ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 34,643 รายการ

โบราณสถานวัดชนะสงคราม          โบราณสถานวัดชนะสงคราม หรือโบราณสถานร้าง ก.7 ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย ห่างจากวัดมหาธาตุไปทางทิศเหนือประมาณ 150 เมตร จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่อยู่กลางเมืองสุโขทัย ซึ่งวัดนี้ถือว่าเป็นโบราณสถานขนาดกลาง แผนผังของวัดวางตัวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างภายในวัดคือ          1.เจดีย์ประธานทรงระฆัง ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ลักษณะของเจดีย์เป็นรูปแบบเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือ มีบัวถลา (บัวคว่ำ) 3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นบัวปากระฆัง องค์ระฆัง บัลลังก์ ก้านฉัตรและปลียอด ทั้งนี้ ในส่วนของฐานบัวที่มีการทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่สองเส้น ลักษณะเช่นนี้จะพบอยู่ในศิลปะล้านนา          2.ฐานวิหาร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกหรือทางด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ก่อด้วยอิฐ และมีเสาวิหารกลมก่อด้วยศิลาแลง          3.ฐานโบสถ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ก่อด้วยอิฐ เสาศิลาแลง มีเสมาหินล้อมรอบ และอีกหนึ่งฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันออกถัดจากวิหาร ซึ่งฐานโบสถ์หลังนี้ตั้งอยู่กลางน้ำ โดยใช้น้ำเป็นอุทกเสมา แสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ สันนิษฐานว่าโบสถ์ที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนั้นตั้งขึ้นภายหลังในช่วงสุโขทัยตอนปลาย เนื่องจากมีฐานที่ค่อนข้างสูง ซึ่งนิยมกันในสมัยอยุธยาและมิได้ตั้งอยู่ตามแนวแกนทิศ ซึ่งเป็นแผนผังการสร้างวัดของสุโขทัย          4.ฐานเจดีย์ราย จำนวน 11 ฐาน ตั้งอยู่รายรอบเจดีย์ประธาน ซึ่งมีเจดีย์รายทรงวิมาน 2 องค์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ถือว่าเป็นเจดีย์รายรูปแบบพิเศษ เนื่องจากพบเพียงไม่กี่องค์          5.กำแพงแก้ว ล้อมรอบวิหารและเจดีย์ประธาน ในปัจจุบันเหลือเพียงด้านทิศตะวันออกและทิศใต้บางส่วนเท่านั้น          วัดชนะสงครามนี้ไม่ปรากฏหลักฐานชื่อวัดในศิลาจารึก แต่ปรากฏชื่อวัดในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาททสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงวัดชนะสงครามว่า “...แต่ทางทิศเหนือวัดมหาธาตุ ริมวัดที่เรียกกันว่าวัดชนะสงครามนั้น...” .          เอกสารอ้างอิง1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร, 2561.2.ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562. 3.ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย ประมวลศิลปกรรมโบราณเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.4.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เที่ยวเมืองพระร่วง, กรุงเทพฯ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มล.ซ้ง สนิทวงศ์, 2520.


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรมศิลปากร ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ “Blossoming Curiosity: Indonesia – Thailand Collaborative Painting Exhibition” ระหว่างวันที่ 4 – 29 ตุลาคม 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป             “Blossoming Curiosity: Indonesia – Thailand Collaborative Painting Exhibition” เป็นนิทรรศการแสดงผลงานจิตรกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐอินโดนีเซียและประเทศไทย ครั้งที่ 2 โดยในปีนี้มีศิลปินชาวอินโดนีเซีย 10 คน นำภาพเขียนหลากหลายเทคนิคมาร่วมแสดงผลงานกับศิลปินไทยอีก 10 คน เช่น ธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2553 และสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2560 นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายรัคมัต บูดีมัน (H.E. Mr. Rachmat Budiman) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เป็นศิลปินรับเชิญร่วมแสดงผลงานอีกด้วย              โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนายรัคมัต บูดีมัน (H.E. Mr. Rachmat Budiman) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการเมื่อวันวันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566             นิทรรศการ “Blossoming Curiosity: Indonesia – Thailand Collaborative Painting Exhibition” จัดแสดงตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท (* นักเรียน นักศึกษา ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และนักบวชทุกศาสนา เข้าชมฟรี )






ขั้นตอนซื้อบัตรเข้าชมการแสดงโรงละครแห่งชาติมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ - ขั้นที่ 1 เลือกการแสดง เลือกการแสดงที่ต้องการในหน้าแรก โดยกดปุ่มที่ “ซื้อบัตร” หรือ เลือกที่ เมนูการแสดง แล้วเลือกการแสดงที่ต้องการ โดยการกดที่ “ชื่อเรื่องการแสดง” - ขั้นที่ 2 เลือกรอบวันที่การแสดง เลือกการรอบแสดงที่ต้องการ โดยกดปุ่มที่ “ซื้อบัตร” - ขั้นที่ 3 เลือกที่นั่ง เลือกที่นั่งที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ “สั่งซื้อบัตร” - ขั้นที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้อง ตรวจสอบความถูกต้องของรายการ ก่อนทำการชำระเงิน - ขั้นที่ 5 ชำระเงิน โอนเงินเข้าบัญชี 027-0-296840 ธนาคาร กรุงไทย สาขาถนนข้าวสาร ชื่อบัญชี เงินทุนหมุนเวียนการสังคีต เพื่อรับเงิน สามารถชำระเงินที่ เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา จากนั้นทำการถ่ายหลักฐานแล้วอัพโหลดรูปเข้าระบบพร้อมกับพิมพ์เลขที่อ้างอิง จากนั้นคลิกที่ “ยืนยันการชำระเงิน” - ขั้นที่ 6 พิมพ์บัตรเข้าชมการแสดง จากนั้นเลือก “พิมพ์บัตรชมการแสดง” ในระบบสามารถพิมพ์ได้ทันทีหรือสามารถบันทึกเป็นไฟล์เพื่อพิมพ์ภายหลัง และบันทึกเป็นรูปภาพไว้ให้เจ้าหน้าที่หน้าโรงละครตรวจสอบก่อนเข้าโรงละครได้ทันที




พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน   ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet   ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ




กิจกรรมนิทรรศการเคลื่อนที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ บริเวณ หนองศรีเจริญ ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี