ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,406 รายการ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           54/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              26 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ปาฎิโมกฺข (พฺรปาฎิโมกฺข) ชบ.บ 119/1ขเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 160/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


       โบราณวัตถุที่พบจากกลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน  เมืองโบราณอู่ทอง         กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาคอก นอกคูเมืองโบราณอู่ทอง ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร พบโบราณสถานทั้งหมด ๒๐ กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยโบราณสถานที่สร้างเป็นคันดิน และโบราณสถานที่สร้างด้วยโครงสร้างอิฐ ศิลาแลง และหิน         กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างเป็นคันดินมีทั้งหมด ๔ แห่ง ลักษณะเป็นคันดินคล้ายอ่างเก็บน้ำ เดิมเชื่อว่าเป็นคอกขังช้างหรือเพนียดคล้องช้าง แต่ปัจจุบันพบหลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พบว่าสร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลมาจากเขาคอกทางทิศเหนือ         โบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาคอก ปัจจุบันปรากฏเป็นเนินดิน แบ่งเป็นกลุ่มได้ ๑๖ กลุ่ม ส่วนมากยังไม่ได้ขุดศึกษา โบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างด้วยอิฐ        ศิลาแลง และอิฐ ซึ่งผ่านการดำเนินงานทางโบราณคดีมาแล้วและพบหลักฐานที่สำคัญ มีดังนี้        • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๕ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ เอกมุขลึงค์         • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ขันสำริด เชิงเทียนสำริด ตุ้มเหล็ก และแท่งเหล็ก เป็นต้น         • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๗ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ภาชนะดินเผาบรรจุแท่งเงินตัด เหรียญเงินมีจารึก "ศรีทวารดี ศวรปุณยะ" เหรียญเงินมีสัญลักษณ์มงคล (รูปหอยสังข์ รูปศรีวัตสะ รูปพระอาทิตย์) ชิ้นส่วนหัวงูดินเผา เครื่องถ้วยจีน เคลือบสีเขียวสมัยราชวงศ์ถัง เป็นต้น         • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ แผ่นเหล็กคล้าย ใบมีดเหล็ก แหวนสำริด แม่พิมพ์หรือเบ้าหลอมดินเผา เป็นต้น         • โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ กระปุกดินเผาบรรจุเหรียญเงิน เป็นต้น       โบราณวัตถุที่สำคัญมี ดังนี้        o ชิ้นส่วนภาชนะมีพวย เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินส่วนปาก คอ และบ่า มีพวยหนึ่งข้าง สันนิษฐานว่าป็นภาชนะสำหรับใช้สรงน้ำในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๓        o ศิวลึงค์ เป็นศิวลึงค์ที่ทำจากหินขนาดสูง เพียง ๑๘.๕ เซนติเมตร ส่วนฐานเป็น แท่งสี่เหลี่ยมส่วนปลายเป็นแท่งกลมมน เนื่องจากเป็นศิวลึงค์ขนาดเล็ก จึงสันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่ศิวลึงค์ประจำ ศาสนสถาน แต่สามารถพกพาเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมหรือบูชาได้        o ภาชนะดินเผาบรรจุเหรียญเงินตราสังข์ เป็นภาชนะดินเผา ส่วนลำตัวคล้ายบาตรพระ ส่วนคอแคบสูง ภายในบรรจุเหรียญ เงินตราสังข์เต็มกระปุก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๘        o ขัน เป็นขันสำริดทรงกระบอก เนื้อหนาผิวไม่สม่ำเสมอ สันนิษฐานว่าขึ้นรูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖        o เชิงเทียน เป็นเชิงเทียนสำริด สันนิษฐานว่าขึ้น รูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๖        o ตุ้มเหล็กเป็นตุ้มเหล็กรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิมกินทั้งชิ้น ไม่ทราบลักษณะการใช้งาน แต่สันนิษฐานว่าเป็นตุ้มถ่วงชั่งน้ำหนัก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖        o แท่งเหล็ก เป็นแท่งเหล็กเรียวยาวสภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิม ไม่ทราบลักษณะ การใช้งานแต่สันนิษฐานว่าเป็นคานที่ใช้กับเครื่องชั่งน้ำหนัก เนื่องจากพบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ใกล้กับตุ้มเหล็ก        o ใบมีด ? เป็นแผ่นเหล็กแบนยาว ด้านหนึ่งบางกว่าอีกด้าน คล้ายกับใบมีด มีสนิมเกาะทั้งแผ่น พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓        o แหวน เป็นเส้นลวดขดเกลียวเป็นเส้น และขดเป็นวงแหวน ไม่ทราบ ลักษณะการใช้งานที่แท้จริง สันนิษฐานว่าอาจเป็นของใช้ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓        o เบ้าหลอมเป็นแผ่นดินเผา มีหลุมตรงกลาง สันนิษฐานว่าเป็นเบ้าหลอมหรือ แม่พิมพ์ พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๑๓       โบราณสถานคอกช้างดิน มีทั้งส่วนที่คันดินสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และส่วนที่เป็นอาคารศาสนสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจากพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไศวนิกาย สัมพันธ์กับการเลือกใช้ภูเขาเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเปรียบเสมือนเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระศิวะ พื้นที่บริเวณคอกช้างดินจึงน่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำพิธีกรรมของพราหมณ์ในไศวนิกาย   ที่มาข้อมูล  กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           15/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                22 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                  ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาระหว่างพ.ศ.2438-2500ผู้แต่ง                                     เกื้อกูล ยืนยงอนันต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย                  หนังสือหายากISBN/ISSN                            974-570-612-4หมวดหมู่                                สังคมศาสตร์เลขหมู่                                   301.24 สถานที่พิมพ์                           กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                             สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่พิมพ์                                 2529ลักษณะวัสดุ                           124 หน้า : ภาพประกอบ, เอกสาร ; 29 ซมหัวเรื่อง                                 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมภาษา                                    ไทย


