ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,647 รายการ

***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก  ที่ระลึกครบรอบ 20 ปี  วันสถาปนา ร.ส.พ. : 1 กุมภาพันธ์ 2510.  พระนคร : โรงพิมพ์ ร.ส.พ., ๒๕๑๐.



๑. ชื่อโครงการ  โครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางค์และดนตรีแบบบูรณาการ การแสดง และสาธิตนาฏศิลป์และดนตรีไทย และศึกษาดูงานการบริหารจัดการงานด้านพิพิธภัณฑ์และมรดกศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศญี่ปุ่น ๒. วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมงานมรดกศิลปวัฒนธรรมไปสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง ๓. กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๔. สถานที่ ๑) เมือง Tsukuba                   ๒) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงโตเกียว                 ๓) นิกโก้ เมืองมรดกโลก                 ๔) พระราชวังอิมพีเรียล                 ๕) พิพิธภัณฑ์เอโดะ – โตเกียว                 ๕. หน่วยงานผู้จัด      สำนักการสังคีต ๖. หน่วยงานสนับสนุน สำนักบริหารกลาง กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ๗. กิจกรรม วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๖.๐๐ น. พร้อมกัน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เวลา ๐๗.๓๕ น.  คณะผู้ศึกษาดูงานออกเดินทางโดยเครื่องบินสายการบินไทย จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เวลา ๑๕.๔๕ น.  เดินทางถึงสนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น และออกเดินทางสู่นครโตเกียว เข้าที่พัก ณ โรงแรม Shinagawa Prince Hote วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น.  นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เกี่ยวกับภารกิจในการเดินทางครั้งนี้ โดยได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ ดังนี้ -          อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ได้เดินทางไปยังเมือง Himeji จังหวัด Hyogo ประเทศญี่ปุ่น ตามคำเชิญของ นาย Takamasa Fujioka ผู้อำนวยการ และหัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานโครงการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น เพื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมศิลปากรและคณะกรรมการแห่งภูมิภาค Harima โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีสาระสำคัญในเรื่องความร่วมมือในการปกป้อง คุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปะ ในขณะเดียวกันก็จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวในแหล่งประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เช่น แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม  สมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ และแหล่งวัฒนธรรมสาเกในภูมิภาค Harima โดยจะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ต่อไป นอกจากนี้ ยังได้สำรวจความเป็นไปได้ในการนำคณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรมาจัดการแสดง ณ เมืองฮิเมจิ อีกด้วย -          อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ได้เข้าประชุมหารือ และเยี่ยมชมการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดับวัดประจำรัชกาล ณ สถาบันวิจัยสมบัติทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ( National Research Institute for Cultural Property, Tokyo) โดยวัดราชประดิษฐ์ฯ ได้ส่งตัวอย่างบานไม้จำนวน ๒ ชิ้น จากจำนวนทั้งหมดที่มีประมาณ ๑๐๐ บานมายังสถาบันวิจัยฯ เพื่อศึกษาวัสดุ และกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งจะช่วยในการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์ที่เหมาะสมต่อไป สำหรับการดำเนินงานอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกวัดราชประดิษฐ์ฯ ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยสมบัติทางวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกรมศิลปากร โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น ในราวเดือนกันยายน ๒๕๕๗ วัดราชประดิษฐ์ฯ จะมอบทุนสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์  และผู้เชี่ยวชาญด้านงานรักประดับมุกจากกรมศิลปากร รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากวิทยาลัยในวังชาย เข้ารับการอบรมการอนุรักษ์ ณ สถาบันวิจัยฯ เป็นระยะเวลา ๒ สัปดาห์           -          วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ อธิบดีกรมศิลปากร และคณะ จะนำสื่อมวลชนเดินทางไป ยังเมืองทสึคุบะ (Tsukuba) เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดการแสดงนาฏศิลป์ของคณะนักแสดงจากกรมศิลปากรร่วมกับศิลปินจากประเทศญี่ปุ่น   เวลา ๑๓.๐๐ น.  คณะศึกษาดูงานได้เดินทางไปยัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว  ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนได้นำโบราณวัตถุมาจัดแสดง ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ พระสุพรรณบัฏ ที่สันนิษฐานว่าเป็นบรรณาการจากพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ส่งไปยังกรุงปักกิ่งในสมัยกรุงธนบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว ญี่ปุ่น : Tokyo National Museum หรือ TNM ตั้งอยู่ ภายในสวนอุเอโนะ ในเขตไทโต กรุงโตเกียว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๗๒ เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่สำคัญจากทั่วทวีปเอเชีย โดยเฉพาะจากในญี่ปุ่น มีโบราณวัตถุจัดแสดงกว่า ๑๑๐,๐๐๐ ชิ้น วัตถุประสงค์หลักในการสร้างเพื่อแนะนำประเทศญี่ปุ่นให้ชาว ต่างชาติรู้จักผ่านการจัดแสดงนิทรรศการ ประกอบไปด้วยอาคาร ๕ อาคาร ได้แก่ อาคารหลักอาคาร Heiseikan  อาคาร Hyokei  อาคาร Heisei  อาคาร Toyo และอาคารเก็บสมบัติวัด Horyu นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว  ยังมีส่วนงานสำหรับค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโบราณวัตถุ และจัดกิจกรรมต่างๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์และช่วงเทศกาลปีใหม่เท่านั้น ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. (วันเสาร์ อาทิตย์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์  ระหว่างเมษายน - กันยายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ไม่ตกเร็วเกินไปจะเปิดให้เข้าชมถึง ๑๘.๐๐ น.) หรือในกรณีมีนิทรรศการพิเศษเฉพาะวันศุกร์ก็จะเปิดให้เข้าชมได้ถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น.  นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ พร้อมด้วยสื่อมวลชน เดินทางไปยัง                    เมืองทสึคุบะ (Tsukuba) เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดการแสดงและสาธิตนาฏศิลป์และดนตรีไทย                    จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ร่วมกับศิลปินจากญี่ปุ่น ณ ห้องประชุม ธนาคารทสึคุบะ เมืองทสึคุบะ (Tsukuba) ตั้งอยู่ในจังหวัดอิบารากิ เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคันโต หนึ่งใน เขตการปกครองของประเทศญี่ปุ่น ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๖๐ กิโลเมตร เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่า "เมืองแห่งวิทยาศาสตร์" (Science City)                        กิจกรรมการแสดงและสาธิตนาฏศิลป์และดนตรีไทย ณ เมืองทสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในโครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางค์และดนตรีแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยใช้วัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์และดนตรีชั้นสูง เป็นสื่อกลางในการกระชับสัมพันธ์และเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรมอันดีงามระหว่างประเทศ การแสดงในครั้งนี้ประกอบด้วย การสาธิตการแสดงโขน การเปรียบเทียบท่ารำระหว่างนาฏศิลปินชาวไทย และชาวญี่ปุ่น การแสดงระบำพื้นบ้านของญี่ปุ่น การแสดงระบำ ๔ ภาคของไทย การแสดงโขนและการต่อสู้ด้วยพลอง - ไม้สั้น                    อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมด้วยนายกเทศมนตรีเมืองทสึคุบะ และผู้ว่าการธนาคารทสึคุบะ เข้าร่วมในพิธีเปิดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และนักแสดงจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผู้เข้าชมทั้งชาวเมืองทสึคุบะ และชาวไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เข้าชมการแสดงกว่า ๑,๐๐๐ คน   โขน  ชุด ทศกัณฐ์รบพระราม (ยกรบ)                    โขน  เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทยซึ่งมีมาแต่โบราณมีกำเนิดมาจากการเล่นหลายประเภท  เช่น  ชักนาคดึกดำบรรพ์  การเล่นกระบี่กระบองและหนังใหญ่  ครั้นต่อมาได้แก้ไขปรับปรุงให้ประณีตขึ้นตามลำดับ แต่เดิมนั้นผู้แสดงโขนจะต้องสวมหัวโขนปิดหน้าและใช้ผู้ชายแสดงทั้งหมด จึงต้องมีผู้พูดแทน เรียกว่า ผู้พากย์ - เจรจา และขับร้อง ผู้แสดงต้องแสดงท่าเต้นและรำไปตามคำพากย์ - เจรจา  และบทร้องนั้น ต่อมาได้วิวัฒนาการให้ผู้แสดงซึ่งสมมติเป็นเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ ชาย หญิง สวมแต่เครื่องประดับศีรษะ ไม่ต้องปิดหน้าทั้งหมด และใช้ผู้หญิงเข้าร่วมแสดงด้วย แต่ก็ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้  คือ มีผู้พากย์ - เจรจา และขับร้องแทน ทั้งนี้เว้นแต่ฤษีบางองค์และตัวตลกจึงจะเจรจาเอง                    การแสดงโขนชุดทศกัณฐ์รบพระรามอยู่ในตอนหนึ่งของเรื่องรามเกียรติ์ เป็นการทำสงครามระหว่างพระราม พระลักษมณ์ และพลวานร กับทศกัณฐ์ พญายักษ์แห่งกรุงลงกา การรบของทั้งสองฝ่ายเต็มไปด้วยชั้นเชิงของลีลาท่ารำกระบวนการรบและความสามารถที่มีเอกลักษณ์ประณีตงดงามในการแสดงโขน  ระบำช่อราชพฤกษ์                    ระบำช่อราชพฤษ์  เป็นระบำที่มีความสวยงามอีกชุดหนึ่ง ผู้แสดงถือดอกราชพฤษ์ ออกมารำ โดยใช้เพลงนางนาคแปลง ซึ่งเป็นเพลงไทยโบราณ ผู้แสดงแต่งกายเป็นสาวชาววัง ในสมัยอยุธยา ประดิษฐ์ท่ารำโดยนางพัชรา บัวทอง นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร   การต่อสู้ด้วยพลอง-ไม้สั้น           การเล่นกระบี่กระบองเป็นศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างหนึ่งของไทย  ในที่นี้เป็นการใช้พลองและไม้สั้น  ศิลปะแห่งการใช้ไม้สั้นอยู่ที่ความคล่องแคล่วว่องไวของผู้ใช้และจะต้องเป็นฝ่ายรุกเข้าประชิดตัวคู่ต่อสู้  ตรงกันข้ามกับผู้ใช้พลอง  ซึ่งเป็นอาวุธยาวจะต้องถอยออกห่างจึงจะมีโอกาสทำอันตราย คู่ต่อสู้ได้สะดวก ระบำสี่ภาค                    ระบำสี่ภาค  เป็นระบำชุดหนึ่งที่กรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นในสมัยปัจจุบัน   โดยนำศิลปะการแสดงทั้งสี่ภาคในประเทศไทย คือ ภาคเหนือ   ภาคกลาง   ภาคอีสาน  และภาคใต้ มาแสดงติดต่ออยู่ในชุดเดียวกัน นับเป็นการแสดงที่สวยงาม น่าชม และน่าสนใจอย่างยิ่ง   วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๐๐ น.  คณะผู้ศึกษาดูงานออกเดินทางจากที่พักไปยังนิกโก้ เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม                    นิกโก้ จังหวัดโทะจิงิ  ตั้งอยู่ทางเหนือของโตเกียว มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ สมัยเอโดะ  มีวัดและศาลเจ้าสำคัญที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ภายใต้ชื่อ  "ศาลเจ้า และวัดแห่งนิกโก"  ได้แก่ ศาลเจ้านิกโกโทโชกุ                       เป็นศาลเจ้าชินโตที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แด่โชกุนโทกุกาวะ อิเอะยะซุ โชกุนคนแรกของตระกูลโทกุกาวะ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๑๖๐ ในช่วงสมัยเอโดะ ระหว่างที่ฮิเดะตะ บุตรชายของโทกุกาวะดำรงตำแหน่งเป็นโชกุน และได้รับการต่อเติมขยายพื้นที่ในสมัยของอิเอะมิสึ โชกุนคนที่สามของตระกูล   ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่ตั้งรูปเคารพและป้ายวิญญาณของอิเอะยะซุ ศาลเจ้าฟุตะระซัง  เป็นศาลเจ้าชินโตในเมืองนิกโก้   เป็นสถานที่สักการะเทพเจ้า ๓ องค์ คือ โอคุนินุชิ ทาโกริฮิเมะ และอาจิสุกิตะคาฮิโคเนะ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๓๑๐ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในรายชื่อเดียวกับศาลเจ้านิกโก้โทโชกุและวัดรินโน  ภายในศาลเจ้าเป็นสถานที่เก็บรักษาดาบสองเล่ม ซึ่งจัดว่าเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น     วัดรินโนจิ                       วัดรินโนจิ เป็นวัดพุทธที่สำคัญที่สุดในนิกโก้  สร้างขึ้นโดยพระโชโด โชนิน (Shodo Shonin) ผู้ที่นำศาสนาพุทธมาเผยแพร่ในนิกโก้  ในช่วงปี ค.ศ. ๘๐๐  ภายในมีวิหารชั้น ซันบุตสึ (Sanbutsudo) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๑ ตามพระบัญชาของจักรพรรดินินเมอิ (Ninmei Emperor) เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปไม้แกะสลักปิดทองสูงองค์ละ ๘ เมตร อันเป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวเมืองนิกโก้ ๓ องค์คือ เจ้าแม่กวนอิมพันกร (Thousandhanded Kannon) พระอมิตพุทธ (Amida Buddha) และพุทธรูปม้าอยู่กลางพระนลาต (Horse – headed Kannon)    วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น.  