ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,668 รายการ

          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยความคืบหน้าโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ได้ดำเนินการถอดบานไม้แล้ว จำนวน ๒๗ ชิ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการอบกำจัดแมลง โดยมีการประชุมทางไกลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น ทุกเดือน           สืบเนื่องจากประตูและหน้าต่างภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประดับ ด้วยบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นงานสั่งทำเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๐๘ ปัจจุบันได้เสื่อมสภาพ พื้นผิวรักและเปลือกหอย แตก หลุดร่อน เสียหาย แมลงกัดกินเนื้อไม้ ผิวหน้าชิ้นงานมีความสกปรก หมองคล้ำจากยางรักที่ทาเคลือบไว้เป็นเวลานานจากการซ่อมแซมในอดีต และบางชิ้นงานสูญหายไป วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ และกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์งานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น จากสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo National Research Institute for Cultural Properties: TNRICP) ดำเนินโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร โดยใช้พื้นที่ภายในวัดราชประดิษฐ์ เป็นห้องปฏิบัติการอนุรักษ์ ระยะเวลา ๕ ปี เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๘          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้เริ่มดำเนินการถอดบานไม้ตามแผนงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยบานไม้ที่ถูกถอดลงในปีนี้ มีทั้งหมด ๒๗ ชิ้น จากประตูหน้า ๑ บาน (๓ ชิ้น) และหน้าต่าง ๔ บาน จากนั้นได้ดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ประกอบด้วย ผนึกพื้นผิวชั่วคราวด้วยกระดาษสาบางและกาวแป้ง เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายระหว่างการถอดและชิ้นงานที่ยังไม่ถูกถอดลง การกำหนดรหัสชิ้นงานแต่ละชิ้น ด้วยสัญลักษณ์อักษรย่อภาษาอังกฤษและตัวเลขเพื่อใช้สื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันกับทางญี่ปุ่น การสแกนค้นหาตำแหน่งน็อตโลหะที่ซ่อนอยู่ภายในชิ้นงาน แล้วถอดน็อตนำชิ้นงานลง บรรจุลงกล่องที่ออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมตามมาตรฐานงานพิพิธภัณฑ์ จากนั้นทำการถ่ายภาพก่อนอนุรักษ์ชิ้นงานแต่ละชิ้น โดยเน้นในบริเวณที่เกิดการชำรุด เสื่อมสภาพ ทั้งด้านหน้าและหลัง แล้วจึงตรวจสอบสภาพอย่างละเอียดทำทะเบียน จัดทำแผนผังการเสื่อมสภาพ เก็บตัวอย่างแมลงที่พบ การทดสอบและดำเนินการอบกำจัดแมลงภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนด้วยก๊าซไนโตรเจนเป็นระยะเวลาประมาณ ๑ เดือน รวมถึงทดสอบตัวทำละลายที่จะใช้ในการอนุรักษ์กับยางรักญี่ปุ่น ขณะนี้ชิ้นงานที่ถูกถอดลงทั้งหมดอยู่ระหว่างขั้นตอนการอบกำจัดแมลง และในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 นี้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญจาก TNRICP ประเทศญี่ปุ่น ไม่สามารถเดินทางมาร่วมดำเนินการอนุรักษ์ตามแผนงานเดิม จึงได้จัดให้มีการประชุมทางไกลเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการดำเนินการอนุรักษ์          โครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นฯ มีเป้าหมายอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ ประดับมุกและแผ่นไม้ประดับรักลายนูน ในส่วนที่ชำรุดและเสื่อมสภาพ จำนวน ๙๔ แผ่น โดยคงรูปแบบลวดลายลักษณะเดิม ส่วนใดที่หลุดล่วงไปแล้วจะไม่เติมให้เต็ม ดำเนินงานส่วนของพื้นให้เป็นพื้นรักสีดำอันเกิดจากยางรักเท่านั้น เพื่ออนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ให้เกิดความมั่นคง แข็งแรง และรักษางานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทยให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไปในอนาคต และให้คณะช่างที่ปฏิบัติงานซ่อมแซมได้เรียนรู้ ฝึกฝน เพิ่มพูนทักษะฝีมือทางด้านงานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญในหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป



          ภาพสลักหน้าบัน ของปราสาทประธาน ด้านทิศใต้ สลักภาพบุคคลนั่งชันเข่า ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเทพปกปักรักษาดูแลปราสาท อยู่เหนือหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัย พรรณพฤกษา เป็นทรงพุ่ม ล้อมรอบบุคคล ซึ่ง มีองค์ประกอบภาพคล้ายกับภาพสลักหน้าบัน ของปราสาทประธาน ด้านทิศเหนือ โดยสภาพปัจจุบันมีบางส่วนได้รับความเสียหาย           บริเวณใต้หน้าบัน ปรากฏ ทับหลัง สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันออก เช่นเดียวกับ ทับหลังของปราสาทประธานด้านทิศตะวันออก โดยองค์ประกอบภาพสลัก ประกอบด้วยพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัย มีใบไม้ตั้งขึ้นและตกลง แถวด้านบนสลักเป็นรูปสัตว์ ช้าง กระรอก หมู ลิงและวัว ซึ่งมีสภาพลบเลือน          ความพิเศษของภาพสลัก ปราสาทประธาน ด้านทิศใต้นี้ อยู่ด้านบนเหนือทับหลัง สลักภาพสัตว์ ฟากหนึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย อย่าง จระเข้ และแร้งกินซากสัตว์ อีกฟากหนึ่ง เป็นม้า ลูกม้าและลิง ซึ่งไม่พบในด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือ           การปรากฏ ภาพสลัก พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทพประจำทิศตะวันออก บนทับหลังทั้งด้านทิศตะวันออก และทิศใต้ นั้น จึงสันนิษฐานว่า ปราสาทบ้านพลวงให้ความสำคัญกับการเคารพนับถือบูชาพระอินทร์ ในฐานะเทพประจำทิศตะวันออก และเทพเจ้าแห่งฟ้า-ฝน เป็นพิเศษ           สำหรับภาพสลักหน้าบัน และกรอบทับหลัง ปราสาทประธานด้านทิศตะวันตกนั้น ไม่ปรากฏ หรือพบลวดลายสลักใดๆ พบเพียงพื้นผิวของหินทรายที่มีร่องรอยการโกลนลวดลายไว้เท่านั้น ----------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา-------------------------------------------------------








          กรมศิลปากรปรับโฉมใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติแห่งแรกในประเทศไทย ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ “วัฒนธรรมบ้านเก่า” กลุ่มวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ที่เป็นจุดเริ่มต้นของงานโบราณคดีอย่างสากลเป็นครั้งแรกของประเทศไทย          กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนาและ เพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่า รวมถึงองค์ความรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ทั้งรูปแบบอาคารที่สะดุดตา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดีเป็นทรงสี่เหลี่ยมสื่อถึงการพบโบราณวัตถุที่แทรกอยู่ในชั้นดิน ภูมิทัศน์ที่เปิดให้สัมผัสบรรยากาศภูมิประเทศเพื่อให้เข้าใจถึงการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบนพื้นที่แหล่งโบราณคดีจริง รวมไปถึงนิทรรศการภายในที่ตั้งใจให้เป็นพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุด          การจัดแสดงนิทรรศการมีเนื้อหาเน้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมบ้านเก่าและแหล่งโบราณคดีอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง “วัฒนธรรมบ้านเก่า” หมายถึงกลุ่มวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ที่ผู้คนตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ตามที่ราบ หรือเชิงเขาไม่ไกลจากลำน้ำ ดำรงชีวิตด้วยการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และล่าสัตว์ รู้จักทำขวานหินขัดและมีภาชนะดินเผาที่หลากหลาย มีภาชนะรูปทรงเด่นคือหม้อสามขา ภาชนะทรงพาน ภาชนะมีคอและเชิงสูง และภาชนะทรงถาดก้นลึก กำหนดอายุราว ๓,๕๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยทางภาคใต้ของประเทศไทยและทางตอนเหนือของมาเลเซีย โดยมีการจัดแสดงการขุดค้นและหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินขัด เครื่องประดับ ภาชนะดินเผาที่เรียกว่า “หม้อสามขา” เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมบ้านเก่า จัดแสดงเครื่องมือหินจำลอง จำนวน ๘ ชิ้นที่พบโดย ดร. เอช อาร์ ฟาน เฮเกเรน นักโบราณคดีชาวดัตช์ที่ถูกจับเป็นเชลยและถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟที่จังหวัดกาญจนบุรีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยโดยเฉพาะที่บ้านเก่าได้รับความสนใจจากนักโบราณคดีทั้งนักโบราณคดีไทยและต่างประเทศเข้ามาขุดค้นอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จนมีการตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ เครื่องมือหินทั้ง ๘ ชิ้นปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กรมศิลปากรกำลังประสานเพื่อนำกลับมาจัดแสดงด้วย          นอกจากผู้ชมจะได้เข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังสามารถเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่โรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า โดยมีการขุดพบโครงกระดูกจำนวนมาก และกรมศิลปากรยังมีการขุดค้นและดำเนินงานทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งที่อยู่ในพื้นที่แหล่งโบราณคดีจริง ดังนั้นองค์ประกอบทุกอย่างจึงมีความสำคัญ กรมศิลปากรจึงปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าใจถึงลักษณะภูมิประเทศของบ้านเก่า เนื่องจากบ้านเก่าเป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ที่อยู่ในสังคมเกษตรกรรมเริ่มเข้าตั้งถิ่นฐานในที่ราบเพื่อการเพาะปลูก ดังนั้นในพื้นที่ด้านหลังพิพิธภัณฑ์จะมีทางเดินชมธรรมชาติที่เห็นถึงแหล่งน้ำด้วย สำหรับแผนงานต่อไป กรมศิลปากรมีโครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่าขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา วิจัย ของนักวิชาการด้านโบราณคดี ทำให้ความรู้ทางวิชาการโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเก่าดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถเชื่อมโยงความรู้ด้านงานโบราณคดีกับองค์ความรู้ด้านต่างๆ เข้าด้วยกันแบบสหวิชาการ และเมื่อรวมถึงอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ที่อยู่ใกล้กัน จะเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีได้เป็นอย่างดี


ชื่อเรื่อง                                วินยธรสิกฺขาปท...(สิกขาบท) สพ.บ.                                  300/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           56 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระวินัยปิฎก บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี      


ชื่อเรื่อง                                ธมฺมสฺสวนานิสํสกถา (อานิสงส์ฟังธรรม) สพ.บ.                                  349/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.47/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.223/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  32 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 112 (170-179) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สักกราชหลวง --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.359/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ทองทึบ-รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 139  (411-419) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์      นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) หลักฐานชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย      เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ขณะนั้นพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีไม่มีผู้อุปถัมภ์บำรุง พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางต่างสงสารและเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระผนวชมา ยังไม่มีพระอัครมเหสีผู้เป็นพระขัตติยนารี ซึ่งจะได้มีพระราชโอรสสืบราชสันตติวงศ์ จึงพร้อมพระทัยและพร้อมใจกันให้มีความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์ กระทั่งมีการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในที่สมเด็จพระนางนาฏบรมอัครราชเทวี ซึ่งถือเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสี      ในพุทธศักราช ๒๓๙๕ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ทรงพระครรภ์และทรงพระประชวร ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ ดังนี้      ในเดือน ๑๐ นั้น พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบุตรีพระองค์เจ้าลักขณา พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชุบเลี้ยงขึ้น ตั้งให้เป็นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี ทรงพระประชวรเป็นพระยอดภายในที่ศูนย์พระนาภี แพทย์หมอไม่รู้ถึงพระโรค เข้าใจว่าเป็นโรคครรภรักษา ก็รักษาไป ครั้นพระครรภได้ ๗ เดือน ณเดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ ตรงกับจันทร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๓๙๕ ก็ประสูติพระราชกุมาร ออกมาอยู่ได้วัน ๑ ก็ดับศูนย์ บางฉบับว่าออกมาอยู่ได้ ๗ ชั่งโมงก็สิ้นพระชนม์ในวันนั้น ฝ่ายสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีนั้น พระยอดเป็นพระบุพโพแก่ก็แตกออกมาที่ศูนย์พระนาภีบ้างตกข้างในบ้าง ครั้นณวันอาทิตย์เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ ซึ่งตรงกับอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๓๙๕ ก็สิ้นพระชนม์ พระองค์ประสูติ เมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๑ แรม ๖ ค่ำ ปีมะเมีย ฉศกจุลศักราช ๑๑๙๖ ตรงกับวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๓๗๗ ศิริพระชนม์ได้ ๑๙ พรรษา จะเชิญพระศพไปไว้ณหอธรรมสังเวช การก็ทำยังไม่แล้วจึงได้เชิญพระศพขึ้นไปไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท   ภาพ : วัดโสมนัสราชวรวิหาร พระอารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาเป็นเสมือนอนุสรณ์ รำลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสีในพระองค์  


ชื่อผู้แต่ง         ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา และภาณุพันธุวงศ์วรเดช, กรมพระยา ชื่อเรื่อง          ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๓ ตำนานการเกณฑ์ทหาร กับตำนานกรมทหารราบที่ ๔ ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๓ สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๙ จำนวนหน้า       ๖๘ หน้า หมายเหตุ          พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้าหญิงวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ ท.จ. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๐๙                         หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยเรื่อง ตำนานการเกณฑ์ทหาร เรียบเรียงโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับตำนานกรมทหารราบที่ ๔ เรียบเรียงโดย จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช


Messenger