ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,662 รายการ

ประติมากรรมดินเผารูปสตรี ประดับศาสนสถานสมัยทวารวดี ดินเผา สูงประมาณ ๒๖ เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ประติมากรรมดินเผารูปสตรี ใบหน้ากลม คิ้วต่อกันเป็นปีกกา ตาเหลือบมองลงต่ำ จมูกโด่ง ปากอมยิ้ม ไว้ผมแสกกลาง มัดผมเป็นจุกกลางศีรษะ ลักษณะคล้ายทรงผมที่พบในประติมากรรมศิลปะอินเดีย สวมเครื่องประดับ ได้แก่ ตุ้มหูรูปห่วงกลม ส่วนปลายของตุ้มหูโค้งเข้าหากัน ใบหูยาวจรดถึงบ่า สวมสร้อยลูกปัดที่มีจี้รูปโค้งประดับตรงกลาง ต้นแขนสวมเครื่องประดับ เครื่องประดับเหล่านี้มีรูปแบบคล้ายกับลูกปัดและเครื่องประดับที่พบภายในเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี           ประติมากรรมดังกล่าวใช้สองมือเกาะขอบฐานด้านล่าง เนื่องจากรอบข้างของประติมากรรมหักหายไป สันนิษฐานว่าหากมีสภาพที่สมบูรณ์ อาจมีลักษณะเป็นรูปวงโค้งเพื่อใช้ประดับศาสนสถานแบบเดียวกับวงโค้งรูปบุคคลที่เรียกว่า”กุฑุ”ซึ่งนิยมใช้ประดับขั้นหลังคาศาสนสถานแทนความหมายของชั้นวิมานในศาสนสถานสมัยทวารวดีที่พบภายในเมืองโบราณอู่ทอง เพื่อแสดงให้เป็นว่าเป็นวิมานของเหล่าเทพต่าง ๆ เป็นรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ และสมัยหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๓ หรือเมื่อประมาณ ๑,๓๐๐ - ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว) ทั้งนี้มีหลักฐานการค้นพบ “กุฑุ” ดินเผา ในเมืองโบราณอู่ทอง จำนวนอย่างน้อย ๓ ชิ้น จัดแสดงอยู่ ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จำนวน ๒ ชิ้น และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๑ ชิ้น------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๗ โปรดให้ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพญภาคย์ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ 


          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณกรรมหลายประเภท ทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และบทความ เป็นงานเขียนที่มีพัฒนาการอย่างสูงสืบเนื่องมาแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จุดเด่นของวรรณกรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มุ่งเน้นการประพันธ์จากวรรณกรรมเริงรมย์ไปสู่วรรณกรรมสะท้อนสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสะท้อนภาพของวิถีชีวิต ค่านิยม และทัศนคติของชนชั้นกลางในการสร้างสังคมประชาธิปไตย อีกทั้งในยุคนี้ยังเป็นยุคเฟื่องฟูของนวนิยายสมัยใหม่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างความหฤหรรษ์ทางปัญญาแก่ผู้อ่าน และบุกเบิกแนวทางของวรรณกรรมสัจสังคมนิยม ให้เป็นแนวทางที่โดดเด่นของวรรณกรรมไทยร่วมสมัยมาจนทุกวันนี้ และหนึ่งในวรรณกรรมเล่มสำคัญที่มิอาจกล่าวผ่านเลยไปเล่มหนึ่ง ณ ช่วงเวลานั้น คือ “ดำรงประเทศ”           ดำรงประเทศ เป็นวรรณกรรมที่หายสาบสูญไปเกือบ ๑๐๐ ปี โดยเป็นนวนิยายเรื่องแรกของเวทางค์ หรือ เรืออากาศโททองอิน บุณยเสนา ซึ่งเป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นร่วมสมัย ในยุคเดียวกับดอกไม้สดและศรีบูรพา แต่น่าเสียดายที่นักเขียนซึ่งใช้นามปากกาว่า เวทางค์ กลับถูกลืมหายไปกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมอย่างน่าเสียดาย ดำรงประเทศ เวทางค์ได้เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์พานิชศุภผล จำหน่ายราคาเล่มละ ๑ บาท สำหรับท่วงทำนองการเขียนเป็นแบบจินตนิยายในแนวปรัชญาการเมือง โดยวางเนื้อเรื่องและบทบาทของตัวละครเน้นไปในทางให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงแก่นธรรมะ และระบอบ การปกครองของประเทศ ซึ่งขณะนั้นยังมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ผู้เขียนได้เน้นเสนอปรัชญาการเมืองในแบบ "ธรรมาธิปไตย" คือการปกครองโดยธรรมเพื่อความเป็นธรรมของราษฎร ซึ่งเป็นการปลุกให้นักอ่านได้ตื่นตัวแต่มิใช่เป็นการปลุกระดมดังเช่นปัจจุบัน ภายในเล่มของดำรงประเทศ แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น ๑๐ บท คือ บทที่ ๑ การสงคราม บทที่ ๒ กษัตราธิราช บทที่ ๓ การอบรม บทที่ ๔ ทาษของคนหรือชาติ บทที่ ๕ ความรัก บทที่ ๖ การปกครอง บทที่ ๗ เมืองบิตุราชและมาตุภูมิ บทที่ ๘ ความสวาท บทที่ ๙ รัฐประสาสโนบาย และบทที่ ๑๐ สาสนคุณ           ดำรงประเทศ ถูกคัดเลือกให้เป็น ๑ ในหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ประเภทบันเทิงคดี ด้านนิยาย โดยวิทยากร เชียงกูล และคณะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ปัจจุบันสำนักพิมพ์ต้นฉบับได้นำนวนิยายเรื่อง ดำรงประเทศ ซึ่งเป็นวรรณกรรมเก่าและหายากมาจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ เพื่อร่วมอนุรักษ์และเผยแพร่แก่สาธารณะอย่างกว้างขวางอีกครั้งในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖           ปัจจุบัน “ดำรงประเทศ” จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๗๔ ให้บริการ ณ ห้องหนังสือหายาก อาคาร ๒ ชั้น ๓ และฉบับพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ต้นฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้บริการ ณ ห้องหนังสือประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ อาคาร ๑ ชั้น ๓ดำรงประเทศ โดย เวทางค์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๗๔ โรงพิมพ์พานิชศุภผลดำรงประเทศ โดย เวทางค์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๖ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ---------------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ---------------------------------------------------------------------บรรณานุกรม ประกาศ วัชราภรณ์. ทำเนียบนักประพันธ์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, ๒๕๓๒. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. วรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๗ : การตอบสนองรสนิยมของชนชั้นกลาง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ๖ (๑): ๗๗ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔. จาก: https://e-journal.sru.ac.th/ index.php/jhsc/article/view/111/pdf_107. ๒๕๕๗. วิทยากร เชียงกูล. สารานุกรมแนะนำหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๒. เวทางค์. ดำรงประเทศ. พระนคร: โรงพิมพ์พานิชศุภผล, ๒๔๗๔. เวทางค์. ดำรงประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ, ๒๕๕๖.


โครงการสร้างภาคีเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ (รวมใจประชารัฐ ร่วมรักษาโบราณสถาน เพื่อ“ศรีสะเกษ”บ้านเรา) ประจำปีงบประมำณ ๒๕๖๒ ระหว่ำงวันที่ ๖-๗ มิถุนำยน ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น ๑ ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ



          ความในพระไตรปิฎกระบุว่า กัปปัจจุบันนี้ เรียกว่า ภัทรกัป แปลว่า กัปเจริญ มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดถึง ๕ พระองค์ อุบัติแล้ว ๔ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม คงเหลือพระเมตเตยยะ เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือพระศรีอารยเมตไตรย จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า           ตามความเชื่อกระแสหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่สืบมาจากลังกา กล่าวว่าขณะนี้พระศรีอาริย์เกิดเป็นเทพบุตร ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลามาบังเกิดเมื่อสิ้นพุทธกาลของพระโคดม เมื่อล่วงเวลา ๕,๐๐๐ ปี ดังความในบทไหว้ลายลักษณ์รอยพระพุทธบาท ซึ่งชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ชาวใต้สวดเป็นประจำทุกค่ำคืนว่า           “...พระพุทธเจ้า เสด็จเข้านิฤพาน ยังแต่พระศรีอาริย์ ในชั้นดุสิตา พระพุทธรูปัง ยังครองศาสนา ให้สงฆ์ทั้งหลาย กราบไหว้วันทา ต่างองค์พระศาสดา สรรเพชญมุนี รักษาศาสนา ถ้วนห้าพันปี คำพระชินศรี โปรดให้แก่เรา...”           เรื่องเล่าในพระพุทธศาสนากล่าวว่า เมื่อพระศาสนาพระสมณโคดมเจ้าถ้วนถึง ๕,๐๐๐ ปี พระพุทธศาสนาอันตรธานไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายประกอบด้วยอกุศลกรรมหนาแน่น ทำให้มีอายุน้อยถอยลงโดยลำดับ กระทั่งมีอายุ ๑๐ ปี ชายหญิงอายุได้เพียง ๕ ปี ก็แต่งงานกัน กาลนั้นจึงเกิดสัตถันตรกัป สมัยแห่งความพินาศ ด้วยมนุษย์จับอาวุธขึ้นมาประหัตประหารกัน โดยเห็นกันและกันเป็นสัตว์ เรียกว่า มิคคสัญญี เป็นเวลา ๗ วัน จนผืนแผ่นดินเต็มด้วยซากศพ นองด้วยน้ำเลือด น้ำหนอง คนเหล่าหนึ่งหนีไปอยู่ตามลำพังในซอกเขา พุ่มไม้ เถื่อนถ้ำ ที่วิเวก เมื่อครบ ๗ วัน ออกมาพบกัน ชักชวนกันทำการกุศล ด้วยอำนาจการจำศีลภาวนา จึงเกิดฝนตกเป็นเวลา ๗ ราตรี พัดเอาซากศพสิ่งปฏิกูลลอยไป           จากนั้นด้วยผลแห่งทาน ศีล ภาวนาของคนทั้งหลาย โลกจึงกลับเจริญขึ้น เกิดห่าฝนมธุรสตกตลอด ๗ วัน เป็นอาหารแก่มนุษย์ ห่าฝนแก้วแหวนเงินทอง ห่าฝนของหอม ห่าฝนชะมด กฤษณา จันทน์จุณ ชำระล้างพื้นแผ่นดิน ให้กลิ่นหอม ห่าฝนข้าวสาร ข้าวเปลือก เลี้ยงชีวิตคน ห่าฝนผ้าผ่อนแพรพรรณ ห่าฝนภาชนะ เครื่องใช้สอย และห่าฝนแก้วมณีทั้งเจ็ด ตกลงทั่วทั้งแผ่นดิน           อายุมนุษย์ก็ทวีขึ้นตามลำดับด้วยผลแห่งกุศลกรรม จนอายุยืนถึงอสงไขยหนึ่ง มนุษย์ไม่รู้จักความเจ็บ ความตาย มีความประมาท อายุจึงลดลงเหลือ ๘๐,๐๐๐ ปี ถึงวาระที่พระศรีอารยเมตไตรยจะเสด็จลงมาโปรดคนทั้งหลาย เป็นช่วงเวลาที่โลกมนุษย์เป็นแดนบรมสุข ด้วยความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ           พระศรีอาริย์ จึงมาบังเกิดภายหลังพุทธกาลของพระพุทธเจ้าศากยมุนีเนิ่นนาน นับด้วยอสงไขย เป็นเวลานับประมาณไม่ได้           อย่างไรก็ดี ผู้ปรารถนาจะได้พบ เกิดทันศาสนาของพระศรีอาริย์ มีอยู่เป็นอันมาก ตามพื้นบ้าน พื้นเมือง จึงเกิดการแต่งนิทาน ว่าด้วยพระศรีอาริย์ยุคกึ่งพุทธกาล แสดงเรื่องพระศรีอาริย์จุติลงมาในโลกมนุษย์ เพื่อเยี่ยมโลก ในยุคศาสนาใกล้จะถึง ๒,๕๐๐ ปี ปรากฏเป็นคติความเชื่อเฉพาะถิ่นในที่บางแห่ง อาทิ ตำนานพระศรีอาริย์วัดไลย์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น--------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร --------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ๑. จรัล ทองวิไล. “ไหว้ลายลักษณ์: วรรณกรรมแหล่บูชารอยพระพุทธบาทแบบฉบับภาคใต้.” นิตยสารศิลปากร, ปีที่ ๖๓, ฉบับที่ ๖ (พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๖๓): ๑๕-๒๙. ๒. เทพ สุทรศารทูล. กาพย์พระมาลัย. กรุงเทพฯ : พระนารายณ์, ๒๕๓๖. ๓. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวน ที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕. ๔. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า๕. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๓. จักกวัตติสูตร ๖. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. ๗. สมุดมาลัยและสุบินกลอนสวด. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๕. ๘. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และ ดรณ์ แก้วนัย. “พระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติ.” สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓ งานสำรวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง. ศูนย์สยามทัศน์ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เผยแพร่, ๒๕๕๗.


