ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,556 รายการ

วันที่ ๑๑-๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร สำรวจพื้นที่โดยรอบโบราณสถานปราสาทภูมิโปน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566 นายประพนธ์ รอบรู้ ผู้แทนหน่วยงาน ได้เข้าร่วมพิธีในงาน “ 4 ตุลา วันมหามงคล เคลื่อนพลไปกู้ชาติ” ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทุ่งนาเชย) จังหวัดจันทบุรี ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมกับสภาวัฒนธรรม ส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและวีรชนบรรพบุรุษชาวจันทบุรี ที่ร่วมกองทัพพระเจ้าตากสินมหาราชไปกู้ชาติ ในงานมีการแสดงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และการเคลื่อนพลนักรบจากจันทบุรีไปกู้ชาติ/ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีเสริมสิริมงคล บทสวดธชัคคปริตร /พิธีตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 48 รูป อุทิศบุญกุศลแก่บรรพบุรุษของไทย


เมื่อวันอังคาร ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๖  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์  ร่วมเป็นเจ้าภาพกิจกรรมโครงการสภากาแฟ ครั้งที่ 10  นำโดยนางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรมโดยได้นำขนมปากหม้อบริการแขกผู้เข้าร่วมงาน  และได้เตรียมคำถามเพื่อมอบของรางวัลให้แก่แขกผู้ร่วมงานกิจกรรมสภากาแฟในครั้งนี้ด้วย


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “จากอดีตสู่ปัจจุบัน ๑๑๘ ปีหอสมุดแห่งชาติ” วิทยากร นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ, นางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


            นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ผลงาน Application AR Smart Heritage ของกรมศิลปากร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสื่อและการสื่อสาร ประเภทผลงานนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร ประจำปี 2566 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เนื่องในวันนวัตกรรมแห่งชาติ 5 ตุลาคม 2566            AR Smart heritage เป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถใช้ได้กับโทรศัพท์ Smart Phone และ Tablet บนระบบ Android และ iOS ซึ่งกรมศิลปากร โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรมได้พัฒนาขึ้น เพื่อสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ในการท่องเที่ยวโบราณสถานผ่านสื่อเทคโนโลยีระบบ AR หรือ Augmented Reality ภายใต้แนวความคิดเรื่องการย้อนรอยความรุ่งเรืองในอดีต สู่ความภาคภูมิใจในปัจจุบัน โดยนำรูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานมาผสานเข้ากับโบราณสถานในสถานที่จริง เพื่อให้ผู้เข้าชมได้จินตนาการถึงความรุ่งเรือง ความงดงามของสถาปัตยกรรมไทยและความยิ่งใหญ่แห่งมรดกโลกของไทย ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยมีรูปแบบสันนิษฐานโบราณสถาน รวมทั้งสิ้น 36 แห่ง ให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสกับการชมโบราณสถานในรูปแบบใหม่ได้อย่างเต็มอิ่มและมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก ส่งเสริมเพิ่มมูลค่าและคุณค่า ให้แก่แหล่งโบราณสถาน กระตุ้นให้นักท่องเที่ยว ผู้เข้าชมโบราณสถานเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติม เข้าใจในรูปแบบของ โบราณสถานและสถาปัตยกรรมไทยมากยิ่งขึ้น            รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดในแวดวงนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติแก่คนไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรม มีความโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ ในหลากหลายด้านซึ่งจะสร้างให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมไทย เกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพนวัตกรรมจากฝีมือคนไทย และสร้างภาพลักษณ์สู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมผ่านการสื่อสารให้เกิดการรับรู้ผลงานนวัตกรรมของประเทศไทยในวงกว้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  


กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “จากอดีตสู่ปัจจุบัน ๑๑๘ ปี หอสมุดแห่งชาติ” วิทยากร นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยสำนักหอสมุดแห่งชาติ, นางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.          ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


เพื่อร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ซีมีโอสปาฟา ครั้งที่ ๓๘ ในฐานะตัวแทนอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็นผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการบริหารศูนย์ซีมีโอ-สปาฟา


เป็นผู้บรรยายหัวข้อ “มหายาน :  มุมมอง - แนวคิด - จิตวิญญาณ” ในโครงการทัศนศึกษาดูงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีและคติความเชื่อทางพุทธศาสนามหายานและขยายขอบข่ายความรู้ด้านพระพุทธศาสนา และเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานแก่บุคลากรของมูลนิธิและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยพระภิกษุและฆราวาส ณ เมืองธรรมศาลา รัฐหิมาจัลประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย


          กลับมาอีกครั้งกับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ยกกองทัพหนังสือออกใหม่ หนังสือเก่า หนังสือหายาก ไปให้เหล่านักอ่านจับจ่าย ลดราคาหนังสือสูงสุดถึง 20% ลดราคาเฉพาะในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 และในระบบออนไลน์ (ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) *ปิดทำการ) พบกันในวันที่ 12 - 23 ตุลาคม 2566 เวลา 11.00 - 22.00 น. ที่บูธ N03 โซนหนังสือนิยายและวรรณกรรม ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th                สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร รีบด่วน!!! หนังสือมีจำนวนจำกัด (*การจัดส่งหนังสือทางไปรษณีย์อาจมีความล่าช้า จึงขออภัยมา ณ โอกาสนี้)


          อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ เนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ เรื่อง “รำลึก ๖๘ ปี เสด็จประพาส ปราสาทพิมาย” เพื่อร่วมรำลึกและน้อมสำนึกในเหตุการณ์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ (เมื่อ ๖๘ ปีที่แล้ว) นับเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สำคัญต่อโบราณปราสาทพิมาย ตลอดจนพสกนิกรในพื้นที่ ซึ่งมีภาพถ่ายบันทึกไว้หลายภาพ ทั้งโดยส่วนราชการและประชาชน นับเป็นภาพถ่ายที่ทรงคุณค่า แสดงให้เห็นสภาพของปราสาทพิมายก่อนที่จะได้รับการบูรณะ และพระราชกรณียกิจครั้งสำคัญ อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ “พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย” ทรงมีต่องานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ            โดยจะมีพิธีเปิดนิทรรศการ ในวันพุธที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษนี้ได้ ระหว่างวันที่ ๑๑ ตุลาคม ถึง ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน (ไม่มีวันหยุด) สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๔๔๔๘ ๑๕๖๘


กรมศิลปากร ดำเนินการจัดทำนิทรรศการพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พุทธศักราช ๒๕๖๖ เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษา สร้างสรรค์ ส่งเสริม สืบทอด และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎร บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข


วันพฤหัสบดีที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๓๐ น. นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ และนางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ร่วมเก็บข้อมูลโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี ณ เวียงกุมกาม เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ๒ หน่วยงานด้านเอกสาร ภาษา และหนังสือ


นายภูมิรัตน์ จบกลศึก นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ลงพื้นที่สแกนภาพสามมิติ ณ วัดอรุณราชวราราม ในโครงการวิจัย เรื่อง “การสร้างเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อเพิ่มมูลค่าทุนทางอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของแหล่งมรดกวัฒนธรรมวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” ซึ่งเป็นโครงการของกองโบราณคดี กรมศิลปากร ร่วมกับสถาบันไทยศึกษา และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสียบไฟเครื่องสแกน เสียบสายต่อเครื่องสแกน ใช้โปรแกรมของเครื่องสแกน EinScan HXสแกนพระพุทธรูปในมณฑปทิศตะวันตก : พุทธประวัติตอนปรินิพพาน (แต่ละทิศก็จะมีพระพุทธรูปที่แตกต่างกัน) สแกนขึ้นสีเขียว แสดงว่า Detect เจอ สแกนได้ สแกนขึ้นสีม่วง คือหา detect ไม่เจอ สแกนไม่เห็น ให้หาพื้นที่สแกนใหม่ สแกนขึ้นสีดำ คือ พื้นที่ที่ยังไม่ได้สแกน  เมื่อสแกนเสร็จแล้วก็จะขึ้นภาพปรากฏบนหน้าจอ ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องทำการหาพื้นที่ที่เป็นสีดำสแกนขึ้นไปเรื่อยๆ เครื่องสแกนจะมีปัญหากับ สีขาว, พื้นผิวมัน, สีทองสะท้อนแสง มีปัญหาสแกนติดยาก งานนี้ ใช้เวลา Render ไฟล์ประมาณ 20 นาทีMerge 2ไฟล์เข้าด้วยกัน คอมพิวเตอร์ควรใช้ RAM (Random Access Memory) 64-128 GB ขึ้นไป สแกนฐานองค์พระต่อจนเสร็จ เครื่องสแกนขึ้นสีแดง แสดงว่าระยะสแกนใกล้ไปเครื่องสแกนขึ้นสีเขียว คือระยะสแกนกำลังพอดี เครื่องสแกนขึ้นสีน้ำเงิน คือระยะสแกนไกลไปควรรักษาระยะห่างในการสแกนประมาณ 15-45 เซนติเมตรสแกนพระสาวก อุปสรรคที่ยากลำบากคือ ซอกเล็กซอกน้อยต่างๆที่สแกนเข้าถึงได้ยากต้องสแกนพื้นที่รอบข้างเผื่อเอาไว้ 30% เพื่อเวลาที่เอาไฟล์มา Merge กันจะได้สามารถต่อกันได้(ถ้าสแกนเร็ว กลับไปกลับมา จะทำให้ภาพซ้อนกัน ต้องทำการสแกนใหม่)ม้วนเก็บสายไฟหลบฝน


เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร ลงพื้นที่ดำเนินงานอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ตามหลักวิชาการกรมศิลปากร ณ อุโบสถวัดสุทธิวนาราม ตำบลหนองฉิม อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