ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,613 รายการ

วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมเจ้าหน้าที่ จัดกิจกรรมโครงการพิพิธภัณฑ์สัญจร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ โดยบูรณาการร่วมกับโครงการจังหวัดสุรินทร์สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ และโครงการเหล่ากาชาดห่วงใยสร้างบ้านผู้ยากไร้และด้อยโอกาส เฉลิมพระเกียรติ ๖๗ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ ณ วัดสังข์มงคล ตำบลตาอ็อง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วยการออกหน่วยบริการประชาชน จัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์หน่วยงาน และกิจกรรมระบายสี


วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๓ ถึงชั้นประถมศึกษาที่ ๓ โรงเรียนบ้านตะมะหนองกระจาน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๔๕ คน คุณครู ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๕.๓๐ น. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสดรายการแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) โดนสำนักสร้างสรรค์เนื้อหา ผู้สร้างสรรค์รายการ "CoolClu จารย์เจ๋ง" ออกอากาศทาง ALTV หมายเลข ๔ ทีวีเรียนสนุก ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๙.๐๐-๑๙.๓๐ น. เข้าถ่ายทำที่โบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ บรรยายและควบคุมการใช้สถานที่


วันศุกร์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสลักได ตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๔๕ คน คุณครู ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๕๕ คน คุณครู ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางศรีสุดา ศรีสด และนายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ ๕ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จัดกิจกรรมศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีของจังหวัดสุรินทร์ และเข้าชมนิทรรศการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เพื่อศึกษาเรียนรู้ด้านประวัติศสตร์โบราณคดีและขนบธรรมเนียมของจังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายให้ความรู้


ดวงใจในทรงจำ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2562.           จดหมายเหตุภาคประชาชนเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 รวบรวมรายละเอียดของงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ พระมหาเถระ พระเถระ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อาจารย์ นิสิตนักศึกษา ตลอดจนประชาชนจิตอาสา ที่มีส่วนปฏิบัติงานในพระราชพิธีสำคัญครั้งนี้ พร้อมภาพประกอบสวยงามตลอดเล่ม 390.22 ด164 ห้องหนังสือทั่วไป 1  


ทาคาชิ, อิบูคิ. คนฉลาดแสร้งโง่ (ฉบับสมบูรณ์). พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: ภาพพิมพ์, 2561.           คนฉลาดแสร้งโง่ฉบับสมบูรณ์นี้เป็นหนังสือขายดีติดอันดับในญี่ปุ่น ด้วยเนื้อหาที่ลึกซึ้งจากแก่นความคิดปรัชญาโบราณในตันติวรรณคดีจีน ที่ส่งผลต่อชาวญี่ปุ่นหลายด้านตั้งแต่โบราณตราบถึงทุกวันนี้ผู้เขียนนำเสนอเนื้อหาด้วยบทความสั้นๆ จบในตัว มีการประยุกต์กับตัวอย่างรูปธรรมจริงในปัจจุบัน แฝงแง่คิดให้ผู้อ่านได้ขบคิดใคร่ครวญ ให้แง่คิดสำหรับพัฒนาและปรับปรุงตนเอง ทั้งในด้านทัศนคติ มนุษยสัมพันธ์ หลักการบริหาร และศิลปะการเป็นผู้นำ เป็นต้น 158 ท374ค ห้องหนังสือทั่วไป 1  


แนะนำหนังสือน่าอ่าน เรื่อง  ‘พะซาช์อง’ ฟื้นวิถีชาติพันธุ์...ผ่านห้องเรียน   ‘พะซาช์อง’ ฟื้นวิถีชาติพันธุ์...ผ่านห้องเรียน. เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค, 2546. 42 หน้า. ภาพประกอบ                    ชาวตะเคียนทอง และคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี ที่คนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายชาวชอง และพูดจา “ภาษาชอง” กันมายาวนาน ปัจจุบันคงเหลือแต่ผู้เฒ่า ผู้แก่ที่ใช้ภาษาชองในวิถีประจำวันเพียงไม่กี่คน ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งมิอาจนิ่งดูดาย พยายามพลิกฟื้นภาษาชองขึ้นมา โดยนำเข้าหลักสูตรท้องถิ่นระดับประถมศึกษา และลงพื้นที่เข้าหาชาวบ้านในท้องที่ มีการหาเครือข่ายทีมงานนักวิชาการจาก สถาบันการศึกษาต่างๆ และเกิดเป็นงานวิจัย เรื่องนี้เกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้ คือความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยชุมชนชอง ตำบลตะเคียนทอง และ ตำบลคลองพลู ซึ่งปัจจุบันนี้ ชาวบ้านได้ร่วมกันก่อตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ของชาวบ้านขึ้นแล้ว เพื่อใช้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมของชาวชองต่อไป                     ท               495.917                พ493             (ห้องจันทบุรี)


พระครูธรรมสรคุณ. ประเพณีชอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยรายวัน, 2546.  56 หน้า. ภาพประกอบ  คำว่า “ชอง” มี 2 กระแส คือ ชอง คือชนพื้นเมืองเดิมจันทบุรี ที่อพยพเข้าไปอยู่ในป่าแถบกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ ซึ่งกำลังจะสูญพันธ์แล้ว  กระแสที่ 2 กล่าวว่า ชอง คือ เจ้าของแผ่นดินภาคตะวันออก เป็นบรรพบุรุษของชาวจันทบุรี ระยอง ตราด ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่พูดภาษาชองได้ อยู่ที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ และกลุ่มที่พูดภาษาชองไม่ได้แล้ว มีอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออก พระครูธรรมสรคุณ ท่านเป็นผู้นำด้านความคิดของกระแสที่ 2 นี้ ท่านได้ค้นคว้า ทบทวน และรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ของชอง ว่า ชอง มิใช่เป็นคนป่าคนดงที่ด้อยคุณค่าไร้วัฒนธรรม หากแต่ ชอง คือ บรรพบุรุษของคนตะวันออก ที่มีวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน จนตกทอดถึงคนรุ่นปัจจุบันนี้                      ท                  390                พ322ป             (ห้องจันทบุรี)  