เลขทะเบียน: กจ.บ.8/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฺฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 94 หน้า


          วันอังคารที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงอาคารและห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และร่วมประชุมหารือทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ พร้อมแนะนำแนวทางในการจัดการเข้าชมให้แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถบริการแก่ประชาชนที่มาใช้บริการได้อย่างเรียบร้อย โดยมีร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ให้การต้อนรับ          กรมศิลปากร ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่า รวมถึงองค์ความรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีมาตรฐานทั้งรูปแบบอาคารที่สะดุดตาโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมที่สื่อถึงการพบโบราณวัตถุที่แทรกอยู่ในชั้นดิน ภูมิทัศน์ที่เปิดให้สัมผัสบรรยากาศภูมิประเทศ เพื่อให้เข้าใจถึงการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบนพื้นที่แหล่งโบราณคดีจริง รวมไปถึงนิทรรศการภายในที่ตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุด


ชื่อเรื่อง                         สาวิตรี พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งที่พิมพ์                      -ผู้แต่ง                            พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธหมวดหมู่                        วรรณกรรม วรรณคดีเลขหมู่                           895.912สถานที่พิมพ์                    พระนครสำนักพิมพ์                      โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์                          2498ภาษา                             ไทยหัวเรื่อง                           -ประเภทวัสดุ/มีเดีย             หนังสือหายากลักษณะวัสดุ                    92 หน้า : ไม่มีภาพประกอบ ; กว้าง 16 ซม.  ยาว 23 ซม.บทคัดย่อ                        -


ชื่อเรื่อง                                นิสัยจตุกกนิบาต (นิสัยจตุกกนิบาต) สพ.บ.                                  358/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 52.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 



โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)  ชบ.บ.49/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ก/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.249/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


โบราณคดีที่ทรงรักทรงรักษา   “...ในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เรามักจะต้องเดินทางมาก ต้องเข้าไปในภูมิประเทศที่มีลักษณะต่างๆ กัน ลักษณะภูมิประเทศแปลกๆ เหล่านี้ นอกจากมีความสวยงามแล้วยังเป็นเครื่องกำหนดความเป็นอยู่ของมนุษย์ไม่มากก็น้อย สถานที่ส่วนใหญ่ที่เราเยี่ยมเยียนมักจะเป็นชุมชนใหญ่น้อย ที่อยู่อาศัยของคนมากหน้าหลายตาที่มีวิถีชีวิต ถือประเพณี ประกอบการงานอาชีพต่างกัน สถานที่เหล่านี้บ้างก็เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่ แต่เรามักจะพบบ่อยๆ ว่า บริเวณที่ตั้งชุมชนในปัจจุบันนี้เคยมีมนุษย์มาตั้งหลักแหล่ง ทำมาหาเลี้ยงชีพ สร้างสรรค์วัฒนธรรมสืบทอดกันมาแต่อดีตอันยาวนาน บางครั้งเราอาจอดเสียมิได้ที่จะนึกย้อนกลับไปว่า แต่ก่อนสถานที่ที่เรากำลังยืนอยู่ เป็นทางดำเนินชีวิตของบรรพชน ไม่รู้จักเท่าไรที่ผ่านความสุข ความทุกข์ นานาประการ ได้มาและสูญเสียสิ่งต่างๆ จนผืนแผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินไทย ที่เป็นของเรา ที่เราจะต้องถนอมรักษาไว้ให้อยู่ต่อไปอย่างดี...”๑   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนพระราชหฤทัยในประวัติศาสตร์โบราณคดีนับแต่ทรงพระเยาว์ ทรงเล่าถึงกิจกรรมสำคัญที่ต้องพระราชหฤทัยอย่างหนึ่ง คือ การศึกษาโบราณคดี หรือประวัติศาสตร์ ในครั้งนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเชิญศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ  ดิศกุล เพื่อถวายคำบรรยายในเรื่องโบราณคดี และนำเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ    เมื่อทรงเจริญพระชันษา ทรงเลือกสาขาวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในการศึกษาปริญญาตรี ที่คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร              วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท เรื่อง จารึกปราสาทพนมรุ้ง นับเป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่าในทางวิชาการ ไม่เฉพาะเพียงเรื่องราวศิราจารึกที่เป็นภาษาตะวันออกเท่านั้น หากยังเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางโบราณคดีของโบราณสถานปราสาทพนมรุ้งด้วย             ความสนพระราชหฤทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยพระองค์เอง เมื่อทรงมีโอกาสนำสรรพวิทยา  ที่ทรงเรียนรู้มาถ่ายทอด ทำให้เมื่อทรงตกลงพระราชหฤทัยในการรับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓  เป็นต้นมา จึงทรงเลือกสอนวิชาประวัติศาสตร์ และอารยธรรมไทยให้แก่นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อปลูกฝังความรัก ความภาคภูมิในประวัติความเป็นมาของชาติและบรรพชนไทย             นอกจากพระองค์จะทรงสอนในห้องเรียนแล้ว ยังทรงมีพระราชดำริว่า การศึกษาด้วยการฟังบรรยาย การอ่านหนังสือ หรือศึกษาจากสไลด์ภาพนิ่ง หรือสื่ออื่นใดนั้นไม่สามารถให้ภาพที่แท้จริงได้ จึงทรงจัดกิจกรรมทัศนศึกษาประกอบในการสอนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงนำคณาจารย์และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าไปทัศนศึกษาพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ในแต่ละครั้งทรงนำนักเรียนของพระองค์ไปยังสถานที่สำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ รวมถึงสถานที่สำคัญด้านอื่นๆ เช่น การทหาร การเกษตร ฯลฯ ดังที่ได้พระราชทาน สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ ความตอนหนึ่งว่า    “...การบรรยายถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์ให้นักเรียน การเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมออกความคิดเห็น การให้นักเรียนอ่านหนังสือ การค้นคว้าในห้องสมุด การไปศึกษาค้นคว้าต่อในสถาบันที่มีข้อมูล เช่น หอจดหมายเหตุ หรือการออกไปสัมภาษณ์ การออกไปสังเกตการณ์ ออกไปเห็นอะไรๆ ให้กว้างขวาง และรู้จักโยงวิชาการต่างๆ  ที่ได้เรียนรู้มาเข้าด้วยกัน ประวัติศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความเป็นมา ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องอดีตที่ห่างไกลอย่างเดียว ความเป็นมาทุกๆ นาทีที่เปลี่ยนไปก็ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ โดยคิดอย่างกว้างที่สุด การสอนแต่เรื่องโบราณอาจเป็นประโยชน์แก่นักเรียนน้อยเกินไป ประวัติศาสตร์แบ่งได้เป็นหลายสาขา แต่ต้องโยงเข้าหากันให้ได้ เพราะว่าเป็นปัจจัยของชีวิตด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณี หรือว่าเทคโนโลยี การใช้วิธีสอนให้ออกไปศึกษานอกห้องเรียนหรือทัศนศึกษาเป็นครั้งคราว เพื่อให้ดูทุกอย่าง และฝึกตัดสินว่าตนเองเห็นว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร การดูงานหรือทัศนศึกษาช่วยให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่าง ได้พบปะผู้คนที่แปลกออกไปกว่าคนที่เคยพบเห็นอยู่เป็นประจำ ได้มีโอกาสพูดคุยกับคนฐานะต่างๆ มีลักษณะนิสัยต่างกัน มาจากสิ่งแวดล้อมต่างกัน แล้วฝึกการวิจัย การเรียนรู้นอกห้อง...การจัดแต่ละครั้งต้องการให้นักเรียนได้รับความรู้ทั่วไปทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ความมั่นคงและการทหาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่องอาชีพราษฎรเป็นเรื่องที่เน้นมากตลอดเวลา...”