ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,654 รายการ

          วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากรเดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยมีนางสาวดวงกมล ยุทธเสวี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการกองโบราณคดี และข้าราชการเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือแนวทางการบูรณะโบราณสถานและสรุปผลการดำเนินงานอุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภายใต้การดูแลสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย เวลา ๑๔.๓๐ น. อธิบดีกรมศิลปากรเดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตรวจเยี่ยมดูงานโครงการปรับปรุงระบบสายไฟลงดินและระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ตรวจพื้นที่โบราณสถานเขตในเมืองและเขตอรัญญิก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และในเวลา ๑๖.๓๐ น. เดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รับฟังการบรรยายสรุปของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร พร้อมตรวจเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยเยี่ยมชมโบราณสถานวัดช้างรอบ ในโครงการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ และตรวจงานโครงการขุดค้น ขุดแต่ง บูรณะและปรับภูมิทัศน์โบราณสถานวัดซุ้มกอ ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร


          วันจันทร์ ที่ ๒๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดนิทรรศการแสดงผลงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านศิลปกรรมประจำปี ๒๕๖๕ เสริมทักษะความรู้แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ "ด้านเซรามิค” KAMATAKI : Ceramic Exhibition (ด้านการเขียนเซรามิค และด้านการปั้นเซรามิค) พร้อมทั้งมอบใบประกาศแก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ ในการนี้ นายสุรัฐกิจ พีรพงศ์ศิลป ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักช่างสิบหมู่ ร่วมในพิธีดังกล่าว ณ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ ถนนพุทธมลฑลสาย ๕ จังหวัดนครปฐม          สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านศิลปกรรมประจำปี ๒๕๖๕ เสริมทักษะความรู้แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ "ด้านเซรามิค” KAMATAKI : Ceramic Exhibition (ด้านการเขียนเซรามิค และด้านการปั้นเซรามิค) เป็นการจัดแสดงผลงาน การเขียนสีใต้เคลือบบนเซรามิคและการสร้างสรรค์ผลงานเซรามิคด้วยเทคนิคการเผาโดยเตาฟืน และเทคนิคการเผาแบบรากุ ซึ่งเป็นผลงานที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว โดยบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร          ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการดังกล่าว สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กรกฎาคม - ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ (ในวันและเวลาราชการ) ณ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และสามารถรับชมแบบออนไลน์ได้ทาง Facebook page : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดกิจกรรมเสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย วันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ เรื่อง "ลายรดน้ำ วิจิตรศิลปกรรมเรือพระราชพิธี" และการทำผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกจากลายรดน้ำ เรียนรู้ พัฒนา สร้างอาชีพ สร้างรายได้           ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำรองที่นั่งหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร ๐ ๒๔๒๔ ๐๐๐๔


