ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,529 รายการ

 วิหารคริสตจักรตรัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง    กำเนิดคริสตจักรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย คริสตจักรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ย้อนไปตั้งแต่ในปี พ.ศ.๒๓๗๑ เมื่อศาสนาจารย์จาคอบ ทอมลิน จากสมาคมมิชชันนารีลอนดอน และศาสนาจารย์นายแพทย์คาร์ล กุตสลาฟ จากสมาคมมิชชันนารีฮอลันดา เข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนต์เป็นครั้งแรกในประเทศสยาม ต่อมาจึงมีคณะมิชชันนารีเดินทางเข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาอีกหลายคณะ รวมทั้งมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนด้วย มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ในปี พ.ศ.๒๓๘๐ มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และเมื่อถึงพ.ศ.๒๓๙๒ ศาสนาจารย์สตีเฟน แมตตูน แหม่มแมตตูน(ภรรยา) ศาสนาจารย์นายแพทย์แซมมูเอล เรโนลด์ เฮาส์ ศาสนาจารย์สตีเฟน บุช และภรรยา ได้ดำเนินการประชุมเพื่อสถาปนาคริสตจักรอเมริกันเพรสไบทีเรียนในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตั้งที่ทำการของมิชชันอยู่ที่บริเวณชุมชนกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร และต่อมาย้ายไปยังย่านสำเหร่ทั้งหมดในพ.ศ.๒๔๐๐  สำเหร่จึงกลายมาเป็นศูนย์กลางการทำงานของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน เป็นที่ตั้งของโบสถ์คริสตจักรที่ ๑ มีบ้านพักมิชชันนารี โรงเรียน โรงพิมพ์ ครบครัน มิชชันนารีที่เพิ่งเดินทางมาใหม่สามารถเข้ามาอาศัยเพื่อเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย ก่อนที่จะเดินทางออกไปเผยแผ่ศาสนาและจัดตั้งศูนย์มิชชันนารีในเมืองต่างๆ  สำหรับในภาคใต้ได้มีการจัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่นครศรีธรรมราชเมื่อพ.ศ.๒๔๔๓ และจัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่ตรังในพ.ศ.๒๔๕๓ แรกเริ่มศาสนาคริสต์ในตรัง  ราว ๒๔๔๘(ค.ศ.๑๙๐๕) ศาสนาจารย์จอห์น แคริงตัน(Rev.John Carrington) แห่งสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่คริสต์ศาสนาที่จังหวัดตรัง ในครั้งนั้นท่านได้มอบหนังสือเล่มหนึ่งแก่หลวงเพชรสงคราม (นายบุญนารถ ไชยสอน) ซึ่งทำให้หลวงเพชรสงครามหันมานับถือคริสต์ศาสนาในเวลาต่อมา แต่เนื่องจากเมืองตรังในขณะนั้นไม่มีหมอสอนศาสนาประจำอยู่ จึงทำให้ยังไม่มีโอกาสเข้าพิธีรับบัพติศมา(พิธีรับศีลล้างบาป) จนกระทั่งศาสนาจารย์ ดร.ยูจีน เพรสลี ดันแลป (Rev.Dr. Eugene Pressly Dunlap) เดินทางมายังจังหวัดตรังจึงได้เข้ารับบัพติศมา และถือว่าหลวงเพชรสงครามเป็นคริสเตียนคนแรกของจังหวัดตรัง กำเนิดคริสตจักรตรัง  คริสตจักรตรัง เป็นส่วนหนึ่งของคณะเพรสไบทีเรียนสยาม(คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์) ปัจจุบันสังกัดคริสตจักรภาคที่ ๑๗ คริสตจักรตรังกำเนิดขึ้นในพ.ศ.๒๔๔๘(ค.ศ.๑๙๐๕) เมื่อพระยารัษฎานุปะดิษฐ์(คอซิมบี้ ณ ระนอง) มอบเงิน ๓,๐๐๐ ดอลลาร์ ให้ศาสนาจารย์ ดร.ยูจีน เพรสลี ดันแลป (Rev.Dr. Eugene Pressly Dunlap) เพื่อดำเนินการสร้างโรงพยาบาลทับเที่ยงขึ้นที่จังหวัดตรัง และอนุญาตให้ดำเนินการเผยแผ่คริสตศาสนาได้โดยเสรี แต่ก็ยังไม่นับเป็นวันเริ่มต้นของคริสตจักรตรังอย่างเป็นทางการ สถานีประกาศทับเที่ยง  วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ (ค.ศ.๑๙๑๐) ศาสนาจารย์ ดร.ยูจีน เพรสลี ดันแลป ได้เลือกที่ดินในบริเวณตลาดทับเที่ยงเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลทับเที่ยงและเป็นที่ตั้งของสถานีมิชชั่น(Station)หรือสถานีประกาศ ซึ่งหมายถึงฐานหรือสถานีปฏิบัติงานของคณะ จึงนับเป็นวันเริ่มต้นของคริสตจักรตรังอย่างเป็นทางการ โดยผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการดำเนินงานในระยะเริ่มแรกนี้ได้แก่ ศาสนาจารย์ ดร.ยูจีน เพรสลี ดันแลป (Rev.Dr. Eugene Pressly Dunlap) นางอีเมไลน์ วิลสัน คริสส์(Mrs.Emaline Wilson Criss) ภรรยาของท่าน นายแพทย์ลูเชียส คอนสแตนท์ บัลค์ลีย์ (Dr.Lucius Constant Bulkley) นางเอ็ดน่า บูรเนอร์ บัลค์ลีย์ (Mrs.Ednah Bruner Bulkley) ครูตุ้น(ชาวจีน) และนายจวง จันทรดึกผู้ช่วยด้านการแพทย์ชาวไทย ทั้งนี้ได้เริ่มให้มีการถือศีลระลึกถึงความมรณาของพระเยซู และมีการให้บัพติศมา ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ (ค.ศ.๑๙๑๒) โรงสวดทับเที่ยง   ต่อมาในพ.ศ.๒๔๕๖ (ค.ศ.๑๙๑๓) คริสตจักรตรังได้รับอนุญาตให้ซื้อที่สำหรับสร้างสุสานและโบสถ์ ทั้งนี้ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๕๖ มีสมาชิกคริสตจักรตรัง ๗๐ คน มาช่วยกันปรับที่ดิน และสร้างโบสถ์ทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงจาก บนดินที่ได้ช่วยกันปรับพูนขึ้น รวมทั้งสร้างม้านั่ง และประดับประดาจนเสร็จสิ้นภายใน ๑ วัน เรียกกันว่า “โรงสวดทับเที่ยง” ใช้เป็นสถานที่นมัสการแทนสถานที่เดิมคือห้องประชุมของโรงพยาบาลทับเที่ยง  วิหารทับเที่ยง  ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๕๘ (ค.ศ.๑๙๑๕) ได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ก่อด้วยอิฐฉาบปูนเรียกชื่อว่า “วิหารทับเที่ยง” ซึ่งยังคงปรากฏมาถึงปัจจุบัน โดยในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ ได้มีการประกอบพิธีถวายอาคารหลังนี้ และทำการการฉลองเป็นเวลา ๓ วันในระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ วิหารแห่งนี้สามารถรองรับผู้คนซึ่งเดินทางมานมัสการได้ราว ๒๐๐ คน ลักษณะทางสถาปัตยกรรม  “วิหารทับเที่ยง” มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๙ เมตร  มีหน้าต่างด้านละ ๗ บาน ประตูด้านหน้า ๑ ประตู ด้านหลัง ๒ ประตู หน้าต่างและประตู มีกรอบวงกบรูปวงโค้ง มีคิ้วปูนอยู่เหนือกรอบวงกบ ภายในแบ่งเป็นห้องโถงเล็กด้านหน้าประตู และห้องโถงใหญ่ภายใน โดยที่ผนังเหนือซุ้มหน้าห้องโถงเล็กมีอักษรจารึกว่า “วิหารคริศศาสนาสร้างค.ศ.๑๙๑๕” ส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์แบบเก่า ด้านข้างของอาคารมีหอระฆัง โดยส่วนหลังคาของหอระฆังเมื่อแรกสร้างนั้นมีลักษณะเป็นดาดฟ้า รูปทรงคล้ายป้อมทหารโบราณ โดยในเวลาต่อมาได้ทำการต่อเติมหอระฆังและย้ายระฆังจากชั้นที่ ๒ ไปไว้ชั้นที่ ๓ รวมทั้งเปลี่ยนรูปทรงหลังคาของหอระฆังด้วย การบูรณะ พ.ศ.๒๕๒๘ (ค.ศ.๑๙๘๕)  ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม การบูรณะในครั้งนี้ได้เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากกระเบื้องซีเมนต์แบบเก่า มาเป็นกระเบื้องใยสังเคราะห์ ปรับปรุงเพดานด้วยการบุกระเบื้องยิปซัม เปลี่ยนพื้นจากพื้นปูนหยาบเป็นปูพื้นด้วยกระเบื้องเซรามิกส์สีขาวครีม ทาสีผนังทั้งภายนอกและภายใน และทำเวทีใหม่ให้ลดความสูงลง  การบูรณะ พ.ศ.๒๕๕๐(ค.ศ.๒๐๐๗)  พ.ศ.๒๕๕๐ คณะกรรมการบริหารคริสตจักรตรังเห็นสมควรให้มีการบูรณะวิหารทับเที่ยงที่ชำรุดทรุดโทรมลง จึงมีคำสั่งลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ แต่งตั้งนายเทิดศักดิ์ ตรีรัตนพันธ์ เป็นผู้ควบคุมดูแลการบูรณะ ให้นายสนิท พานิช เป็นวิศวกรที่ปรึกษา โดยใช้งบประมาณจากการถวายของสมาชิกคริสตจักรตรังในการดำเนินการ การบูรณะในครั้งนี้ได้เปลี่ยนกลับมาใช้กระเบื้องว่าวตามแบบโบราณ ซ่อมแซมผนังส่วนที่แตกร้าวโดยใช้กรรมวิธีแบบโบราณ  เสริมกระจกใสบริเวณหน้าต่าง ออกแบบตู้ไม้สำหรับติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เปลี่ยนวัสดุปูพื้นจากเซรามิกส์เป็นแผ่นหินอ่อนจากสระบุรี ปรับปรุงระบบไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้การบูรณะได้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น  พ.ศ.๒๕๕๒ วิหารคริสตจักรตรัง ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม  โบราณสถานวิหารคริสตจักรตรัง  พ.ศ.๒๕๔๕ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวิหารคริสตจักรตรัง เป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕  ------------------------------------------------------  เรียบเรียงโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา


         แหล่งโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ที่พบแผ่นหินรูปคล้ายใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า “ใบเสมา” ได้แก่ ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์         ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดิน เป็นส่วนหนึ่งของเขต ทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งอยู่ห่างจากลำน้ำมูลเพียง ๕ กิโลเมตร เท่านั้น ภายในชุมชนโบราณ พบกลุ่มใบเสมา ๒ กลุ่ม ได้แก่ ๑. โนนสิมมาใหญ่ ๒. โนนสิมมาน้อย ซึ่งรูปแบบใบเสมาที่พบ สามารถกำหนดอายุสมัยอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖-------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา







          กรมศิลปากร กำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๔ ณ วัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในวันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. และขอ เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยโดยเสด็จพระราชกุศลได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป           ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรรับผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๔ นำไปถวาย ณ วัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในวันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยจะมีพิธีสมโภชองค์พระกฐิน ในวันศุกร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๘.๐๐ น. จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ โดยเสด็จพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๔ ได้ที่ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ในกรณีส่งธนาณัติ หรือ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ โปรดสั่งจ่ายในนาม ผู้อำนวยการกลุ่มคลังและพัสดุ กรมศิลปากร ณ ที่ทำการไปรษณีย์หน้าพระลาน กทม. ๑๐๒๐๐ หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารออมสิน สาขาหน้าพระลาน บัญชีเลขที่ ๐ ๕ ๐ ๕ ๗ ๐ ๓ ๔ ๕ ๕ ๙ ๐ ชื่อบัญชี การกุศลกรมศิลปากร ประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะได้รวบรวมนำเข้าสมทบถวายบำรุงพระอารมหลวงวัดอัมพวันเจติยาราม และขอรับใบอนุโมทนาบัตรต่อไป สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๗๘๑๒          วัดอัมพวันเจติยาราม เดิมชื่อว่า วัดอัมพวา เป็นศาสนสถานสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ และมีความเกี่ยวเนื่องกับพระบรมราชจักรีวงศ์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๓๒๕ เมื่อแรกสถาปนากรุง รัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณวัดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


          เป็นที่ทราบกันดีว่าภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ได้รับการตีพิมพ์เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ ในหนังสือ “ศิลปสมัยลพบุรี” โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งภาพถ่ายนี้เป็นหลักฐานสำคัญในการทวงคืนทับหลังชิ้นนี้กลับสู่ประเทศไทย นอกจากนี้หน่วยศิลปากรที่ ๕ กรมศิลปากร ได้เคยบันทึกภาพทับหลังปราสาทเขาโล้นไว้เมื่อราวพุทธศักราช ๒๕๐๓ ด้วยเช่นกัน          ภาพถ่ายทั้งสองครั้งนั้นทำให้ทราบว่าทับหลังที่ซุ้มประตูด้านตะวันออกของปราสาทเขาโล้น ประกอบด้วยเทวดานั่งชันเข่าบนเกียรติมุข (หน้ากาล) ใต้ลิ้นของเกียรติมุขมีท่อนพวงมาลัยแยกออกทั้งสองด้าน ปลายท่อนพวงมาลัยขมวดเป็นวงโค้งสลับกัน จัดเป็นทับหลังศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบบาปวนตอนต้น ซึ่งปัจจุบันรูปเทวดาได้ถูกกะเทาะหายไป           นอกจากทับหลังแล้ว ส่วนประกอบซุ้มประตูทำจากหินทราย ได้แก่ แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง ซึ่งมี ๒ ชิ้นนั้น สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้พบชิ้นที่เคยประดับด้านบนขวาของทับหลังจากการขุดแต่งปราสาทเขาโล้น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๒ เสาประดับกรอบประตู แปดเหลี่ยม สลักลวดลายที่กำหนดอายุได้ในศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบเกลียง ปัจจุบันยังไม่พบว่าอยู่ที่ใด          กรอบประตู สลักลายลวดบัวขนานกันไป ในพุทธศักราช ๒๔๔๗ เอเตียน เอโมนิเยร์ (Étienne Aymonier) ได้ระบุว่ามีจารึกภาษาสันสกฤตและเขมรบนกรอบประตูด้านเหนือและใต้ ซึ่งต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๙๗ ฌอช เซแด็ส (George Cœdès) ได้อ่าน-แปลและได้กำหนดทะเบียนเป็น K.232 เนื้อความในกรอบประตูด้านใต้ ระบุว่า ศรีมันนฤปทินทร ขุนนางของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ที่ได้มาปกครองดินแดนบริเวณนี้ ได้สร้างเทวสถาน ไว้บนภูเขา “มฤตสังชญกะ” เพื่อประดิษฐานรูปพระศัมภุ (พระศิวะ) พระเทวีและพระศิวลึงค์ (อีศลิงคะ) เมื่อมหาศักราช ๙๒๙ (พุทธศักราช ๑๕๕๐) ซึ่งจากการขุดค้นของกรมศิลปากรก็พบว่าปราสาทเขาโล้น เป็นปราสาท ๓ หลัง ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๑ ดังนั้นปราสาทเขาโล้นจึงเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายหรือนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่          ส่วนกรอบประตูด้านเหนือระบุว่าในมหาศักราช ๙๓๘ (พุทธศักราช ๑๕๕๙) พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้ มรตาญโขลญศรีวีรวรมัน มาประดิษฐาน “เสาจารึก” ที่ “ภูเขาดิน” หมายถึงภูเขา “มฤตสังชญกะ” แห่งนี้ ปัจจุบันกรอบประตูทั้งด้านเหนือและใต้นี้ เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้สำรวจและให้ทะเบียนกรอบประตูด้านเหนือเป็น จารึกวังสวนผักกาด (กท.๕๓) และกรอบประตูด้านใต้เป็นจารึกวังสวนผักกาด ๒ (กท.๕๔)          อย่างไรก็ตามกรอบประตูทั้งสองชิ้นนี้แตกหัก จึงได้พบชิ้นส่วนกรอบประตูจากการขุดค้นด้วย ดังนั้นจึงไม่สามารถนำกรอบประตูทั้ง ๒ ชิ้นนี้มาติดตั้งในตำแหน่งเดิมได้ ในการบูรณะจึงได้เสริมกรอบประตูและเสาประดับกรอบประตูหินทราย ร่วมกับกรอบประตูชิ้นบนที่พบบริเวณปราสาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับติดตั้ง ทับหลังในอนาคต ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๓ภาพที่ ๑ ทับหลังปราสาทเขาโล้น ในขณะที่จัดแสดงในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มา: Asian Art Museum Online Collection ภาพที่ ๒ ภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ที่มา: หนังสือ ศิลปะสมัยลพบุรีภาพที่ ๓ ภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ภาพที่ ๔ ภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ภาพที่ ๕ แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง พบจากการขุดค้นภาพที่ ๖ และ ๗ ปราสาทเขาโล้น หลังการอนุรักษ์


ชื่อเรื่อง                                วินยธรสิกฺขาปท...(สิกขาบท) สพ.บ.                                  300/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           60 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระวินัยปิฎก บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี      


ชื่อเรื่อง                                สุวัณณต่อมคำ (สุวัณณต่อมคำ) สพ.บ.                                  350/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           62 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.172/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  94 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับ, มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 98 (49-66) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ติสรณคมน(พระไตรสรณคมน์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.47/1-2ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.224/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 112 (170-179) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : วินยกิจฺจ(บาลีวินัยกิจ) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.359/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ทองทึบ-รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 139  (411-419) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


