ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,654 รายการ

-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : หญ้าไม่ธรรมดา -- เมื่อหลายสิบปีก่อน หญ้าแฝกคือวัชพืชที่ไม่มีผู้ใดสนใจ ครั้นปี พ.ศ. 2523 พื้นที่การเกษตรหลายแห่งเสื่อมโทรม อีกทั้งยังเกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง " หญ้าแฝก " กลับเป็นหนึ่งในตัวช่วยของเกษตรกรอย่างน่าอัศจรรย์. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงมีพระราชดำริให้กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำเกษตรกรใช้หญ้าแฝกปลูกคลุมผืนดินไว้ เพราะพืชชนิดนี้หยั่งรากลึก แตกกอง่าย สามารถอุ้มน้ำ รักษาความชุ่มชื้น ป้องกันดินพังทลาย และฟื้นฟูระบบนิเวศได้รวดเร็ว. เกษตรจังหวัดพะเยาทราบถึงพระราชดำริ และนโยบายจากกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว จึงมีหนังสือราชการถึงนายอำเภอในจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือดังต่อไปนี้ 1. ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลปลูกหญ้าแฝกอย่างน้อยคนละ 50 กอ สำหรับศึกษาและขยายพันธุ์แก่เกษตรกร 2. แนะนำการปลูกหญ้าแฝกอย่างน้อยตำบลละ 10,000 ต้น พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าทุกเดือน 3. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจเรื่องหญ้าแฝกแก่ประชาชน อีกทั้งปลูกเป็นตัวอย่างในพื้นที่สำนักงาน บ้านพัก และบริเวณที่สามารถเข้าศึกษาได้ต่อไป. นอกจากนี้ เกษตรจังหวัดพะเยายังแจกจ่ายแผ่นพับการปลูกหญ้าแฝก วิธีขยายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย. อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานข้างต้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ถึงแม้ว่าหญ้าแฝกจะขึ้นง่าย โตไว ทนสภาพภูมิอากาศทุกสภาวะ ดังนั้นการให้รายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจึงเป็นผลแสดงความสำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากน่าเสียดายที่ไม่พบรายงานการปลูกหญ้าแฝกประกอบในแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุร่วมด้วย. ถึงกระนั้น ในปัจจุบันเราก็พบความสำเร็จจากการใช้หญ้าแฝกของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอยู่เสมอๆ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ของพระมหากษัตริย์ผู้ประทับอยู่ในหัวใจชาวไทยตราบชั่วนิรันดร์.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/21 เรื่อง การส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก [ 11 พ.ย. - 28 ธ.ค. 2535 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


"มังกรจีน""ลายมังกรดั้นเมฆ"ภาพจิตกรรมบนขื่อคานเครื่องบนวิหารวัดภูมินทร์ จ.น่านเทคนิคปิดทองล่องชาด (ล้านนาเรียกชาดว่า หาง)ในคติความเชื่อของจีน "มังกร" เป็นสัตว์วิเศษ มีพลังเหนือธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ฟ้าฝน และไฟ มีความสัมพันธ์กับฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงของวันเวลา ซึ่งมีความสำคัญต่อเกษตรกรรม รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์แทนอำนาจจักรพรรดิ ความสูงส่ง และเกียรติยศ สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายและพลังลบต่างๆ พร้อมนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนยาว โชคลาภวาสนาจากการประดับลวดลาย "มังกรดั้นเมฆ" ที่วิหารวัดภูมินทร์ จ.น่าน สะท้อนถึงความนิยม อิทธิพลศิลปะจีนที่ผสมผสานในงานศิลปกรรมเมืองน่านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากลักษณะของมังกรมีความคล้ายคลึงกับศิลปกรรมนาคที่ปรากฎในงานศิลปกรรมน่าน เช่น หัวเรือแข่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสื่อความหมายทางสัญลักษณ์ที่บ่งบอกฐานานุศักดิ์ของผู้สร้างอารามแห่งนี้




ผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาติ ปีที่พิมพ์ : 2532สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ     ระบำ รำ ฟ้อน เป็นศิลปะการร่ายรำและการแสดงเพื่อความบันเทิง ซึ่งมีรูปแบบที่สวยงาม นิ่มนวล เข้มแข็ง และตึงตัง อันสะท้อนให้เห็นจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ประณีตและละเอียดอ่อน เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ไทยเป็นชาติที่มีศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่ามาแต่โบราณกาล เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้ช่วยกันคิดและสร้างสมไว้เป็นมรดกแก่ชาวไทยทุกคน อีกทั้งพระมหากษัตราธิราชเจ้ายังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์และทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา


บทความจากนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๒๕๕๔ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ คอลัมน์โบราณวัตถุชิ้นเอกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ : ชุด พระราชอาสน์ ประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา เขียนโดยนางณัฏฐภัทร จันทวิช ---พระราชอาสน์นี้มีประวัติความเป็นมาและมีความน่าสนใจอย่างไร อ่านได้ในเอกสารที่แนบ


ระเบียบกรมศิลปากร เรื่อง การขออนุญาตพิมพ์หนังสือ                  กรมศิลปากร มีหน้าที่สงวนรักษา ทะนุบารุงส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์สมบัติ วัฒนธรรม และนาออกเผยแพร่ให้กว้างขวาง เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะการจัดพิมพ์หนังสือและเอกสารต่างๆ ซึ่งกรมศิลปากรเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มีลิขสิทธิ์สืบทอดหรือได้รับมอบอานาจให้ใช้ประโยชน์จากลิขสิทธิ์หรือข้าราชการในหน่วยงานต่างๆ ของกรมศิลปากรเรียบเรียงขึ้นโดยคาสั่งของทาง ราชการ ตามสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องนั้น ได้มีผู้มาขออนุญาตพิมพ์เผยแพร่เป็นจานวนมาก และกรม ศิลปากรได้พิจารณาอนุญาตตามระเบียบกรมศิลปากร เรื่อง การขออนุญาตพิมพ์หนังสือ พ.ศ.๒๔๙๗ แก้ไขเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ และระเบียบกรมศิลปากร เรื่อง การขออนุญาตพิมพ์หนังสือ พ.ศ.๒๕๑๖ หรือโดยข้อตกลงเฉพาะคราวตลอดมา


วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 10.00 น. นางวิรยาร์ ชำนาญพล หัวหน้ากลุ่มระบบสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม ประชุมร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ตรวจรับพัสดุโครงการพัฒนาระบบนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ในการนี้นางสาวตรีชฎา แสนศรีชัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ และนายณัฐภัทร สุขวิลัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย




เมื่อเดือนสิงหาคม ๑๔๗ ปีมาแล้ว ประเทศไทยได้เป็นจุดสนใจของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศล่วงหน้ามา ๒ ปีแล้วว่า จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑ โดยเส้นศูนย์ของสุริยุปราคาจะอยู่ระหว่างแลตติจูด ๑๑ องศา ๓๘ ลิปดาเหนือ กับลองติจูด ๙๙ องศา ๓๙ ลิปดาตะวันออก บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุด จะอยู่ที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ จากเกาะจานขึ้นมาถึงปราณบุรี และลงไปถึงชุมพร ทั้งยังทรงระบุเวลาที่เงาของดวงจันทร์เริ่มเข้าบดบังดวงอาทิตย์ เวลาที่จับเต็มดวง จนเวลาที่คลายออกทั้งหมด ทรงเชิญนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติและทูตานุทูตมาร่วมสังเกตการณ์ ซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการท้าพิสูจน์ หากไม่เป็นไปตามที่ทรงคำนวณ ก็จะเป็นการเสียพระเกียรติอย่างยิ่ง นับว่าทรงมีความเชื่อมั่นและกล้าหาญอย่างมาก แต่เดิม ชาวตะวันออกมักเชื่อกันว่า สุริยุปราคาเกิดจากยักษ์กำลังอมพระอาทิตย์และจะกลืนลงไป จึงพยายามทำเสียงดัง เช่นตีกลองหรือจุดประทัดเพื่อให้ยักษ์ตกใจหนีไป การคำนวณล่วงหน้าว่าจะเกิดสุริยปราคาของพระมหากษัตริย์ไทยเช่นนี้ จึงแสดงให้เห็นว่าสยามได้พลิกโฉมหน้าไปจากอดีต และก้าวเข้าสู่โลกวิทยาศาสตร์ได้อย่างล้ำหน้า ที่สำคัญ การต้อนรับแขกเมืองที่ค่ายหลวงหว้ากอครั้งนี้ ยังทำให้แขกเมืองประหลาดใจไปตามกัน ที่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของราชสำนักสยาม ชาวต่างชาติที่ตอบรับเชิญในครั้งนี้ มีแต่ชาติที่สนใจย่านตะวันออกในยุคนั้น นายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ รักษาการณ์กงสุลอังกฤษประจำสยาม นำเรือรบ ๓ ลำไปถึงในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ร.๔. ทรงยิงสลุตต้อนรับด้วยพระองค์เอง ๗ นัด ทำให้นายอาลาบาสเตอร์ปลื้มเป็นล้นพ้น บันทึกไว้ว่า “พระมหากรุณาธิคุณและความโอบอ้อมอารีที่คณะของเราได้รับพระราชทานครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นที่ใดมาก่อนเลย และคงจะไม่มีวันได้พบเห็นอีกแล้ว” นอกจากนี้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อัครมหาเสนาบดี ยังเชิญให้นายอาลาบาสเตอร์และครอบครัว เข้าพักร่วมกับครอบครัวของท่าน คงด้วยเหตุเหล่านี้กระมัง เมื่อนายอาลาบาสเตอร์พ้นจากราชการสถานทูตอังกฤษแล้ว จึงเข้ารับราชการไทย ยึดประเทศไทยเป็นเรือนตาย จนเป็นต้นตระกูล “เศวตศิลา” นอกจากกงสุลแล้ว เซอร์แฮรี ออด ผู้สำเร็จราชการสิงคโปร์ของอังกฤษ ยังพาครอบครัวมาทางเรือ ถือโอกาสเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด ทำความคุ้นเคยกับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการสยาม ส่วนฝรั่งเศส นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจที่จะได้เห็นสุริยุปราคานานที่สุดในรอบ ๓๐๐ ปี แต่จะตั้งค่ายในเวียดนาม ต่อมาย้ายไปมะละกา เสียค่าเตรียมงานไปมาก ในที่สุดก็เห็นว่าไม่มีที่ใดเหมาะสม จึงกราบทูลขอเข้ามาร่วมด้วย ทรงสร้างค่ายให้ฝรั่งเศสใต้ค่ายหลวงลงไป ๑๘ เส้น นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสมากันเป็นขบวนใหญ่ มีกล้องมาถึง ๕๐ กล้อง นอกจากนี้ยังขนอิฐขนปูนมาสร้างที่ตั้งกล้อง ซึ่งสิ่งก่อสร้างของฝรั่งเศสนี้มีค่าอย่างมากในการหาสถานที่สร้างอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าในปัจจุบัน เพราะค่ายหลวงที่สร้างด้วยไม้ไผ่มุงด้วยใบจากใบตาล ไม่เหลือซากทิ้งหลักฐานไว้เลย นอกจากนี้ยังมีคณะธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส จากสวนพฤกษศาสตร์เมืองไซ่ง่อน เดินทางบกมาสมทบ เพื่อสังเกตว่าขณะมีสุริยุปราคาเต็มดวง พืชและสัตว์จะแสดงอาการหรือมีพฤติกรรมผิดไปจากปกติอย่างไร แล้วถือโอกาสเก็บพันธุ์ไม้แปลกๆไปเป็นร้อยๆชนิด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯพร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอ ๔ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิง ๓ พระองค์ ซึ่งมีพระชันษาราว ๑๖ พรรษาทุกพระองค์ และเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ (ร.๕) พระชนมายุ ๑๕ พรรษา เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชไปทอดสมอที่หน้าหาดหว้ากอในเที่ยงวันที่ ๘ สิงหาคม โปรดฯให้คณะสำรวจฝรั่งเศส ๒๐ คน คณะนายอาลาบาสเตอร์ และคณะเซอร์แฮรี ออดพร้อมครอบครัว เข้าเฝ้าที่พลับพลา พระราชทานทองคำบางสะพานให้ทุกคนเป็นที่ระลึก การต้อนรับครั้งนี้ บรรดาแขกเมืองทั้งหลาย ไม่มีใครคาดคิดว่าจะได้พบกับความอุดมสมบูรณ์โก้หรูเช่นนี้กลางป่าของราชอาณาจักรสยาม ใช้พ่อครัวเป็นชาวฝรั่งเศส และหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟเป็นอิตาเลียน มีทั้งวิสกี้และน้ำองุ่น พร้อมน้ำแข็งซึ่งสมัยนั้นยังต้องสั่งมาจากสิงคโปร์ อีกทั้งธรรมเนียมต้อนรับก็พลิกโฉมหน้าราชสำนักสยามไปมาก ฝ่ายจดหมายเหตุของสิงคโปร์บันทึกไว้ว่า “...ราชสำนักได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างหมดจด เช่นการรับแขกเมืองครั้งนี้ แต่ก่อนมิได้เคยปรากฏ เป็นต้นว่าเปิดพระราชมณเฑียรที่ประทับส่วนพระองค์พระราชทานโอกาสให้แขกเมืองเข้าไปได้ และโปรดให้ฝ่ายในออกมารับแขกเมืองโดยเปิดเผย ส่วนเจ้านายที่ทรงพระเยาว์ก็ทรงยอมให้สมาคมกับชาวอังกฤษได้อย่างฉันท์มิตรสนิทสนม ซึ่งเรื่องราวของคณะทูตและจดหมายเหตุของผู้ที่มาเยือนกรุงสยามแต่ก่อน มีแต่บันทึกข้อห้ามตามธรรมเนียมของชาวสยามมากมาย นายครอฟอร์ดก็ดี เซอร์เจมส์ บรูค และเซอร์ยอน บาวริงก็ดี ได้กล่าวความเหล่านี้ไว้ ท่านเหล่านั้นได้เล่าเรื่องราวอย่างยืดยาวว่า ข้อห้ามต่างๆเช่นนั้นมีอยู่ทั่วไป จนทำความขัดข้องแก่คณะของท่านมาก แม้แต่เรื่องเหน็บกระบี่เข้าเฝ้าก็ถูกห้าม แต่ในคราวนี้ไม่มีการทำให้แขกเมืองรู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าแผ่นดินและขุนนางของพระองค์กลับสมาคมกับแขกเมืองอย่างให้อิสระเป็นผู้เสมอกัน และดูเหมือนจะมุ่งให้คล้อยตามธรรมเนียมของแขกที่มา การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชาติที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงดังนี้” ในที่สุดก็ถึงวันสำคัญ ในเช้าวันที่ ๑๘ สิงหาคม ตอนเช้ามืดท้องฟ้าโปร่งใส มีเพียงเมฆบางๆ ราว ๐๗.๐๐ น.ยังเห็นดวงจันทร์มีแสงเทาอ่อนๆอยู่เรี่ยขอบฟ้า พอ ๐๙.๐๐ น.อากาศเริ่มแปรปรวน เมฆดำขนาดใหญ่เข้ามาปกคลุมท้องฟ้าจนมืดมิด มีฝนตกในหมู่บ้าน ทุกคนที่เฝ้ารอต่างรู้สึกหมดหวังที่จะได้เห็นสุริยุปราคา แต่แล้วอากาศก็เปลี่ยนแปลงอีก หมู่เมฆเคลื่อนคล้อยไปอย่างรวดเร็ว ฟ้ารอบดวงอาทิตย์ใสสว่างขึ้น ทุกคนต่างยืนจังงังเมื่อเห็นดวงจันทร์เริ่มเข้าบดบังดวงอาทิตย์ จนหมดดวงในเวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๖ นาที ๒๒ วินาที มีเพียงรังสีแลบออกมาจากขอบโดยรอบ ขณะนั้นบริเวณหว้ากอมืดลงเหมือนเวลาค่ำ ต้นไม้เป็นเงาดำ ดวงดาวปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า นกกาบินกลับรัง ไก่ขันกันระเบ็งเซ็งแซ่ เครื่องวัดอากาศบอกอุณหภูมิลดลง ๖ องศาจนรู้สึกถึงความเย็น ทุกคนในที่นั้นต่างกู่ร้องกันเอิกเกริก ในหมู่บ้านมีการตีกลองจุดประทัด ส่วนพวกฝรั่งเศสที่ขึ้นไปเฝ้าดูธรรมชาติบนเขาหลวงรายงานต่อมาว่า พอดวงจันทร์บังล้ำเข้าไปในดวงอาทิตย์ได้ ๑ ใน ๕ ฝูงลิงก็วิ่งกันอึงคะนึง และรวมกลุ่มกันเป็นฝูงเล็กๆหลายฝูง นกเหงือกที่ไม่เคยส่งเสียงเลยต่างส่งเสียงกันระงมเพราะความกลัว ไม้ที่หุบใบในเวลากลางคืนเช่นไมยราบก็พากันหุบใบ สุริยุปราคาจับหมดดวงนาน ๖ นาที ๔๕ วินาทีก็เริ่มคลาย มีแสงสว่างพุ่งแปลบออกมาจากดวงอาทิตย์ จนคลายทั้งดวงในเวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๗ นาที ๔๕ วินาที เกินที่ทรงคำนวณไป ๑ นาที เซอร์แฮรี ออดได้บันทึกไว้ว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกต้องอย่างที่สุด ถูกต้องกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้” แต่พระเกียรติคุณอันกึกก้องของพระองค์ในครั้งนี้ ก็ทรงแลกมาด้วยพระชนม์ชีพ ขณะเสด็จพระราชดำเนินกลับนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงประชวรด้วยเชื้อไข้ป่าที่ได้รับจากหว้ากอ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯก็ยังไม่ทุเลา ทรงต่อสู้กับโรคร้ายตามความเชื่อของพระองค์ จนถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันประสูติ จึงเสด็จสวรรคตในวันประสูติตามแบบพระพุทธเจ้า ในปี ๒๕๒๕ รัฐบาลตระหนักที่จะให้อนุชนเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท จึงประกาศให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์สยาม ใน “อุทยานราชภักดิ์” เพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณพระมหากษัตริย์ ๗ พระองค์นั้น มีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวเท่านั้น ที่ยังไม่ได้รับการถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” เหมือนกับอีก ๖ พระองค์ แต่ก็ทรงได้รับการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณในอุทยานแห่งนี้ด้วย


***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่5 พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายถนอมทิพยเสวต ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 29 ธันวาคมพุทธศํกราช 2514 พระนคร  โรงพิมพ์พรรณาคม 2514


วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบบายน อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 (ประมาณ 800 ปีมาแล้ว) สถานที่พบ ได้จากการขุดแต่งกู่โพนระฆัง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ. 2545 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับนั่งขัดสมาธิ สลักแบบนูนสูงมีแผ่นหลัง เกล้าผมสูงรัดด้วยเชือกลายลูกประคำ ด้านหน้ามุ่นมวยผมสลักเป็นลายคล้ายดอกบัว พระหัตถ์ขวาล่างแสดงปางประทานพร พระหัตถ์ขวาบนทรงประคำ พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายบนทรงคัมภีร์


พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ



Messenger