ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,668 รายการ

ชื่อเรื่อง                         มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ.                            170/2ฆหมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  76 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         มหาเวสสันดรชาดก                                                               บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


          กองโบราณคดี โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี ร่วมกับมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา จัดโครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 2 หัวข้อ “จากโบราณคดีบนความขัดแย้งสู่องค์ความรู้ก่อนประวัติศาสตร์ไทย” เปิดรับสมัครอาสาผู้มีวิชาชีพครู จำกัดจำนวนเพียง 30 ท่าน เข้าร่วมโครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย ระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566 ณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และได้รับเกียรติบัตรจากกรมศิลปากร            โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำอาสาเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชิงโบราณคดีแห่งความขัดแย้ง (Conflict Archaeology) จากสงครามโลก ครั้งที่ 2 อันนำมาซึ่งการค้นพบและการศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Archaeology) ในประเทศไทย ถ่ายทอดองค์ความรู้โดยคณะวิทยากรจากกรมศิลปากร อาทิ คุณสุภมาศ ดวงสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี, ดร.ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ กองโบราณคดี และคุณศุภภัสสร หิรัญเตียรณสกุล สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี           อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเพจเฟสบุ๊ก มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา (https://www.facebook.com/Suthiratfoundation)


วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า “สมเด็จ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ 9 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ” เสด็จขึ้นครองราชย์ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พระมหาอุปราช เมื่อมีพระชนมายุใกล้บรรลุนิติภาวะได้ทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 และลาผนวช เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2416 แล้วโปรดให้มีกสารราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2416 เพื่อแสดงให้ประชาชนและชาวต่างชาติทราบว่าพระองค์ทรงรับผิดชอบในการปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองแล้ว พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ การศึกษา การศาล การคมนาคม การสุขาภิบาล ฯลฯ การเลิกทาส พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการเลิกทาสให้เป็นไทตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยทรงไม่ต้องการให้มีการกดขี่เหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง และทรงเห็นว่าการมีทาสเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ไม่เหมาะกับประเทศที่เจริญแล้ว พระองค์ได้ทำการปรึกษาราชการแผ่นดินในหลายฝ่ายเพื่อหาวิธีไม่ให้มีเหตุกระทบกระเทือนต่อตัวทาสและเจ้าของทาส ดังนั้นในปี พ.ศ. 2416 พระองค์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติทาส ห้ามคนที่เกิดในรัชกาลปัจจุบันเป็นทาส และต่อมาพระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2417 ด้วยพระวิริยะอุตสาหะทำให้ทรงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไทโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว นอกจากนี้ การเสด็จประพาสต้น ก็เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับทางรถไฟหรือไม่ก็ทางเรือ ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน เพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สิริรวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัตินานถึง 42 ปี นับเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พระปรีชาสามารถ และเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรไทย สมกับพระราชสมัญญา "พระปิยมหาราช” ซึ่งแปลความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”



ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                    ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่จันทร์ ครั้งที่พิมพ์                - สถานที่พิมพ์             กรุงเทพ ฯ สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์บำรุงนุกุลกิจ ปีที่พิมพ์                   ๒๕๒๒ จำนวนหน้า              ๒๗๓ หน้า หมายเหตุ                 จัดพิมพ์ในงานเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานเพลิงศพพระเทพสิทธาจารย์ (เขมิยเถระ จันทร์ สุวรรณมาโจ) รายละเอียด              หนังสือที่ระลึกงานศพท่านเจ้าคุณปู่พระเทพสิทธาจารย์ (เขนิโย จันทร์ สุวรรณมาโจ) วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ. นครพนม เนื้อหาสาระของหนังสือเป็นการรวมเรื่องจากหนังสือหลายเรื่อง เช่น ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่บุญญาธิการหลวงปู่ ชีวประวัติย่อ พระธรรมเทพเทศนาสั่งสอนประชนชนหลวงปู่และโอวาท.



ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.66 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              29; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำรายาแผนโบราณ                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม  อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ 


         สิงห์สำริด          แบบศิลปะ : ทวารวดี          ชนิด : สำริด          ขนาด : กว้าง 5.5 เซนติเมตร สูง 10.5 เซนติเมตร          อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 (หรือราว 1,200 - 1,300 ปีมาแล้ว)          ลักษณะ : สิงโตเป็นสัตว์สำคัญที่ปรากฏในงานศิลปะมาตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากประเทศอินเดีย เนื่องจากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ปรากฏสัตว์ดังกล่าวอยู่ในธรรมชาติสิงโตสำริดชิ้นนี้เป็นของหาได้ยาก นอกจากจะมีขนาดเล็กและหล่อด้วยโลหะสำริดแล้ว ฝีมือในการปั้นยังแสดงถึงอารมณ์ และลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ถือเป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมอีกชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          ประวัติ : ขุดพบที่เจดีย์หมายเลข 13 อำเภออู่ทอง             สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/24/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong



แดดร่มลมตกจูงลูกจูงหลานมาเที่ยวตลาดปสาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตลาดเปิดตั้งแต่ 5 โมงเย็นนะคะ จากนั้นประมาณ 1 ทุ่มตรงเพลิดเพลินกับการแสดงแสงเสียง เล่าเรื่องเมืองสุโขทัยที่วัดสระศรี งานนี้ดูฟรีเฉพาะศุกร์ที่ 2 ของเดือนเท่านั้นนะคะ



องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์



วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ คณะผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม รอรับนายกรัฐมนตรีและคณะ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/finearts8chiangmai/posts/1677098542541420


  กิจกรรมนิทรรศการเคลื่อนที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๖ ณ โรงเรียนบ้านผือพิทยาสรรค์


Messenger