      หม่อมเจ้าการวิก ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2460 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ กับหม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. 2473 ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียน Lycée Perier ประเทศฝรั่งเศส       หม่อมเจ้าการวิกมีความสนพระทัยในด้านศิลปะตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โปรดการการเขียนภาพลายเส้นการ์ตูนล้อเลียน จึงทำให้พระองค์เริ่มเรียนรู้เทคนิคการเขียนภาพสีน้ำที่ประเทศฝรั่งเศส หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หม่อมเจ้าการวิกได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ไปประทับที่ประเทศอังกฤษเพื่อถวายการรับใช้ ระหว่างที่ตามเสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ ก็ทรงเขียนภาพทิวทัศน์ของสถานที่นั้นๆ ไว้ด้วย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น หม่อมเจ้าการวิกได้เข้าประจำการในกองทัพอังกฤษและเข้าร่วมขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ทรงใช้เวลาว่างจากการฝึกซ้อมในค่ายทหารที่ประเทศต่างๆ ด้วยการเขียนภาพสีน้ำ       หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หม่อมเจ้าการวิกเสด็จกลับมาประทับที่ประเทศไทย และได้พบกับนายโมเนต์ ซาโตมิ (Monet Satomi) อุปทูตด้านวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และศิลปินชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ณ ขณะนั้น ซาโตมิได้แนะนำให้พระองค์ลองส่งภาพเขียนสีน้ำที่มีชื่อว่า “สิงห์” (ภูเขาลูกหนึ่งในประเทศอินเดีย) เข้าร่วมประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2493) โดยได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม หลังจากนั้นหม่อมเจ้าการวิกทรงส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดต่อเนื่องหลายครั้ง (ครั้งที่ 2 6 8 9 10 และ 11) และได้รับรางวัลทุกครั้งที่ส่งเข้าร่วมการประกวด       จากนั้นพระองค์ได้รับการทูลเชิญให้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติถึง 22 ครั้ง ในฐานะผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านทัศนศิลป์ พระองค์จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการศิลปะของไทยนับแต่นั้น ทรงดำรงตำแหน่งนายกศิลปสมาคมระหว่างชาติแห่งประเทศไทย ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในเวทีนานาชาติ โดยการสนับสนุนศิลปินไทยให้ได้เข้าร่วมประชุม แสดงผลงานศิลปะ และศึกษาต่อในต่างประเทศ       หม่อมเจ้าการวิกเป็นจิตรกรผู้มีฝีมือสูงในการเขียนภาพสีน้ำ ผลงานในยุคแรกมีลักษณะเหมือนจริง ต่อมาจึงคลี่คลายเป็นแบบกึ่งนามธรรม พระองค์โปรดการเขียนภาพทิวทัศน์และบรรยากาศของสถานที่ต่างๆ เมื่อเสด็จกลับมาประทับที่ประเทศไทยแล้วจึงเริ่มเขียนภาพเกี่ยวกับวิถีชีวิตและงานประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น ภาพ “นครปฐม” (พระร่วงโรจนฤทธิ์/ไปไหว้พระนครปฐม) ใช้เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ ฝีแปรงเรียบง่าย แต่แสดงถึงความเชี่ยวชาญและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2501)        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของหม่อมเจ้าการวิกไว้ในสูจิบัตรประกอบการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2503) ว่า “…ภาพทิวทัศน์ต่างๆ นั้น ท่านใช้พู่กันป้ายสีสองสามครั้งก็เสร็จ…” และ “…หม่อมเจ้าการวิกท่านเขียนรูปคนขนาดเล็ก โดยใช้วิธีใช้สีแต้มเป็นจุดๆ อย่างฉลาด…” แม้ว่าจะทรงเป็นจิตรกรสมัครเล่น แต่พระองค์ก็ทรงชำนาญในการเขียนสีน้ำอย่างยอดเยี่ยม หม่อมเจ้าการวิก สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 สิริพระชันษา 85 ปี        พ.ศ. 2558 กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องเชิดชูพระเกียรติให้หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ทรงเป็น “บูรพศิลปิน” สาขาทัศนศิลป์