ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,871 รายการ

ผู้แต่ง : สวาท ณ น่าน ปีที่พิมพ์ : 2538 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.     การรวบรวมรายละเอียดที่เกี่ยวกับตระกูล ณ น่าน ในหนังสือเล่มนี้จะทำให้เจ้านาย บุตรหลาน เชื้อวงศ์ของเจ้าผู้ปกครองนครน่าน ได้รับทราบไว้ว่าต้นตระกูลเป็นมาอย่างไร และจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจเรื่องของวงศ์ตระกูล ณ น่าน หนังสือเล่มนี้ถูกจัดทำขึ้นมาซึ่งไม่เคยมีผู้ใดจัดทำมาก่อน การค้นคว้าเรียบเรียงของหนังสือเล่มนี้ได้อาศัยพงศาวดารเมืองน่านเป็นหลักและความทรงจำที่มีอยู่ประกอบกับการบอกเล่า





เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น สถานที่ : เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นติดต่อ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ไม่เสียค่าใช้จ่าย


วันเด็กแห่งชาติ ณ บริเวณสวนนกชัยนาท  และบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี      


โครงการหอสมุดแห่งชาติสู่สถานศึกษาและชุมชน ครั้งที่ ๑   ณ โรงเรียนวิเชียรมาตุ ๒  อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง   เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓


พระพุทธรูปยืน เลขทะเบียน   ๐๙/๑๕/๒๕๓๒ ศิลปะทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔- ๑๕ หินทราย  ขนาด สูง ๑๕๕ เซนติเมตร กว้าง  ๕๒ เซนติเมตร   พบที่ บ้านดอนขวาง  ตำบลทัพรั้ง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา           ประติมากรรมชิ้นนี้พบที่บ้านดอนขวาง หมู่ ๓ ตำบลทัพรั้ง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา โดยกรมทหารช่างที่ ๑๑  ชุดปฏิบัติการที่ ๒ โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง  (อีสานเขียว) ในขณะขุดลอก   ลำห้วยยาง พบเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๒ และมอบให้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์           พระพุทธรูปยืน พระองค์ตั้งตรง พระหัตถ์และพระบาทหักหายไปทั้งสองข้าง พระเศียรและพระชงฆ์หักเป็นสองท่อนต่อไว้ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงนูนต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรนูนเหลือบมองต่ำ พระนาสิกได้รูป พระโอษฐ์สลักเป็นร่องลงไปและแสดงอาการยิ้ม พระกรรณค่อนข้างยาว ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดขนาดใหญ่ อุษณีษะนูนขึ้นมา บริเวณพระกรสลักเป็นร่องสำหรับนำเดือยส่วนพระหัตถ์ที่หักหายไปแล้วนั้น มาสวมเข้ากันอีกที ทรงแสดงปางวิตรรกะ (ประทานธรรม) ครองจีวรห่มคลุม ขอบจีวรด้านหน้าตกลงมาเป็นวงโค้งเหนือขอบสบง ซึ่งตกลงมาตรงๆ ถึงข้อพระบาท ส่วนขอบจีวรด้านข้างผายออกทั้งสองด้านแสดงความได้สัดส่วนอย่างแท้จริง สำหรับพระพุทธรูปแบบทวารวดีมักสลักด้วยศิลา แต่ที่หล่อด้วยสำริดก็มีบ้างเช่นกัน    ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก           ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ วัฒนธรรมทวารดีเจริญแพร่หลายอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาหลักและได้แผ่ขยายเข้ามาสู่ภาคอีสาน และคงอยู่จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งวัฒนธรรมทวารวดีนั้นได้รับต้นแบบจากประเทศอินเดีย เช่น ศิลปะอมราวดี ศิลปะคุปตะ และได้ถูกผสมผสานเข้ากับศิลปะท้องถิ่น    Standing Buddha Image Registration No. 09/15/2532 Dvaravati Style, ca. 9th - 10th century Sandstone, Height 155 cm. Width 52 cm.             Found by 11th engineer regiment while dredging the Lum Huay Yang (Yang canal) at Ban Donkhwang, Tap-rang sub-district, Noenthai district, Nakhon Ratchasima Province on 11th May 1989. It was later transferred to the Maha Viravong National Museum.           The Buddha is standing in the upright position, with both hands missing. The standing Buddha is in the double Vitarkamudra. His face is slightly square, the eyebrows connect above the nose, eyes are downcast, he has a small nose, smiling lip and long ears (now missing). Hair is in large curls with a cone-shaped knot. The robe is worn on both shoulders. The outer edge falls from the wrists in a curved line and is u-shaped above the shins.           In about the 7th century Theravada Buddhism practiced by the Dvaravati people from the central Chao Phraya basin, was a religion held in high esteem on the Isan Plateau until circa 11th century, ca. The Dvaravati style derived from Indian archetypes such as Amaravati and Gupta styles, and was integrated with local style.




          ชื่อเรื่อง : โลกในนิทรรศการ     ผู้เขียน : สฤณี อาชวานันทกุล     สำนักพิมพ์ : แซลมอน     ปีพิมพ์ : ๒๕๖๑     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๒๙๘-๔๑๐-๕     เลขเรียกหนังสือ : ๐๖๙.๕ ส๓๕๗ล     ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : "โลกในนิทรรศการ" ผลงานของเจ้าของเพจเฟซบุ๊กชื่อว่า "โลกในนิทรรศการ" ที่มีความชื่นชอบการท่องเที่ยวชมนิทรรศการ โดยผู้เขียนได้นำเสนอชิ้นงานจากนิทรรศการทั่วโลกที่น่าสนใจมากกว่า 100 ชิ้น เล่าเรื่องราวความเป็นมาเชื่อมโยงไปถึงประวัติศาสตร์ พร้อมภาพประกอบได้อย่างน่าติดตาม ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดของโลกในนิทรรศการนี้จะทำให้ ผู้อ่านได้รับรู้ความรู้สึกเหมือนกำลังก้าวเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่นำพาให้ย้อนเวลากลับไปเห็นความเป็นมาของโลก ร่องรอยของยุคสมัยเก่าก่อน และอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้อ่านเกิดแรงบันดาลใจอยากไปเยือนพิพิธภัณฑ์หรือสถานที่ต่างๆ ที่นำมาเสนอสักครั้งในชีวิต



ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ เป็นหนังสือเก็บรวบรวมสุภาษิตจากหนังสือเรื่องต่างๆ ที่สุนทรภู่แต่งไว้ ส่วสุภาษิตสอนสตรีนั้น สุนทรภู่เห็นจะแต้งเมื่อราวระหว่าง พ.ศ. 2380 จน พ.ศ. 2383 ในเวลาสึกกลับออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลงลอยเรืออยู่


สาระสังเขป  :  หนังสือว่าด้วยมนุษยธรรม 4 ประการ ว่าโดยอาการแยกได้เป็น 4 ประการ คือ นิรัสสาสกธรรม (ธรรมเครื่องหายใจออกอย่างที่เท่ากับไม่ได้หายใจออกเลย)1  ทุรัสสาสกธรรม (ธรรมเครื่องหายใจออกอย่างชั่ว)1 สวาสสาสกธรรม (ธรรมเครื่องหายใจออกอย่างดี)1 และปรมัสสาสกธรรม (ธรรมเครื่องหายใจออก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง)1 ผู้แต่ง  :  จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระโรงพิมพ์  :  เชียงเฮงปีที่พิมพ์  :  2478 ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.30ร.9377จบเลขหมู่  :  923.1593              จ196อ


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    พุทธศาสนา -- บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


Messenger