ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,525 รายการ

***บรรณานุกรม*** พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ภาคปกิณณกะ ภาค 1 สม1 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พุทธศักราช 2493 พระนคร โรงพิมพ์พระจันทร์ 2493


หนังสือชุดนี้จะเป็นหลักฐานแสดงถึงพระปรีชาญาณอันลึกซึ้ง ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมวงศ์จักรีวงศ์ ว่าทรงตรากตรำทำนุบำรุงรักษาบ้านเมืองไว้ด้วยพระวิริยานุภาพอย่างยิ่งและพระราชกรณียกิจเหล่านัน้ ประดุจรากฐานแห่ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศตลอดมาถึงปัจจุบันนี้ทั้งสิ้น




สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ. พระอปัณณกธรรม. พระนคร : โรงพิมพ์ทิพรัตร์, 2468.               พระอปัณณกธรรม นี้ เป็นหนังสือที่แสดงเรื่องชนที่นับถือศาสนาต่างๆ กัน เป็นเรื่องที่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาควรเรียนรู้ เพื่อได้มีแนวปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง


ชื่อเรื่อง          : กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปอิน เมื่องานรัชฎาภิเศกในรัชกาลที่ ๕   ผู้แต่ง             : -   ปี่ที่พิมพ์         : ๒๔๖๔   สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์     : โรงพิมพืโสภณพิพรรฒธนากร   หมายเหตุ      : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ทรงพิมพ์เป็นของชำร่วยในงานฉลองพระสุพรรณบัตร เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔                           หนังสือเรื่อง กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปอิน เมื่อานรัชฎาภิเศกในรัชกาลที่ ๕ เล่มนี้ กล่าวถึงลับแลแต่งประทีปและโคมไฟเป็นเครื่องสักการะทรงพระราชอุทิศถวายเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัชกาลที่๑ถึงรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตลอดจนขุนนางที่มีเกียรติคุณปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการร่วมกันทรงนิพนธ์และแต่งขึ้นสำหรับใช้ประดับลับแลและโคมประทีปในงานรัชดาภิเษกที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖






พระพุทธรูปยืน ปางแสดงธรรม(วิตรรกมุทรา) วัสดุ : ศิลา อายุ/สมัย : ทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) ขนาด : สูง ๑๖๑.๕ เซนติเมตร, กว้าง ๕๔ เซนติเมตร สถานที่พบ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ปัจจุบัน : จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _           พระพุทธรูปปางแสดงธรรม คือ พระพุทธรูปที่แสดงการยกพระกรข้างขวาหรือทั้งสองข้างอยู่ระดับพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้าจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม เรียกว่า วิตรรกมุทรา สื่อถึงท่าทางตอนพระพุทธเจ้ากำลังเทศนา สั่งสอนพระธรรม เช่น พุทธประวัติตอนแสดงธรรมโปรดพระมารดา เป็นต้น            ในประเทศไทยนิยมสร้างพระพุทธรูปปางแสดงธรรม โดยเฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดี มีเอกลักษณ์เด่น คือ การแสดงมุทราทั้งสองพระหัตถ์ ซึ่งปรากฏอยู่ใน ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกพระอังคุฐกับพระดัชนีชนกันเป็นวงกลมปลายนิ้วพระหัตถ์ที่เหลือชี้ขึ้น และอีกลักษณะพระอังคุฐกับพระดัชนีชนกันเป็นวงกลมปลายนิ้วพระหัตถ์ที่เหลืองอเข้าหาฝ่าพระหัตถ์หรือพระอังคุฐ ท่าทางการแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์ถือเป็นพัฒนาการสำคัญที่สื่อถึงความเป็นพื้นเมืองของศิลปะทวารวดีอย่างแท้จริง            จังหวัดลพบุรีพบพระพุทธรูปปางแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์หลายองค์ที่เป็นหลักฐานสำคัญแสดงพัฒนาการศิลปะทวารวดี เช่น พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมพบที่จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ระเบียงคด วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ และพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม พบที่เขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นต้น            นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้วในพื้นที่จังหวัดลพบุรียังพบพระพุทธรูปปางแสดงธรรมอีกหลายองค์ เช่น พระพุทธรูปประทับยืนบนฐานบัวมีจารึกภาษาสันสกฤต ตัวอักษรปัลลวะกล่าวถึงผู้สร้างพระพุทธรูป ครองจีวรห่มคลุมเรียบ ชายจีวรด้านหน้าตกลงมาเป็นวงโค้ง พระเศียรและพระกรทั้งสองข้างหักหายไป แต่จากร่องรอยที่เหลืออยู่สันนิษฐานได้ว่า พระหัตถ์ทั้งสองอยู่ในท่าแสดงธรรม ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมได้ ทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. + + + + + + + + + + + + + + + + + + + ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ อ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทยไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี, ๒๕๕๖. ____________. ศิลปะทวารดี วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรก เริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒ นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.


          วันศุกร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๓ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เพื่อตรวจรับงานจ้างเหมา ในโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า พร้อมทั้งตรวจความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารจัดแสดงหลังใหม่ โดยมีนางสาวอัจฉรา แข็งสาริกิจ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องร่วมการประชุม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นได้เยี่ยมชมหลุมขุดค้น แหล่งโบราณคดีบ้านท่าโป๊ะ หมู่ที่ ๓ ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี



  ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในการฌาปนกิจศพ นายนกยูง พงษ์สามารถ               นำเสนอรายละเอียดการขุดค้นโบราณวัตถุสถานในบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล โดยเริ่มสำรวจและขุดค้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก และได้ไปสำรวจและขุดค้นตั้งแต่อำเภอฮอด ในจังหวัดเชียงใหม่เรื่อยลงมาตามลำน้ำแม่ปิง จนถึงบริเวณที่สร้างเขื่อนในอำเภอสามเงา มีการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุได้กว่า 500 ชิ้น ได้แก่ พระพุทธรูปที่ขุดได้จากบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล พระแก้วกรุเจดีย์ศรีโขง พระบฏในกรุพระเจดีย์วัดดอกเงิน ตุง กลองสะบัดชัย ของเบ็ดเตล็ดจากกรุฮอด และเครื่องถ้วยจีน