ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,668 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.505/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 169  (224-232) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “โขนอยุธยา” วิทยากร นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ สำนักการสังคีต ผู้ดำเนินรายการ นายรัฐศาสตร์ จั่นเจริญ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต พิธีกร นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


         แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา          วัสดุ (ชนิด) ผ้า          ขนาด เสื้อยาว ๕๓ เซนติเมตร แขนยาว ๑๑๐ เซนติเมตร          ประวัติความเป็นมา ได้มาจากอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน นายไกรศรี นิมมาเหมินทร์ มอบให้            ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ           เสื้อสีพื้นขาวเรียบ ผ่าหน้าติดกระดุมยาวตลอด คอตั้ง แขนยาว เขียนยันต์ติดเต็มตัวเสื้อ สันนิษฐานว่าเป็นเสื้อที่ทหารชาวล้านนาสวมใส่เมื่อออกรบ   


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขอเชิญชมห้องจัดแสดงนิทรรศการโฉมใหม่ หลังดำเนินโครงการปรับปรุงการจัดแสดงและพื้นที่ภายในอาคาร ตั้งแต่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ เพื่อพัฒนาให้มีความทันสมัยรองรับการใช้บริการ และส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัด โดยดำเนินการปรับปรุงการจัดแสดงโถงนิทรรศการหมุนเวียนชั้นล่าง และห้องนิทรรศการชั้นบน จำนวน ๕ ห้อง ประกอบด้วย           ห้องนิทรรศการชั้นล่าง ได้แก่ ห้องโถงบรรยายสรุปและนิทรรศการหมุนเวียน           พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมและบรรยายสรุปการนำชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีวีดีทัศน์เรื่อง “กรมศิลปากรกับการอนุรักษ์และสร้างสรรค์หอคำเมืองน่าน” ใช้ประกอบการบรรยาย สำหรับนิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันจัดแสดงเรื่อง การแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน เช่น ลัวะ มลาบรี ขมุ ม้ง เมี่ยน โดยนำเสนอภาพลายเส้นการแต่งกาย ประกอบกับลวดลายผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ ตลอดจนแผนผังแสดงการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดน่าน           ห้องนิทรรศการชั้นบน จำนวน ๕ ห้อง            ๑. ห้องเครื่องพุทธบูชา ๑ จัดแสดงโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ได้แก่ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร จากโบสถ์วัดท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ แผงพระพิมพ์ ปัญจรูป และเรือเงินจากพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งถูกพบบรรจุอยู่ในภาชนะใบเดียวกันเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระธาตุจอมแจ้ง โดยเรือเงินส่วนใหญ่ที่พบมีการจารึกชื่อผู้ถวาย คำอธิษฐานหรือคำผาถนา ตลอดจนศักราชที่สร้าง           ๒. ห้องเครื่องพุทธบูชา ๒ จัดแสดงโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ประกอบด้วย หีบพระธรรม พระพุทธรูปบุเงิน และแผ่นเงินจารึก มีการตกแต่งบรรยากาศของห้องนิทรรศการด้วยโมบายแขวนอักษรธรรมล้านนาโดยนำมาจากเอกสารโบราณที่เก็บรักษาอยู่ในห้องคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เรื่อง คาถาบูชาท้าวทั้งสี่ (ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ของล้านนา)            ๓. ห้องเครื่องพุทธบูชา ๓ จัดแสดงโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อาทิ วิหารจำลอง โดยมีการตกแต่งบรรยากาศของห้องนิทรรศการด้วยโคมล้านนา และมีวีดีทัศน์นำเสนอโบราณวัตถุ ๓๖๐ องศาที่จัดแสดงในส่วนของห้องพุทธบูชาทั้ง ๓ ห้อง พร้อมข้อมูลบรรยายประกอบ จำนวน ๖ จอ นอกจากนั้นยังมีการจำลองภาพวาดเจ้าผู้ครองนครน่านชมการจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชา ในงานประเพณีหกเป็ง พระธาตุ  แช่แห้ง           ๔. ห้องเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครน่าน จัดแสดงลำดับเจ้าผู้ครองนครน่าน ๖๔ พระองค์ ประกอบกับโบราณวัตถุจัดแสดง อาทิ ดาบฝักเงิน กระบี่พร้อมฝัก ของเจ้าอุตรการโกศล (มหาไชย มหายศนันท์) นอกจากนั้นยังมีวีดีทัศน์ เรื่อง “เฮือนเจ้านายเมืองน่าน” และ เรื่อง “ลำดับเจ้าผู้ครองนครน่าน” ประกอบในการจัดแสดง           ๕. ห้องหอคำนครน่าน จัดแสดงเรื่องราวของหอคำนครน่าน อันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในปัจจุบัน โดยมีการจัดแสดงภาพถ่ายเก่าของอาคารหอคำ เจ้าผู้ครองนครน่าน การขุดแต่งแนวกำแพงเดิมของหอคำในอดีตประกอบกับการจัดแสดงอิฐแนวกำแพงเก่าของหอคำที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๗ และเครื่องถ้วยซึ่งเป็นสมบัติเดิมของเจ้าผู้ครองนครน่าน นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงโมเดลจำลองแผนผังเมืองเก่าน่านเพื่อให้เห็นถึงขอบเขตพื้นที่และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของเมืองน่านในอดีต           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดให้บริการทุกวันพุธ - อาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) ค่าเข้าชมชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๕๔๗๗ ๒๗๗๗ 


