ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,318 รายการ

ชื่อเรื่อง                                สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถผู้แต่ง                                   ประยูร พิศนาคะประเภทวัสดุ/มีเดีย                 หนังสือหายากISBN/ISSN                            -หมวดหมู่                               ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลขหมู่                                  923.1593สถานที่พิมพ์                          พระนครสำนักพิมพ์                            สำนักงานหอสมุดกลางปีที่พิมพ์                                -ลักษณะวัสดุ                          508 หน้าหัวเรื่อง                                 ประเพณี--ขนบธรรมเนียม--คติชนวิทยาภาษา                                    ไทย


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน -- เมื่อหลายสิบปีก่อน อุตสาหกรรมป่าไม้ของไทยได้รับความนิยม ป่าไม้ในภาคเหนือเช่นที่จังหวัดน่านมีพันธุ์ไม้ชั้นดีมากมาย รัฐได้กำหนดผืนป่าบางส่วนสำหรับสัมปทานทำไม้หรือเรียกกันทั่วไปว่า " เปิดป่า " . เอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่านฉบับหนึ่ง คือแผนที่ป่าไม้นอกโครงการน้ำน่านฝั่งซ้าย แสดงบริเวณป่าน้ำว้า ตำบลขึ่งและตำบลไหล่น่าน ที่เจ้าหน้าที่หรือเอกชนร่างการสำรวจไว้เพื่อขอทำไม้. ลักษณะแผนที่ถูกจัดทำในขนาดมาตราส่วน 1: 50,000 ภายในพื้นที่มีแม่น้ำว้าไหล่ผ่านกลางจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก ลำห้วยต่างๆ แตกสาขาจากแม่น้ำออกไปดั่งเส้นเลือดฝอย เช่น ห้วยเดีย ห้วยปง ห้วยหนวน ห้วยสะลื่น ห้วยสวน และห้วยผายาว ฯลฯ ริมแม่น้ำประกอบไปด้วยหมู่บ้านเป็นระยะ ได้แก่ บ้านขึ่ง บ้านท่าลี่ บ้านห้วยสวน บ้านห้วยเม้น และบ้านหาดไร่ ถึงแม้แผนที่จะไม่แสดงความเขียวครึ้มของผืนป่า หากผู้สำรวจได้ระบายสีม่วงบริเวณพื้นที่ขอทำไม้ไว้ แสดงว่าจุดนั้นต้องอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ แน่นขนัด ที่สำคัญมันอยู่เลียบแม่น้ำว้าทั้งสองฝั่งและกว้างเกือบ 3 ใน 4 ของแผนที่ ทั้งมิต้องกล่าวถึงพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ด้วย คงจะมีปริมาณมากเช่นกัน. อย่างไรก็ดี นอกจากองค์ประกอบทางกายภาพแล้ว แผนที่ยังสะท้อนนัยให้เราทราบอีกบางประการ เช่น. 1. คนอยู่กับป่า ทั้งดำรงชีพหรือพึ่งพาอาศัยกันและกันมาแต่แรก 2. ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์ ไม่เช่นนั้นไม่ถูกสำรวจเพื่อขอทำไม้ 3. ชื่อแผนที่คือ " ป่านอกโครงการ ... " สันนิษฐานว่าอาจเคยถูกกันเอาไว้ไม่ให้รับสัมปทาน เพื่อสงวนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์. น่าเสียดายที่แผนที่ไม่ได้ระบุรายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม แม้กระทั่งวันเวลาที่จัดทำ มิฉะนั้น เราจะเข้าใจผืนป่าแห่งนี้มากขึ้น และตอบคำถามหนึ่งได้ว่า สุดท้ายผืนป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน ถูกสัมปทานหรือไม่ ??.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน ผจ นน 1.6/11 แผนที่ป่านอกโครงการน้ำน่านฝั่งซ้าย แสดงบริเวณป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน อำเภอสา จังหวัดน่าน [ ม.ท. ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


วันเด็กแห่งชาติ เรียบเรียงโดย : ภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.70 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              160; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำรายาแผนโบราณ                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม  อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ 


         พระพิมพ์ดินเผา          แบบศิลปะ : ทวารวดี          ชนิด :  ดินเผา          ขนาด : กว้าง 6 เซนติเมตร สูง 9.5 เซนติเมตร          อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 (หรือราว 1,300 - 1,400 ปีมาแล้ว)          ลักษณะ : พระพิมพ์ดินเผารูปพระสาวก เป็นรูปพระภิกษุนั่งขัดสมาธิราบในท่าสมาธิ ครองจีวรห่มเฉียงไม่มีรัศมี สิ่งสำคัญคือด้านหลังองค์พระพิมพ์ มีจารึก อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต          ประวัติ : ได้จากเจดีย์หมายเลข 11 อำเภออู่ทอง          สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/03/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong


 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์แล้ว  ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  พระเจ้าสุรสีห์พิศณวาธิราช  เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลฝ่ายหน้า  และโปรดฯ ให้ย้ายพระนครจากกรุงธนบุรีมาสร้างกรุงเทพมหานคร  เป็นพระนครแห่งใหม่ยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ให้สร้างวังหลวงและวังหน้าขึ้นในเขตกรุงธนบุรีเดิม  โดยใช้คลองคูเมืองธนบุรี  เป็นคลองคูเมืองชั้นใน  และให้ขุดคลองใหม่เป็นคลองคูเมืองของกรุงเทพฯ  เรียกว่าคลองรอบกรุง  สร้างวังหลวงที่ตอนใต้ของพระนคร  ระหว่างวัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)  กับวัดสลัก (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์)  และตั้งวังหน้าขึ้นทางตอนเหนือระหว่างวัดสลักกับคลองคูเมืองเดิม กำหนดให้ท้องที่อาณาบริเวณฟากเหนือของพระนคร  ตั้งแต่แนวถนนพระจันทร์  นับแต่ท่าน้ำตรงไปทางตะวันออกจนถึงประตูสำราญราษฎร์ (ถนนบำรุงเมือง) อันเป็นที่ตั้งของวังหน้า เป็น แขวงอำเภอพระราชวังบวร เป็นเขตปกครองของวังหน้า  คือ  ปกครองกึ่งพระนคร  ตามธรรมเนียมประเพณีสืบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา             “วังหน้า”มีประวัติการสร้างพร้อมกับวังหลวง  โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕  แล้วเสร็จเป็นเบื้องต้นเมื่อราว พ.ศ.๒๓๒๘  จากนั้นได้มีการก่อสร้างอาคารสถาน  ตลอดจนการบูรณะปฏิสังขรณ์สืบมาเป็นลำดับ วังหน้าเมื่อแรกสร้างสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  คงยึดถือแบบแผนการสร้างวังแต่ครั้งกรุงเก่า  กล่าวกันว่าวังหน้าได้รับแบบอย่างมาจากพระราชวังหลวง  รวมถึงแบบแผนบางประการจากพระราชวังจันทรเกษมหรือวังหน้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา  กล่าวคือแผนที่ตั้งของวังตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าวังหลวงและสร้างหันหน้าวังไปทางทิศตะวันออกเช่นเดียวกับพระราชวังจันทรเกษม  ส่วนอาคารพระที่นั่งพระราชมณเฑียรสถานบางแห่งวางผังตามแบบพระราชมณเฑียรสถานภายในพระราชหลวงพระนครศรีอยุธยา             พระราชวังบวรสถานมงคล  มีกำแพงและป้อมปราการล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน  เป็นกำแพงใบเสมาตามธรรมเนียมวังพระมหาอุปราช  ป้อมที่มุมทั้ง ๔ ของพระราชวังบวรฯ  ทำเป็นป้อมรูปแปดเหลี่ยม  หลังคาทรงกระโจม  ส่วนป้อมตามแนวกำแพงสร้างเป็นรูปหอรบ  หลังคาทรงคฤห  นอกกำแพงมีคูและถนนรอบวังทุกด้าน  โดยที่ด้านทิศตะวันตกมีลำน้ำเจ้าพระยาแทนคู  และใช้กำแพงพระนครเป็นกำแพงวังชั้นนอก  ส่วนทิศเหนือเป็นคูพระนครเดิม  มีถนนตัดผ่านพระราชวังตามแนวทิศเหนือ –ใต้ ๓ สาย สายตะวันตก คือ ถนนริมพระนครด้านใน  สายกลาง คือ ถนนหน้าพระธาตุ เป็นเส้นทางพระมหาอุปราชเสด็จไปพระราชวังหลวง  และถนนสายทิศตะวันออก คือ ถนนด้านหน้าพระราชวัง  ด้านเหนือจรดสะพานเสี้ยว  ใกล้กับแนวถนนราชดำเนินทุกวันนี้ 



วันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ นางชุติมา จันทร์เทศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายชำนาญ กฤษณสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน ลงพื้นที่ตรวจสอบโบราณสถานปราสาทกู่ศิลา ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทกู่ศิลา ตั้งอยู่ในเขตตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นธรรมศาลา หรือศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทาง ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗แห่งอาณาจักรเขมร (พ.ศ.๑๗๒๔ - ๑๗๖๑) ซึ่งปรากฏข้อความตามหลักศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา พระองค์ทรงโปรดให้สร้างธรรมศาลาขึ้นตามเส้นทางถนนโบราณเส้นต่าง ๆ เป็นจำนวน ๑๒๑ แห่ง โดยพบหลักฐานธรรมศาลา ตามเส้นทางจากเมืองพระนครถึงเมืองพิมาย จำนวน ๑๗ แห่งกรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานปราสาทกู่ศิลา ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ ตอนที่ ๓๔ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๙ สภาพปัจจุบัน อยู่ในสภาพพังทลาย คงเหลือหลักฐานให้เห็นได้ชัดเจนที่สุด ที่ส่วนผนังด้านทิศใต้ การศึกษาเปรียบเทียบกับสิ่งก่อสร้างรูปแบบเดียวกัน พบว่าลักษณะแผนผังของโบราณสถานปราสาทกู่ศิลา เป็นสิ่งก่อสร้างหลังเดียว หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่มีแนวกำแพงล้อมรอบ รูปแบบของสิ่งก่อสร้างประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ ส่วนที่อยู่ด้านหลังเป็นตัวปราสาท บริเวณด้านทิศตะวันออกของปราสาท มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งสร้างเชื่อมต่อจากตัวปราสาท ประตูทางเข้ามีสองทาง ได้แก่ ทางด้านหน้าด้านทิศตะวันออกของอาคารและทางด้านหลังด้านทิศตะวันตกของปราสาท สิ่งก่อสร้างทั้งหมดใช้หินทรายเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ข้อมูลโดย : นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา





วันที่ 26 มกราคม 2561 นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่ 7 เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เข้าร่วมรับโล่ประกาศเกียรติคุณ และกล่าวแสดงความยินดี ในพิธีเนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาสขอบพระคุณพระเจ้าครบรอบ 130 ปี โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เปิดใช้อาคาร "แบคแทลล์" และระลึกถึงบรรพชนในอดีตที่ทำพันธกิจรับใช้ในดรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ณ อาคารแบคแทลล์ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จังหวัดเชียงราย




ชื่อวัตถุ::สว่านมือ เลขทะเบียน::43/0303/2558 ลักษณะ::ประกอบด้วยแกนเหล็กปลายสว่านกับด้ามไม้เจาะช่องตรงกลางสำหรับเสียบแกนเหล็ก ที่ปลายด้ามทั้งสองข้างเจาะช่องร้อยด้วยเชือก(เชือกขาดชำรุด)กลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   วัตถุ::สิ่วตอกลาย เลขทะเบียน::43/0304/2558 ลักษณะ::ทำด้วยเหล็กทรงเหลี่ยม ตรงกลางบิดเป็นเกลียว ปลายสิ่วแบบคมมีด เส้นตรงกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)     ชื่อวัตถุ::สิ่วตอกลายเลขทะเบียน::43/0305/2558 ลักษณะ::ทำด้วยเหล็กทรงเหลี่ยม ตรงกลางบิดเป็นเกลียว ปลายสิ่วแบบคมมีด เส้นตรงกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::43/0306/2558เลขทะเบียน::สิ่วตอกลาย ลักษณะ::ทำด้วยเหล็กทรงเหลี่ยม ตรงกลางบิดเป็นเกลียว ปลายสิ่วแบบคมมีด เส้นตรงขนาดเล็กกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ไหปลาร้าเลขทะเบียน::43/0314/2558 ลักษณะ::ไหสีน้ำตาลอมเขียวทรงกลม ปากกลม คอสั้น ก้นสอบตัด ส่วนไหล่ทำลายขูดขีดเป็นเส้นตรงรอบ (เคลือบใส)กลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ไหปลาร้าเลขทะเบียน::43/0315/2558 ลักษณะ::ไหสีน้ำตาลอมเขียวทรงกลม ปากกลม คอสั้น ก้นสอบตัด ส่วนไหล่ทำลายขูดขีดเป็นเส้นตรงรอบ (เคลือบใส)กลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยพร้อมฝาเลขทะเบียน::43/0328/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากกลม ก้นตัด พร้อมฝา เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายอักษรมงคลกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.เมือง จ.ชลบุรี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยพร้อมฝาเลขทะเบียน::43/0329/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากกลม ก้นตัด พร้อมฝา เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายอักษรมงคลกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.เมือง จ.ชลบุรี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยพร้อมฝาเลขทะเบียน::43/0330/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากกลม ก้นตัด พร้อมฝา เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายทิวทัศน์กลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.เมือง จ.ชลบุรี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยพร้อมฝาเลขทะเบียน::43/0331/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากกลม ก้นตัด พร้อมฝา เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายทิวทัศน์กลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.เมือง จ.ชลบุรีแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยเลขทะเบียน::43/0332/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากผายออกเล็กน้อย ก้นมีเชิงเตี้ย เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายดอกสี่กลีบในช่องกระจกกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::พลั่วสาดข้าวเลขทะเบียน::43/0001/2547 ลักษณะ::คล้ายพาย มีด้ามจับทรงกระบอก ส่วนปลายมีลักษณะเป็นร่อง ใช้ตักข้าวเปลือกกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล:: อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานีแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::คราดเลขทะเบียน::43/0002/2547 ลักษณะ::สำหรับแยกฟางข้าวออกจากเปลือก ด้ามยาวเป็นทรงกระบอก ปลายมีฟันทำจากเหล็กแหลมกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::โกรกพร้อมแอกเลขทะเบียน::43/0003/2547 ลักษณะ::ทอนไม้ขนาดสั้น คล้ายตัว S สำหรับใส่คอควายไถนากลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::สัตถาเลขทะเบียน::43/0004/2547 ลักษณะ::สำหรับลากข้าวเปลือกให้เป็นกองมีลักษณะคล้ายไม้กระดานมีด้ามจับทรงกระบอกยาวกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)


      นางอัญชิสา เสือเพชร หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี มอบหมายให้ นางสาววิรากร รสเกษร เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร วิธีปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการประชุมเชิงปฏิบัติ การเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร   ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาตม 2561