ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,406 รายการ

ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  130/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข    ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.70/ข/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 45 (29-34) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฎฐกถา (ชนก-สุวณฺณสาม) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.101/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 3.5 x 50 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 60 (170-178) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.131/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 5.5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 77 (302-308) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : พิมฺพาเถรีวตฺถุ (พิมฺพาเถรี)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.6/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


พ.ศ. ๒๓๘๕ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดการฝังหลักชัยเมืองสงขลา   พระราชทานไม้ชัยพฤกษ์หลักชัยต้นหนึ่งกับเทียนชัยเล่มหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องไทยทานต่าง ๆ และโปรดเกล้าฯ ให้พระอุดมปิฏก ออกไปเป็นประธานด้านพุทธพิธี พร้อมด้วยฐานานุกรมเปรียญ ๘ รูป และโปรดเกล้าฯ ให้พระครูอัษฎาจารย์พราหมณ์ออกไปเป็นประธานฝ่ายพิธีพราหมณ์ ๘ นาย งานฝังหลักชัยเริ่มด้วยพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) เจ้าเมืองสงขลา ได้เกณฑ์กรมการและไพร่ จัดการทำโรงพิธีใหญ่ขึ้นกลางเมืองสงขลา คือ หน้าศาลเจ้าหลักเมือง ถนนนางงาม อำเภอเมือง โดยตั้งโรงพิธี ๔ ทิศ ในวันพิธีได้จัดขบวนแห่หลักไม้ชัยพฤกษ์กับเทียนชัยเป็นขบวนใหญ่ มีทั้งพวกชาวจีนและ ชาวไทยเพื่อแห่ไปยังโรงพิธี   พระสงฆ์ราชา คณะฐานานุกรมเจริญพระปริตร พร้อมกับพระครูสวดตามไสยเวท   เมื่อได้เวลาอุดมฤกษ์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๐๔ เวลา ๗ นาฬิกา ๑๐ นาที ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๕ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กับพระครูอัษฏาจารย์ พราหมณ์ อัญเชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังที่ใจกลางเมืองสงขลา ซึ่งเรียกกันว่า “หลักเมือง” จนทุกวันนี้




องค์ความรู้ทางโบราณคดี เรื่อง : ลักษณะทางกายภาพ และข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ EP.1 เมืองโบราณเวียงลอ ตำบลลอ และตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดย : นายจตุรพร  เทียมทินกฤต          นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่  ------------------------------------------------------- อ้างอิง ประชากิจกรจักร,พระยา. พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ:คลังวิทยา,2516. วราวุธ ศรีโสภาค. (2538) ชุมชนโบราณที่มีคู-คันดินล้อมรอบในลุ่มน้ำแม่อิง : การศึกษาเชิงภูมิศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานและความสัมพันธ์ในระบบโครงสร้างสังคมเมือง . มหาวิทยาลัยศิลปากร/กรุงเทพฯ. ศิลปากร,กรม. รายงานการขุดค้น เมือง กำแพงเมือง  เวียงลอ (หลุมขุดค้นที่ 1-8). สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน.(เอกสารอัดสำเนา) สุจิตต์  วงษ์เทศ บรรณาธิการ.ประชุมจารึกเมืองพะเยา.กรุงเทพฯ:มติชน,2538. “--------------------------------“.  ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม เมืองพะเยา. กรุงเทพฯ:มติชน,2538.


