ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,301 รายการ

ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  307/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)  ชบ.บ.96/1-10  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.311/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 126  (306-312) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



พระนอนเมืองเสมา อายุเท่าไหร่ ?    กำลังเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง Facebook เเละ Twitter หลังจากที่มี Facebook fanpage หนึ่ง นำเสนอว่า พระนอนเมืองเสมา มีอายุถึง 3,000 ปี ซึ่งในเวลาต่อมา Facebook fanpage ดังกล่าว ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว เเต่หลายวันมานี้ พระนอนเมืองเสมา ยังคงเป็นกระเเสและถูกพูดถึงอยู่เรื่อย ๆ จึงเป็นโอกาสดีที่จะพาทุกท่านไปรู้จัก พระนอนเมืองเสมา ว่าแท้จริงแล้ว อายุ 3,000 ปี หรือ 1,300 ปี กันเเน่ค่ะ    สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า พระนอนเมืองเสมา ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ นอกเมืองโบราณเสมา สร้างขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 และจากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรม เเละวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการขุดค้น จึงสันนิษฐานว่า พระนอนองค์นี้ ถูกสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 หรือประมาณ 1,300 ปีมาเเล้ว จึงนับได้ว่า พระนอน หรือพระพุทธรูปปางไสยาสน์ เมืองเสมา เป็นพระนอนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย นั้นเองค่ะ   จากการดำเนินงานโบราณคดีใน ปี พ.ศ.2533-2534 โดยหน่วยศิลปากรที่ 6 นครราชสีมา (ขณะนั้น) ทำให้ได้หลักฐานสำคัญหลายประการเกี่ยวกับองค์พระนอน ดังนี้   1 พบหลักฐานส่วนอาคารที่เป็นโครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยอิฐ ขนาดกว้าง 6.50 เมตร ยาว 26 เมตร เพื่อประดิษฐานพระนอน ได้พบหลักฐานโบราณวัตถุประเภทต่าง ๆ ประกอบไปด้วย เศษภาชนะดินเผาแบบทวารวดี เศษภาชนะดินเผาแบบเขมร พระพุทธรูปสำริด ประติมากรรมสำริดรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร โบราณวัตถุประเภทหิน ได้แก่ ธรรมจักรและกวางหมอบ   2 บริเวณองค์พระนอน พบหลักฐานว่า องค์พระนอน (พระพุทธรูปไสยาสน์) ประกอบด้วยหินทรายสีแดงอยู่ในลักษณะเดิมเกือบทุกส่วน ยกเว้นส่วนพระเศียรและส่วนพระบาท ซึ่งถูกขุดหาโบราณวัตถุกันมาก ทำให้ชั้นดินบริเวณดังกล่าวสับสนและมีเศษอิฐปนอยู่ในชั้นดินมาก รวมทั้งมีหินทรายที่แตกออกมาจากชิ้นส่วนขนาดใหญ่ เป็นต้นว่า ส่วนพระศอ ส่วนพระพาหาและส่วนของพระกรที่รองรับพระเศียรมากองอยู่ด้านหน้าพระพักตร์และมีชิ้นส่วนของพระเศียรอีกหลายชิ้นปนอยู่ในชั้นดินด้วย นอกจากนี้ได้พบส่วนพระบาทอีกชิ้นหนึ่งในชั้นดิน วางนอนต่อกับส่วนชายจีวร ซึ่งสลักด้วยหินทรายเป็นแผ่นตั้งขึ้นด้านหน้าสลักตามรูปแบบการครองผ้า ส่วนด้านในสลักเป็นร่องสองร่อง เป็นเดือยสำหรับสวมพระบาทเข้าไป ส่วนด้านหลังขององค์พระนอนนั้นบางช่วงได้ก่อสร้างง่าย ๆ โดยใช้หินเป็นแกนแล้วก่ออิฐปิดเป็นแผ่นหลัง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนตรงส่วนพระอังศาล่าง ยังคงมีแนวอิฐก่อโค้งรับกับพระศออยู่ พร้อมกับใช้ปูนขาวฉาบผิวอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบที่ส่วนพระโสนีอีกด้วย รูปแบบของพระนอนหรือพระพุทะไสยาสน์นี้ ได้รับอิทธิพลของศิลปแบบทวารวดี ที่มีอิทธิพลของศิลปะแบบพื้นเมือง คงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ใกล้เคียงกับชุมชนสมัยทวารวดีภายในเมืองโบราณเสมานั้นเอง    เมื่อทุกท่านชมพระนอนเมืองเสมา ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดธรรมจักรเสมาราม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และวัดธรรมจักรเสมาราม โดยจัดเเสดงโบราณวัตถุ ตลอดจนบอกเล่าพัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองโบราณเสมา ให้ทุกท่านได้ชมพร้อมกับการเรียนรู้กันอีกด้วย และก่อนเดินทางกลับก็ขอเชิญชวนให้ทุกท่านเเวะชมเมืองโบราณเสมา ซึ่งมีโบราณสถานภายในเมืองกว่า 9 แห่ง เพื่อให้การเดินทางมาในครั้งนี้ จะได้รู้จักโบราณสถาน โบราณวัตถุ เเละซึมซับความรู้ เกี่ยวกับเมืองโบราณเสมา เเละพระนอนเมืองเสมาให้มากยิ่งขึ้น ค่ะ   สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล และการเดินทางเข้าสู่แหล่ง ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 044-471-518 หรือ DM มาที่ Facebook fanpage สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้เลยค่ะ   อ้างอิงข้อมูล ทนงศักดิ์ หาญวงษ์. (2534). "พระนอน วัดธรรมจักรเสมาราม" ศิลปากร 34, 6: 60-70 หน่วยศิลปากรที่ 6. (2534). รายงานการบูรณะพระนอนวัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. เอกสารอัดสำเนา. นครราชสีมา: หน่วยศิลปากรที่ 6 กองโบราณคดี.   เรียบเรียงนำเสนอโดย  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา   ดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลพระนอนเมืองเสมา เเละเมืองโบราณเสมา โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ได้ที่ https://www.finearts.go.th/phimaimuseum/categorie/service  


สรงน้ำพระ ทำบุญ ใส่บาตร เสริมสิริมงคลในช่วง "สงกรานต์ ๒๕๖๕ วันปีใหม่ไทย”         หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ขอเชิญชวนชาวโคราชมากราบนมัสการและสรงน้ำ “พระชัยเมืองนครราชสีมา” เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ไทย ๒๕๖๕ ซึ่งองค์จำลองประดิษฐานอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมานะคะ         พระชัยเมืองนครราชสีมา เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ลักษณะประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเตี้ย มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี ปรากฏอยู่ตามองค์พระหลายแห่งถ้าอยากทราบว่าอักษรต่าง ๆ บนองค์พระนั้นมีความหมายอย่างไร ขอเชิญอ่านได้ในบทความนี้ ขอขอบคุณบทความ พระพุทธรูป สัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย พระชัยเมืองนครราชสีมา จารึกอักษร ขอม ภาษา บาลี โดย นายเทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิ เชี่ยวชาญด้านภาษาตะวันออก / อ่านถ่ายถอด นายบุญเลิศ เสนานนท์ นักภาษาโบราณ ข้าราชการบำนาญ กรมศิลปากร / ผู้เขียนบทความ ขอขอบคุณภาพ National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร Museum Thailand   จัดทำโดย พัชมณ ศรีสัตย์รสนา บรรณารักษ์ชำนาญการ


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “คู่แก้วจอมขวัญแผ่นดินไทย” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา จัดแสดงให้ประชาชนได้ชมระหว่างวันที่ ๑ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕            นิทรรศการนี้บอกเล่าเรื่องราวพระราชปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่ทรงมีจิตปฏิพัทธ์เมื่อทรงพบกันครั้งแรกในวัยเยาว์ กระทั่งโปรดฯ ให้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส และทรงกลายเป็น "คู่แก้วจอมขวัญ" ของคนไทยทั้งแผ่นดิน          ขอเชิญผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ เรื่อง “คู่แก้วจอมขวัญแผ่นดินไทย" ได้ในระหว่างวันที่ ๑ - ๓๑ สิงหาคม เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. เปิดทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์และวันอังคาร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. ๐ ๕๕๖๔ ๑๕๗๑ หรือทาง Facebook Fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก : Sawanvoranayok National Museum


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ประจำปี ๒๕๖๕ กำหนดจัดกิจกรรมครั้งที่ ๕ เรื่อง “ภาษากาย ภาษาใจ ภาษาไทย” ให้แก่นักเรียนจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน ๘๐ คน ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ            การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ากิจกรรมได้รับความรู้ด้านการใช้ภาษาไทย การอ่านออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักวิชาภาษาไทย  เรียนรู้เทคนิคการเล่านิทานโดยใช้ภาษา น้ำเสียงที่ถูกต้อง และใช้ท่าทางเพื่อประกอบการเล่านิทาน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอน เป็นการส่งเสริมให้เด็กกล้าคิดและกล้าแสดงออกต่อไป  โดยได้เชิญ นายเรืองศักดิ์  ปิ่นประทีป (ตุ๊บปอง) นักเขียนหนังสือสำหรับเด็ก และนักเล่านิทานที่มีชื่อเสียงมาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ พร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมอบรม           สำหรับท่านที่สนใจร่วมฟังการบรรยายเรื่อง “ภาษากาย ภาษาใจ ภาษาไทย” สามารถติดตามชมการถ่ายทอดสด ผ่าน Facebook Live : National Library of Thailand ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.




แนะนำหนังสือน่าอ่านเรื่อง อุดม อุดมผล ราชาแห่งพิมพ์ดีดไทย อุดม อุดมผล ราชาแห่งพิมพ์ดีดไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 2533. 138 หน้า ภาพประกอบ เป็นเรื่องราวประวัติของนายอุดม อุดมผล ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นผู้บุกเบิกวงการพิมพ์ดีดของไทย เป็นบุคคลแรกๆที่ตั้งโรงเรียนพิมพ์ดีดอุดมวิทยา ให้บริการซ่อมและจำหน่ายเครื่องพิมพ์ดีดด้วย เนื้อหาด้านในประกอบด้วยประวัติของนายอุดม อุดมผล การกำเนิดพิมพ์ดีดโลก กำเนิดพิมพ์ดีดไทย บิดาแห่งพิมพ์ดีดไทย โรงเรียนพิมพ์ดีดเคลื่อนที่ เกิดโอลิมเปียไทย “ปัตตะโชติ” ของดีที่ถูกลืม นักประดิษฐ์โลก ราชาแห่งพิมพ์ดีดไทย ฯลฯ ท 923.8593 อ786 (ห้องจันทบุรี)


ชื่อเรื่อง                               อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์) สพ.บ.                                  อย.บ.2/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           55 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ฝังท่อ ทำคันดิน -- ก่อนจัดตั้งจังหวัดพะเยา 1 ปี เจ้าหน้าที่งานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้าง กองประมงน้ำจืด กรมประมง สำรวจและออกแบบแนวฝังท่อระบายน้ำกับทำคันดินรอบหนองหลวง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ทำไปทำไม ??? หนองหลวง คือหนองน้ำขนาดใหญ่ เฉกเช่นกว๊านพะเยา อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย (ณ ขณะนั้น) เป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์ อนุรักษ์สัตว์น้ำจืด และประกอบอาชีพประมงอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่งานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้างฯ ทำการสำรวจและออกแบบแนวท่อระบายกับคันดิน เพื่อตอบสนองกิจกรรมข้างต้น รวมทั้งเสริมความแข็งแรงให้กับหนองหลวงมีประสิทธิภาพในการรับ เก็บกักน้ำ ในฤดูแล้ง ต่อด้วยการระบายได้สะดวกในฤดูฝน เราปฏิเสธไม่ได้ที่ภาคเหนือของประเทศไทยมีทั้งพายุและแผ่นดินไหว ดังนั้น การดูแลหนองหลวงร่วมกับสร้างระบบนิเวศพื้นที่ " ชุ่มน้ำ " ระหว่างภูเขาเป็นสิ่งจำเป็น จากแบบแปลนคันดินตามแนวเขตหนองหลวง ของงานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้างดังที่นำเสนอนี้มีจำนวน 2 แผ่น มองเผินๆ คือแบบแปลนซ้ำสำเนา หากพิจารณารายละเอียดจะพบว่า เป็นแบบแปลนต่อเนื่องกัน สังเกตจากการวางลูกศรชี้ทิศเหนือด้านซ้ายไม่เหมือนกัน รวมถึงหลักหมุด บ - 35 ถึง บ - 61 แผ่นที่ 1 ต่อไปยังหลักหมุด บ 61 ถึง บ 80 แผ่นที่ 2 ด้วยมาตราส่วน 1 : 10,000 หมายความว่า แบบแปลนเป็นจิ๊กซอว์ (Jigsaw) 2 ประสาน  ประสานเข้ากันจึงเห็นหนองหลวง " กว้างมาก " กว้างแบบเดียวกับหล่ายกว๊านมาถึงหล่ายอิงฉะนั้น ต่างกันเพียงภูมิประเทศ ขอบเขตชุมชน และความหนาแน่นของพื้นที่ใช้สอยเชิงพาณิชย์ เจ้าหน้าที่งานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้างฯ เขียนแบบแปลนแนวตัดด้านข้างของหนองหลวง (Side View) สำหรับเตรียมแนวฝังท่อระบายน้ำแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00 เมตร พร้อมคันดินที่จะยกขึ้นใหม่ให้ได้ระดับ +99.500 เมตร ซึ่งงานทั้งสองเมื่อ 46 ปีก่อนของภูมิภาคประเทศไทยคงใช้ระยะเวลาก่อสร้างพอสมควร อย่างไรก็ดี แบบแปลนข้างต้นนี้ คือจุดนับหนึ่งของโครงการในปี 2520 ถัดมา เพราะกรมประมงเตรียมต่อยอดดูแลแหล่งน้ำโดยจัดตั้ง " สถานีประมงย่อยหนองหลวง จังหวัดเชียงราย " โดยเจ้าหน้าที่รังวัดกะเกณฑ์พื้นที่ไว้เรียบร้อย แผนที่ก็ " Print " แล้วเช่นกัน แต่จะเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป.ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา) เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/1 แบบแปลนคันดินตามแนวเขตหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย [ 21 ก.ค. 2519 ]  #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           54/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


 ปาฎิโมกฺข (พฺรปาฎิโมกฺข) ชบ.บ 119/1ฅ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)