ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,347 รายการ



ตำรายารักษาโรค ชบ.ส. ๑๒๑ พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0 เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.34/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)





          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานและการอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอาน” วิทยากรโดย นายปฏิวัติ ทุ่ยอ้น สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม และนางพวงพร ศรีสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร           รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ติดตามชมได้ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ - กันยายน ๒๕๖๔


องค์ความรู้เรื่อง ก้าวแรกของไทยไปงานมหกรรมโลก                งานมหกรรมโลก (World Exposition) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่างาน Expo ถือเป็นงานแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและดำเนินการจัดมายาวนานกว่า ๑๖๙ ปี  จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ. ๑๘๕๑) ณ คริสตัล พาเลซ  กรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ  ต่อมาเป็นงานระดับนานาชาติที่ดำเนินการจัดทุก ๆ ๕ ปี มีระยะเวลาราว ๖ เดือน  โดยหมุนเวียนประเทศเจ้าภาพในหมู่ประเทศภาคีสมาชิกทั้งในทวีปยุโรป  อเมริกา  และเอเชีย  งานมหกรรมโลกถือเป็นเวทีที่แสดงศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์  เพื่อการนำเสนอนวัตกรรม  และความเจริญก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการจากนานาประเทศ  อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ร่วมเรียนรู้พัฒนาการของศาสตร์แขนงต่างๆ  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น  มรดกทางวัฒนธรรม  และประวัติศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก                 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๔  พระองค์มีพระบรมราโชบายในการเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก  มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบนานาอารยประเทศ  ตลอดจนมีการทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์ (Treaty of Friendship and Commerce) กับประเทศต่างๆ  โดยเริ่มจากประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก ใน พ.ศ. ๒๓๙๘  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามว่า  “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ต่อมาจึงมีการตกลงทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับประเทศอื่น ๆ อีกรวม ๑๓ ประเทศ                         การที่อังกฤษและไทยมีไมตรีต่อกันนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญให้ไทยได้เข้าร่วมในงานมหกรรมโลกเป็นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๐๕ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดสิ่งของต่าง ๆ ไปร่วมจัดแสดง ประกอบด้วย พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ชุดพานทอง ชุดโตกไม้  และเครื่องกระเบื้องหลายชิ้น ฯลฯ แม้ว่ารายละเอียดเกี่ยวข้องกับสิ่งของที่นำไปจัดแสดงและเอกสารที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าร่วมงานในครั้งนี้จะมีไม่มากนัก  แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดคือ ภาพถ่ายธงช้างเผือกของประเทศสยามที่ปรากฏอยู่ในภาพงานมหกรรมโลกในครั้งนั้น                  ครั้นต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๐ ประเทศฝรั่งเศสได้มีหนังสือเชิญให้ประเทศไทยเข้าร่วมงานมหกรรมโลกอย่างเป็นทางการที่กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส  (Paris Exposition Universelle  1867) โดยงานจัดขึ้น ณ ชองป์ เดอ มารส์ (Champ de Mars) ซึ่งเป็นลานสวนสนามในประวัติศาสตร์ใจกลางกรุงปารีส ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๐ มีประเทศต่าง ๆ รวม ๔๑ ประเทศและอาณานิคมอื่น ๆ อีกราว ๓๓ แห่ง เข้าร่วมจัดแสดง ภายในงานมีส่วนจัดแสดงนวัตกรรมและสิ่งของแปลกใหม่จากทั่วทุกมุมโลก  นำเสนอความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ  และมีร้านค้าจำนวนมากจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกจากประเทศต่างๆ นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้จัดแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่และสร้างศาลาไทยตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม  มีรูปปั้นช้างเป็นสัญลักษณ์ปรากฏอยู่โดดเด่นที่ด้านหน้า สำหรับแนวคิดตลอดจนสิ่งของต่างๆที่นำไปออกร้านจัดแสดง ณ ศาลาไทย  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้พระสยามธุรานุรักษ์ (ม.เดอเกรอัง) กงสุลไทยประจำกรุงปารีส เป็นผู้แทนพระองค์ดำเนินการทั้งหมด ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือ เรื่อง “ราชอาณาจักรสยาม ในงานแสดงศิลปหัตถกรรม ณ ชองป์ เดอ มารส์ พ.ศ.๒๔๒๑” (กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่า บรรดาสิ่งของที่นำไปจัดแสดงนอกเหนือจากพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีของส่วนพระองค์และของพระราชทานอีกหลายรายการ ได้แก่ เชี่ยนหมากทองคำ  เครื่องมุกที่เป็นงานประณีตศิลป์ ของไทย  แจกันลงยา  ผ้าไหม  โบราณวัตถุและศิลปวัตถุหลายรายการ และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ  นอกจากนี้ ยังมีงานหัตถกรรมชิ้นเยี่ยมอีกเป็นจำนวนมาก                   ในโอกาสเข้าร่วมงานมหกรรมโลกครั้งนี้ประเทศไทยได้รับรางวัลเหรียญทองเชิดชูเกียรติจากการประกวดสินค้าพื้นเมือง  และรางวัลเกียรติยศจากการแสดงเรือพระที่นั่งจำลอง  นับเป็นความภาคภูมิใจและเป็นมิติใหม่ที่น่ายินดียิ่งและส่งผลให้ประเทศไทยได้เป็นที่รู้จักในเวทีโลกกล่าวกันว่าการแสดงนิทรรศการที่ศาลาไทยแห่งนี้เป็นที่ประทับใจของบรรดาชาวยุโรปที่ได้มีโอกาสสัมผัสความงดงามของศิลปวัฒนธรรมจากดินแดนตะวันออกไกลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ---------------------------------------------- เรียบเรียงโดย นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ   กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์