ทับหลังปราสาทหนองหงส์ และปราสาทเขาโล้นกลับคืนสู่ประเทศไทยThe Return of the Lintels from Prasat Nong Hong and Prasat Khao Lon in Thailand------------------------------------------------------------------------------------------------------ระยะเวลา  : ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน จนถึง 30 กันยายน 2564สถานที่     : พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร                   เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร)เรื่องย่อ    :  ทับหลังของปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว ได้สูญหายไปจากที่ตั้ง ในช่วงพุทธศักราช                2509 - 2511 ซึ่งไม่ปรากฏรายงานหรือบันทึกเกี่ยวกับการสูญหาย ต่อมาทับหลังทั้งสองรายการได้ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลโบราณวัตถุ                ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา                                การติดตามทับหลังทั้ง 2 รายการเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการจากมติที่ประชุมคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศ                กลับคืนสู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 ให้จัดทำข้อมูลโบราณวัตถุ 2 รายการ คือ ทับหลังจากปราสาทเขาโล้น จังหวัด                สระแก้ว และทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เก็บรักษาอยู่ใน Asian Art Museum เมืองซานฟรานซิสโก ซึ่งมีหลักฐาน                ชัดเจนว่าเคยอยู่ในประเทศไทย เพื่อนำเสนอต่อสหรัฐอเมริกา ผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ                ด้านวิชาการเพื่อติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทยเป็นผู้จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมจากที่นักวิชาการอิสระและ                ประชาชนได้เคยนำเสนอไว้                                จนกระทั่งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 กรมศิลปากรดำเนินการส่งข้อมูล ผ่านกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ                ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส เป็นผู้ดำเนินการประสานกับหน่วยงาน                ในสหรัฐอเมริกา                                หน่วยงานในสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบในคดีนี้ คือ สำนักงานสืบสวนความมั่นคงมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา (HSI) โดยเจ้าหน้าที่                เดวิด เคลเลอร์ ได้ดำเนินการสีบสวนจากหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้ส่งไป และได้ลงพื้นที่สืบสวนเก็บข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย                พร้อมทั้งได้ประสานงานขอข้อมูลตัวอย่างใบอนุญาตการนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรก่อนและหลังทับหลังทั้งสองรายการ                จะสูญหายไป เพื่อเป็นหลักฐานว่า ทางการไทยมีกฎหมายและมาตรการที่เคร่งครัดในการนำโบราณวัตถุออกนอกประเทศ                                 รวมทั้งสำเนาจดหมายที่อธิบดีกรมศิลปากร นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้ส่งถึง Avery Brundage ผู้บริจาคทับหลังทั้ง 2 รายการนี้ให้กับ                พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย เพื่อทวงคืนโบราณวัตถุทับหลังจากปราสาทกู่สวนแตง เมื่อ พ.ศ. 2510 เพื่อเป็นหลักฐานว่า Avery Brundage                เคยมีประวัติในการรับซื้อโบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกจากประเทศไทยมาก่อนแล้ว ซึ่งเอกสารทั้งหมดนี้ เก็บรักษาอยู่ใน                หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร                                ต่อมา ทับหลังทั้ง 2 รายการ ได้ถูกนำขึ้นพิจารณาในชั้นศาล จนในที่สุดพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย (Asian Art Museum) ได้ยอมรับว่า                ทับหลังทั้งสองรายการเป็นกรรมสิทธิ์ของไทย และยินยอมให้สำนักงานสืบสวนความมั่นคงมาตุภูมิ (HSI) ยึดทับหลังทั้งสองรายการเพื่อ                ส่งคืนประเทศไทย โดยได้มีพิธีส่งมอบอย่างเป็นทางการ ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564                กรมศิลปากรจึงได้จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ทับหลังปราสาทหนองหงส์ และปราสาทเขาโล้น กลับคืนสู่ประเทศไทย”                ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยนิทรรศการนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของทับหลังทั้ง 2 รายการ                หลักฐานต่าง ๆ ที่ได้สืบค้น รวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานในการติดตาม เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงขั้นตอนและกระบวนการกว่าจะได้มา                ซึ่งโบราณวัตถุที่ต้องใช้ระยะเวลา ความพยายาม และความร่วมมือจากหลายฝ่าย อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกและหวงแหน                มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทย และร่วมกันปกป้องคุ้มครองดูแลรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันเป็นสมบัติของชาติให้สืบทอด                ไปยังคนรุ่นหลังต่อไป  



พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี ณ เมรุวัดมกกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๒


กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย” วิทยากรโดย นายจิตกร วงษ์มาตร์ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน, นายอภิศักดิ์ ทองอินทร์ ประติมากรปฏิบัติการ สำนักช่างสิบหมู่ และนางสาวปัทมา ก่อทอง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร