ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,654 รายการ


 ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร , กรม , น.ส. สุภรณ์  อัศวสันโสภณ อ.บ.(จุฬา) แปล   ชื่อเรื่อง  :  บันทึกเรื่องสัมพันธภาพ ระหว่าง กรุงสยามกับนานประเทศ ในคริสตศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๒ (พ.ศ. ๒๒๒๙ – ๒๒๓๐)   ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๕   ครั้งที่พิมพ์  :  -   สถานที่พิมพ์  : -   สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์การศาสนา   จำนวนหน้า  :  ๒๘๑ หน้า   หมายเหตุ  :  -                      หนังสือชุด Records of the Relations between Sian and Foreign Countries in the 17th Century นี้ เป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในสมัยอยุธยา  เป็นจดหมายโต้ตอบ รายงาน และบันทึกเกี่ยวกับการค้าของพ่อค้าชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายในกรุงสยาม กล่าวถึง เหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจซึ่งไม่มีปรากฏในพงศาวดารของไทย นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของคนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหลักฐานให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยามกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศทางตะวันตก การแก่งแย่งชองไหวชิงพริบทางการค้า ตลอดจนทำให้ทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของประเทศนั้นๆ  ที่มีต่อประเทศไทยในขณะนั้นด้วย  


รัฐภัทน์ ซ้ายสุวรรณ.Fintechโลกทางการเงินที่อยู่ในมือถือของคุณ.จันท์ยิ้ม.(2):4;เมษายน-พฤษภาคม2560. ข่าวธนาคารหลายแห่งในช่วงไตรมาศที่ 1 ของปี พ.ศ. 2560 ได้ทยอยปิดสาขาเล็กสาขาน้อยที่อยู่ตามต่างจังหวัดลงไป คงเหลือไว้ แต่เพียงสาขาใหญ่ที่มีผู้ใช้บริการต่อวันมากพอกับสาขาที่เปิดตาม ห้างสรรพสินค้า หากเราลองมานั่งทบทวนดูถึงความสมเหตุสมผลของ การกระทำนี้ อาจมองเห็นบางสิ่งบางอย่างที่กําลังเปลี่ยนแปลงไปใน โลกแห่งการเงิน สภาพเศรษฐกิจของโลกอาจเป็นปัจจัยหนึ่งครับ ที่ทำให้ ธนาคารทั้งหลายต้องลดภาระค่าใช้จ่ายคงที่หรือ Fixed Cost ของตัวเองลง แต่สภาพเหล่านั้นกำลังค่อย ๆ ฟื้นคืนขึ้นในช่วงไตรมาศที่สองแม้ว่าจะ ยังคงมีความกังวลเรื่องของความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลีอยู่ คนไทยยังจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าเหมือนเดิมหรือไม่ ? หากถามคําถามเช่นนี้ ก็คงตอบได้ว่า ใช่ ! คนยังต้องซื้อสินค้า เหมือนเดิม แต่สิ่งที่เพิ่มเติมคือพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่เปลี่ยนไป ของคนมากกว่านี้ไม่เพียงเฉพาะกับคนไทยเท่านั้นนะครับ เรียกว่า โลกทั้งโลกกําลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการจับจ่ายใช้สอยและ การใช้เงินพร้อม ๆ กันโลก FinTechหรือ Finance + Technology มีบทบาทสําคัญกับชีวิตของคนมานาน แต่ทว่ามันกําลังมีบทบาทมากขึ้น และทรงพลังมากขึ้นเพื่อสามารถจัดการทุกอย่างผ่านโทรศัพท์มือถือของคุณ ! หากคุณเป็นคนที่ใช้จ่ายซื้อสินค้าในซ่องทางออนไลน์อยู่แล้ว คงไม่ต้องแนะนําถึงบริการ Online Banking ต่าง ๆ ที่สมัยนี้แต่ละธนาคาร ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นกันมาเกือบทุกเจ้าแล้ว (แม้ว่าบางเจ้าจะยัง ไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่ก็เถอะ) ตัวยบริการเช่นนี้ช่วยลดภาระของคนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประหยัดเวลาออกไปทําธุรกรรม, ลดค่าใช้จ่าย ในเรื่องค่าธรรมเนียมธุรกรรม, พ่วงส่วนลดและสิทธิพิเศษกับบริการ อย่างอื่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือช็อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้า) FinTechในต่างประเทศบูมมาระยะหนึ่ง (ระยะใหญ่) แล้วครับ แต่ในประเทศไทย คนที่รู้จักเรื่องนี้ยังค่อนข้างจํากัดอยู่ในวงแคบ อีกทั้งในเรื่องของบริการ ที่มีมารองรับก็ยังค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นแอปพลิเคชั่นที่ทางธนาคาร ออกมาให้กับลูกค้าของตัวเอง แต่ก็ยังมีแอปพลิเคชันของเจ้าอื่นอย่าง Airplay ที่สามารถจ่ายครบจบในแอปฯ เดียว ทั้งค่าน้ํา ค่าไฟ โอนเงิน เติมเงินโทรศัพท์ เติมเกม (อะไรจะครบถ้วนขนาดนั้น) ส่วนของทางฝั่ง ต่างประเทศก็มีหนุ่มน้อยสตาร์ทอัพวัย 26 ปีอย่าง Ed Mastaveckasที่พัฒนาแอปพลิเคชัน Bud ที่ไปไกลกว่าแค่การทําธุรกรรมทางโทรศัพท์ แต่ Bud เป็นแอปฯ ที่ช่วยให้คนสามารถบริหารการเงินของตัวเองได้อย่าง มีประสิทธิภาพแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และนั่นทําให้ บริษัทธุรกรรมทางการเงินระดับโลกอยากเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน การขับเคลื่อน Bud


