ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,668 รายการ

ฎีกาพาหุ (ฎีกาพาหุ) ชบ.บ 180/1ฆเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


โครงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมเขาสามบาตร ในด้านต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาและประวัติศาสตร์พัฒนาการ ขอบเขต คุณลักษณะเด่น สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง


ชื่อผู้แต่ง           - ชื่อเรื่อง            รวมประวัติศาสตร์สามพระรัตนธัชมุนี ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์การศาสนา ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๓ จำนวนหน้า      ๙๑ หน้า หมายเหตุ        อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนี ศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ ) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ๑๔ กันยายน ๒๕๒๓                       หนังสือรวมประวัติศาสตร์สามพระรัตนธัชมุนี เล่มนี้ ได้รวมประวัติพระรัตนธัชมุนี ผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีจริยาวัตรอันงดงาม เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ ๓ รูป คือ พระรัตนธัชมุนี ( ม่วง รตนธชเถร เปรียญ ) พระรัตนธัชมุนี ( จู อิสฺสรญาณเถร เปรียญ ) พระรัตนธัชมุนี ( แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ )



ภูมิบริรักษ์ หมายถึง สิ่งที่มีอิทธิฤทธิ์ปกป้องคุ้มครอง ดูแล รักษามวลมนุษยชาติที่อยู่ในโลกนี้ ทั้งเบื้องบน พื้นแผ่นดิน และใต้หล้าให้มีความสุขสบายมั่งคั่งบริบูรณ์ ปราศจากโรคภัยร้าย หรือความทุกข์ยากอัปมงคลทั้งปวงภูมิบริรักษ์ มาจากคำ ๒ คำ คือ คำว่าภูมิสมาสกับคำว่าบริรักษ์ภูมิ เป็นคำนาม หมายถึง พื้นแผ่นดิน หรือที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมวลมนุษยชาติมายาวนานหลายพันปีบริรักษ์เป็นคำกริยา หมายถึง คุ้มครอง ดูแล รักษา และปกครองภูมิบริรักษ์ เป็นความเชื่อที่สืบทอดมาตามสายธารแห่งอารยธรรมในซีกโลกตะวันออก ซึ่งมีทั้งเทพ อมนุษย์และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ได้ เพราะได้รับพรจากเทพเจ้าชั้นสูงและการบำเพ็ญเพียรของตนเองมานานนับพันนับหมื่นปี โดยมีภพภูมิที่อาศัยเป็นหลักแหล่งตามความเชื่อในพุทธศาสนาด้วยความเชื่อถือและศรัทธาอย่างสูงยิ่ง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินรังสรรค์งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่มีภูมิบริรักษ์อันได้แก่ ครุฑ ยักษ์ และนาค เป็นองค์ประกอบสำคัญด้วยเจตนาแห่งอลังการแต่แฝงด้วยคติอันเป็นความเชื่อและความศรัทธาของบรรพชนที่รักษาสืบทอดต่อกันมาอย่างไม่ขาดสายแม้ว่าต่อมาวิทยาการของโลกเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับมนุษย์จึงรับรู้ได้ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ย่อมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระบบนิเวศวิทยา มิใช่อำนาจอิทธิพลจากเทพเจ้าองค์ใดทั้งสิ้น แต่การอ่อนน้อมต่อธรรมชาติและการไหว้ดีพลีถูกในสมัยอดีตก็สามารถรักษาระบบนิเวศให้สมบูรณ์ และส่งผลต่อความเป็นปกติของมวลมนุษยชาติได้เป็นอย่างดีก็ตาม แต่ความศรัทธาเชื่อถือที่หยั่งรากลึกในใจของมนุษย์ก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญให้รักษาขนบเดิมไว้ เพื่อจรรโลงศิลปะและจิตใจภูมิบริรักษ์ทั้ง ๓ หมู่นี้ ต่างมีที่มาและมีอิทธิฤทธิ์ดังปรากฏในคัมภีร์โบราณของแต่ละศาสนาเป็นหลักฐานสืบมาThe World Guardians : Garuda Yaksha NagaPhumborirak (the world guardians) refer to supernatural beings who look after and protect all mankind in the world from malignant illnesses or any sufferings and inauspiciousness and bless humans with prosperity, happiness, and well-being.Phumborirak is a compound word formed by two words, Phum and BorirakPhum is a noun, meaning land or earth where mankind has dwelt upon for thousands of years.Borirak is a verb, meaning to protect, guard well, and govern.Phumborirak is a belief inherited from the Eastern civilization. These supernatural beings include deities, non-human beings, and sacred animals who can be beneficial and be harmful to humans as they receive blessings from deities and attain supernatural power from thousand to ten thousand years of practicing religious austerity. According to Buddhist tradition, these beings reside in different domains.Through strong faith, artists have been creating artworks and architectural works which represent Phumborirak, namely Garuda, Yaksha, and Naga, as an integral part of the works. These works carry both grandeur and traditions which have been passed down from generation to generation.Although scientific discoveries and technological advancement have brought to light the truth that all things in the world depend on each other in ecosystems, not on supernatural power of any deities, the deferential attitude people have held towards nature and the worships they have conducted since ancient times have helped preserve the perfect condition of the ecosystems in the world, resulting in the well-being of mankind. Therefore, the strong beliefs which have been deeply rooted in people’s minds have played a significant role in supporting the preservation of old traditions which results in art conservation and nourishing of minds.The three groups of Phumborirak were mentioned in ancient scriptures of different religions as beings who possess magical power.ภาพ: รูปพิภพแห่งครุฑ ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงศรีอยุธยา เลขที่ ๖ แสดงให้เห็นที่พำนักแห่งครุฑอยู่เชิงเขาพระสุเมรุข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค 


บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเรื่อง "การศึกษาข้อมูลทางโบราณคดีที่คุ้มหลวงเมืองน่าน"ในจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่าน แป้นเกล็ด ฉบับที่ ๘ มิถุนายน-สิหาคม ๒๕๖๑อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid0xCHf2S3mLVrebMrkdDZAVX...


เลขทะเบียน : นพ.บ.414/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 147  (71-80) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สวดมนต์กลาง--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.547/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องรัก-รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 181  (303-310) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำจตุวีก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : นิทานเทียบสุภาษิต ฉบับ พระสุวรรณรัศมี (ทองคำ สีหอุไร) ภาคที่ 2 และภาคที่ 3 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ จ.ส.ต. วิชัย เจตสิกทัต ณ เมรุวัดดอนตูม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี วันที่ 18 เมษายน 2508 ชื่อผู้แต่ง : สุวรรณรัศมี ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ จำนวนหน้า : 70 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในงานฌาปนกิจศพ จ.ส.ต.วิชัย เจตสิกทัต หนังสือเรื่องนิทานเทียบสุภาษิตนี้เป็นเรื่องที่มีคุณค่า เป็นแนวทางสอนที่ดีให้ยึดถือปฏิบัติซึ่งพระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร) หรือพระสุวรรณรัศมี ได้รวบรวมแต่งไว้เป็นนิทาน 84 เรื่อง ในเล่มนี้ ประกอบด้วย เรื่องที่ 1-16




พระอังคารพระอิศวรทรงสร้างจากกระบือ ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีชมพูหม่น พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษผิวสีทองแดง ทรงกระบือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน เป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ สัญลักษณ์เลข ๓ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘


สุรินทราชา, พระยา.  ความพยาบาท โดย แม่วัน.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  พระนคร: ก้าวหน้า, 2491.        ความพยาบาทเป็นนวนิยายแปลเรื่องแรกของไทยโดย “แม่วัน” ซึ่งเป็นนามปากกาของพระยาสุรินทราชา (นกยูง  วิเศษกุล) ผู้แปลและเรียบเรียงมาจากเรื่อง Vendetta ของนักประพันธ์หญิงชาวอังกฤษชื่อ มารี  คอเรลลี่ ( Marie Correlli )


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/14 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                   54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เงินเจียงอาณาจักรล้านนามีการคิดค้นพัฒนาระบบเงินตราขึ้นเป็นของตัวเอง เรียกว่า “เงินเจียง” โดยทำจากเนื้อเงินผสมสูง ทำให้เป็นเงินตราที่มีค่าสูงสุดของอาณาจักร คำว่า เงินเจียง เรียกตามสำเนียงพื้นเมืองทางภาคเหนือ มาจากคำว่า เชียง ซึ่งเป็นคำหน้าชื่อเมือง.ลักษณะเงินเจียงมีรูปทรงคล้ายเกือกม้าสองวงเชื่อมต่อกัน ตรงกลางระหว่างรอยต่อตอกด้วยสิ่วจนเกือบแยกขาดออกจากกัน เพื่อใช้สำหรับหักครึ่งเมื่อต้องมีการทอนค่าเงินลง และมีการประทับตราลงบนเงิน โดยแบ่งออกเป็น 3 ตรา คือ 1. ชื่อเมือง เพื่อระบุแหล่งที่ผลิตขึ้น จะระบุเป็นตัวอักษรย่อ ตัวอย่างเช่น แสน = เชียงแสน / หม = เชียงใหม่ / นาน = น่าน / คอนหรือดอน = ลำปาง / แพร = แพร่ เป็นต้น 2. ตัวเลขที่ใช้บอกน้ำหนักของเงิน โดยเงินเจียงขนาดใหญ่ หนักเท่ากับ 5 บาทของล้านนา เมื่อเทียบกับเงินพดด้วงของสุโขทัยและอยุธยาแล้วจะหนักเท่ากับ 4 บาท หรือ 1 ตำลึง และแบบขนาดเล็ก หนัก 2 บาทครึ่ง 1 บาท กึ่งบาท และอันละเฟื้อง ตามระบบน้ำหนักมาตรฐานของเงินพดด้วง3. ตราจักรประจำเมือง หรือ ตราของผู้ครองเมือง จะเป็นตราดวงกลม.อ้างอิง- นวรัตน์ เลขะกุล. เงินตราล้านนาและผ้าไท. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2543. หน้า 25, 34-35.- ธนาคารแห่งประเทศไทย. “เงินตราสมัยล้านนา”. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 จาก https://www.bot.or.th/.../Northern/Pages/T-Lannacoin.aspx


Messenger