ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 36,743 รายการ

           ททท.ชวนคนไทยทั้งประเทศ เตรียมแสดงความยินดี กับ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เตรียมประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก UNESCO World Heritage แห่งล่าสุดของไทย            มาร่วมเปิดความมหัศจรรย์ ย้อนกาลเวลาอันรุ่งเรืองของเมืองโบราณ ณ ดินแดนที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ผ่าน แสง สี แห่งความศรัทธา ในงาน “มหัศจรรย์แสงสี ณ ศรีเทพ สู่มรดกโลก” The Magical Si Thep to World Heritage พลังความเชื่อจากอดีต สู่แสงแห่งศรัทธาของคนไทย ที่นำพาความภาคภูมิใจให้คนทั้งโลก ในวันที่ 29 สิงหาคม - 3 กันยายน นี้ เวลา 16.00 – 21.00 น. ณ เขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อ.ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ * (ข้อมูลจาก Facebook : ททท.สำนักงานพิษณุโลก https://www.facebook.com/TAT.Phitsanulok)


วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาที่ ๓ โรงเรียนบ้านหนองจอก ตำบลคาละแมะ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๙๐ คน คุณครู ๑๐ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง และนางสาวอภิญญา สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก ตำบลราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๘๐ คน คุณครู ๕ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง และนางสาวอภิญญา สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๓-๖ โรงเรียนบ้านอังกุล ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๗๐ คน คุณครู ๑๒ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ และนายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ร่วมกับ อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “อโยธยารากเหง้าอยุธยาที่ถูกลืม” วิทยากรโดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในวันอาทิตย์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๖  ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม อาคารนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา            ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนโดยการสแกนคิวอาร์โค้ดในภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา โทร ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗


          กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๗ วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร -------------------------------------------- ภาคเช้า (เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น.) การเสวนาวิชาการ เรื่อง “ประวัติศาสตร์จากตำนานและจารึก ในนิทรรศการพระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” วิทยากรโดย นายเทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร นายธนโชติ เกียรติณภัทร อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดำเนินรายการโดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   เริ่มลงทะเบียน เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๐๙.๐๐ น. ------------------------------------------- สำรองที่นั่งผ่านโทรศัพท์เท่านั้น / สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (วันพุธ-อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น.)  ***รับจำนวนจำกัด*** -------------------------------------------


กระทรวงศึกษาธิการ กรมการศาสนา.  ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา.  กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, 2527.             พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 วิภาค ได้แก่ วิภาคที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับ สายธารแห่งอารยธรรมของโลก ความจำเป็นต้องมีศาสนา ความหมายของศาสนาฯลฯ  วิภาคที่ 2 พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนสมัยสุโขทัย การเผยแพร่พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย สมัยลานนาไทยคาบเกี่ยวสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นต้น วิภาคที่ 3 การปรับปรุงและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา สมัยรัชกาลที่ 1 - 9 วิภาคที่ 4 การปกครองคณะสงฆ์โดยสังเขป สมัยหลังพุทธปรินิพพาน การปกครองสงฆ์ในประเทศไทยสมัยสุโขทัย  จนถึงรัชกาลปัจจุบัน พร้อมทั้งรายพระนามสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และวิภาคที่ 5 การศึกษาของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน การเรียนการสอน เป็นต้น                     อ           294.309           ก521ป             ห้องค้นคว้า           เดือน ส.ค.66  


พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์.  กรุงเทพฯ : สุทินการพิมพ์, 2551.  102 หน้า.  ภาพประกอบ.             จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 ทรงผนวชครบ 200 ปี พุทธศักราช 2551  ประกอบด้วยเนื้อหา พระประวัติของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกของไทย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จำนวน 19 องค์ ตั้งแต่องค์ที่ 1 สมเด็จพระสังฆราชฯ (ศรี) วัดระฆังโฆษิตาราม จนถึงองค์ที่ 19 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ (เจริญ) วัดบวรนิเวศวิหาร ท้ายเล่ม คณะที่ปรึกษา ประวัติผู้เรียบเรียง ผู้ร่วมทำบุญสร้างหนังสือ สดุดีมหาเจษฎาราชเจ้า             อ           294.30922           พ345             ห้องค้นคว้า           เดือน ส.ค.66  


วันที่ 26 สิงหาคม 2566 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้การต้อนรับคณะครู และน้อง ๆ นักเรียน จากโรงเรียนศานติธรรมวิทยา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวน 55 คน


อำนาจ  ทองแสน.  ทฤษฎีเครื่องมือกล.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2562.  364 หน้า.  ภาพประกอบ.  122 บาท.         เนื้อหาทำให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของการทำงาน  ชนิด  ประเภท   การบำรุงรักษา ส่วนประกอบของเครื่องมือกล   เรื่องของส่วนประกอบของเครื่องมือกลขนาดเล็ก  หลักการ ทำงานของเครื่องเลื่อย  เครื่องเจาะ  เครื่องกลึง  เครื่องเจีย   การมีเจตคติและกิจนิสัยที่ดี  การรับผิดชอบ  การตรงต่อเวลา  ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องมือกล         621.902         อ681ท          ( ห้องทั่วไป 2 )


เจนจิรา  เสรีโยธิน.  พูดเยอรมันจากจินตภาพ.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2562.  539 หน้า.  ภาพประกอบ.  250 บาท. ภาษาเยอรมันเป็นภาษาตระกูลเจอร์มานิก  ที่อยู่ในตระกูลเดียวกับภาษาอังกฤษและ ภาษาดัตช์  ทำให้มีศัพท์เยอรมันหลายคำที่คล้ายกับภาษาอังกฤษ  เนื้อหาในเล่มนี้จะทำให้รู้จักภาษาเยอรมันอย่างละเอียด  ในเรื่องของพยัญชนะ ตัวสะกดและสระของภาษาเยอรมัน  ในคำนาม  การเรียงประโยค  ตัวเลข  การคำนวณ  สรรพนาม  การผันกริยา  เรื่องของฤดูกาล  สภาพอากาศและอีกหลายๆ เรื่องพร้อมทั้งบทสนทนาที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของการพูดในภาษาเยอรมัน         438.24         จ713พ           ( ห้องทั่วไป 1 )         


บุญธรรม  ภัทราจารุกุล.  เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2556.  200 หน้า.  ภาพประกอบ.  150บาท.          ให้ข้อมูลในเรื่องของหลักการอ่านแบบ  เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น  การใช้และการ บำรุงรักษาเครื่องมือเขียนแบบ  มาตรฐานงานเขียนแบบเทคนิค  เส้น  ตัวเลข  ตัวอักษร  การ สร้างรูปเรขาคณิต  การกำหนดขนาดของมิติ  มาตราส่วน  ภาพสามมิติ  หลักการฉายภาพ มุมที่ 1 และมุมที่ 3 ภาพสเกตช์  ภาพตัด และสัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุสาหกรรม         604.2         บ471ข                (ห้องทั่วไป2)    


ผุสดี  จันทวิมล.  รัสเซีย  จักรวรรดิพันปีที่ยิ่งใหญ่.  กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2564.  528 หน้า.  ภาพประกอบ.  580 บาท.  เป็นเรื่องราวของรัสเซียจากแรกเริ่มของเส้นทางประวัติศาสตร์จากอดีตจนถึงรัสเซียในปัจจุบัน   เพื่อให้รู้จักรัสเซียให้มากขึ้น  รัสเซียก่อนสมัยอาณาจักร ที่ตั้ง  ภูมิประเทศ  ชนชาติที่อาศัยในรัสเซีย  ชนชาติสลาฟตะวันออก  รัสเซียสมัยอาณาจักรเคียฟ  สมัยราชรัฐรัสเซีย  สมัยอาณาจักรมัสโควี  เรื่องของจักรวรรดิรัสเซียสมัยต้น  รัสเซียสมัยใหม่คริสตจักร  ชนกลุ่มน้อย นโยบายต่างประเทศ  การขยายอำนาจสู่เอเชีย  ติดตามรายละเอียดของรัสเซียจากเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ 947 ผ662ร      ( ห้องทั่วไป 2 )        


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ร่วมกับวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ “ภูมิใจภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์” และนิทรรศการพิเศษเรื่อง“ย้อนรำลึกจิตรกรรมดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีแดนประวัติศาสตร์” เปิดให้ประชาชนเข้าชมระหว่างวันที่ ๒๕ สิงหาคม - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖                     นิทรรศการนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์และโครงการเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ โดยนิทรรศการศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ "ภูมิใจภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์" จัดแสดงผลงานศิลปกรรมของคณะอาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี และนิทรรศการพิเศษเรื่อง“ย้อนรำลึกจิตรกรรมดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีแดนประวัติศาสตร์” นำจิตรกรรมสีน้ำมัน พระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำนวน ๑๖ ภาพ ที่เคยจัดแสดง ณ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๒ – ๒๕๑๔ จนกระทั่งได้มีการปรับปรุงนิทรรศการภายในอาคาร จิตรกรรมชุดนี้จึงได้เคลื่อนย้ายมาเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี นับเป็นโอกาสอันดีที่จิตรกรรมอันล้ำค่าที่อยู่คู่จังหวัดสุพรรณบุรีมาอย่างยาวนานกว่า ๖๐ ปี จะได้นำมาจัดแสดงให้ประชาชนได้รับชมอีกครั้ง             ขอเชิญผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษนี้ได้ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. และวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ หอศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี