ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,406 รายการ

เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่ภาคเหนือ : ตอนที่ ๑ เชียงใหม่ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อรับทราบปัญหาและทรงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน ทรงอุทิศพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการในการพัฒนาประเทศเพื่อความผาสุก ความเจริญรุ่งเรือง และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพสกนิกรชาวไทย๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสนี้ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  307/3กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56.3 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)  ชบ.บ.96/1-9ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.311/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 126  (306-312) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกสัตลุง ตรีเมฆ วันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดยสมชาย อยู่เกิด บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ(เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th (เปิดด้วยโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ อาทิ Safari, Google Chrome, Firefox, Internet Explorer) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑ การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด  


ชื่อผู้แต่ง        มนูญ ธารานุมาศ ชื่อเรื่อง         ไปลังกา ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์     ประชาชน ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๒ จำนวนหน้า    ๓๘๖ หน้า รายละเอียด               หนังสือสารคดีท่องเที่ยว จากการที่ผู้แต่งได้มีโอกาสตามเสด็จสมเด็จพระสังฆราชไปเยือนประเทศศรีลังกาเป็นทางราชการ เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยเนื้อหาในหนังสือ บอกให้รู้ว่าลังกา มีความสำคัญอย่างไร ทำไมไทยเราจึงมีความสัมพันธ์กับลังกามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และโดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์ไทยได้เคยไปจาริก ไปประดิษฐาน พระพุทธศาสนาที่ลังกา ในปัจจุบันลังกายังมีอะไรที่เป็นสัญลักษณ์เหลืออยู่ และอะไรเป็นของดีในลังกา


องค์ความรู้ เรื่อง "พื้นที่วัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบ่งตามวัถุทางวัฒนธรรมโดยสังเขป" โดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา



          สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ขอเชิญชมงานนิทรรศการแสดงผลงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านศิลปกรรมประจำปี ๒๕๖๕ เสริมทักษะความรู้แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานปั้นเซรามิค KAMATAKI : Ceramic Exhibition (การเขียนเซรามิค และการปั้นเซรามิค) จัดแสดงผลงาน การเขียนสีใต้เคลือบบนเซรามิค และการสร้างสรรค์ผลงานเซรามิคด้วยเทคนิคการเผาโดยเตาฟืน และเทคนิคการเผาแบบรากุ ซึ่งเป็นผลงานที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว โดยบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร          เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กรกฎาคม - ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ (ในวันและเวลาราชการ) ณ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ ถนนพุทธมณฑลสาย ๕ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และสามารถรับชมแบบออนไลน์ ทาง Facebook page : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร           หน่วยงานที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ทาง inbox ใน Facebook Fanpage : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร โดยแจ้งชื่อหน่วยงาน จำนวนผู้เข้าชม วันและเวลา เพื่อกำหนดวันในการเข้าชม ทั้งนี้เพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญร่วมกิจกรรมบรรยายทางวิชาการโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๓ "จารึกสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร" วันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา พร้อมจัดกิจกรรมนำชมนิทรรศการห้องล้านนา – สุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ โดยภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นายยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ, นางสาววัชราภรณ์ มธุรกันต์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ  และนายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์           สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. ๐๒ ๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒ เปิดทำการวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์


       กล่องพระสุพรรณบัฏ        สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔        พระโอรสและธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๕ องค์ ประทานยืม        ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นบน) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        กล่องพระสุพรรณบัฏทรงโกศ ทำจากงาช้าง ลักษณะตัวกล่องเป็นงาช้างกลึงทรงกระบอก ด้านล่างตกแต่งด้วยลวดบัวลูกแก้ว ส่วนฝากลึงเป็นบัวฝาละมี และมีลวดบัวในผังกลมซ้อนลดหลั่นกันไป ประดับยอดบัว ๕ ยอด มีร่องรอยการปิดทอง กล่องพระสุพรรณบัฏแต่เดิมจัดอยู่ ณ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา ตั้งแต่เมื่อครั้งเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ดังปรากฏคำอธิบายโบราณวัตถุในพระที่นั่งพรหมเมศธาดาความตอนหนึ่งกล่าวว่า    “...เครื่องงา ในเรื่องงานี้มีสิ่งสำคัญคือ กล่องพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราชอยู่ใบ ๑...” อย่างไรก็ตามกล่องพระสุพรรณบัฏชิ้นนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นของสมเด็จพระสังฆราชองค์ใด    “พระสุพรรณบัฏ” หมายถึง แผ่นทองคํารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกพระนามพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เจ้าประเทศราช และสมเด็จพระสังฆราช ถือเป็นเครื่องยศชั้นสูง ในกรณีของ พระภิกษุที่ได้รับสถาปนาเป็น “สมเด็จพระราชาคณะ” จะเรียกว่า “สุพรรณบัฏ” ซึ่งน้ำหนักทองของสุพรรณบัฏแตกต่างกันตามระดับสมณศักดิ์ เช่น สุพรรณบัฏชั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าที่ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาขึ้นทรงกรม น้ำหนักทองจำนวน ๑๒ บาท ในขณะที่สุพรรณบัฏชั้นสมเด็จพระราชาคณะ มีน้ำหนักทองจำนวน ๔ บาท เป็นต้น           รูปทรงของกล่องพระสุพรรณบัฏนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานความเห็นว่า น่าจะเป็นต้นแบบให้กับการสร้างโกศบรรจุอัฐิด้วยเช่นกัน ดังลายพระหัตถ์ทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๘ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า   “...เห็นได้ว่าโกศกระดูกนั้นเปนของสามัญซึ่งมีมาก่อน โกศศพเอาอย่างไปทำทีหลังเปนของพิเศษ เมื่อเปนดังนั้น โกศกระดูกจะมาแต่สิ่งใดเล่าโดยพิจารณาเห็นมีสัณฐานผอมสูงใกล้ไปทางกล่องของโบราณ เช่นกล่องพระราชสาสน์ กล่องพระสุพรรณบัตร กล่องดวงใจที่เขาเขียนในเรื่องรามเกียรติ ตลอดจนกล่องเข็มที่กลึงไม้ใช้บวชนาคกันมาแต่ก่อน ย่อมเปนรูปเดียวกัน...”   อ้างอิง ราชบัณฑิตยสภา. อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณ แลพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๙. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. องค์การค้าของคุรุสภา. สาสน์สมเด็จเล่ม ๖ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระนคร: คุรุสภา, ๒๕๐๔.




ชื่อเรื่อง                               อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์) สพ.บ.                                  อย.บ.2/5กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา