ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,618 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 149/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/7เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชวนชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง ๑๕ ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ ๕ - ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ น. เป็นต้นไป บริเวณลานหน้าปราสาททิศตะวันออก (พระอาทิตย์ตกเวลาประมาณ ๑๘.๑๕ น.)
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง คหเศรษฐศาสตร์ (ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๓ กรกฏาคม ๒๕๒๒ )
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ หสน. วิบูลย์กิจการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๒
จำนวนหน้า ๑๒๗ หน้า
รายละเอียด
วารสารของสมาคมคหเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วยบทความด้านการศึกษา พัฒนาการครอบครัวและเด็ก อาหารและโภชนา ผ้าการแต่งกายและศิลปสัมพันธ์ การครองเรือนและเศรษฐกิจครอบครัว บ้านเครื่องเรือนและเครื่องใช้และเบ็ดเตล็ด
โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ตั้งอยู่บนยอดเขารางกะปิด พื้นที่บ้านเขาพระ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
หลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดีพบว่า โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภท เจดีย์ ที่ก่อสร้างจากหินธรรมชาติ ศิลาแลง และอิฐ แต่ปัจจุบันเสื่อมสภาพไม่สามารถทราบรูปแบบได้ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สำรวจทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และดำเนินงานขุดศึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เสริมความมั่นคงเพิ่มเติม
โบราณวัตถุที่สำคัญซึ่งพบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ได้แก่ พระพิมพ์ดินเผาอิทธิพลปาละพิมพ์เดียวกันหลายองค์ซึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะดินเผา โดยฝังอยู่ใต้ฐานโครงสร้างโบราณสถาน จึงสามารถกำหนดอายุโบราณสถานว่าสร้างในสมัยทวารวดี
ภาชนะดินเผา
เป็นภาชนะมีคอปากผาย ขนาดค่อนข้างใหญ่ หรือที่เรียกว่า ทรงไห ส่วนลำตัวตกแต่งด้วยการนำเส้นดินบิดมาแปะติดคล้ายเกลียวเชือก ส่วนบ่ากดลายเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียงเป็นแถวแนวนอน และเส้นลวดอีก ๒ เส้น ภายในบรรจุพระพิมพ์ดินเผาหลายองค์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
พระพิมพ์ดินเผา (มีจารึก)
เป็นพระพิมพ์รูปพระพุทธรูปปางสมาธิ มีประภามณฑล ประทับบนบัลลังก์เหลี่ยมแวดล้อมด้วยเครื่องสูง ๕ ตำแหน่ง คือ เหนือพระเศียรมีฉัตร ๑ คัน ข้างพระวรกาย ในระดับพระเศียรมีบังแทรกหรือบังสูรย์ ๒ คัน ถัดลงมามีจามร ๒ คัน ด้านหลังพระพิมพ์มีจารึกอักษรหลังปัลลวะ ภาษามอญโบราณ กล่าวว่า “บุญนี้(เป็นของ)กษัตริย์มะระตา(ผู้สร้าง)พระพุทธรูป จึงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครองในสมัยทวารวดี
เอกสารอ้างอิง
ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑.
ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘.
สุภมาศ ดวงสกุล และคณะ. ศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างบนเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์เมืองอู่ทอง : ผลการสำรวจทางโบราณคดีบนเขตภูเขานอกเมืองอู่ทอง พ.ศ.๒๕๖๒. สุพรรณบุรี : สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, ๒๕๖๒.
