ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,320 รายการ

บทความวิชาการ เรื่อง ศิลาจารึกปราสาทตาเมือนธม องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ขอนำเสนอบทความวิชาการ เรื่อง "ศิลาจารึกปราสาทตาเมือนธม" ผู้เรียบเรียง : อาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ปราสาทตาเมือนธม อายุสมัย จากรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลาจารึกที่พบ แสดงให้เห็นว่าโบราณสถานปราสาทตาเมือนธม สร้างขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ปราสาทตาเมือนพบศิลาจารึกและชิ้นส่วนโบราณสถานที่มีการจารึก จำนวน ๑๔ หลัก ความสำคัญ ปราสาทตาเมือนธม มีลักษณะเป็นศิลปะขอมแบบบาปวน เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือนประกอบด้วยปรางค์ ๓ องค์ โดยมีปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีบรรณาลัย ๒ หลัง สร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดนี้มีระเบียงคดล้อมรอบ มีโคปุระทั้ง ๔ ด้าน ปราสาทตาเมือนธมเป็น “เทวสถาน” ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ทราบได้จากหลักฐานสำคัญที่ปรากฎอยู่ภายในปราสาทประธาน คือ “สวยัมภูลึงค์” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะ ซึ่งเป็นแท่นหินทรายที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังปรากฏท่อโสมสูตร (ท่อระบายน้ำมนตร์ที่ใช้บูชาศิวลึงค์) จากปราสาทประธานออกไปสู่กำแพงระเบียงคดด้านทิศตะวันออก ด้านหน้าปราสาทตาเมือนธม หันไปทางทิศใต้ มีสภาพเป็นพื้นที่ลดหลั่นลงไปจากด้านหน้า สามารถมองเห็นบันไดทางขึ้นที่ก่อด้วยหินแลงเป็นกำแพงสูงจนไปถึงซุ้มประตูทางเข้า


วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๓๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาที่ ๖ โรงเรียนบ้านโนนเสน่ห์ ตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๔๑ คน คุณครูและผู้ปกครอง ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางศรีสุดา ศรีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม




วันพุธที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๖ งานมุทิตาจิต ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี ๒๕๖๖ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๕.๓๐ น. นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ และนางพิมพ์สวาท จิตวรรณา เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ พระวิหารหลวง วัดป่าดาราภิรมย์ พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่


วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๑๓.๐๐ น. นายพงศ์ธันว์  สำเภาเงิน ผู้อำนวยการกองโบราณคดี  พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ลงพื้นที่ตรวจรับฯ งวดงานที่ ๔ (งวดงานสุดท้าย) งานโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร โดยมีนายฉัตรชัย รักษา นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณดี กรมศิลปากร เป็นผู้รับผิดชอบและผู้ควบคุมงานโครงการฯ รายงานการผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ณ พระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา


กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร ลงพื้นที่สำรวจเพื่อเก็บข้อมูลด้านศิลปกรรม "แหล่งภาพเขียนสีถ้ำวัวแดง"         ณ ถ้ำวัวแดง ตั้งอยู่ บ้านหนองแสง หมู่ ๗ ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก - ยอดมน ภาพเขียนสีถ้ำวัวแดง พบครั้งแรกปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ชาวบ้านเห็นว่า ภาพที่พบมีลักษณะคล้ายวัว จึงเรียกที่แห่งนี้ว่า "ถ้ำวัวแดง" ตัวภาพถูกเขียนด้วยสีแดง อยู่บริเวณผนังด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเพิงหิน ขนาดกว้าง ๘๐ เซนติเมตร ยาว ๑๑๐ เซนติเมตร   กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บุณฑริก - ยอดมน จังหวัดอุบลราชธานี ทุกท่านที่ให้การต้อนรับ อำนวยความสะดวก และนำทางเข้าพื้นที่ด้วยความปลอดภัย ราบรื่นด้วยดีทุกประการ


