ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,616 รายการ

เฉลียว ราชบุรี. ตามรอยสุนทรภู่ จากวังหลังถึงวัดป่ากร่ำ (นิราศเมืองแกลง). ระยอง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง, ๒๕๕๘. ๒๙๘ หน้า.               หนังสือเรื่องตามรอยสุนทรภู่ฯ เล่มนี้ กล่าวถึง เส้นทางที่สุนทรภู่กล่าวไว้ในนิราศเมืองแกลง จำนวน ๖๖ สถานที่ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเดินทาง คือ กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ,ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดระยอง มีจำนวน ๒๘ หมุด ผู้เขียนได้รวมรวมข้อมูลเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคตอนต้นของรัตนโกสินทร์ เพื่อประโยชน์ของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป                  ท           ๘๙๕.๙๑๑๒              ฉ๔๔๙ต           (ห้องจันทบุรี)  


จิรพันธุ์ สัมภาวะผล. บ้านเพที่ไม่ทันได้เห็น. ระยอง: เทศบาลตำบลบ้านเพ, [25๖๕]. ๗๐ หน้า.               บ้านเพ ถือเป็นพื้นที่เมืองท่าแห่งการสัญจร และการค้าขายทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน อีกทั้งยังเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์มากมาย อาทิเช่น เรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นับแต่กรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นที่ตั้งของหมุดกวีที่ ๑๗ ของท่านสุนทรภู่ กวีเอกของโลก เนื้อหาด้านในประกอบด้วย บ้านเพ เกาะเสม็ดในตราประจำจังหวัดระยอง เพ มาจากไหน บ้านเพ เกาะเสม็ดในแผนที่โลก บ้านเพในอดีต วิถีชีวิตชาวบ้านเพ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และบุคคลสำคัญกับบ้านเพ เกาะเสม็ด กองพลโรงเรียนทหารเรือที่ ๖ สนามบินประจำจังหวัดจันทบุรี ถนนหนทาง แรกมีรถโดยสาร บ้านเพ บ้านเพเมืองท่า วัดเภตราสุขารมย์ วัดบ้านเพ ฯลฯ                  ท             ๘๕๙.๓๒๕              จ๔๙๖บ           (ห้องจันทบุรี)


พระครูธรรมสรคุณ (เขียน ขนฺธสโร).  จันทบุรี มีดีอะไร?.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยรายวัน, 2544. 35 หน้า. ภาพประกอบ. 35 บาท.               หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อนำเสนอการรักท้องถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของคนชาวจันทบุรี จังหวัดจันทบุรีถ้าเปรียบเป็นคนแล้วก็คือผู้อาวุโส มีรูปร่างอาหารครบ 32 มี ศรีษะ มีหน้า มีตา มีแขน มีขา ฯลฯ ศรีษะของเมืองจันทบุรี คือ รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ หน้าตาของเมืองจันท์ คือ ผลไม้ แขนซ้าย แขนขวา ของเมืองจันท์ คือน้ำตกพลิ้ว น้ำตกกระทิง ขอของเมืองจันท์คือ หาดทรายชายทะเล หัวใจของเมืองจันท์ คือ พระบรมราชา-     นุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ข้อเสนอแนะต่างๆ ก็ล้วนมาจากเจตนาที่ดีต่อแผ่นดินบ้านเกิดของผู้เขียนเท่านั้น         ท         915.9326            พ322จ         (ห้องจันทบุรี)


สมโภชน์ วาสุกรี.  ตำนานโบราณพื้นบ้าน เรื่อง ตาม่องล่าย.  ตราด: สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตราด, 2559. 138 หน้า. ภาพประกอบ.               หนังสือตำนานโบราณพื้นบ้าน เรื่อง ตาม่องล่าย โดยเนื้อหาดูเสมือนเป็นตำนานโบราณจริงๆ แต่ผู้เขียนได้นำข้อมูลของจังหวัดตราดมาบรรจุไว้เพื่อความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกาะแก่งต่างๆของจังหวัดตราดที่สมารถขยายความเข้าใจเรื่องคำขวัญของจังหวัดตราดที่ว่า เมืองเกาะครึ่งร้อย... ได้อย่างสมบูรณ์ ตาม่องล่าย นี้มีพื้นที่เชื่อมโยงไปหลายจังหวัด บางจังหวัดยังรักษาเนื้อเรื่องไว้ แต่บางจังหวัดได้ดัดแปลงไป การจัดทำหนังสือเล่มนี้ เพื่อสอดคล้องกับกาลสมัยที่เรียกว่า ไร้พรมแดน จึงได้ริเริ่มแปลเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาจีน อีกทั้งเก็บความงดงามทางภาษาไทยเชิงร้อยกรองไว้         ท           895.911            ส278ต         (ห้องจันทบุรี)