เลขทะเบียน : นพ.บ.402/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146 (58-70) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : พระตติยสังคายนา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ชื่อผู้แต่ง : ชิน อยู่ดี ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : การพิมพ์พระนคร จำนวนหน้า : 274 หน้า สาระสังเขป : สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือระยะเวลาของบริเวณหนึ่ง ประเทศหนึ่ง หรือของเผ่าพันธุ์หนึ่งเมื่อยังไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และสิ้นสุดลงเมื่อมนุษย์ค้นคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ด้วยเหตุที่แต่ละประเทศมีตัวอักษรใช้ไม่พร้อมกัน การสิ้นสุดของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และการเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน ในหนังสือเล่มนี้ จึงมีเนื้อหาในแต่ละสมัย ในแต่ละยุค ในช่วงยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์
พระอิศวรทรงสร้างจากเทพธิดา ๑๕ นาง บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษรูปงาม มีสีผิวกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร และอาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี สัญลักษณ์เลข ๒ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ตามเค้าไปจับปลา -- ก่อนสถาปนาจังหวัดพะเยานั้น ชาวประมงหรือประชาชนทั้งหลายมีข้อควรคำนึงก่อนลงกว๊าน ห้วย หนอง คลอง และบึง 5 ประการ หากไม่ใส่ใจ . . . " คุก " คือคำตอบสุดท้าย. วันที่ 5 มีนาคม 2514 นายอำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย ออกประกาศ " การทำประมงในกว๊านพะเยา และในลำน้ำลำคลองหนองบึง " โดยมีใจความสำคัญคือ ละเว้นทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมยกตัวอย่างวิธีทำประมงผิดกฎหมายดังนี้. 1. ใช้ระเบิดจับปลามีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10 เท่าของราคาสัตว์น้ำ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท 2. ครอบครองสัตว์น้ำที่ใช้ระเบิดจับมาได้ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 500 บาท 3. ใช้ยาเบื่อยาเมาจับสัตว์น้ำ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท 4. ติดตั้งทำนบ รั้ว เขื่อน ตาข่าย เพื่อกั้นทางไว้จับสัตว์น้ำ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท 5. หากปลูกพืชและก่อสร้างสิ่งใดลงในแหล่งน้ำโดยพลการ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท. ประเด็นสำคัญของประกาศฉบับนี้สรุปให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า " อย่าทำประมงผิดวิธีทั่วไปนั่นเอง " เพราะในอำเภอพะเยานิยมทำประมงพื้นบ้าน อุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ เช่น สุ่ม เบ็ด ไซ แหตาห่างๆ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ อีกทั้งไม่ก่อมลภาวะเป็นพิษแก่แหล่งน้ำ อำเภอต้องการสื่อสารกับประชาชนให้ตระหนักเพียงแค่ " อย่ามักง่าย " เพราะไม่ใช่การทำมาหากินเอาตัวรอดไปวันๆ แต่ต้องการให้ลูกหลานในอนาคตได้ประโยชน์ด้วย สิ่งเหล่านี้. . . คืองานอนุรักษ์ก่อนเป็นจังหวัดพะเยาผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/6 เรื่อง ประกาศอำเภอพะเยา เรื่องการกระทำการประมงในกว๊านพะเยาและในลำน้ำ ลำคลอง หนองบึง [ 5 มี.ค. - 30 มิ.ย. 2514 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รับการสถาปนาเป็นหน่วยงานระดับกองในสังกัดกรมศิลปากรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พุทธศักราช 2495 และได้ถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันครบรอบวันสถาปนา ในพุทธศักราช 2566 นี้ จึงเป็นวาระครบ 71 ปี แห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
กว่าเจ็ดทศวรรษที่ผ่านมา หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีภารกิจสำคัญในการดูแลรักษาเอกสารจดหมายเหตุอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทรงคุณค่าเปรียบเสมือนคลังปัญญาของแผ่นดินให้คงอยู่สืบไป เพื่ออเนกประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ดังพระราชกระแสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า "...หนังสือชนิดนี้ควรเข้าอาไคฟ ขอให้เก็บให้จงดี"
พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยและสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร
ศิลปิน : นายสุชาติ ขวัญหวาน ตำแหน่ง : จิตรกรปฏิบัติการ
กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)
การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตรชิ้นนี้ จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยและสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง พระราชพิธีเบื้องปลายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นเป็น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพิรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ
เป็นเปลือกหอยสังข์นำมาขัดตกแต่ง มีสีขาวนวล และมีลักษณะพิเศษที่ปากเปิดออกทางขวา อย่างที่เรียกว่า “ทักษิณาวัฏ” ซึ่งต่างไปจากหอยสังข์ส่วนมากที่ปากเปิดออกทางซ้าย เรียกว่า “อุตราวัฏ” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานนามพระมหาสังข์องค์นี้ว่า “พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ” ทรงใช้ครั้งแรกในงานพระราชพิธีปราบดาภิเษก เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ พระมหาสังข์องค์นี้ เลี่ยมขอบปากด้วยทองคำอย่างกาบกล้วยไปจดปลายปาก ซึ่งหุ้มด้วยทองคำเป็นปลอกรัดสลักลายหน้ากระดานประกอบกระจัง ในร่องปลายปากสังข์แกะลายเส้นเบาเป็นรูป “อุณาโลม” ส่วนท้ายสังข์ตกแต่งด้วยปริกทองคำฝังอัญมณีอย่างหัวพระธำมรงค์นพเก้า ที่บนหลังสังข์ติดช่อดอกไม้อย่างเทศทำด้วยทองคำประดับเพชรช่อใหญ่และช่อเล็กเรียงกันลงไปทางปลายปากสังข์และท้องสังข์ ใต้ปากสังข์ลงมาติดช่อดอกไม้อย่างเทศทำด้วยทองคำประดับเพชรขนานไปกับปากพระมหาสังข์
พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ เป็นพระมหาสังข์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้บรรจุน้ำพระพุทธมนต์สำหรับสรงพระมุรธาภิเษก ในงานพระราชพิธีปราบดาภิเษกเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ เป็นปฐม ต่อมาถือเป็นราชประเพณีที่เจ้าพนักงานภูษามาลาชั้นผู้ใหญ่จะเชิญพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสรงพระมุรธาภิเษก แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ ๙ ทรงใช้พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏหลั่งน้ำพระพุทธมนต์พระราชทานพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปทรงใช้สรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญ ทรงหลั่งน้ำพระราชทานพระยาช้างต้นในพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญทรงหลั่งน้ำที่โขนเรือหลวงในพระราชพิธีขึ้นระวางเรือพระที่นั่ง เรือรบหลวง และทรงใช้หลั่งน้ำที่ยอดธงชัยเฉลิมพล พระราชทานประจำกองทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าทัพด้วย
ใบมะตูม
มีลักษณะเป็น ๓ แฉก เป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บางตำราถือว่าคล้ายพระแสงตรีซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์ ตำนานเทวปางของพราหมณ์กล่าวว่า พรหมองค์หนึ่งจุติมาเป็นช้างชื่อ เอกทันต์ มีอิทธิฤทธิ์และกำลังมหาศาล ไม่เชื่อฟังโองการใด ๆ ของพระนารายณ์ พระองค์จึงทรงนำเถาไม้ต่าง ๆ ๗ ชนิด มาร่ายมนตร์แล้วฟาดลงที่รอยเท้าช้างเอกทันต์ ทำให้ช้างเอกทันต์ปวดหัวแทบจะแตกวิ่งเข้าต่อสู้กับพระองค์แต่สู้ไม่ได้ พระนารายณ์ทรงซัดเชือกบาศผูกมัดเท้าขวาของช้างเอกทันต์ ทรงนำพระแสงตรีอาวุธประจำพระองค์ปักลงพื้นดินแล้วอธิษฐานให้เป็นต้นมะตูม จากนั้นเอาปลายเชือกบาศผูกกับต้นมะตูม ช้างเอกทันต์จึงพ่ายแพ้พราหมณ์ถือว่าใบมะตูมเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและเป็นมงคล นำถวายพระมหากษัตริย์สำหรับทรงใช้ในการพระราชทานน้ำสังข์ และพราหมณ์ใช้เมื่อถวายน้ำพระมหาสังข์แด่พระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีอื่น ๆ อนึ่ง ใบมะตูมนี้บางตำราถือว่าเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระอิศวร และบางตำราถือว่าลักษณะสามแฉกนั้น แทนพระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์
อ้างอิง
คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocab.php?ispage=10
.
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง
-------------------------------------
https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26
-------------------------------------
#เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ #สำนักช่างสิบหมู่ #กรมศิลปากร