สุธี ประศาสน์เศรษฐ.  เศรษฐกิจ – เศรษฐศาสตร์ ทางเลือก  กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก, 2544.  260 หน้า.  170 บาท.             จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ( 11พฤษภาคม 2443 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ) และในวาระที่องค์กรยูเนสโกบรรจุชื่อไว้ในปฏิทินการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญของโลก ( ค.ศ.2000 - ค.ศ.2001 ) ประกอบด้วย 4 บทความ คือ 1. เค้าโครงพัฒนาแบบพึ่งตัวเองทางเศรษฐกิจในระดับชาติ  2.การพัฒนาและความขัดแย้ง : บททดสอบความเข้มแข็งของประชาธิปไตย  3. การปฏิรูปสหกรณ์ไทยสู่สหัสวรรษใหม่ “2000”  4. โครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมฯ ฯลฯ              อ            330            ส786ศ            ฉ.03                           ห้องค้นคว้า            เดือน ก.ย.66  


จิตร ภูมิศักดิ์.  ความเป็นมาของคำ สยาม ไทย,ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์ เพิ่มเติม ข้อเท็จจริง ว่าด้วยชนชาติขอม.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ: ศยาม, 2540.  522 หน้า.  ภาพประกอบ.  300 บาท.             เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาค 1 พื้นฐานทางนิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์ เช่น ร่องรอยของสยามในปัจจุบัน ที่มาของสยาม ฯลฯ  ภาค 2 ชื่อชนชาติและฐานะทางสังคม เช่น ลักษณะสองด้านของชื่อชนชาติ วิวัฒนาการของคำว่าไท และ ลาว ฯลฯ และ ภาค 3 ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม เช่น กรอม กะหลอม และขอม การวิเคราะห์ชื่อทางนิรุกติศาสตร์ กรอมในตำนานไต เป็นต้น                       495.913           จ433ค             ห้องค้นคว้า           เดือน ก.ย. 66


ราชันย์ ภู่มา.  สารานุกรมพืชในประเทศไทย(ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนา, 2559.  517 หน้า.  ภาพประกอบ.           ภายในเล่ม กล่าวถึง เจ้าฟ้านักอนุรักษ์  และข้อมูลพืชพรรณต่างๆในประเทศไทย  จัดเรียงตามอักษร ก-ฮ ตั้งแต่คำว่า กกกระบอก, สกุล – ฮ่อสะพานควาย พืชแต่ละชนิด ให้รายละเอียด ชื่อไทย ชื่อสกุล ชื่อพฤษศาสตร์ ชื่อวงศ์ ชื่อพ้อง ลักษณะทางพฤษศาสตร์ การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา การใช้ประโยชน์ และเอกสารอ้างอิง พร้อมภาพประกอบพืชในแต่ละหน้า ท้ายเล่มมีดรรชนีชื่อไทย ดรรชนีชื่อวิทยาศาสตร์           อ         580.3         ร431ส                 ห้องค้นคว้า         เดือน ก.ย. 66  


วันศุกร์ที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและมอบนโยบายในการบริหารจัดการเมืองโบราณศรีเทพ มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย โดยมี นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม, นางสาวเพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์, นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม, ผู้บริหารกรมศิลปากร, ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ณ เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะผู้แทนของรัฐบาล กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีแสดงความห่วงใยและให้ความสำคัญ ในเรื่องความปลอดภัยของโบราณสถาน สวัสดิภาพของนักท่องเที่ยวในการเข้าชม ตลอดจนความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการบริหารจัดการต่าง ๆ ที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อคงความโดดเด่น และคุณค่าในการเป็นมรดกโลกให้คงอยู่ตลอดไป พร้อมกับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล




กรุงเทพมหานคร.  สำนักงานวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว.  มวยไทย กระบวนยุทธ์แห่งสยาม.  กรุงเทพฯ: สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร, 2555.  204 หน้า.  ภาพประกอบ.              จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 เป็นหนังสือ 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ เนื้อหา ประกอบด้วย บทความพิเศษ เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  มวยไทยมรดกภูมิปัญญาไทย และ การอนุรักษ์และสืบสานมวยไทยให้เป็นสมบัติของชาติ              อ            796            ก263ม              ห้องค้นคว้า            เดือน ก.ย. 66