ชินวรสิริวัฒน์, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง.  มาตาปิตุปฏฐานกถา.  พระนคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2478.        หนังสือนี้บรรยายถึงการบำรุงเลี้ยงบิดามารดา หลาย ๆ หัวข้อ ได้แก่ คาถาในโณนันทชาดก, มารดาบิดาเป็นพรหมเป็นต้นของบุตร, สพรหมสูตร, บุตรไม่อาจแทนคุณมารดาบิดาด้วยโลกียกิ, มาตาปิตุคุณสูตร, บำรุงมารดาบิดาด้วยกิจ 2 อย่าง, เรื่องมิตตวินทุกะ, เรื่องบุรุษผู้หนึ่ง, เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง, เรื่องสุวรรณสาม เป็นต้น




ชื่อเรื่อง : แนะนำวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ชื่อผู้แต่ง : ชลธีร์ ธรรมวรางกูร, พระมหา ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : หน่วยพิมพ์และจำหน่ายศาสนภัณฑ์ (โรงพิมพ์การศาสนา) จำนวนหน้า : 168 หน้า สาระสังเขป : วัดเบญจมบพิตรเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เพิ่มสร้อยนามเป็น ดุสิตวนาราม เพื่อให้คล้องกับพระราชอุทยานสวนดุสิต และทรงแสดงพระราชประสงค์ไว้ว่า เมื่อพระองค์สวรรคตและถวายพระเพลิงแล้ว ให้นำพระสรีรางคารมาบรรจุไว้ภายใต้รัตนบังลังก์พระพุทธชินราช ภายในวัดมีพระวิหารคด ซึ่งเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป เนื่องจากมีการสร้างพระพุทธรูปโบราณแบบต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ พระยืนปางห้ามญาติ แบบสมัยสุโขทัย พระนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย แบบสมัยเชียงแสน พระยืนแบบญี่ปุ่นหล่อขยาย เป็นต้น นอกจากนี้มีเสนาสนะวัตถุสถานและปูชนียสถานที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น หอระฆัง พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาหน้าพระอุโบสถ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้น


องค์ความรู้ เรื่อง ศาสนาพุทธและพราหมณ์ จากเนินทางพระ จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


19 กันยายน วันพิพิธภัณฑ์ไทย             พิพิธภัณฑสถาน ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ว่า สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรม หรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ          พิพิธภัณฑสถาน มาจากคำภาษาบาลีและสันสกฤต “พิพิธ” แปลว่า ต่างๆ กัน “ภัณฑ์” แปลว่า สิ่งของ เครื่องใช้ “สถาน” หมายถึง สถานที่ แหล่ง ที่ตั้ง ดังนั้น คำว่า “พิพิธภัณฑสถาน” จึงแปลว่า “สถานที่สำหรับรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เป็นต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหงตั้งอยู่ทางด้านขวาของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประวัติความเป็นมา พิพิธภัณฑ์ไทย           ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 17 ทางด้านซีกโลกตะวันตก ได้มีการตื่นตัวในด้านการเก็บรวบรวม และสะสมทรัพย์สมบัติ และมรดกต่างๆ ทั้งที่เป็นวัตถุ สิ่งของมีค่า สิ่งเก่าแก่ ที่หายาก และแปลกๆ เพื่อเป็นหลักฐานทางมรดกวัฒนธรรมของชาติอันเป็นการแสดงถึงความเป็นใหญ่และความมั่งคง ของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด ซึ่งเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมนั้น จะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชาตินั้นๆ ได้มีการรวบรวมหลักฐานที่เป็นศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์จากการคิดค้นหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของชาติ มาประมวลเป็นหลักฐาน ให้ชีวิตของชนในชาตินั้นได้           ในดินแดนสยามหรือประเทศไทยพิพิธภัณฑสถานถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์เป็นผู้ที่ทำการริเริ่มดำเนินการรวบรวมวัตถุที่เป็นมรดกวัฒนธรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งราชฤดีเป็นครั้งแรก ต่อมาทรงโปรดฯ ให้ย้ายสิ่งของจัดแสดงมาไว้ยังพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์           เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้ย้ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และของแปลกประหลาดจากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงในหอมิวเซียม (Museum) ณ หอคองคอเดีย ซึ่งเป็นอาคารใหม่ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพิธีเปิด หอมิวเซียม หรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย ในวันที่ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ถือเป็นวันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถานของชาติแห่งแรกในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นพิพิธภัณฑสถานของหลวงหรือทางราชการที่จัดตามหลักวิชาการสากลและเปิดให้สาธารณชนเข้าชมเป็นครั้งแรก พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย พิพิธภัณฑ์สถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศ           พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ทั่วไป มีพระยาภาสกรวงษ์ (พร บุนนาค) นายทหารในกรมทหารมหาดเล็ก เป็นหัวหน้าฝ่ายไทย และมีนายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ เป็นผู้อำนวยการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถาน หอคองคอเดียให้เป็นแบบสากลการจัดแสดงในหอคองคอเดีย แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1.ศิลปะโบราณวัตถุของไทย 2. ศิลปะโบราณวัตถุส่วนพระมหากษัตริย์ และ 3.ศิลปะโบราณวัตถุจากต่างประเทศ ซึ่งนายเฮนรี่ ยังเป็นผู้ริเริ่มจัดทำแค็ตตาล็อกบัญชีภาษาอังกฤษ และภาษาไทยด้วย           จนถึงปีพุทธศักราช 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้ย้าย “มิวเซียม” จากพระบรมมหาราชวังไปจัดตั้งในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) โดยใช้พระที่นั่งส่วนหน้าสามองค์เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469           ครั้นรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานอาคารหมู่พระวิมานทั้งหมด เป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการถาวร เรื่องประวัติศาสตร์ไทย ในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน เรื่องโบราณคดี ประวัติศาสตร์และศิลปกรรม ในอาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ เรื่องประณีตศิลป์และชาติพันธุ์วิทยา ในอาคารหมู่พระวิมาน           จากอดีตจนถึงปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานไทยมีมากมายหลายประเภท ตามลักษณะของศิลปวิทยาการที่เกิดขึ้นในโลก ทั้งทางศิลปะ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา สังคมวิทยา และสาขาวิชาอื่นๆ กว่า 200 แห่ง และได้ยกระดับกิจการพิพิธภัณฑ์ไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยเข้าเป็นสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM ซึ่งให้คำจำกัดความว่า “พิพิธภัณฑ์” ว่ามิใช่เป็นแหล่งเก็บรวบรวม สงวนรักษาศึกษาวิจัย และจัดแสดงเฉพาะวัตถุเท่านั้นแต่พิพิธภัณฑ์ไดัรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหลักฐานสำคัญต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมวัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ จากหลักฐานในอดีต สิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พิพิธภัณฑ์ สามารถแบ่งประเภทตามหลักสากลทั่วโลก ดังนี้ พิพิธภัณฑสถานทางศิลปะ (Museum of Art) พิพิธภัณฑสถานศิลปะร่วมสมัย (Gallery of Contemporary Arts) พิพิธภัณฑสถานทางธรรมชาติวิทยา ( Natural History Museum) พิพิธภัณฑสถานทางวิทยาศาสตร์และเครื่องกล (Museum of Science and Technology) พิพิธภัณฑสถานทางมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา (Museum of Anthropology and Ethnology) พิพิธภัณฑสถานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี (Museum of History and Archaeology) พิพิธภัณฑสถานประจำท้องถิ่น (Regional Museum) พิพิธภัณฑสถานแบบพิเศษ (Specialized Museum) พิพิธภัณฑสถานของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา (University Museum)           ในประเทศไทย พิพิธภัณฑสถาน ในสังกัดกรมศิลปากร ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ จึงมีคำว่า “แห่งชาติ” กำกับ นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑสถานอื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑสถานในส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ เช่น รัฐสภา สวนสัตว์ดุสิต พิพิธภัณฑสถานในส่วนประจำวัด หรือ องค์กรทางศาสนา เช่น พิพิธภัณฑสถานแสดงชีวประวัติหลวงปู่มั่น ท่านพุทธทาส และพิพิธภัณฑสถานของเอกชน เช่น เมืองโบราณ บ้านจิม ทอมสัน เป็นต้น พิพิธภัณฑสถานในความดูแลของกรมศิลปากร มี 2 ลักษณะ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์  เป็นต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนภูมิภาค เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น หน้าที่ของพิพิธภัณฑสถาน แบ่งเป็นหมวดใหญ่ๆ ดังนี้1.รวบรวมวัตถุ (Collection)  2.จำแนกประเภทวัตถุ (Identifying)  3.ทำบันทึกหลักฐาน (Recording)  4.สงวนรักษา (Preservation)  5.จัดแสดง(Exhibition) และ  6.ให้บริการทางการศึกษา (Education) พิพิธภัณฑสถาน จึงมีความสำคัญในฐานะสถาบันแห่งการอนุรักษ์มรดกอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สถาบันแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ ในปีพุทธศักราช 2538 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบประกาศให้วันที่ 19 กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของพิพิธภัณฑสถานต่อการปลูกฝังให้คนไทยรัก และหวงแหนในมรดกศิลปวัฒนธรรม อันเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย เพื่อประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการศึกษาและการเรียนรู้ของปวงชนชาวไทยโดยทั่วกัน





เสฐียรโกเศศ. ชีวิตของชาววัด. พระนคร: ประพาสต้นการพิมพ์ ,2499. 24 หน้า.               กล่าวถึงชีวิตของชาววัด และชาวบ้านซึ่งต่างพึ่งพาอาศัยอย่างใกล้ชิด คือชาววัด ย่อมพึ่งชาวบ้าน และชาวบ้านต้องพึ่งชาววัด ด้วยวัดเป็นสถานที่อบรมจิตใจ และให้วิชาความรู้แก่ชาวบ้าน เพราะแต่ก่อนชาวบ้านเมื่อวัยเด็กอยู่วัด เพื่อศึกษาวิชาและศึกษาศาสนาเบื้องต้น เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ก็อุปสมบท เป็นพระภิกษุสืบศาสนา เมื่อชาวบ้านได้อุปการะจากชาววัดดังกล่าว ก็จะร่วมกันทำนุบำรุงวัดวาอาราม รวมความว่า ชาววัดบำรุงชาวบ้านด้วยอาหารทางใจ ชาวบ้านก็บำรุงชาววัดด้วยอาหารภัต หล่อเลี้ยงร่างกาย แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน พิมพ์ชำร่วยในงานทำบุญครบ 60 ปีของพระครูสุธีวรคณาจารย์ เผยแผ่จังหวัดปราจีนบุรี วัดอุดมวิทยาราม 28 มกราคม 2499294.3138 ส893ช


          ลวดลายต่าง ๆ ที่ใช้ในการตกแต่งเครื่องสังคโลก แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ลวดลายที่พบเห็นได้ในธรรมชาติ เช่น ลายดอกไม้ ลายพันธุ์พฤกษา ลายสัตว์ และลวดลายประดิษฐ์ จำพวกลายเรขาคณิต ลายช่องกระจก ซึ่งลวดลายเหล่านี้ยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการรับอิทธิพลมาจากต่างชาติด้วย เช่น ลายพันธุ์ไม้ก้านขด ที่พบในภาชนะดินเผาของจีน ลายตาราง (หรือลายร่างแห หรือลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน) ที่สันนิษฐานว่าน่าจะสืบทอดมาจากลายประแจจีน เป็นต้น          ไม่เพียงช่วยให้เครื่องสังคโลกมีความสวยงามเท่านั้น แต่ลวดลายดังกล่าวยังถือเป็นลายมงคลที่ซ่อนความหมายต่าง ๆ ไว้อีกด้วย เช่น ลายดอกบัว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ และฤดูร้อน ลายดอกเบญจมาศ หมายถึง การหยุดพักผ่อน การมีอายุยืน และฤดูใบไม้ร่วง ลายดอกโบตั๋น หมายถึง ความร่ำรวย เกียรติยศ ความรัก ความงาม และฤดูใบไม้ผลิ ลายดอกพิกุล และ ลายปลา หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ลายปลาคู่ หมายถึง ความปรองดองและความสุขในชีวิตสมรส ลายนกยูง หมายถึง ความงามและการมีเกียรติยศ ลายดอกบัว ลายดอกเบญจมาศ ลายดอกพิกุล ลายปลา ลายนกยูง ลายพันธุ์พฤกษา ลายช่องกระจก ลายตาราง หรือลายร่างแห ------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก------------------------------------------------


ทองคำที่ใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชระหว่าง พ.ศ.2537 - 2538



Messenger