คณะผู้ศึกษาดูงานออกเดินทางจากที่พักไปยังพระราชวังอิมพีเรียล และพิพิธภัณฑ์                    เอโดะ-โตเกียว   พระราชวังอิมพีเรียล ( Imperial Palace ) พระราชวังอิมพีเรียล (โคเคียว) เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมจิแห่งประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียวท่ามกลางคูน้ำล้อมรอบมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ภายในอุทยานชั้นในอันเป็นเขตพระราชฐาน เป็นอาคารคอนกรีตทรงเตี้ย หลังคาสีเขียว สร้างเสร็จในปี ค.ศ. ๑๙๗๐ แทนพระตำหนักไม้หลังเดิมที่ถูกระเบิดในช่วงสงครามโลกในปี ค.ศ.๑๙๔๕ ตัวปราสาทสร้างตามรูปแบบในสมัยเอโดะ ล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพงหิน ทางเข้าหลักจะเป็นสะพานคู่หรือเรียกว่า นิจูบาชิ (Nijubashi)      พิพิธภัณฑ์เอโดะ-โตเกียว                    พิพิธภัณฑ์เอโดะ – โตเกียว เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคเอโดะ สมัยโชกุนจนถึงยุคหลังฟื้นฟูจากสงครามโลก ตั้งแต่วันที่โชกุนโทกุงาวะ อิเอยะซึ ได้สร้างเมืองเอโดะ และนำพาญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคปิดประเทศซึ่งเป็นยุคที่มีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ก่อนถูกชาติตะวันตกบังคับให้เปิดประเทศก่อนเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นโตเกียวในที่สุด พิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวย้อนหลังไปกว่า ๔๐๐ ปี ทั้งสภาพสังคม การเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ภายในมีการจำลองอาคารและสถานที่ต่างๆ รวมถึงสะพานนิฮอนบาชิ ‘สะพานแห่งญี่ปุ่น’ ซึ่งคนสมัยก่อนใช้สัญจรไปมา ตลอดจนจำลองรูปแบบวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมของผู้คนในยุคนั้น วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น.  คณะผู้ศึกษาดูงานออกเดินทางออกเดินทางจากที่พักไปยังสนามบินนาริตะ เวลา ๑๗.๒๕ น.  ออกเดินทางจากสนามบินนาริตะสู่กรุงเทพฯ โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 677 เวลา ๒๑.๕๕ น.  เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิโดยสวัสดิภาพ   ๙. สรุปสาระของกิจกรรม                       การเดินทางไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น ตามโครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางค์ และดนตรีแบบบูรณาการ การแสดงและสาธิตนาฏศิลป์และดนตรีไทย และศึกษาดูงานการบริหารจัดการงานด้านพิพิธภัณฑ์และมรดกศิลปวัฒนธรรม ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นการใช้มิติทางวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรมอันดีงามระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมงานมรดกศิลปวัฒนธรรมไปสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทย และส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปะร่วมกัน นอกจากนี้ การเรียนรู้สภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น ยังช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในอัตลักษณ์ของชนชาติญี่ปุ่น เสริมสร้างประสบการณ์ความประทับใจในการเข้าชมแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม เกิดประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานอนุรักษ์และสร้างสรรค์มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทยต่อไป  ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม                       ๑) ควรใช้มิติทางวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ                       ๒) ควรมีการจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมงานมรดกศิลปวัฒนธรรมไปสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง                      ๓) ควรพัฒนาเรื่องการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย ด้วยการรวมเรื่องการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทุกสาขาเข้าด้วยกันเป็นสถาบันเพื่อการศึกษาวิจัย และหาแนวทางในการอนุรักษ์ หรือสงวนรักษาโบราณวัตถุและโบราณสถาน โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอนุรักษ์และสร้างสรรค์มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทย                     ๔) ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ปรับปรุงการจัดแสดงให้ทันสมัย และเสริมสร้างประสบการณ์ความประทับใจในการเข้าชมแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย 


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนา                                    พุทธศาสนา—เทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    22 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


ชื่อเรื่อง : ฮีตฮอยเฮา ผู้แต่ง : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ปีที่พิมพ์ : 2538 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว           ภาคเหนือนับตั้งแต่จังหวัดอุทัยธานีขึ้นไป พบว่ามีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ และขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมที่สั่งสมมา และทับซ้อนกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรม และความเชื่อ อันเสมือนทรัพย์สมบัติของปู่ย่าตายาย แต่อยู่ในรูปของวัฒนธรรม ประเพณี การบอกเล่า ความเชื่อ และถูกบันทึกอยู่ในเอกสารโบราณที่มีอยู่มากมายทั่วทั้งภาคเหนือ ซึ่งผู้เขียนได้ลงพื้นที่เสาะแสวงหาข้อมูลทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิทั่วทั้งภาคเหนือ อาทิ ความเชื่อเรื่องผีปู่ย่า พิธีสืบชะตา ประเพณีบูชาเสาอินทขีล หลักเมืองเชียงใหม่ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ กระบวนการผลิตและพิธีกรรมเกี่ยวกับเหล็กน้ำพี้ เป็นต้น


จัดทำโดยฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย


เลขทะเบียน : นพ.บ.12/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 5หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.41/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 23 (234-238) ผูก 4หัวเรื่อง :  แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



 ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร , กรม , น.ส. สุภรณ์  อัศวสันโสภณ อ.บ.(จุฬา) แปล   ชื่อเรื่อง  :  บันทึกเรื่องสัมพันธภาพ ระหว่าง กรุงสยามกับนานประเทศ ในคริสตศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๒ (พ.ศ. ๒๒๒๙ – ๒๒๓๐)   ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๕   ครั้งที่พิมพ์  :  -   สถานที่พิมพ์  : -   สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์การศาสนา   จำนวนหน้า  :  ๒๘๑ หน้า   หมายเหตุ  :  -                      หนังสือชุด Records of the Relations between Sian and Foreign Countries in the 17th Century นี้ เป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในสมัยอยุธยา  เป็นจดหมายโต้ตอบ รายงาน และบันทึกเกี่ยวกับการค้าของพ่อค้าชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายในกรุงสยาม กล่าวถึง เหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจซึ่งไม่มีปรากฏในพงศาวดารของไทย นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของคนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหลักฐานให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยามกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศทางตะวันตก การแก่งแย่งชองไหวชิงพริบทางการค้า ตลอดจนทำให้ทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของประเทศนั้นๆ  ที่มีต่อประเทศไทยในขณะนั้นด้วย  


รัฐภัทน์ ซ้ายสุวรรณ.Fintechโลกทางการเงินที่อยู่ในมือถือของคุณ.จันท์ยิ้ม.(2):4;เมษายน-พฤษภาคม2560. ข่าวธนาคารหลายแห่งในช่วงไตรมาศที่ 1 ของปี พ.ศ. 2560 ได้ทยอยปิดสาขาเล็กสาขาน้อยที่อยู่ตามต่างจังหวัดลงไป คงเหลือไว้ แต่เพียงสาขาใหญ่ที่มีผู้ใช้บริการต่อวันมากพอกับสาขาที่เปิดตาม ห้างสรรพสินค้า หากเราลองมานั่งทบทวนดูถึงความสมเหตุสมผลของ การกระทำนี้ อาจมองเห็นบางสิ่งบางอย่างที่กําลังเปลี่ยนแปลงไปใน โลกแห่งการเงิน สภาพเศรษฐกิจของโลกอาจเป็นปัจจัยหนึ่งครับ ที่ทำให้ ธนาคารทั้งหลายต้องลดภาระค่าใช้จ่ายคงที่หรือ Fixed Cost ของตัวเองลง แต่สภาพเหล่านั้นกำลังค่อย ๆ ฟื้นคืนขึ้นในช่วงไตรมาศที่สองแม้ว่าจะ ยังคงมีความกังวลเรื่องของความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลีอยู่ คนไทยยังจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าเหมือนเดิมหรือไม่ ? หากถามคําถามเช่นนี้ ก็คงตอบได้ว่า ใช่ ! คนยังต้องซื้อสินค้า เหมือนเดิม แต่สิ่งที่เพิ่มเติมคือพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่เปลี่ยนไป ของคนมากกว่านี้ไม่เพียงเฉพาะกับคนไทยเท่านั้นนะครับ เรียกว่า โลกทั้งโลกกําลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการจับจ่ายใช้สอยและ การใช้เงินพร้อม ๆ กันโลก FinTechหรือ Finance + Technology มีบทบาทสําคัญกับชีวิตของคนมานาน แต่ทว่ามันกําลังมีบทบาทมากขึ้น และทรงพลังมากขึ้นเพื่อสามารถจัดการทุกอย่างผ่านโทรศัพท์มือถือของคุณ ! หากคุณเป็นคนที่ใช้จ่ายซื้อสินค้าในซ่องทางออนไลน์อยู่แล้ว คงไม่ต้องแนะนําถึงบริการ Online Banking ต่าง ๆ ที่สมัยนี้แต่ละธนาคาร ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นกันมาเกือบทุกเจ้าแล้ว (แม้ว่าบางเจ้าจะยัง ไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่ก็เถอะ) ตัวยบริการเช่นนี้ช่วยลดภาระของคนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประหยัดเวลาออกไปทําธุรกรรม, ลดค่าใช้จ่าย ในเรื่องค่าธรรมเนียมธุรกรรม, พ่วงส่วนลดและสิทธิพิเศษกับบริการ อย่างอื่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือช็อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้า) FinTechในต่างประเทศบูมมาระยะหนึ่ง (ระยะใหญ่) แล้วครับ แต่ในประเทศไทย คนที่รู้จักเรื่องนี้ยังค่อนข้างจํากัดอยู่ในวงแคบ อีกทั้งในเรื่องของบริการ ที่มีมารองรับก็ยังค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นแอปพลิเคชั่นที่ทางธนาคาร ออกมาให้กับลูกค้าของตัวเอง แต่ก็ยังมีแอปพลิเคชันของเจ้าอื่นอย่าง Airplay ที่สามารถจ่ายครบจบในแอปฯ เดียว ทั้งค่าน้ํา ค่าไฟ โอนเงิน เติมเงินโทรศัพท์ เติมเกม (อะไรจะครบถ้วนขนาดนั้น) ส่วนของทางฝั่ง ต่างประเทศก็มีหนุ่มน้อยสตาร์ทอัพวัย 26 ปีอย่าง Ed Mastaveckasที่พัฒนาแอปพลิเคชัน Bud ที่ไปไกลกว่าแค่การทําธุรกรรมทางโทรศัพท์ แต่ Bud เป็นแอปฯ ที่ช่วยให้คนสามารถบริหารการเงินของตัวเองได้อย่าง มีประสิทธิภาพแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และนั่นทําให้ บริษัทธุรกรรมทางการเงินระดับโลกอยากเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน การขับเคลื่อน Bud


ชินวรสิริวัฒน์, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง.  มาตาปิตุปฏฐานกถา.  พระนคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2478.        หนังสือนี้บรรยายถึงการบำรุงเลี้ยงบิดามารดา หลาย ๆ หัวข้อ ได้แก่ คาถาในโณนันทชาดก, มารดาบิดาเป็นพรหมเป็นต้นของบุตร, สพรหมสูตร, บุตรไม่อาจแทนคุณมารดาบิดาด้วยโลกียกิ, มาตาปิตุคุณสูตร, บำรุงมารดาบิดาด้วยกิจ 2 อย่าง, เรื่องมิตตวินทุกะ, เรื่องบุรุษผู้หนึ่ง, เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง, เรื่องสุวรรณสาม เป็นต้น




ชื่อเรื่อง : แนะนำวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ชื่อผู้แต่ง : ชลธีร์ ธรรมวรางกูร, พระมหา ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : หน่วยพิมพ์และจำหน่ายศาสนภัณฑ์ (โรงพิมพ์การศาสนา) จำนวนหน้า : 168 หน้า สาระสังเขป : วัดเบญจมบพิตรเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เพิ่มสร้อยนามเป็น ดุสิตวนาราม เพื่อให้คล้องกับพระราชอุทยานสวนดุสิต และทรงแสดงพระราชประสงค์ไว้ว่า เมื่อพระองค์สวรรคตและถวายพระเพลิงแล้ว ให้นำพระสรีรางคารมาบรรจุไว้ภายใต้รัตนบังลังก์พระพุทธชินราช ภายในวัดมีพระวิหารคด ซึ่งเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป เนื่องจากมีการสร้างพระพุทธรูปโบราณแบบต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ พระยืนปางห้ามญาติ แบบสมัยสุโขทัย พระนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย แบบสมัยเชียงแสน พระยืนแบบญี่ปุ่นหล่อขยาย เป็นต้น นอกจากนี้มีเสนาสนะวัตถุสถานและปูชนียสถานที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น หอระฆัง พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาหน้าพระอุโบสถ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้น


Messenger