วันวาเลนไทน์ หรือ วันแห่งความรัก ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ใครหลาย ๆ คนรอคอย... โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ตื่นขึ้นมา พร้อมรอยยิ้ม เพื่อเตรียมของขวัญ คำหวาน และข้อความพิเศษ ๆ มอบให้กับคนรักอย่างแน่นอน วันวาเลนไทน์เกิดขึ้นได้อย่างไร และชาวตะวันตกทำอะไรกันบ้างในวันสำคัญสำหรับชาวคริสต์วันนี้ วันวาเลนไทน์ หรือ วันแห่งความรัก เริ่มต้นขึ้นจากวันฉลองเพื่อระลึกถึงคริสเตียน 2 ท่าน ที่เสียสละเพื่อมนุษย์ ชื่อ วาเลนไทน์ (Valentine) แต่ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันนี้ก็ไม่มีสิ่งไหนที่เกี่ยวพันถึงชีวิตของนักบุญเหล่านี้ บางทีอาจจะมาจากประเพณีโบราณที่เรียกว่า ลูเปอร์คาเลีย (Lupercalia) ชาวโรมันฉลองวันลูเปอร์คาเลียเป็นประเพณีแห่งความรักของหนุ่มสาว ชายและหญิงสาวจะเลือกคู่สำหรับประเพณีนี้ โดยการเขียนชื่อตนใส่กล่องและจับฉลากเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความรัก และปกติเขาจะยังคงติดต่อสัมพันธ์กันเป็นเวลานานหลังจากประเพณีนี้ผ่านไปแล้ว หลายคู่ก็จะลงเอยด้วยการแต่งงาน ชาวคริสเตียนจะให้ความสำคัญของประเพณีนี้ โดยจะใช้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่มีความหมายตามประเพณีการเลือกคู่ มาถือเป็นประเพณีที่ทำสืบกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ การฉลองวันวาเลนไทน์ในยุคแรกๆ จากข้อมูลของหนังสือที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1877 กล่าวว่า ประชาชนชาวอังกฤษยอมรับวันนี้เป็นวันหยุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1446 ส่วนที่สหรัฐอเมริกามานิยมกันในปี ค.ศ. 1800 ในช่วงที่มีสงครามกลางเมือง ผู้เขียนแมกกาซีนในปี 1863 เขียนไว้ว่า “ที่จริงการยอมรับวันคริสตมาสยังไม่มีประเพณีฉลองปรากฏสู่สายตาชาวโลกที่จะครอบงำความสนใจถึงครึ่งหนึ่งเหมือนกับเทศกาลครบรอบวาเลนไทน์นี้ สัญญลักษณ์จำนวนมากของวาเลนไทน์ในยุคนี้ คือ ภาพวาด ซึ่งมักจะเป็นรูปของกามเทพ ซึ่งเป็นผู้ยิงศรรักปักหัวใจคน นักบุญ 2 คน ผู้มีนามว่า “วาเลนไทน์” คนแรกเป็นผู้สอนศาสนาอยู่ในกรุงโรม ประมาณปี 200 ชาวโรมันจำคุกเขาเพื่อกลั่นแกล้งคนคริสเตียน และประมาศ ค.ศ. 270 ชาวโรมันประหารชีวิตเขาโดยการตัดศีรษะ บางข้อมูลอาจจะบอกว่า นักบุญวาเลนไทน์ หรือเซนต์วาเลนไทน์ เป็นผู้ริเริ่มการจัดงานแต่งงานในยุคที่ไม่นิยมให้แต่งงานกัน เหตุเพราะในช่วงนั้นโรมต้องประสบกับสงคราม จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ต้องการเกณฑ์คนไปรบ แต่มีบุคคลจำนวนมากที่มีครอบครัว มีภรรยา มีคนรัก ต่างไม่อยากจะทิ้งครอบครัวไป ทำให้ จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ตัดสินใจให้ยกเลิกการแต่งงานและการหมั้นทั้งหมดของชาวโรมันในยุคนั้นไปหมดอย่างสิ้นเชิง แต่นักบุญวาเลนไทน์กลับสวนกระแสของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ชักชวนคู่รักมาแต่งงานหลายต่อหลายคู่ จนโดนจับตัวไปขังเอาไว้ และในคุกที่คุมขังนักบุญวาเลนไทน์นั้น เขาได้พบรักกับสาวตาบอดนางหนึ่ง เมื่อโดนจับได้ นักบุญวาเลนไทน์จึงถูกนำตัวไปประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็น วันวาเลนไทน์ วันที่ผู้คนจะรำลึกถึงนักบุญ ผู้อุทิศตนให้ความรักนั่นเอง นักบุญวาเลนไทน์อีกคนหนึ่งเป็นบาทหลวงของ Interaranca (ปัจจุบันคือ Tem) ห่างจากกรุงโรมประมาณ 60 ไมล์ ซึ่งมีบีนทึกไว้ว่าเขาถูกกกลั่นแกล้ง เนื่องจากการเปลี่ยนจากครอบครัวไปเป็นคริสเตียน และเขาถูกตัดศีรษะในกรุงโรม ประมาณปี ค.ศ. 273 เช่นกัน แน่นอนว่าพอถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก คู่รักทุกคู่ ทุกรูปแบบก็เตรียมพร้อมกับการแสดงออกถึงความระหว่างที่ตนมีระหว่างกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม หรือการมอบสิ่งของแทนใจที่มีความหมายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น ดอกกุหลาบ ที่เป็นสัญลักษณ์ หรือตัวแทนแห่งความรัก และสะท้อนความหมายโดยนัยผ่านสีต่างๆ ของดอกกุหลาบที่แตกต่างกัน อาจมอบให้เป็นช่อ หรือจะมอบแบบเป็นดอกเดี่ยวๆ ก็ได้เช่นกัน การ์ดวาเลนไทน์ ไม่จำเป็นว่าจะต้องมอบให้กับคนรัก หรือแฟนเพียงอย่างเดียว แต่เรายังสามารถส่งมอบความปราถนาดี ความห่วงใย และความเอาใจใส่ผ่านตัวหนังสือไปยังคนที่เรารักคนอื่นๆได้ ช็อกโกแลต เกิดขึ้นในยุคที่นักบุญวาเลนไทน์ได้เสียชีวิต การให้ช็อกโกแลตแทนใจนับว่าเป็นสิ่งที่ล้ำค่า เนื่องด้วยในสมัยนั้นช็อกโกแลตเป็นของหายาก จึงเปรียบเป็นของที่มีค่าที่คนรักจะมอบแทนใจให้กันได้ อีกทั้ง ช็อกโกแลตยังสามารถสื่อความหมายถึงชีวิตรักของเราได้อย่างชัดเจน เพราะด้วยรสชาติของมันที่มีตั้งแต่รสขม ไปจนถึงรสหวาน เปรียบได้กับการดำเนินชีวิตคู่ที่บางครั้งก็มีทุกข์บ้าง มีสุขบ้าง หรือมีขื่นขมและมีหวานปะปนกันไป


ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง              ประวัติธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์       ม.ป.ท. สำนักพิมพ์         ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์             ม.ป.ป. จำนวนหน้า         ๗๒  หน้า                           ประวัติธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ซึ่งแรกที่ได้พบก็คือ “ตราแผ่นดิน” ซึ่งนิยมเรียกกันตามทำนองภาษาอังกฤษในสมัยนั้นว่า “ตราอาร์ม” พิมพ์เป็นตัวทองเด่นอยู่บนหน้าปก ภายใต้ตราแผ่นดินมีหนังสือเขียนว่า “ตั้งโดยพระบรมราชานุญาต” บรรทัดต่อไปมีข้อความว่า “บริษัทแบงค์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด” เปลี่ยนเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด” และมีคำว่า “อนุสรณ์ ๕๐ ปี” เป็นวรรคสุดท้ายซึ่งต่อมาก็ยังคงใช้ชื่ออันเป็นมงคลนั้นสืบเนื่องมาด้วยดีจนปัจจุบันนี้


          กรมศิลปากร ขอเชิญชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๕๑ และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ ๒๑ ระหว่างวันที่ ๓๐ มีนาคม - ๙  เมษายน ๒๕๖๖ โดยศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ได้ยกกองทัพหนังสือลดราคาสูงสุดถึง ๒๐% (ลดราคาเฉพาะในงานฯและในระบบออนไลน์เท่านั้น) ผู้ที่สนใจสามารถเลือกซื้อหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๕๑ และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ ๒๑ ที่บูท F ๒๐ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ ๕ – ๗ หรือสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th อาทิ หนังสือศิลปากรสถาน : ผู้รังสรรค์งานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ หนังสืออธิบายจินดามณี โคลงกล และ รหัสอักษร หนังสือนาค จากตำนานความเชื่อสู่ศรัทธาร่วมสมัย หนังสือสู่ดินแดนโพ้นทะเล การเดินทางจากนิวยอร์กถึงบางกอก ประเทศสยาม และการเดินทางกลับ หนังสือพระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย หนังสือช่างไทยสิบหมู่ ช่างเขียน หนังสือเปิดกรุหลักฐานอยุธยา : หลากหลาย ลุ่มลึก และท้าทาย หนังสือหลักการและแนวทางการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมไม้ ฯลฯ            ทั้งนี้ ขอให้ผู้ทำรายการสั่งซื้อออนไลน์ชำระเงินภายในวันและเวลาที่กำหนด หากเกินกำหนดแล้วทางศูนย์หนังสือขออนุญาตยกเลิกทุกรายการ และผู้ที่สั่งหนังสือในระบบออนไลน์ จะเริ่มจัดส่งหนังสือตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป จึงขออภัยในความล่าช้า)   (หมายเหตุ : ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) ปิดทำการ ระหว่าง ๓๐ มีนาคม - ๑๐ เมษายน ๒๕๖๖)


เลขทะเบียน : นพ.บ.427/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 84 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 154  (120-128) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : มาลาวิภักค์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง                                 โคลงนิราศสุพรรณผู้แต่ง                                    สุนทรภู่ประเภทวัสดุ/มีเดีย                  หนังสือหายากISBN/ISSN                            -หมวดหมู่                                วรรณคดีเลขหมู่                                   895.9113สถานที่พิมพ์                           กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                             -ปีที่พิมพ์                                 2512ลักษณะวัสดุ                           240 หน้าหัวเรื่อง                                  สุนทรภู่  นิราศสุพรรณภาษา                                    ไทย


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กิจกรรมทวีปัญญา ประจำปี 2566 ครั้งที่ 2 การอภิปรายและการแสดงเรื่อง "ฉุยฉายในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" วิทยากรโดย ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ราชบัณฑิตสาขานาฎกรรมไทย และคณะโรจน์จรัสฤทธิ์ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ           ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรมได้ได้ที่ https://shorturl.asia/rycEs หรือแสกน QR Code นอกจากนี้ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ ทาง www.facebook.com/NationalLibraryThailand ในวันและเวลาดังกล่าวได้อีกด้วย สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2282 3264 (ในวันและเวลาราชการ)


              กรมศิลปากรเห็นว่าคัมภีร์จตุรารักขามีคุณค่าและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงตามกำลังและความตั้งใจของแต่ละบุคคล ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สุขของสังคมส่วนรวม จึงมอบหมายให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกดำเนินการปริวรรตคัมภีร์จตุรารักขาจากอักษรขอม ภาษาบาลี ให้เป็นอักษรไทยปัจจุบัน แล้วจัดพิมพ์เผยแพร่ เพื่อให้สาธารณชนทั่วไปสามารถอ่าน ศึกษา เรียนรู้ ปูพื้นปฏิบัติกรรมฐานได้นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยแปลถอดความหมายได้และยังได้รักษาต้นฉบับตัวเขียนให้มีอายุยืนยาวต่อไป