ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,668 รายการ

          วันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๙ น. พระพิพัฒน์จริยาลังการ (บุญชู เขมปุญฺโญ ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดปรินายกวรวิหาร  ประธานฝ่ายสงฆ์ และนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมในพิธีบวงสรวงบูรณะพระอุโบสถวัดปรินายกวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีนายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการกองโบราณคดี พร้อมด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี


องค์ความรู้ เรื่อง พุทธปฏิมาในแบบศิลปะสุโขทัย : พระพุทธรูปหมวดกำแพงเพชร โดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย


  เอกมุขลึงค์พบจากการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๕ เมืองโบราณ   อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ จัดแสดงห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง   เอกมุขลึงค์พร้อมฐานโยนี ขนาดกว้าง ๗๕.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๐๐ เซนติเมตร สูง ๓๖ เซนติเมตร เดิมแตกเป็นชิ้นส่วน ปัจจุบันต่อไว้โดยเสริมส่วนที่ชำรุดหายไปด้วย ลักษณะเป็นศิวลึงค์ทรงกระบอกกลมปลายมน มีพระพักตร์ของพระศิวะสลักติดอยู่บริเวณส่วนล่างเกือบติดกับฐานโยนี โดยพระพักตร์มีความสูงประมาณ ๖ เซนติเมตร ทรงชฎามกุฎคือมีเส้นผมที่มุ่นมวยขึ้นไปด้านบนแบบนักบวช ทัดจันทร์เสี้ยวบนมวยผม มีพระเนตรที่สามอยู่กลางพระนลาฏ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระพักตร์ส่วนล่างกะเทาะหักหายไป ส่วนฐานโยนีสลักติดกับศิวลึงค์ ลักษณะเป็นแท่นทรงสี่เหลี่ยมยกขอบข้างสูง กึ่งกลางด้านหนึ่งทำเป็นรางยื่นออกมา รูปแบบของเอกมุขลึงค์องค์นี้แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ หรือประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว   เอกมุขลึงค์เป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะ หมายถึง ศิวลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระศิวะปรากฏอยู่ ๑ พระพักตร์ โดยปกติจะประดิษฐานบนฐานโยนี ซึ่งเป็นรูปเคารพแทนองค์พระอุมา ชายาของพระองค์ มักประดิษฐานไว้ในเทวาลัยสำหรับทำพิธีกรรมโดยจะมีการบูชาและสรงน้ำลงบนศิวลึงค์ น้ำจะไหลลงมาบนฐานโยนีและไหล่ผ่านรางที่ยื่นออกมาเพื่อเป็นน้ำมนตร์หรือน้ำศักดิ์สิทธิ์ต่อไป พบมาแล้วในประเทศอินเดียและส่งอิทธิพลให้ดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยนอกจากเมืองโบราณอู่ทองแล้ว ยังพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วย    เอกมุขลึงค์องค์นี้ พบที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๕ โดยขุดพบบริเวณฐานศิลาแลงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จึงสันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้อาจเป็นเทวาลัยสำหรับประกอบพิธีกรรม ทั้งยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการรับคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เข้ามาจากประเทศอินเดียของผู้คนท้องถิ่นบริเวณเมืองโบราณอู่ทองในสมัยนั้นด้วย  --------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง : กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕. เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๘. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมือง โบราณ , ๒๕๖๒. สมศักด์ นิลพงษ์. ศิวลึงค์ศิลาที่ค้นพบในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๖. สมศักดิ์ รัตนกุล “การขุดแต่งโบราณสถานด้านทิศเหนือของคอกช้างดิน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” ศิลปากร ๑๑, ๒ (กรกฎาคม ๒๕๑๐) : ๗๘ – ๘๔. ------------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://www.facebook.com/prfinearts/posts/pfbid0vex7qgLerLqYdX8HMMmDDbTKuysQTPJWTHRqQuv8T1qAwtZQQMXKNDvduPvTH3Djl




อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย         อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย ในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ที่ไหน ?         ย้อนกลับในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ รัฐบาลสยามและอังกฤษ ได้มีการตกลงทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ ๒ โดยรัฐบาลสยามยิมยอมให้รัฐบาลอังกฤษจัดตั้งสถานกงสุลอังกฤษขึ้นที่เชียงใหม่ได้ จากนั้นคนในบังคับของอังกฤษทั้งชาวจีน อินเดีย พม่า ไทใหญ่ ต่างเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพค้าขาย ทำไม้ และเป็นพ่อค้าวัวต่างม้าต่าง         ที่ต้องตั้งคำถามเพราะเกิดความสงสัยจากภาพถ่าย ซึ่งถ่ายโดยนายเอ็ม. ทานาคา ช่างภาพชาวญี่ปุ่น เจ้าของร้านถ่ายรูป ทานาคา เป็นภาพเจ้าหน้าที่สถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วยคนงานนำช้าง ม้า สัตว์เลี้ยงออกมายืนถ่ายรูปที่ด้านหน้าอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ก่อนที่จะนำสัตว์เหล่านี้เดินออกไปตามท้องถนนสายต่าง ๆ ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปประมูล โดยนำเงินที่ได้นั้นส่งไปช่วยรัฐบาลอังกฤษทำสงครามกับประเทศเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศทำสงครามกับกลุ่มมหาอำนาจกลาง          อีกทั้งปรากฏหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุที่กล่าวถึงการเปิดอนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย ความว่า “สตริงเกอร์ได้มาเชิญพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ ไปเปิดอนุสาวรีย์กวีนวิกตอเรีย ซึ่งพวกฝรั่งแลคนในบังคับได้ช่วยออกเงินส่งมาแต่ยุโรป และว่ารูปนั้นหล่อด้วยปรอนส์ สูง ๕ ฟุต ถานทำด้วยศิลาอ่อนสูง ๗ ฟุต ราคาในราว ๖๐๐๐ รูเปีย อนุสาวรีย์นี้ได้ตั้งอยู่ในบ้านกงสุล” ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมอนันตรา ถนนเจริญประเทศ         หลังจากย้ายที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่ไปยังถนนบำรุงราษฎร์ อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย จึงย้ายไปไว้ ณ สุสานชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณฐานอนุสาวรีย์มีข้อความว่า “อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงความรักและความเคารพอย่างยิ่งยวดที่มีต่อสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย และข้าราชบริพารที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ ที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ นคร-ลำปาง แพร่ น่าน สวรรคโลก และระแหง ทั่วดินแดนตอนเหนือของสยาม” ปัจจุบันอนุสาวรีย์ยังคงได้รับการดูแล และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยสามารถเข้าชมได้ทางสโมสรยิมนาคา หรือประตูริมถนนเชียงใหม่ – ลำพูน ตรงข้ามสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.#อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย#เอกสารจดหมายเหตุ#หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเชียงใหม่#สำนักศิลปากรที่๗#สถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่อ้างอิง๑.บุญเสริม  สาตราภัย. ๒๕๒๒. ลานนาไทยในอดีต. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือกการพิมพ์. ๒.บุญเสริม  สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์.๓.มานิจ  ชุมสาย, ม.ล. ๒๕๒๔. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑. กรุงเทพ : พิทยาคาร.๔.สมโชติ  อ๋องสกุล. ๒๕๖๒. ชุมชนรอบวัดในเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ชุมชน โดยศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บริษัท วิทอินดีไซตน์ จำกัด.๕.สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๗. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.๖.สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร๕ กร ๕ ม. ๖๓/๑ เรื่องเปิดอนุสาวรีย์ที่เชียงใหม่.


อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย         อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย ในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ที่ไหน ?         ย้อนกลับในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ รัฐบาลสยามและอังกฤษ ได้มีการตกลงทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ ๒ โดยรัฐบาลสยามยิมยอมให้รัฐบาลอังกฤษจัดตั้งสถานกงสุลอังกฤษขึ้นที่เชียงใหม่ได้ จากนั้นคนในบังคับของอังกฤษทั้งชาวจีน อินเดีย พม่า ไทใหญ่ ต่างเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพค้าขาย ทำไม้ และเป็นพ่อค้าวัวต่างม้าต่าง         ที่ต้องตั้งคำถามเพราะเกิดความสงสัยจากภาพถ่าย ซึ่งถ่ายโดยนายเอ็ม. ทานาคา ช่างภาพชาวญี่ปุ่น เจ้าของร้านถ่ายรูป ทานาคา เป็นภาพเจ้าหน้าที่สถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วยคนงานนำช้าง ม้า สัตว์เลี้ยงออกมายืนถ่ายรูปที่ด้านหน้าอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ก่อนที่จะนำสัตว์เหล่านี้เดินออกไปตามท้องถนนสายต่าง ๆ ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปประมูล โดยนำเงินที่ได้นั้นส่งไปช่วยรัฐบาลอังกฤษทำสงครามกับประเทศเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศทำสงครามกับกลุ่มมหาอำนาจกลาง          อีกทั้งปรากฏหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุที่กล่าวถึงการเปิดอนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย ความว่า “สตริงเกอร์ได้มาเชิญพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ ไปเปิดอนุสาวรีย์กวีนวิกตอเรีย ซึ่งพวกฝรั่งแลคนในบังคับได้ช่วยออกเงินส่งมาแต่ยุโรป และว่ารูปนั้นหล่อด้วยปรอนส์ สูง ๕ ฟุต ถานทำด้วยศิลาอ่อนสูง ๗ ฟุต ราคาในราว ๖๐๐๐ รูเปีย อนุสาวรีย์นี้ได้ตั้งอยู่ในบ้านกงสุล” ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมอนันตรา ถนนเจริญประเทศ         หลังจากย้ายที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่ไปยังถนนบำรุงราษฎร์ อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย จึงย้ายไปไว้ ณ สุสานชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณฐานอนุสาวรีย์มีข้อความว่า “อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงความรักและความเคารพอย่างยิ่งยวดที่มีต่อสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย และข้าราชบริพารที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ ที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ นคร-ลำปาง แพร่ น่าน สวรรคโลก และระแหง ทั่วดินแดนตอนเหนือของสยาม” ปัจจุบันอนุสาวรีย์ยังคงได้รับการดูแล และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยสามารถเข้าชมได้ทางสโมสรยิมนาคา หรือประตูริมถนนเชียงใหม่ – ลำพูน ตรงข้ามสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.#อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย#เอกสารจดหมายเหตุ#หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเชียงใหม่#สำนักศิลปากรที่๗#สถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่อ้างอิง๑.บุญเสริม  สาตราภัย. ๒๕๒๒. ลานนาไทยในอดีต. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือกการพิมพ์. ๒.บุญเสริม  สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์.๓.มานิจ  ชุมสาย, ม.ล. ๒๕๒๔. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑. กรุงเทพ : พิทยาคาร.๔.สมโชติ  อ๋องสกุล. ๒๕๖๒. ชุมชนรอบวัดในเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ชุมชน โดยศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บริษัท วิทอินดีไซตน์ จำกัด.๕.สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๗. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.๖.สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร๕ กร ๕ ม. ๖๓/๑ เรื่องเปิดอนุสาวรีย์ที่เชียงใหม่.



          ภูเขานับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาบรรดาพื้นที่ส่วนต่าง ๆ บนพื้นโลกนั้น พื้นที่ส่วนที่เป็น ภูเขา นั้นนับเป็นพื้นที่ ที่มักถูกยึดโยงทางความเชื่อและวัฒนธรรมให้เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ โดยถือว่าเป็นอำนาจจากเบื้องบน โดยมีน้ำและแผ่นดินเป็นอำนาจพื้นล่างที่รองลงมา ภูเขาในพื้นที่ต่าง ๆ มักจะถูกกำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่สถิตของอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งความเชื่อนี้ก็พบโดยทั่วไปในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพื้นที่อื่น ๆ อีก เช่น จีน ทิเบต และอินเดีย            ในจังหวัดชัยนาทนั้นปรากฎภูเขาอยู่หลายลูก เช่น เขาแหลม เขาพลอง เขาขยาย เขาท่าพระ เขาสรรพยา และเขาธรรมามูล เป็นต้น แต่ภูเขาที่ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฎในตราประจำจังหวัดชัยนาทมีด้วยกันอยู่ 2 ลูก อันได้แก่ เขาสรรพยา ในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และ เขาธรรมามูล ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท โดยความสำคัญของภูเขา 2 ลูกนี้นั้นถึงขนาดที่มีผลให้ กรมศิลปากร ในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น เห็นควรทำตราประจำจังหวัดชัยนาท เป็นรูปธรรมจักรกับภูเขา โดย ธรรมจักร มีความหมายถึง วัดธรรมามูล ส่วนภูเขา มีความหมายถึง เขาธรรมามูล หรือเขาสรรพยาก็ได้ เลยทีเดียว           เมื่อภูเขาถูกยึดโยงเข้ากับความเชื่อที่ว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจศักดิ์สิทธิ์จากเบื้องบนแล้วนั้น ภูเขาในหลาย ๆ ที่จึงมักถูกชาวบ้านและชาวเมืองนั้น ๆ ใช้เป็นพื้นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนหรือบ้านเมืองนั้น ๆ นับถือ เฉกเช่น บนเขาธรรมามูล ของเมืองชัยนาท ที่ปรากฎการสร้างวิหารประดิษฐานรูปเคารพบนเขา           เมื่อเดินเท้าขึ้นไปตามบันไดขึ้นเขาที่ทอดตัวตามแนวเชิงเขาอยู่ จำนวน 565 ขั้น ที่เริ่มขั้นแรกอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดธรรมามูลวรวิหาร ก็จะพบลานพื้นที่ราบบนเขาธรรมามูล หลังจากนั้นเดินเท้าไปตามทางราบสลับที่สูงอีกราว 500 เมตร ก็จะพบกับวิหารหลวงพ่อนาค ที่เป็นศาสนสถานบนเขาธรรมามูลแห่งนี้ วิหารแห่งนี้เป็นศาสนสถานที่ค่อนข้างเล็ก เป็นวิหารก่ออิฐถือปูนและฉาบผนังอาคารด้วยปูนตำโบราณที่มีทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้า ผนังด้านข้างทั้ง 2 และผนังด้านหลังพระประธาน ทึบไม่มีช่องหน้าต่าง ฐานวิหารปรากฎการทำฐานบัว ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 3 องค์ โดยองค์กลางเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาบด้านข้างทั้ง 2 ด้วยพระพุทธรูปนาคปรก ส่วนหลังคาของวิหารดั้งเดิมน่าจะผุพังไป มีการสร้างหลังคากระเบื้องลอนแบบปัจจุบันทดแทนไว้           จากร่องรอยดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้าน ชาวเมือง ต่อภูเขาจนทำให้เกิดการสร้างศาสนสถานบนเขา เพื่อเชื่อมโยงอำนาจศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนกับความศรัทธาของชาวพื้นราบ ให้สอดประสานทางใจอันเป็นที่พึ่งอีกทางของชาวบ้านชาวเมืองชัยนาทนั่นเอง   ----------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี https://www.facebook.com/1944769395803916/posts/pfbid0UKGaPT8RhxaPrJN11eWZswQwVy9QmrZNkSMJn5rihMoZLiAwXwzJ4wgmdwamNxM5l/ ----------------------------------------------------- *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร


ปรีชา อินทรปาลิต.อนุสรณ์ป.อินทรปาลิต.พระนคร:ประชุมช่าง;2512.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           41/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 140/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 174/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง          มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ชื่อเรื่อง           รวมเรื่องพระร่วง ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพยาบาลมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๑ จำนวนหน้า       ๒๙๐ หน้า รายละเอียด           พระราชนิพนธ์รวมเรื่องพระร่วงประกอบด้วยเรื่องต่างๆดังนี้ เที่ยวเมืองพระร่วง ตำนานเรื่องเสือป่า บทละครรำเรื่องพระร่วงหรือขอมดำดิน บทละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง และ บทละครร้องเรื่องพระร่วง


ชื่อผู้แต่ง            อนุมานราชธน , พระยา ชื่อเรื่อง              วรรณกรรม ของ เสถียรโกเศศ ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          บรรณาคาร ปีที่พิมพ์             ๒๕๑๕ จำนวนหน้า         ๕๓๒  หน้า                        วรรณกรรม ของ เสถียรโกเศศ เป็นเรื่องรวมงานเขียนต่าง ๆ ของพระยาอนุมานราชธน วรรณกรรมนี้ผู้เขียนได้เขียนขึ้นด้วยความสนใจ ใฝ่ศึกษาในแง่ความรู้ เพื่อใช้ในการศึกษาทั้งทางนิรุกศาสตร์ วรรณคดี ศิลป ขนบธรรมเนียมประเพณี


ชื่อผู้แต่ง         ศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินุวงศ์) ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       หจก.โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น ปีที่พิมพ์          ๒๕๓๑ จำนวนหน้า      ๑๓๑  หน้า หมายเหตุ        จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินุวงศ์) รายละเอียด                หนังสือที่ระลึกงานศพ ศ.จ.หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ผู้ที่มีความรู้เรื่องโบราณคดีเนื้อหาสาระประกอบด้วยเรื่องพระพุทธรูปโบราณและเราเคารพพระพุทธรูปอย่างไรและพระพุทธรูปปางต่างๆล้วนเน้นงานเขียน ของ ม.จ.หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์


Messenger