บุรุษประชาภิรมย์ (กี้ บุณยัษฐิติ), หลวง.  นิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ.    ธนบุรี: โรงพิมพ์บรรหาร, 2505. 43 หน้า.               หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อแจกเป็นที่ระลึก เนื่องในงานทอดผ้าป่าเจ็ดวัด    ที่จังหวัดจันทบุรี วันที่ 14 พฤษภาคม 2505 เป็นนิราศ ซึ่งเป็นสำนวนของคนจันทบุรี ในสมัยเมื่อร้อยปีมาแล้ว โดยผู้จัดพิมพ์ ได้แก้ไขตัวสะกดให้ถูกต้องตามพจนานุกรม เพื่อให้อ่านง่าย และเพื่อแสดงให้เห็นว่า ถ้อยคำโบราณ ปัจจุบันนี้ก็ยังใช้ได้เป็นส่วนมาก         ท         895.911326            บ649น         (ห้องจันทบุรี)


                สนองชาติ เศรษฐศิโรตม์.  ผะหมี.   กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2562. 80 หน้า. ภาพประกอบ.  หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกเรื่องราวของ “ผะหมี” เพื่อเป็นหลักฐานให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่าผะหมีคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร หลายสถานที่ที่มีการเล่นผะหมีอย่างแพร่หลาย เช่นที่ ตำบลคลองด่าน ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางย่อ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบัน “นายโรงผะหมี” เสียชีวิตไปหลายคน ปัจจุบันเหลือ มีอยู่ที่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เพราะนำผะหมีไปเล่นในโรงเรียน โดยเชื่อว่านักเรียนจะช่วยอนุรักษ์การเล่นผะหมีไว้ได้         ท           796.73            ส196ผ             ฉ.02         (ห้องจันทบุรี)


                รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา.  สื่อการแสดงพื้นบ้านจันทบุรี : คุณลักษณะและรูปแบบการปรับตัวภายในบริบทประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน.  กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น, 2561. 331 หน้า. ภาพประกอบ.               การรักษาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ในพื้นที่ของสังคมยุคโลกาภิวัตน์ เป็นเจตนารมณ์ของหนังสือเล่มนี้ ที่ผู้เขียนได้สื่อสะท้อนสู่สาธารณชนอย่างมีเสน่ห์ สาระวิชาการ และสร้างสรรค์เพื่อเป็นแนวทางการมีจิตสำนึกร่วมต่อการสืบสานจารีตนิยมท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี เนื้อหาประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับสื่อพื้นบ้าน วัฒนธรรม การปรับตัวทางวัฒนธรรม ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และสังคมวัฒนธรรมอาเซียน บริบทสื่อการแสดงพื้นบ้านจันทบุรี บริบทสื่อการแสดงพื้นบ้านชอง บริบทสื่อการแสดงพื้นบ้านละครเท่งตุ๊ก บริบทการแสดงพื้นบ้านรำสวด การพัฒนารูปแบบการแสดงพื้นบ้านจันทบุรี ภายใต้ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนนั้น สามารถสังเคราะห์เป็นรูปแบบแนวทางการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านในบริบทอาเซียนได้ ตลอดจนการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์กับการก้าวไปข้างหน้าในระบบโลกาภิวัฒน์ต่อไป         ท         793.319326            ร319ส         (ห้องจันทบุรี)


โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี กลุ่มงานแพทย์แผนไทย. คู่มือการใช้ยาสมุนไพร ในบัญชีหลักแห่งชาติ 71 ตำรับ ระบุสีตามรสยาสมุนไพร แต่ละชนิด. จันทบุรี: โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี, [2555]. 84 หน้า. ภาพประกอบ               คู่มือการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 71 ตำรับ ระบุรสยาสมุนไพร แต่ละชนิด จัดเรียบเรียงและพิมพ์เพื่อให้ผู้ใช้ยาสมุนไพรในบัญชีหลักแห่งชาติ และเป็นคู่มือในการใช้ยารักษาผู้ป่วย โดยพิมพ์ชื่อยาเป็นสีที่มีรสยาหลัก 9 รส ที่ใช้ในตำรับยานั้นๆ รสยาอื่นๆ ที่เป็นระดับรอง เพื่อให้ผู้ใช้สมุนไพรในบัญชีหลักแห่งชาติ 71 ตำรับ เข้าใจง่ายไม่สับสน เนื้อหาด้านในประกอบด้วย ยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต  ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ยาแก้ไข้ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ยาบำรุงโลหิต ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ ฯลฯ                  ท             615.321              พ343ค           (ห้องจันทบุรี)


โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. คู่มือส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรคโดยใช้หลัก 8 อ. ของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเครือข่าย 8 จังหวัดภาคตะวันออก. จันทบุรี: โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี, 2556. 60 หน้า. ภาพประกอบ                 คู่มือการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรค โดยใช้หลัก 8 อ. ของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สำหรับเครือข่าย 8 จังหวัดภาคตะวันออก จัดพิมพ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขทุกระดับบริการ ได้ใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรคอย่างง่าย คู่มือการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  ปี 2555 ได้นำมาปรับปรุง เพิ่มเติม โดยมีจังหวัดจันทบุรีเป็นแม่ข่าย ใช้ในการอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ เนื้อหาด้านในประกอบด้วย ธาตุสมุฏฐาน พฤติกรรมมูลเหตุก่อโรค อ.ที่ 1 : อิริยาบถ การเตรียมตัวก่อนที่จะฝึกกายบริหารแบบไทย อ.ที่ 2 : อาหาร  อ.ที่ 3 : อากาศ อ.ที่ 4 : อโรคยา อ.ที่ 5 : อาจิณ อ.ที่ 6 : อุเบกขา อ.ที่ 7 : อุดมปัญญา อ.ที่ 8. อาชีพ                    ท              615.88              พ343ค                ฉ.01             (ห้องจันทบุรี)  


พืชสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2555. 343 หน้า. ภาพประกอบ.            กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยสถาบันวิจัยสมุนไพร มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการศึกษาวิจัยสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ โดยดำเนินการภายในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันความหลากหลายของพืชสมุนไพรที่อนุรักษ์ไว้มีจำนวนมากกว่า 600 ชนิด ส่วนหนังสือพืชสมุนไพร ณ สวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยข้อมูลสมุนไพร รวม 60 ชนิด ตัวอย่างเช่น กะเจียน กระตังใบ กระทกรก กระเบา กระวาน คงคาเดือด จันทน์เทศ เถาวัลย์เหล็ก เทียนดำหลวง ปลาไหลเอก เท้ายายม่อม รงทอง ว่านเพชรหึง ส้มป่อย อัคคีทวาร ฯลฯ                   ท             581.634              พ815           (ห้องจันทบุรี)  


สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. อาหารพื้นถิ่นจันทบูร. จันทบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี, [2564]. 61 หน้า. ภาพประกอบ                จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติทั้งพื้นที่ป่า ทะเล และพื้นราบ และด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจึงเกิดเมนูอาหารหลากหลายประเภท และหลากหลายรสชาติ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอาหารพื้นถิ่นจันทบูร เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับอาหารพื้นถิ่นจันทบูรให้ผู้สนใจได้ทราบ สำนักงานวัฒนธรรมจึงได้จัดพิมพ์หนังสือ “อาหารพื้นถิ่นจันทบูร” ขึ้น เนื้อหาภายใน มีทั้งรายการอาหารคาว อาหารหวาน ทั้งเครื่องปรุงและวิธีทำไว้อย่างครบถ้วน                   ท              641.5              ว394อ           (ห้องจันทบุรี)


บันทึกของแผ่นดิน 9 สมุนไพร ในสภาวะโรคร้อน. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์, 2562. 171 หน้า. ภาพประกอบ             บันทึกของแผ่นดิน 9 สมุนไพร ในสภาวะโลกร้อน เป็นหนังสือเล่มล่าสุดในชุด “บันทึกของแผ่นดิน” ที่พิมพ์ต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีที่ 9 แล้วโดยใช้ข้อมูลบันทึกของผู้เขียนในระหว่างเข้าไปตามหาความรู้สมุนไพรกับหมอพื้นบ้านและการใช้จริงในชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ หยิบเอาประเด็นวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ส่งผลเกิดภัยพิบัติต่างๆ ที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง คลื่นความร้อน อากาศหนาวจัด ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างใหญ่หลวง โรคหลายชนิดจะหวนกลับมาอีก เช่น อหิวาตกโรค ไข้เลือดออก และโรคผิวหนัง เป็นต้น                  ท              615.321                บ268             (ห้องจันทบุรี)  


สัมมา รธนิธย์. พระมหากรุณาธิคุณเพริศแพร้ว ณ สวนบ้านแก้ว จันทบุรี. จันทบุรี: สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน, 2564.  120 หน้า. ภาพประกอบ  สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จประทับอยู่ ณ สวนบ้านแก้วจังหวัดจันทบุรี ระหว่างพุทธศักราช 2493 -2511 นับเป็นระยะเวลายาวนาน 18 ปี ภายหลังจากเสด็จนิวัตจากประเทศอังกฤษ ตลอดเวลาที่พระองค์ประทับ ณ สวนบ้านแก้ว จังหวัดจันบทบุรี ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ อันยังประโยชน์แก่พสกนิกรเป็นแบบอย่างที่ดีงาม ประทับใจแก่ข้าราชบริพารและชาวจันทบุรี ทั้งปวง แม้พระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้วก็ตาม แต่พระกรณียกิจและพระราชจริยวัตร ที่ทรงริเริ่มเป็นแบบอย่างในสวนบ้านแก้ว ยังคงได้รับการสืบสานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวจันทบุรีตราบจนทุกวันนี้ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเรื่องราวของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวจันทบุรี ในช่วงระยะเวลาที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาประทับอยู่ในจังหวัดจันทบุรี โดยแบ่งออกเป็น 9 บทย่อย ประกอบด้วย สมเด็จพระบรมราชินีศรีสยามยามเสด็จฯประทับจันทบุรี  พื้นที่สวนบ้านแก้วเพริศแพร้วค่า พัฒนาเกษตรกรรมฟาร์มตัวอย่าง สร้างศิลปาชีพหัตถกรรมชาวบ้าน อาหารชาววังเผยแพร่สู่หมู่ประชาสาธารณสุข การแพทย์ พยาบาล พระราชทานการศึกษาเพื่อประชาชน และพระกรุณาธิคุณล้นเกล้าฯชาวจันทบุรี                    ท              923.1593                ส615พ                  ฉ.01             (ห้องจันทบุรี)  


สามเมือง แก้วแหวน. ไม้ขีดไฟก้านแรก. กรุงเทพฯ: บีสแควร์ พริ้นท์ แอนด์ดีไซน์, 2564. 43 หน้า. ภาพประกอบ  จังหวัดจันทบุรี หรือที่ชาวบ้านภาคตะวันออกรู้จักกันโดยทั่วไปว่า “จันตบูน” หรือ “จันทบูร” เมืองผลไม้ที่มีชื่อเสียง เนื่องจากฝนตกมาก เป็นอันดับสองของประเทศไทย เป็นรองก็เพียงจังหวัดระนองเท่านั้น ทำให้เมืองจันท์มีดินอุดมสมบูรณ์ เป็นที่มาของคำว่า “เมืองผลไม้และเสื่อจันทบูร” หนังสือเล่มกล่าวถึงพลอยจันท์ จุดเริ่มของ เมืองอัญมณีของโลก จุดเริ่มต้นกำเนิดพลอย สถานที่ค้นพบพลอย ตลาดค้าพลอย การเผาพลอย การเจียระไน การค้าขาย ทำให้เมืองไทยกลายเป็นต้นน้ำที่สำคัญ เป็นแหล่งผลิตอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อส่งออกที่ทัดเทียม กับนานาประเทศ เกิดการจ้างงานนับแสนนับล้านตำแหน่ง นำเงินตราเข้าประเทศมากมาย ทำให้ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับมียอดส่งออก ติด 1 ใน 10 อันดับของประเทศไทย                    ท                923.8                ส647ม             (ห้องจันทบุรี)  


ศุภวัฒน์ เอมโอช. สถาปัตยกรรมในเมืองจันทบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2540. 93 หน้า. ภาพประกอบ  จังหวัดจันทบุรี หรือคำสามัญเรียกว่าจันทบูร วีรบุรุษไทย กอบกู้อิสรภาพขึ้นได้เพราะเมืองๆ นี้เป็นเมืองโบราณ มีฐานเมืองเก่าอยู่ 3 แห่ง แห่งแรกอยู่ในตำบลคลองนารายณ์ ชาวบ้านเรียกเมืองเพนียดบ้าง เมืองกาไวบ้าง เมืองที่ 2 อยู่ในตำบลพุงทะลาย เขตอำเภอเมืองจันทบุรี อีกเมืองหนึ่ง เรียกเมืองใหม่ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.2377 อยู่ในตำบลบางกะจะ ในหนังสือ กล่าวถึงสถาปัตยกรรมในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ สถาปัตยกรรมที่วัดทองทั่ว สถาปัตยกรรมที่วัดพลับ สถาปัตยกรรมค่ายเนินวง สถาปัตยกรรมที่วัดกลาง สถาปัตยกรรมที่วัดโบสถ์เมือง และสถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิก รวมถึง ตึกแดง คุกขี้ไก่ ศาลากลางจังหวัดจันทบุรีหลังเก่า (ปัจจุบันเป็นที่ทำการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี)                     ท              720.9593                ศ723ส             (ห้องจันทบุรี)  


Messenger