       พระพุทธรูปแก้วผลึก        ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๔        หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล ประทาน        ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        พระพุทธรูปหินผลึกใส หรือที่เรียกว่าพระพุทธรูปแก้วน้ำค้าง จำหลักเป็นรูปพระพุทธรูปสี่พระองค์ประทับขัดสมาธิราบหันพระปฤษฎางค์เข้าหากัน แสดงปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะสำคัญคือ พระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายค่อนข้างหนา ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นเล็กยาวจรดพระนาภี ส่วนปลายแยกออกจากกันคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน และมีพระพุทธรูปยืนหนึ่งองค์ แสดงปางห้ามแก่นจันทน์ เบื้องล่างมีเดือยสวมลงกับเบ้ากลมที่อยู่เหนือพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสี่ ดังนั้นจึงหมายถึงอดีตพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า และพระศรีอาริยเมตไตรย        หินผลึกใสที่นำมาสร้างพระพุทธรูปนี้เรียกว่า รัตนชาติ เป็นแร่หินในตระกูลควอตซ์ (Quartz) ประเภทหินกึ่งอัญมณี (Semi-Precious Stone) หรือ พลอยหินเนื้ออ่อนสีต่าง ๆ ทั้งเนื้อใส เนื้อขุ่น และหินสี (Colored Stone) ซึ่งเป็นเนื้อหินที่หายาก จึงถือเป็นของมีค่า ส่วนเหตุที่เรียกรัตนชาติที่มีลักษณะเป็นผลึกใสว่า “แก้วน้ำค้าง” นั้นเนื่องมาจากลักษณะความใสสะอาดบริสุทธิ์ของเนื้อหิน ไม่มีสิ่งเจือปน เปรียบได้กับน้ำค้างยามรุ่งอรุณ อีกทั้งยังมีความเชื่อว่าหินประเภทนี้จะนำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขอีกด้วย        ในวัฒนธรรมล้านนา มีความเชื่อเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาสร้างพระพุทธรูปว่าจะได้ผลานิสงส์ หรือบุญกุศลที่แตกต่างกันออกไป ดังปรากฏใน “คัมภีร์อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป” จ.ศ. ๑๒๙๐ (พ.ศ. ๒๔๗๑) จากวัดควรค่าม้า อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อความระบุถึงบุญกุศลจากการสร้างพระพุทธรูปด้วยเนื้อชิน เงิน ทองคำ และแก้ว ต่างกันออกไป โดยที่การสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วนั้น จะได้รับบุญกุศลสูงที่สุด         หรือกล่าวได้ว่าหินผลึกที่มีลักษณะเหมือนแก้วเป็นวัสดุที่มีค่าสูง นอกจากนี้วัดสำคัญในเมืองเชียงใหม่ยังประดิษฐานพระแก้วเป็นพระประธาน อาทิ พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว ลักษณะเป็นพระแก้วขาวที่มีเนื้อใสดุจน้ำค้าง นับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีตำนานเกี่ยวข้องกับพญามังราย ผู้สถาปนาอาณาจักร ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ วัดเชียงมั่น อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่   อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน นพปฏิมารัตนมารวิชัย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๒.




          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสนฺ กษัตริย์ พบกับการบรรยาย เรื่อง "ถอดรหัสธงไทย: ธงชาติไทย สัญลักษณ์ของความเป็นไทย" วิทยากรโดย นายพฤฒิพล ประชุมผล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยและผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ            ทั้งนี้  ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการบรรยายได้ผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘ ๖๘๙๑ ๒๕๔๘ (คุณเกษี)


ชื่อเรื่อง                               อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์) สพ.บ.                                  อย.บ.2/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           54/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              22 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ปาฎิโมกฺข (พฺรปาฎิโมกฺข) ชบ.บ 119/1ก เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 160/5เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


       โบราณวัตถุที่พบจากกลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน  เมืองโบราณอู่ทอง         กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาคอก นอกคูเมืองโบราณอู่ทอง ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร พบโบราณสถานทั้งหมด ๒๐ กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยโบราณสถานที่สร้างเป็นคันดิน และโบราณสถานที่สร้างด้วยโครงสร้างอิฐ  ศิลาแลง และหิน        กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างเป็นคันดินมีทั้งหมด ๔ แห่ง ลักษณะเป็นคันดินคล้ายอ่างเก็บน้ำ  เดิมเชื่อว่าเป็นคอกขังช้างหรือเพนียดคล้องช้าง แต่ปัจจุบันพบหลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พบว่าสร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลมาจากเขาคอกทางทิศเหนือ         โบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาคอก ปัจจุบันปรากฏเป็นเนินดิน แบ่งเป็นกลุ่มได้ ๑๖ กลุ่ม ส่วนมากยังไม่ได้ขุดศึกษา โบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ         ซึ่งผ่านการดำเนินงานทางโบราณคดีมาแล้วและพบหลักฐานที่สำคัญ มีดังนี้          • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๕ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ เอกมุขลึงค์           • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ขันสำริด เชิงเทียนสำริด ตุ้มเหล็ก และแท่งเหล็ก เป็นต้น           • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๗ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ภาชนะดินเผาบรรจุแท่งเงินตัด เหรียญเงินมีจารึก "ศรีทวารดี ศวรปุณยะ" เหรียญเงินมีสัญลักษณ์มงคล (รูปหอยสังข์ รูปศรีวัตสะ รูปพระอาทิตย์) ชิ้นส่วนหัวงูดินเผา เครื่องถ้วยจีน เคลือบสีเขียวสมัยราชวงศ์ถัง เป็นต้น           • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ แผ่นเหล็กคล้าย ใบมีดเหล็ก แหวนสำริด แม่พิมพ์หรือเบ้าหลอมดินเผา เป็นต้น           • โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ กระปุกดินเผาบรรจุเหรียญเงิน เป็นต้น        โบราณวัตถุที่สำคัญมี ดังนี้          o ชิ้นส่วนภาชนะมีพวย เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินส่วนปาก คอ และบ่า มีพวยหนึ่งข้าง สันนิษฐานว่าป็นภาชนะสำหรับใช้สรงน้ำในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๓          o ศิวลึงค์ เป็นศิวลึงค์ที่ทำจากหินขนาดสูง เพียง ๑๘.๕ เซนติเมตร ส่วนฐานเป็น แท่งสี่เหลี่ยมส่วนปลายเป็นแท่งกลมมน เนื่องจากเป็นศิวลึงค์ขนาดเล็ก จึงสันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่ศิวลึงค์ประจำ ศาสนสถาน แต่สามารถพกพาเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมหรือบูชาได้          o ภาชนะดินเผาบรรจุเหรียญเงินตราสังข์ เป็นภาชนะดินเผา ส่วนลำตัวคล้ายบาตรพระ ส่วนคอแคบสูง ภายในบรรจุเหรียญ เงินตราสังข์เต็มกระปุก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๘          o ขัน เป็นขันสำริดทรงกระบอก เนื้อหนาผิวไม่สม่ำเสมอ สันนิษฐานว่าขึ้นรูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖          o เชิงเทียน เป็นเชิงเทียนสำริด สันนิษฐานว่าขึ้น รูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๖          o ตุ้มเหล็กเป็นตุ้มเหล็กรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิมกินทั้งชิ้น ไม่ทราบลักษณะการใช้งาน แต่สันนิษฐานว่าเป็นตุ้มถ่วงชั่งน้ำหนัก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖          o แท่งเหล็ก เป็นแท่งเหล็กเรียวยาวสภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิม ไม่ทราบลักษณะ การใช้งานแต่สันนิษฐานว่าเป็นคานที่ใช้กับเครื่องชั่งน้ำหนัก เนื่องจากพบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ใกล้กับตุ้มเหล็ก          o ใบมีด เป็นแผ่นเหล็กแบนยาว ด้านหนึ่งบางกว่าอีกด้าน คล้ายกับใบมีด มีสนิมเกาะทั้งแผ่น พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓          o แหวน เป็นเส้นลวดขดเกลียวเป็นเส้น และขดเป็นวงแหวน ไม่ทราบ ลักษณะการใช้งานที่แท้จริง สันนิษฐานว่าอาจเป็นของใช้ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓          o เบ้าหลอมเป็นแผ่นดินเผา มีหลุมตรงกลาง สันนิษฐานว่าเป็นเบ้าหลอมหรือ แม่พิมพ์ พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๑๓        โบราณสถานคอกช้างดิน มีทั้งส่วนที่คันดินสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และส่วนที่เป็นอาคารศาสนสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจากพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไศวนิกาย สัมพันธ์กับการเลือกใช้ภูเขาเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเปรียบเสมือนเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระศิวะ พื้นที่บริเวณคอกช้างดินจึงน่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำพิธีกรรมของพราหมณ์ในไศวนิกาย   ที่มาข้อมูล  กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           15/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                36 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 51/2553 ชิ้นส่วนลูกหินบดยา ทรงกระบอก ย.6.1 Ø 5.2 หิน ทวารวดี ได้จากแหล่งโบราณคดีบ้านดงละคร จ.นครนายก นายจำเนียร ทองจันทร์ มอบให้เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2549


Messenger