ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,515 รายการ

ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุขสมหวัง สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงตลอดปีและตลอดไป


วันศุกร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบกรมศิลปากร เป็นประธานพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร มาประดิษฐานบนมณฑปพิธี ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในเทศกาลสงกรานต์


           กรมศิลปากร ขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย โดยอัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมประดิษฐานในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญ  ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเทวดานพเคราะห์ ๙ องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำขอพร ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ เนื่องด้วยในสมัยโบราณ คนไทยมักไม่นิยมนับอายุตามวันเกิด แต่จะนับตามการเถลิงศักราชใหม่ในช่วงปีใหม่ไทยคือ สงกรานต์ หากปีใดมีความป่วยไข้ หรือทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนทักษา โดยเฉพาะเจ้านายก็จะขึ้นเกยส่งเทวดาเก่ารับเทวดาใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะนำพาสิริมงคลมาพร้อมกับศักราชใหม่              ทั้งนี้ เทวดานพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวง พระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสา พระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ และ พระเกตุ ทรงนาค             ขอเชิญพุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต อันเป็นวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ของไทย และเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนสืบทอดองค์ความรู้ในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น  


           วันนี้ (วันศุกร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗) เวลา ๐๙.๔๕ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสมโภชพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ นำออกให้ประชาชนสักการะและสรงน้ำขอพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนร่วมในพิธี           กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย เนื่องด้วยในสมัยโบราณ คนไทยมักไม่นิยมนับอายุตามวันเกิด แต่จะนับตามการเถลิงศักราชใหม่ในช่วงปีใหม่ไทยคือ สงกรานต์ หากปีใดมีความป่วยไข้ หรือทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนทักษา โดยเฉพาะเจ้านายก็จะขึ้นเกยส่งเทวดาเก่ารับเทวดาใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะนำพาสิริมงคลมาพร้อมกับศักราชใหม่ จึงได้อัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมทีประดิษฐานในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญที่ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำขอพร ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์  เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต อันเป็นวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ของไทย และเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนสืบทอดองค์ความรู้ในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้ เทวดานพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่   นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์)  ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวงพระจันทร์ ทรงม้าพระอังคาร ทรงมหิงสาพระพุธ ทรงคชสารพระพฤหัสบดี ทรงกวางพระศุกร์ ทรงโคพระเสาร์ ทรงพยัคฆ์พระราหู ทรงพญาครุฑและ พระเกตุ ทรงนาค             สำหรับประติมากรรมเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ที่อัญเชิญมาประดิษฐานตามระบบทักษาในแผนผังอัฐจักรนี้ สร้างขึ้นตามแบบเทวดานพเคราะห์ของไทย แต่งกายคล้ายคลึงกับภาพเทวรูปในสมุดไทยหมวดตำราภาพเทวรูปไสยาศาสตร์ เล่มที่ ๗๐ สำนักหอสมุดแห่งชาติ สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๒ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วังหน้าองค์ที่ ๔ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งประติมากรรมเทวดานี้มีความคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมเทพยดาบนบานประตูหน้าต่างด้านในของพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ทรงร่วมในการควบคุมการก่อสร้างเช่นกัน ความพิเศษของประติมากรรมชุดนี้ คือ สามารถถ่ายทอดรูปแบบของเทวดา  นพเคราะห์ให้ออกมาเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว แสดงท่าทางและลักษณะได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ และลักษณะของเทพแต่ละองค์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา โดยเปรียบเทียบลักษณะประติมานวิทยากับภาพใน  สมุดไทย และรูปสัตว์ที่มีความเหมือนจริงเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากตะวันตก    พุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 





           สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังการเสวนาอวดของสะสม “นักสะสมบันทึกสยามจากต่างแดน” ภายใต้งานนิทรรศการพิเศษ เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม ณ ห้องดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 เวลา 13.00-16.00 น. วิทยากรโดย นายอรรถดา คอมันตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พีรศรี โพวาทอง และเรืออากาศตรี สามารถ เวสุวรรณ์ ดำเนินรายการโดยนางภาวิดา สมวงศ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ พร้อมจัดแสดงเอกสาร ภาพถ่ายเก่า และศิลปวัตถุทรงคุณค่าจารึกสยาม ในความดูแลของภาคเอกชนในงานเสวนา เพียงวันเดียวเท่านั้น !            ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานรับฟังการเสวนา พร้อมลุ้นรับของที่ระลึก ตาม QR Code หรือผ่านลิงก์ https://url.in.th/kJBWs รับจำนวนจำกัด 100 ท่าน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ หรือจนกว่าจะเต็ม


วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมด้วยนางสาวสุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมโครงการสรงน้ำพระธาตุเจ้าเวียงกุมกาม และโครงการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ "สืบฮีตสานฮอย ผ่อกอยเวียงกุมกาม" ณ โบราณสถานเวียงกุมกาม (วัดอีก้าง) ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่


           สำนักการสังคีต ขอเชิญชมการแสดงโขน ประกอบแสง สี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง ในโครงการการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจร วันอังคารที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ ปราสาทเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีตกำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต ชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑




หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ดำเนินการสร้างห้องลดฝุ่น โดยติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ๒ เครื่อง เพื่อลดการสัมผัสฝุ่น และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยการป้องกันฝุ่นไม่ให้เข้าห้องหรือมีฝุ่นน้อยลง ได้ที่ห้องหนังสือเยาวชน


กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการศิลปากรสัญจรครั้งที่ 3 “สืบสานธรรมเนียมโบราณ นมัสการพระใหญ่ในพระนคร” พาทุกท่านเข้ากราบนมัสการพระใหญ่ 4 พระอารามสำคัญในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดกัลยาณมิตร และวัดอินทรวิหาร แถมท้ายด้วยสักการะขอพรเจ้าแม่กวนอิม ณ ศาลเจ้าเกียนอันเกง พร้อมรับฟังบรรยายพิเศษตลอดเส้นทางโดย นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ศิลปินแห่งชาติ รศ. ดร.ศานติ ภักดีคำ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และ ผศ.ธนโชติ เกียรติณภัทร อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำกัดเพียง 40 ที่นั่งในราคา 1,500 บาทต่อท่าน (ราคารวม อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารว่าง น้ำดื่ม และค่ารถ)ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่ คุณสุภาพร ปัญญารัมย์ โทร 09-2634-8583


วันพุธที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีถวายเครื่องสักการะพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพิธีถวายเทวบรรณากรรณ ณ ศาลเจ้าพ่อหอแก้ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร