ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,379 รายการ



องค์ความรู้: ความทรงจำแห่งโลกในประเทศไทยบันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์บันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2556 เป็นเอกสารที่มีอายุกว่า 100 ปี (The Minute Books of the Council of the Siam Society", 100 years of recording international cooperation in research and the dissemination of knowledge in the arts and sciences) จัดเก็บไว้ ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เป็นเอกสาร ส่วนหนึ่งของบันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มีทั้งหมด 16 เล่ม บันทึกไว้ช่วงระหว่างปี 2447-2547 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการรวบรวมบันทึกความคิด ความอ่าน หรือการระดมสมองของ สมาชิกสยามสมาคมที่มาจากหลายสาขาอาชีพ มีทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการระดับสูง ที่ปรึกษาชาวต่างชาติ สะท้อนภาพและมุมมองของสังคมในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และอ้างอิงได้


ไซอิ๋ว เล่ม ๒.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.           ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง 


ชื่อเรื่อง                         ทุกนิบาตปาลิ องคฺตรนิกาย (ทุกกนิปาตชาดก) อย.บ.                            389/4 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                  56 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57.8 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา



พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ทรงประจักษ์ว่าราษฎรในชนบทประสบปัญหาอันเนื่องมาจากดินและน้ำ ประกอบกับการขาดความรู้ที่ถูกต้องในด้านการเกษตรกรรม ทั้งสองพระองค์ทรงค้นคิดพระราชทานโครงการแก้ปัญหาของราษฎรตลอดมา โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสังเกตว่างานหัตถกรรมพื้นบ้านหลายประเภทที่เคยมีในท้องถิ่น เช่น งานจักสาน ทอผ้า แกะสลัก การทำเครื่องเงินเครื่องทอง และเครื่องปั้นดินเผา กำลังจะสูญหายเนื่องจากไม่มีการสืบต่อ จึงมีพระราชดำริว่า งานอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและเป็นศิลปกรรมอันทรงคุณค่าเฉพาะของชาติไทยเหล่านั้น จะเป็นอาชีพเสริมอย่างดีแก่ครอบครัวของราษฎร เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนา หลังเก็บเกี่ยวแล้ว หรืองานเกษตรกรรมไม่ได้ผล ทำให้ขาดแคลนรายได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สนับสนุนงานหัตถศิลป์ที่ชาวบ้านมีอยู่แล้ว และใช้วัสดุในท้องถิ่น โดยจัดโครงการฝึกอบรมชาวบ้านให้มีความรู้ แล้วสร้างสรรค์ผลงานขึ้น ซึ่งพระองค์ได้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทรงนำผลงานของราษฎรออกเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนกระทั่งข้าราชบริพารและผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อใช้จ่ายในกิจการดังกล่าว ต่อมาจึงขอพระราชทานให้จัดตั้งเป็นมูลนิธิเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ชื่อ “มูลนิธิศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์” และเปลี่ยนชื่อเป็น “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” อ้างอิง : (๑) คณะกรรมการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕. ปทุมธานี : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, ๒๕๕๘. (๒) คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๖๑. (๓) คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗. กรุงเทพฯ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๔๘. #เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง #พระราชกรณียกิจ #จดหมายเหตุ ผู้สนใจสามารถสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ https://archives.nat.go.th/Home/ หรือสนใจสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ที่ https://shorturl.asia/nQ5WZ


เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครบ ๙๑ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ขอเผยแพร่นิทรรศการพิเศษเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "คู่แก้วจอมขวัญแผ่นดินไทย" โดยสามารถเข้าชมได้ทางเพจ Facebook ของหน่วยงานตลอดเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ นี้


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นต้น, คาถาธมฺมปท)อย.บ.                           244/14หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                58 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ; ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด


           ผลจากการที่ เมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ด้วยคุณค่าที่โดดเด่นจากรูปแบบของผังเมือง สถาปัตยกรรม และรูปแบบศิลปกรรม เป็นตัวแทนของการผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธแบบเถรวาท มหายาน และพราหมณ์ ฮินดู  เมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๖๐๐ ปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาอรุณรุ่งแห่งอารยธรรมสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ทำให้นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเยี่ยมชมมากกว่าวันละ ๕,๐๐๐ คน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเป็นกระแสและข้อห่วงใยเรื่องความปลอดภัยของโบราณสถานและการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ตลอดจนความพร้อมด้านต่าง ๆ เนื่องจากคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต             วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม (นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นางสาวเพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ) และคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ (นายกฤษณ์ คงเมือง) อธิบดีกรมศิลปากร (นายพนมบุตร จันทรโชติ)  ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง) รองอธิบดีกรมศิลปากร (นายสถาพร เที่ยงธรรม) นายอำเภอศรีเทพ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ นางจินตนา ทองใจสด นายกเทศมนตรีตำบลพุเตย  และประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสนุ่น นายกเทศบาลตำบลโคกสะอาด และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ ณ เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยได้สำรวจสถานที่สำคัญ ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ได้แก่ โบราณสถานภายในเมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานเขาคลังนอก หลังจากรับฟังบรรยายสรุป และเยี่ยมพื้นที่สำคัญดังกล่าวแล้ว รมว.วธ. ในฐานะผู้แทนของรัฐบาล ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีซึ่งติดภารกิจสำคัญ  ไม่สามารถเดินทางมาด้วยตนเองได้ โดย รมว.วธ. กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีแสดงความห่วงใยและให้ความสำคัญ   ในเรื่องความปลอดภัยของโบราณสถาน สวัสดิภาพของนักท่องเที่ยวในการเข้าชม ตลอดจนความพร้อมของ  สิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการบริหารจัดการต่าง ๆ  ที่ครอบคลุมในทุกมิติ   เพื่อคงความโดดเด่น และคุณค่าในการเป็นมรดกโลกให้คงอยู่ตลอดไป พร้อมกับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล            ทั้งนี้ รมว.วธ. กล่าวถึงแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในช่วงนี้ว่า ขอให้กรมศิลปากร ประสานกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการในสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่ การเพิ่มรถสุขาเคลื่อนที่ โดยขอความอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล พร้อมสั่งการให้กรมศิลปากร เพิ่มจำนวนรถรางเพื่อให้บริการนำชมกับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ สำหรับโบราณสถานเขาคลังนอก ซึ่งเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ที่อนุญาต ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมด้านบนได้นั้น ขอให้กรมศิลปากร จัดเจ้าหน้าที่เพื่ออธิบายข้อควรระมัดระวังในการเยี่ยมชม เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย พร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก และให้ความรู้ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร สำรวจสภาพความเปลี่ยนแปลงของโบราณสถานอย่างละเอียด และรายงานให้ทราบเป็นระยะ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าการรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากมีผลต่อโบราณสถานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โบราณสถานเขาคลังนอก ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ และผ่านการอนุรักษ์มาแล้ว จึงน่าจะไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับโบราณสถานภายในเมืองโบราณศรีเทพ ทราบข้อมูลจากกรมศิลปากรว่า ได้มีการป้องกัน โดยเว้นระยะไม่ให้นักท่องเที่ยวสัมผัสส่วนลวดลายประดับ ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้            การลงตรวจพื้นที่ในครั้งนี้ ได้มีการหารือและมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำสาธารณะ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก  โดยคำนึงถึงการออกแบบที่รองรับผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้บริการกับนักท่องเที่ยวได้ครบทุกด้าน โดยการก่อสร้างทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยความเหมาะสม ตามแผนแม่บทที่วางไว้ รวมถึงการสร้างศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณศรีเทพ ที่จะได้นำโบราณวัตถุสำคัญซึ่งพบในเมืองโบราณศรีเทพมาจัดแสดงต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ นอกจากนั้นยังขอให้มีการนำอัตลักษณ์ของศิลปกรรมอันโดดเด่นที่พบในเมืองโบราณศรีเทพ เช่น ลวดลายประดับรูปคนแคระ ซึ่งปัจจุบันถูกนำมาต่อยอดเป็นลวดลายบนไอศกรีม และจะได้สนับสนุนให้เกิดการต่อยอดเป็นสินค้าและงานหัตถกรรมอื่น ๆ โดยเน้นการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้ผลิต ทั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมจะสนับสนุนด้านการตลาดและการพัฒนาทักษะฝีมือในการผลิตของคนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เป็น Soft Power อย่างแท้จริง โดยแนวทางในการดำเนินการต่าง ๆ จะได้กราบเรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบต่อไป            สำหรับแผนการดำเนินการในระยะยาว รมว.วธ ได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากร เผยแพร่ความรู้เรื่องเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งพบว่ายังมีอีกหลายแห่งที่สำคัญในประเทศไทย และมีอายุร่วมสมัยกับเมืองโบราณศรีเทพ เช่น เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรีเมืองนครปฐมโบราณ เมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์  เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี   เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี ฯลฯ โดยเชื่อว่าเมืองโบราณเหล่านี้มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต่อไปในอนาคต ถือเป็นการต่อยอดในการที่เมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ภายใต้แนวคิด “เมืองทวารวดีที่ห้ามพลาด” นอกจากนั้นยังขอให้กรมศิลปากร ทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบเมืองโบราณศรีเทพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ไปพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป  