พระวิษณุสี่กร พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้มาจากเมืองศรีเทพ พระยานครพระราม สมุหเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ส่งมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร _________________________________________ พระวิษณุสี่กร ทรงยืนตริภังค์ พระเศียรทรงกิรีฏมกุฎ* (หมวกทรงกระบอก) พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระวรกายท่อนบนเปลือย พระวรกายท่อนล่างทรงพระภูษาสั้น ยืนตริภังค์ ทรงยืนบนฐานสี่เหลี่ยม พระวิษณุมีสี่กร จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระวิษณุจตุรภุช กล่าวคือ “จตุร” หมายถึงสี่ “ภุช” หมายถึงกรหรือแขน   ประติมากรรมองค์นี้ยังคงแสดงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียอย่างชัดเจน ได้แก่ การยืนตริภังค์ แสดงการยืนเอียงส่วนพระโสณี (สะโพก) ค่อนข้างมาก รูปแบบดังกล่าวนี้ปรากฏในงานประติมากรรมศิลปะอินเดียอย่างชัดเจนตั้งแต่สมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑) เป็นต้นมา และส่วนพระเศียรที่ทรงกิรีฏมกุฎนั้นแสดงถึงรูปแบบเดียวกับ กิรีฏมกุฎที่ปรากฏในศิลปะปัลลวะ ของอินเดียใต้ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ เป็นหมวกทรงกระบอกเรียบ ตั้งตรงไม่สอบเข้าหากัน ไม่มีลวดลาย มีเส้นรอบวงเท่ากับพระเศียร และไม่มีกระบังหน้า รูปแบบดังกล่าวปรากฏในประติมากรรมที่ทรงกิรีฏมกุฎ อาทิ พระวิษณุ พระสุริยะ แพร่กระจายทั่วพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง ทั้งในศรีวิชัย ทวารวดี และเขมรก่อนเมืองพระนคร**   อำมาตย์โท พระยานครพระราม สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก มีจดหมายรายงานการพบเทวรูป องค์นี้ ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า   “..ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปตรวจพบรูปพระนารายณ์หินอีกองค์หนึ่งอยู่ห่างจากกำแพงเมืองศรีเทพทางทิศใต้ราว ๒๕ เส้น มีขนาดเท่าคนร่างใหญ่ เบื้องล่างหักเพียงข้อพระบาท แต่ฐานที่ตั้งและพระบาทยังอยู่พอจะต่อเข้ารูปกันได้ ส่วนเบื้องบนพระกรขวาหักเพียงศอก พระกรซ้ายหักเพียงศอกกรหนึ่งเพียงข้อพระหัดถ์กรหนึ่ง พระพักตร์กะเทาะบ้างเล็กน้อย นอกนั้นยังดีอยู่ แต่ที่หักแล้วหายหาไม่พบ ทรงเครื่องอย่างเขมรขัดเตี่ยว (เหมือนผู้ที่แต่งตัวจะเข้าชกมวย) แต่สนับเพลาสั้นมาก มาลาที่ทรงคล้ายหมวกเตอร์กี ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งให้นำมาไว้ที่อำเภอวิเชียรแล้ว...”   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยำรงราชานุภาพทรงมีลายพระหัตถ์ตอบกลับ อำมาตย์โท พระยานครพระราม สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ความตอนหนึ่งว่า   “...ของโบราณซึ่งได้พบมาแล้วที่เมืองศรีเทพมักเปนของดี ๆ เสมอ ฉันคิดว่ายังจะมีของดี ๆ เหลืออยู่อีกขอให้เจ้าคุณพยายามค้นหาต่อไป พระนารายณ์ที่เจ้าคุณได้พบแล้วนั้นก็คงจะเปนของดีอีก ขอให้จัดการส่งลงไปเถิด ฉันขอขอบใจเจ้าคุณเปนอันมากที่เอาใจใส่ในเรื่องของโบราณอันเปนราชการสำคัญของบัณฑิตยสภา...”     *กิรีฏะ  ในภาษาสันสกฤตแปลว่า มงกุฎ ดังนั้นจึงปรากฏกับประติมากรรม เทพเจ้า หรือบุคคลที่มีอำนาจ เช่น พระวิษณุ พระอินทร์ พระสูรยะ และบุคคลที่เป็นกษัตริย์  **โดยเฉพาะในวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ปัลลวะค่อนข้างชัดเจน อาทิ สร้อยพระนามกษัตริย์จะลงท้ายด้วย “-วรมัน” เช่นเดียวกับกษัตริย์ในราชวงศ์ปัลลวะของอินเดีย -------------------------------------------------   อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: มติชน,๒๕๖๒. เชษฐ์ ติงสัญชลี. มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของรูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๕. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ. ๒.๑.๑/๕๐. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง เทวรูปศิลาซึ่งพบที่เมืองศรีเทพ เข้ามายังพิพิธภัณฑสถานฯ (๑๓-๑๕ เมษายน ๒๔๗๒). -------------------------------------------------   ที่มาของข้อมูล   Facebook : National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร https://www.facebook.com/nationalmuseumbangkok/posts/pfbid02Hi1YQT6zNb6ZYtFFSMfvBMBjpUUiDtfv6KKVQ8mSZATLr2j2AEWoetDpBJr8TNAgl


