยนารายณ์, ที่ระลึกพิธีเปิดป้ายชื่อ ประตูเมืองเชียงราย. (เชียงราย : เชียงรายโฆษณาและการพิมพ์, 2530), หน้า 28-33.ภาพถ่าย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ





ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           62/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               54 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger