ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,668 รายการ


          การเดินทางไปเที่ยวยังถ้ำพระยานครปัจจุบันนี้ มี ๒ เส้นทางหลักคือ เดินเท้าข้ามสันเขาจากหาดบางปูมายังหาดแหลมศาลาซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำพระยานคร หรือโดยทางเรือโดยนั่งเรือโดยสารจากหาดบางปูมายังหาดแหลมศาลาและเดินเท้าเพื่อขึ้นเขาไปยังถ้ำประยานคร บริเวณพื้นราบเชิงเขาของทางเดินขึ้นสู่ถ้ำ ด้านขวามือ จะมีบ่อน้ำอยู่ ๑ บ่อ มีการสร้างศาลาคลุมบ่อน้ำไว้ เรียกว่า “บ่อพระยานคร” มีลักษณะเป็นบ่อน้ำกรุด้วยอิฐฉาบปูน ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางขอบบ่อด้านในประมาณ ๑.๓๘ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางขอบบ่อด้านนอกประมาณ ๑.๘๔ เมตร ลึกประมาณ ๔ เมตร ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่ชัดเจนว่าสร้างขึ้นสมัยใด สันนิษฐานน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าพระยานครผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้พักหลบพายุที่ชายหาดแห่งนี้เป็นเวลานาน จึงได้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่ม*          และในเอกสารจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐ ชื่อ รายงานระยะทาง จ.ศ.๑๒๐๐ (พ.ศ.๒๓๘๑) จดหมายเหตุลมเมื่อออกมาแต่กรุง... (ระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย) หน้า ๘-๑๑ ได้กล่าวถึงเส้นทางเดินเรือจากช่องแสมสารไปยังเขาสามร้อยยอด และมีการแวะพักเติมน้ำจืดตรงบริเวณเขาสัตกูด ซึ่งน่าจะหมายถึงบ่อน้ำนี้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ “...๘ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ พอสว่างเห็นช่องแสมสารพอเป็นเงาๆ ลมสลาตันพัดกล้าไปจนบ่ายโมงหนึ่งแล้ว ..เปลี่ยนเป็นลมสำเภาพัดอ่อนๆมาจนบ่ายสามโมง น้ำขึ้นลมสำเภาพัดกล้าหนักๆ มาจนเพลาบ่ายสี่โมงเศษ เห็นเขาสามร้อยยอด ครั้นเพลาบ่ายหกโมงเศษ เรือมาถึงฝั่งทางตะวันตกตรงเขากะโหลก ทอดนอนอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง ลมสลาตันพัดกล้าหนักอยู่จนสว่าง           ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าออกเกา** ลมสลาตันอีกร้อยหนึ่งจึงเข้ายังสัตกูดได้ พอได้ตักน้ำในวันนั้น...           ในหนังสือชีวิวัฒน์ นิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ใน พ.ศ.๒๔๒๗ เมื่อครั้งเสด็จประพาสในแหลมมลายูฝั่งตะวันออก ในส่วนหัวเมืองตะวันตก ได้มีการกล่าวถึงเขาสามร้อยยอด และบ่อน้ำนี้ ว่า "เรือสุริยมณฑลทอดสมอน้ำลึก ๑๐ ศอก ไกลจากฝั่งประมาณ ๖๐ เส้น ในเกาะตะกูดตรงหน้าอ่าวศาลาบ่อน้ำ ปากทางที่จะขึ้นถ้ำสามร้อยยอด ดูไปจากเรือมีเขาหลายชั้นแลเห็นศาลาแต่ไกล ศาลานั้นตั้งอยู่ไกลจากทะเลประมาณ ๒๐ เส้น ศาลานั้นขื่อกว้าง ๑๐ ศอก ๓ ห้อง ห้องกลางนั้นมีบ่อน้ำๆ จืดสนิท ...”           ส่วนในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ กล่าวถึงบ่อน้ำนี้ไว้ว่า "ที่ชายทเลหน้าเขาถ้ำนี้มีบ่อน้ำ ๑ บ่อ กลม ขุดกว้างประมาณ ๔ ศอก ลึก ๖ ศอก ก่ออิฐเป็นขอบโดยรอบแต่ท้องบ่อขึ้นมา และศาลา ๑ หลัง มุงกระเบื้องไทยครอบบ่อน้ำนั้นพื้นศาลาก็โบกปูนเต็มไปถึงขอบบ่อ น้ำในบ่อจืดพอใช้ได้ บ่อนี้เรียกว่าบ่อพระยานครประมาณว่าทำมาได้สัก ๗๐ ปีแล้ว สันนิษฐานว่าจะเปนเจ้าพระยานคร "น้อยกลาง" เปนผู้สร้างเพราะในสมัยนั้นการไปมาระหว่างกรุงเทพพระมหานคร กับเมืองนครศรีธรรมราชใช้เรือแจวเรือพายเลียบไปตามฝั่งแวะหยุดพักเปนระยะ ที่น่าเขาสามร้อยยอดนี้น่าจะเปนที่พักแรมทางแห่งหนึ่ง และเปนเขาที่มีถ้ำงดงามน่าดู ท่านคงจะเห็นถ้ำนั้นมีผู้คนไปเที่ยวมาก จึงได้สร้างบ่อน้ำไว้ให้เปนสาธารณทาน ด้วยเหตุนี้ถ้ำนั้นจึงมีนามว่าถ้ำบ่อพระยานคร อีกชื่อ ๑ คือหมายความว่า ถ้ำที่มีบ่อน้ำพระยานครสร้าง" ภาพ : บ่อพระยานคร ภาพ : สภาพปัจจุบันบ่อพระยานคร*ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒ กองโบราณคดี กรมศิลปากร,๒๕๓๘ หน้า ๑๐๐**เกา หมายถึง อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่-------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวกรรณิการ์ เปรมใจ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี -------------------------------ที่มาของข้อมูล : กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๘. พยุง วงษ์น้อย และคณะ. พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์. รายงานการสำรวจทางโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี, ๒๕๔๑ สมุดราชบุรี สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ พ.ศ.๒๔๖๘. โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย:พระนคร(กรุงทพฯ),๒๔๖๘. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช. “เขาสามร้อยยอดแขวงเมืองปราณ” ใน ชีวิวัฒน์ เรื่องเที่ยวต่าง ๆ ภาค ๗. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. (จัดพิมพ์เผยแพร่ในงานเฉลิมพระเกียรติ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ครบ ๑๕๐ ปีประสูติ). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุลม เรื่องระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย เลขที่ ๒๒/๑, ๒๒/๒ (จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐)



***บรรณานุกรม*** ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ ปีที่ 7 ฉบับที่ 292 วันที่ 16 มกราคม 2526


ผู้แต่ง : สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : - สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : - หมายเหตุ : -             นำเสนอเนื้อหาเรื่องประวัติการก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช โดยสังเขป



ชื่อเรื่อง                    เสด็จประพาสจันทบุรี ครั้งที่พิมพ์                 -ผู้แต่ง                      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้แต่งเพิ่ม                  -ประเภทวัสดุ/มีเดีย        หนังสือหายากISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์เลขหมู่                      915.932  จ247สกสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์สหกรณ์แห่งประเทศไทยปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               18 ซ.ม. 78; หน้า : ภาพประกอบหัวเรื่อง                    จันทบุรี -- ภูมิประเทศ -- นำเที่ยว                             จันทบุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                    พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสชายทะเลฝั่งตะวันออกจังหวัดจันทบุรี


ชื่อเรื่อง                           โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปักขิยธรรม เผด็จ)สพ.บ.                             146/1กประเภทวัสดุ/มีเดีย                  คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                              พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          56 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม.หัวเรื่อง                           พุทธศาสนา--เทศนา                                              วรรณคดีพุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี





ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง              โคลงกวีโบราณ ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          นิวสเตนซิลการพิมพ์ ปีที่พิมพ์             ๒๕๐๖ จำนวนหน้า         ๗๖  หน้า หมายเหตุ           พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฉลองกุฎิคณะกลาง ก.๒ วัดพระเชตุพนฯ พระนคร ๒๙ มีนาคม ๒๕๐๖                        โคลงกวีโบราณเป็นหนังสือที่รวบรวมโคลงของกวีที่มีชื่อเสียงแต่โบราณหลายท่าน เป็นโคลงที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา บางโคลงก็บอกว่าเป็นพระราชนิพนธ์ แต่ไม่ทราบว่าพระราชนิพนธ์รัชกาลไหน บางโคลงก็บอกว่าเป็นของพระมหาราชบ้าง พระเทวีบ้าง และพระเยาวราชบ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าท่านเหล่านั้นเป็นใครและอยู่ในรัชกาลไหน                         ต้นฉบับประชุมโคลงกวีโบราณ ซึ่งได้มาจากพระราชวังบวรฯ มีบานแพนกว่า “ข้าพระพุทธเจ้าพญาตรัง จ่าโคลงบุราณไว้ได้ถวาย” พระยาตรังคนนี้เป็นกวีมีชื่อเสียงคน๑ เมื่อในรัชกาลที่ ๒ได้แต่โคลงนิราศไว้เรื่องหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “นิราศพระยาตรัง”



ยาแก้ไข้และยาแก้งูกัด ชบ.ส. ๑๒๓ พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0 เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.34/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



Messenger