เ เฉลียว ราชบุรี. ความเชื่อของชาวตะวันออก. ระยอง: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง, 2551. 104 หน้า.               เป็นหนังสือเกี่ยวกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญของภาคตะวันออก เพื่อจะเก็บข้อมูล และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมของภาคตะวันออก ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่สำคัญ เป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ข้อมูลแก่สถานศึกษา เครือข่ายทางวัฒนธรรมและผู้สนใจได้มีแหล่งศึกษาค้นคว้า เนื้อหาด้านในประกอบด้วย ความเชื่อและลักษณะความเชื่อของชาวภาคตะวันออก ประเภทของความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับวิถีชีวิต ฯลฯ                  ท           390.09593              ฉ449ค           (ห้องจันทบุรี)


เฉลียว ราชบุรี.  ภาพอดีตร้อยเรื่องเมืองระยอง.  ระยอง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง, 2554. 90 หน้า. ภาพประกอบ.               เป็นหนังสือที่รวมรวม ภาพ และเรื่องราวในอดีต ของจังหวัดระยองที่น่าศึกษาและอนุรักษ์เรื่องราวดีๆ เหล่านี้เอาไว้ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลัง ได้ชื่นชมและรำลึกถึง ไม่ว่าจะเป็นด้าน  ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงาม  รวมทั้งพื้นฐานความทรงจำ ของบรรพบุรุษของคนระยอง ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคนระยอง เพื่อบันทึกความทรงจำของบรรพบุรุษ ในอดีตไม่ให้สูญหาย                  ท            959.325              ฉ449ร          (ห้องจันทบุรี)


เฉลียว ราชบุรี. ตามรอยสุนทรภู่ จากวังหลังถึงวัดป่ากร่ำ (นิราศเมืองแกลง). ระยอง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง, ๒๕๕๘. ๒๙๘ หน้า.               หนังสือเรื่องตามรอยสุนทรภู่ฯ เล่มนี้ กล่าวถึง เส้นทางที่สุนทรภู่กล่าวไว้ในนิราศเมืองแกลง จำนวน ๖๖ สถานที่ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเดินทาง คือ กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ,ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดระยอง มีจำนวน ๒๘ หมุด ผู้เขียนได้รวมรวมข้อมูลเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคตอนต้นของรัตนโกสินทร์ เพื่อประโยชน์ของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป                  ท           ๘๙๕.๙๑๑๒              ฉ๔๔๙ต           (ห้องจันทบุรี)  


จิรพันธุ์ สัมภาวะผล. บ้านเพที่ไม่ทันได้เห็น. ระยอง: เทศบาลตำบลบ้านเพ, [25๖๕]. ๗๐ หน้า.               บ้านเพ ถือเป็นพื้นที่เมืองท่าแห่งการสัญจร และการค้าขายทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน อีกทั้งยังเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์มากมาย อาทิเช่น เรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นับแต่กรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นที่ตั้งของหมุดกวีที่ ๑๗ ของท่านสุนทรภู่ กวีเอกของโลก เนื้อหาด้านในประกอบด้วย บ้านเพ เกาะเสม็ดในตราประจำจังหวัดระยอง เพ มาจากไหน บ้านเพ เกาะเสม็ดในแผนที่โลก บ้านเพในอดีต วิถีชีวิตชาวบ้านเพ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และบุคคลสำคัญกับบ้านเพ เกาะเสม็ด กองพลโรงเรียนทหารเรือที่ ๖ สนามบินประจำจังหวัดจันทบุรี ถนนหนทาง แรกมีรถโดยสาร บ้านเพ บ้านเพเมืองท่า วัดเภตราสุขารมย์ วัดบ้านเพ ฯลฯ                  ท             ๘๕๙.๓๒๕              จ๔๙๖บ           (ห้องจันทบุรี)


พระครูธรรมสรคุณ (เขียน ขนฺธสโร).  จันทบุรี มีดีอะไร?.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยรายวัน, 2544. 35 หน้า. ภาพประกอบ. 35 บาท.               หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อนำเสนอการรักท้องถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของคนชาวจันทบุรี จังหวัดจันทบุรีถ้าเปรียบเป็นคนแล้วก็คือผู้อาวุโส มีรูปร่างอาหารครบ 32 มี ศรีษะ มีหน้า มีตา มีแขน มีขา ฯลฯ ศรีษะของเมืองจันทบุรี คือ รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ หน้าตาของเมืองจันท์ คือ ผลไม้ แขนซ้าย แขนขวา ของเมืองจันท์ คือน้ำตกพลิ้ว น้ำตกกระทิง ขอของเมืองจันท์คือ หาดทรายชายทะเล หัวใจของเมืองจันท์ คือ พระบรมราชา-     นุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ข้อเสนอแนะต่างๆ ก็ล้วนมาจากเจตนาที่ดีต่อแผ่นดินบ้านเกิดของผู้เขียนเท่านั้น         ท         915.9326            พ322จ         (ห้องจันทบุรี)


Messenger