๒             ในการเสด็จพระราชดำเนินแต่ละครั้ง ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการ นักโบราณคดีผู้ปฏิบัติงานของกรมศิลปากรเป็นวิทยากรนำชม รวมทั้งพระราชทานแนวพระราชดำริในการจัดพิมพ์เอกสารประกอบการทัศนศึกษาในแต่ละครั้ง โดยทรงพระราชนิพนธ์ คำนำ และทรงเป็นบรรณาธิการในการจัดพิมพ์เอกสารนั้นด้วยพระองค์เอง  ทรงสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังในงานโบราณคดี และการอนุรักษ์โบราณสถาน                          แนวพระราชดำริที่พระราชทานแก่กรมศิลปากรในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแหล่งโบราณคดี และโบราณสถาน ถือเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี โบราณสถานอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมศิลปากรได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติสืบต่อมา ดังปรากฏในกรณีต่างๆ ได้แก่แนวพระราชดำริเมื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแหล่งต้นน้ำเมืองสุโขทัย (โซกพระร่วงลองพระขรรค์ และโซกอื่นๆ เมื่อวันที่ ๑๙ -  ๒๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๔)             ในครั้งนั้นพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะข้าราชการกรมศิลปากร ประกอบด้วย รองอธิบดีกรมศิลปากร (นายนิคม  มูสิกะคามะ) ผู้อำนวยการกองโบราณคดี (นายประโชติ  สังขนุกิจ) หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (นางสาวมณีรัตน์  ท้วมเจริญ)  หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (นายเอนก  สีหามาตย์) ฯลฯ เข้าเฝ้าเป็นกรณีพิเศษ เพื่อรับพระราชทานกระแสพระราชดำริเกี่ยวกับการจัดทำกำหนดการนำนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าไปทัศนศึกษา และแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดการโบราณวัตถุ ซึ่งมีสาระโดยสังเขป ดังนี้   ·    การบรรยายและนำชมวิทยากรผู้บรรยายมักจะอธิบายรายละเอียดลึกเกินไป มีคำศัพท์เฉพาะต่างๆ ซึ่งทรงเข้าใจ เพราะทรงมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ เนื่องจากทรงสนพระราชฤทัย และเคยเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโบราณสถาน และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กราบบังคมทูลอธิบายให้ทราบแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์  แต่นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าไม่มีความรู้พื้นฐานด้านนี้ จึงควรใช้ภาษาง่ายๆ ในการบรรยาย ไม่ควรใช้ศัพท์ทางวิชาการมาก หากใช้ก็ควรอธิบายความหมายให้ชัดเจน   ·     การอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดการโบราณวัตถุ กรมศิลปากรควรสร้างคลังพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่เพื่อจัดเก็บของให้เป็นระบบ สามารถใช้เป็นสถานที่ศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุ ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการขายโบราณวัตถุว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ ถ้าจะขายก็ควรทำเทียมขึ้นมาขายน่าจะดีกว่า                 เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน พระราชทานแนวพระราชดำริว่า การที่กรมศิลปากรมีบุคลากรปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์โบราณสถานไม่เพียงพอ ควรที่จะเปิดหลักสูตรวิชาเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานในสถาบันการศึกษาที่อยู่ในการดูแลของกรม เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางเข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติงาน และลดปัญหาการว่างงาน   การอนุรักษ์หลักฐานทางโบราณคดีในบริเวณหลุมขุดค้นวัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย             เมื่อคราวที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ขุดค้นวัดชมชื่น เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๗ และทรงถามถึงการอนุรักษ์หลักฐานทางโบราณคดีในบริเวณหลุมขุดค้นนั้น กรมศิลปากรได้น้อมนำพระราชดำริในการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีดังกล่าว ด้วยการจัดให้พื้นที่หลุมขุดค้นวัดชมชื่นเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี โดยสร้างหลังคาคลุมหลุมขุดค้น จัดแสดงข้อมูลพร้อมภาพเกี่ยวกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ และการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบแหล่ง ส่งผลให้แหล่งขุดค้นวัดชมชื่นได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทยที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งในเวลาต่อมา             จากแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันทรงคุณประโยชน์ต่อ การดำเนินงานด้านโบราณคดีและการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ ดังที่กล่าวมา นับเป็นพระกรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อกรมศิลปากร สะท้อนถึงพระราชหฤทัยที่ทรงรักและทรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่ยั่งยืนสืบไป   อ่านต่อ ที่นี่   ที่มาข้อมูล : หนังสือสิปปธัช : พระผู้เป็นธงชัยแห่งสรรพศิลป์ (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส ๑๐๔ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร)           


Messenger