          เจดีย์จำลอง           เลขทะเบียน                 ๓๙๘ / ๒๕๑๖            แบบศิลปะ / สมัย         ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒            วัสดุ (ชนิด)                 สำริด           ขนาด                 ฐานกว้าง ๔.๖ เซนติเมตร สูง ๑๗ เซนติเมตร             ประวัติความเป็นมา พุทธสถานจังหวัดเชียงใหม่ มอบให้            ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ            เจดีย์จำลอง ส่วนฐานล่างเป็นทรงกลมคล้ายหม้อดอก หรือหม้อบูรณฆฏะ ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์หรือความเจริญรุ่งเรือง ส่วนฝาทำเป็นเจดีย์ทรงกลม ตั้งบนฐานปัทม์ซ้อนกันสามชั้น รองรับองค์ระฆังกลม ส่วนยอดทำเป็นทรงกรวยแหลม บนสุดทำเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุ   


ชื่อเรื่อง                                 โบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรีผู้แต่ง                                     เขมชาติ เทพไชยประเภทวัสดุ/มีเดีย                  หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                            9744180897หมวดหมู่                                ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก เลขหมู่                                   959.373สถานที่พิมพ์                           นนทบุรีสำนักพิมพ์                             บริษัท ไซเบอร์ ร็อค เอเยนซี่ กรุ๊ป จำกัดปีที่พิมพ์                                 2557ลักษณะวัสดุ                           121 หน้าหัวเรื่อง                                  ประวัติศาสตร์เอเชีย--โลกตะวันออกภาษา                                    ไทย  



  โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ อันมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานพระศพของเจ้านายในอดีต คือ “บุษบกพร้อมพระโกศเจ้านายเชื้อสายวังหน้า” บุษบกไม้ปิดทองประดับกระจก (พ.ท.ย. ๑) และพระโกศทองคำลงยาราชาวดี (พ.ท.ย. ๕) เป็นโบราณวัตถุที่มีประวัติความเป็นมาระบุในทะเบียนว่า "ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์" ประดิษฐานอยู่ภายในห้องมุขท้ายพระที่นั่งบูรพาภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นของเจ้านายพระองค์ใด ภายในพระโกศบรรจุวัตถุสำคัญ ประกอบด้วย พระกราม 1 องค์ พระอัฐิขนาดเล็ก 2 องค์ และดอกพิกุลเงินพิกุลทองอย่างละหนึ่งดอก โดยบุษบกองค์นี้มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ด้วยมีการตรวจสอบรูปแบบทางศิลปกรรมแล้ว พบว่ามีความคล้ายคลึงกับบุษบกไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ (กรมพระราชวังช้างเผือก) ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพ : บุษบกพร้อมพระโกศ คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และพระรูปพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (ต้นราชสกุล รัชนี) Post by Admin Sarun


ชื่อผู้แต่ง          หม่อมเจ้าอิศรญาณ ชื่อเรื่อง            สุภาษิตอิศรญาณ ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑๗ สถานที่พิมพ์      ธนบุรี สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์อักษรเพชรเกษม ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๒                               หมายเหตุ         พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพร้อยเอกโปร่ง  เมนะชัย                      สุภาษิตอิศรญาณ หรือ เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ ของหม่อมเจ้าอิศรญาณทรงแต่ง หม่อมเจ้าอิศรญาณ เป็นคนที่มีภาวะจิตใจที่ไม่เป็นปกติ ครั้งหนึ่งทำอะไรวิปริตไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสประภาษว่าบ้า หม่อมเจ้าอิศรญาณน้อยใจ จึงแต่งเพลงยาวฉบับนี้ 



ชื่อเรื่อง : 600 ปีติโลกราชกับมิติทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนาในยุคปัจจุบัน ผู้แต่ง : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปีที่พิมพ์ : 2552 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่       เนื่องในวโรกาสครบรอบ 60 ปี พระประสูติของพระญาติโลกราช ที่เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 10 ของราชวงศ์มังราย ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตไปทั่วทุกทิศ ทั้งยังรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง ด้วยการปฏิสังขรณ์วัดเจดีย์หลวง ทรงสร้างวัดป่าแดงมหาวิหาร และเพื่อรำลึกถึงพระราชกรณีย์กิจของพระองค์ปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข เสริมสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักรล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ล้านนาในยุคปัจจุบันขึ้น ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 ณ หอประชุมอาคารรวมวิจัย และบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


***บรรณานุกรม*** กรมศิลปากร เอกสารของเฮนรี่ เบอร์นี่ เล่ม2 ตอน1 นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ แปล กรมศิลปากรพิมพ์ พ.ศ. 2518 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว 2518



Messenger