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ 21 ตุลาคม” วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีพระปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะฟื้นฟูความสมดุลของ ธรรมชาติ โดยทรงปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ด้วยพระองค์มาตลอดพระชนม์ชีพ ในการนี้พระองค์ทรงให้ความสําคัญของการบํารุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกว่ามีความสําคัญ และน่าเป็นห่วงมากกว่าการปลูก และเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงงานพัฒนาชนบทของประเทศไทย โดยเฉพาะการฟื้นฟูสมดุล ของธรรมชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอคณะรัฐมนตรีกําหนดให้วันคล้ายวัน พระราชสมภพของพระองค์ คือ วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันบํารุงรักษาต้นไม้ประจําปีของชาติ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 อนุมัติในหลักการให้วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดําเนินการระดมความเห็นจากบุคคลทั่วไปเพื่อกําหนดชื่อที่เหมาะสมสําหรับวันดังกล่าว ปรากฏว่าชื่อที่เหมาะสม คือ “วันรักต้นไม้ประจําปีของชาติ” ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบแล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ" เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสแสดงความเสียสละ แรงกาย แรงใจ ความสามัคคี น้อมเกล้าฯถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามสถานที่ต่างๆ อันเป็นช่วงปลายฤดูฝนของทุกปี มีจุดมุ่งหมาย คือ 1. เพื่อบํารุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามโครงการและสถานที่ต่างๆ รวมทั้งการปลูกซ่อม ต้นที่ตายให้สามารถเจริญเติบโตขึ้นปกคลุมพื้นที่โดยเร็ว 2. เพื่อชี้นําให้ประชาชนร่วมมือร่วมใจกันบํารุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น การให้ปุ๋ย พรวนดิน ถากถางวัชพืขที่โคนต้นไม้ หรืออื่นๆโดยพร้อมเพรียงกัน 3. เพื่อให้ประชาชนเห็นความสําคัญของการบํารุงต้นไม้ที่ปลูกไว้ อันจะบรรลุวัตถุประสงค์ ของการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว 4. เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี โดยเข้าร่วมกิจกรรมในวันสําคัญดังกล่าว ซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดให้มีการบํารุงรักษาต้นไม้ทุกปี อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


"วันนวมินทรมหาราช" (วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันนวมินทรมหาราช" โดยมีรายละเอียดความว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่อาณาประชาราษฎร์ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการเพื่อความวิวัฒน์พัฒนาของชาติบ้านเมือง เป็นคุณประโยชน์อเนกอนันต์และยังความผาสุกร่มเย็นแก่ผองพสกนิกรชาวไทย พระเกียรติคุณเป็นที่แช่ซ้องก้องประจักษ์ทั้งแก่ปวงชนชาวไทยและนานาอารยประเทศ แม้การเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 จะล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน พสกนิกรทุกหมู่เหล่ายังล้วนคำนึงถึงด้วยความสำนึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างไม่รู้ลืมเลือน เพื่อให้วันคล้ายวันสวรรคต เป็นวันแห่งการร่วมรำลึกและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีคุณูปการอันยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน ประกอบกับวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2566 จะเป็นวันแห่งการเสด็จสวรรคตครบ 7 ปี หรือ "สัตตมวรรษ" รัฐบาลจึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการกำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระดำริประทานชื่อวันดังกล่าวเพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ว่า "วันนวมินทรมหาราช" (อ่านว่า นะ-วะ-มิน-ทระ-มะ-หา-ราด) แปลว่า วันที่ระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ 9 ผู้ยิ่งใหญ่ การนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า "วันนวมินทรมหาราช" ตามที่รัฐบาลได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา จึงกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันนวมินทรมหาราช" บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 รับทราบการกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันนวมินทรมหาราช" ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี


         พระเศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร          แบบศิลปะ : ศรีวิชัย          ชนิด : สำริด          ขนาด : กว้าง 3.5 เซนติเมตร สูง 7.5 เซนติเมตร          อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 (หรือราว 1,100 - 1,200 ปีมาแล้ว)          ลักษณะ : พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระกรรณยาว ทรงชฎามงกุฎคือพระเกศาเกล้าเป็นมวยสูง แสดงความเป็นนักบวช มีพระพุทธเจ้าอมิตาภะประดิษฐานอยู่ตรงมวยผม          ประวัติ : พบบริเวณเมืองเก่าอู่ทอง          สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/26/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong


           วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ  เป็นประธานในพิธีส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ ให้แก่กรมศิลปากร โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้รับมอบ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ            นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กองทัพเรือและกรมศิลปากรได้หล่อหลอมดวงใจเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อถวายพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธีให้มีความสวยงาม สมพระเกียรติ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ กองทัพเรือซ่อมบำรุงโครงสร้าง กรมศิลปากรดูแลงานศิลปกรรมประดับตกแต่งเรือ ขณะนี้กองทัพเรือได้ดำเนินการซ่อมบำรุงโครงสร้างเสร็จแล้ว จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากรเพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือ ซึ่งเรือพระราชพิธีแต่ละลำมีความวิจิตรบรรจงจากการลงรักปิดทอง ประดับกระจกเกรียบกระจกสี เป็นงานที่อาศัยทักษะชั้นสูงและวิทยาศาสตร์ผสมผสานกัน การดำเนินงานของกรมศิลปากรจะเน้นรูปแบบศิลปะที่คงความเป็นของแท้ดั้งเดิม โดยมอบหมาย 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักช่างสิบหมู่ จะนำช่างแกะ ช่างเขียน ช่างประณีตศิลป์ เข้าทำงาน ส่วนสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจะนำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์มาดูการเตรียมผิวรองรับการประดับตกแต่ง เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 30 มิถุนายน 2567 เชื่อว่าความงดงามของกระบวนเรือพระราชพิธีจะตราตรึงชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก นอกจากนี้ ระหว่างการดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธี สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจะบันทึกเหตุการณ์ขั้นตอนการดำเนินการครั้งประวัติศาสตร์นี้ด้วย                อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการ สำรวจ และซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ ตั้งแต่ธันวาคม 2566 ด้วยวิธีศิลปะภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน การตอกหมันเรือ ซึ่งนำด้ายดิบมาตอกเข้าไปบริเวณร่องระหว่างไม้กระดานเรือให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าเรือ จากนั้นจึงชันยาเรือผสมกับน้ำมันยางยาแนวในร่องและทาทั่วทั้งบริเวณนอกลำเรือเพื่อป้องกันเพรียงกินไม้ที่จะทำให้เรือผุเร็ว ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากร เพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ และเรือรูปสัตว์ ประกอบด้วย เรือเอกชัยเหินหาว เรือเอกชัยหลาวทอง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือพาลีล้างทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี 


         ตู้อิเหนา ตอน ลมหอบ          ศิลปะรัตนโกสินทร์ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕          เครื่องตกแต่งพระเบญจาประดิษฐานพระโกศในงานพระเมรุ เดิมอยู่ที่หอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รับมาไว้ในพิพิธภัณฑสถาน เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓          พระเบญจา คือ พระแท่นทำเป็นฐานซ้อนชั้นขึ้นไป ใช้สำหรับรองรับพระบรมโกศ เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศเจ้านายชั้นสูง และพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ หรือสำหรับประดิษฐานบุษบกพระพุทธรูป           “...พนมศพครบเจ็ดชั้น พึงพิศ แลฉลุลายประดิษฐ์ เลิศแล้ว...” ในโคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้าหลวงใช้คำเรียกพระเบญจาว่า “พนมศพ” ซึ่งคำว่า พนม แปลว่า ภูเขา อันสะท้อนให้เห็นคติความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุสำหรับประดิษฐานพระโกศ           บริเวณพระเบญจานั้นมีการตกแต่งด้วยรูปประติมากรรมต่างๆ ในแต่ละชั้น โดยปรากฏหลักฐานอยู่ใน “นิพพานวังน่า” ได้บรรยายลักษณะพระเบญจา ๗ ชั้น สำหรับรองรับพระโกศสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ณ พระเมรุมาศ ก่อนพระราชทานเพลิงพระศพไว้ ดังนี้   “เขาเชิญชักพระโกษบรมนารถ  ขึ้นเหนืออาศน์ชวลิตประสิทธิสม  ชั้นหนึ่งเทพย์น้อมศิโรดม  ถึงชั้นสองมีพรหมประนมกร  อันชั้นสามแลงามจำเริญเนตร  อมเรศร์เรียงเทพย์อับศร  ที่ชั้นสี่มีเทพย์กินนร  วิชาทรคนธรรพสลับกัน  ชั้นห้ารจนาองค์อิเหนา  เมื่อโศกเศร้าแรมห้องคูหาสวรรค์  เหมือนลอองร้างสิบสองพระกำนัล  ทั้งแปดหมื่นสี่พันเคยปกครอง  ชั้นหกเป็นกนกกระหนาบอินทร์  ทรงคิรินทร์เจ็ดเศียรผันผยอง  ถึงชั้นเจ็ดเพ็ชร์รับหิรัญรอง  เห็นสีส่องแสงรุ้งอร่ามพราย”            จากคำประพันธ์ข้างต้น สันนิษฐานได้ว่ารูปประติมากรรมสำหรับตกแต่งพระเบญจาประดิษฐานพระโกศ มักให้ความสำคัญกับการส่งเสด็จสู่สวรรค์ อันเป็นงานประณีตศิลป์ที่สอดคล้องกับคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ และฉากตัวละครจากวรรณกรรมของราชสำนัก ทั้งนี้อาจใช้สำหรับแสดงพระราชอิสริยยศของเจ้านายพระองค์นั้นๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น หุ่นจำลองเรื่องรามเกียรติ์ ฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ใช้สำหรับตกแต่งพระเบญจาซึ่งประดิษฐานพระโกศในงานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ท้องสนามหลวง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๓           โดยธรรมเนียมการประดิษฐานพระบรมโกศบนพระเบญจานั้น ได้มีการยกเลิกไปเมื่อครั้งพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ โดยมีการปรับเปลี่ยนมาใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สำหรับตั้งพระเบญจาแทนการฉลองก่อนการถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ แล้วบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพ เรียกว่า การทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ            ข้อสังเกต “ตู้อิเหนา ตอน ลมหอบ” นี้ ใช้เทคนิคปูฉากหลังด้วยกระจกเกรียบ ทำให้เกิดแสงสะท้อนแวววับคล้ายกับฟ้าแลบ อีกทั้งใช้สำลีม้วนแทนพายุและเมฆหมอก มีต้นไม้ไหวเอนพร้อมกับกิริยาของตัวละครที่สอดคล้องกับคำบรรยายในบทละครเรื่องอิเหนา ตอน ลมหอบ ดังนี้   ๏ จึงผาดแผลงสำแดงศักดาเดช  สะเทือนทั่วประเทศทิศาศาล เมฆหมอกมืดมนอนธการ  อัศจรรย์บันดาลด้วยฤทธิรณ แล้วบังเกิดพายุใหญ่    กัมปนาทหวาดไหวทั้งไพรสณฑ์ ลมหอบเอารถนฤมล  สามคนลอยลิ่วปลิวไป ๏ บัดนั้น  ประสันตาตัวสั่นหวั่นไหว กะระตาหลาล้มลงทันใด  ฉวยได้กอหญ้ากระหมวดมือ ประสันตาคว้ากอดต้นไม้มั่น  นึกพรั่นกลัวจะพลัดมือถือ เสียงสายฟ้าลั่นบันลือ  ไม่รู้สึกสมประดีดาล            หากพิจารณารูปแบบของชุดตู้อิเหนานี้ สามารถอนุมานได้ว่าคงสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา โดยเป็นช่วงที่ศิลปะตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในงานศิลปกรรมไทยแล้ว สังเกตได้จากเครื่องแต่งกายของทหารในตอนลักนางบุษบา อีกทั้งสถาปัตยกรรมกับเครื่องตกแต่งอาคารในตอนอิเหนาประชวร ล้วนบ่งบอกลักษณะของฉากและเครื่องแต่งกายตัวละครที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกทั้งสิ้น กรมศิลปากรเคยนำชุดตู้อิเหนาไปจัดแสดงจำนวน ๒ รายการ คือ ตู้อิเหนา ตอนท้าวดาหาบวงสรวง และตอนลักนางบุษบา ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๔   ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปทุมธานี     อ้างอิง ธนโชติ เกียรติณภัทร. ฉากงานพระเมรุมาศและพระเมรุในวรรณคดีไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น : ภาพสะท้อนพระราชพิธี พระบรมศพก่อนสมัยรัชกาลที่ ๖. ดำรงวิชาการ. ๑๗ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๑). พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระฯ. บทลครเรื่องอิเหนา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. โรงพิมพ์ไทย. ๒๔๖๔ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒธรรม. ๒๕๕๙