ชื่อเรื่อง                         ท้าวเต่าคำ (ท้าวเต่าคำ)   สพ.บ.                           383/1หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทย-อีสานหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    นิทา่นคติธรรม                                    นิทานชาดกประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    68 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง ตามรอยกระเบื้องดินเผาด่านเกวียน   นับเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ที่อาคารหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ยังคงความสวยงามและร่วมสมัย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตัวอาคารได้มีการตกแต่งด้วย "กระเบื้องดินเผาด่านเกวียน" ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถแสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวจังหวัดนครราชสีมาได้เป็นอย่างดี      




‘เรือโบราณพนมสุรินทร์’ ร่องรอยประวัติศาสตร์การค้าทางทะเล อุษาคเนย์-อาหรับ . ซากเรือโบราณพนมสุรินทร์ถูกค้นพบบริเวณนากุ้ง ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงเดือนกันยายน ปี 2556 หลังจากสองสามีภรรยาเจ้าของที่ดินเดิมได้ขุดเจอโครงสร้างไม้ประหลาดเข้าโดยบังเอิญ จึงเรียกชาวบ้านละแวกนั้นให้มาช่วยกันนำไม้ขึ้นมา ก่อนจะกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศ เมื่อนักโบราณคดียืนยันว่าเป็นชิ้นส่วนของเรือโบราณอายุนับพันปี . ณภัทร ภิรมย์รักษ์ ผู้ช่วยนักโบราณคดี ประจำกองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เผยว่า สำนักศิลปากรที่ 1 ร่วมกับกองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ได้เริ่มสำรวจ-ขุดค้นพื้นที่ที่พบซากเรือโบราณมาตั้งแต่ปี 2556 จวบจนปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 8 ปีแล้ว จากการดำเนินงานพบว่าเรือลำนี้ใช้เทคนิคการต่อเรือแบบอาหรับ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในแถบทะเลอาหรับ เทคนิคนี้เริ่มด้วยการขึ้นโครงสร้างเปลือกเรือก่อน โดยมีเอกลักษณ์ที่การนำแผนไม้กระดานมาประกบกันแล้วจึงเจาะรูและเย็บติดกันด้วยเชือกในลักษณะกากบาท ส่วนรอยต่อเรือมีการตอกหมันและชันยาเรือ ซากเรือแบบนี้เคยพบแค่แห่งเดียวในประเทศเพื่อนบ้าน คือบริเวณเกาะเบลิตุง ประเทศอินโดนีเซีย . จากการค้นพบสิ่งของบนเรือและส่งตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ไปประเมินพบว่า เรือลำนี้มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 หรือประมาณ พ.ศ. 1300-1400 ร่วมสมัยกับยุคทวารวดี โดยโบราณวัตถุที่พบเจอในซากเรือนั้นมาจากหลายพื้นที่ เช่น ภาชนะดินเผาแบบตอร์ปิโด พบมากแถบตะวันออกกลาง ภาชนะดินเผาแบบเปอร์เซีย ภาชนะดินเผาพื้นเมืองแบบทวารวดี และเครื่องถ้วยจากจีน คาดการณ์ว่าเรือลำนี้อาจเป็นเรือเดินสมุทรที่ติดต่อค้าขายกันระหว่างดินแดนแถบคาบสมุทรอาระเบีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าของดินแดนในแถบนี้กับภูมิภาคตะวันออกกลางและจีน . นอกจากภาชนะดินเผา สิ่งสำคัญที่พบเจอคือหมาก ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคนั้น คาดว่าเรือลำนี้กำลังเดินทางออกจากดินแดนอุษาคเนย์ โดยนำเอาภาชนะถ้วยชามรามไห พืชพรรณธัญญาหาร และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในดินแดนแถบนี้กลับไปด้วย . สาเหตุที่ตั้งชื่อเรือว่า ‘เรือพนมสุรินทร์’ มาจาก นางพนมและนายสุรินทร์ ศรีงามดี สองสามีภรรยาเจ้าของที่ดินผู้ขุดค้นเจอและบริจาคที่ดินให้กรมศิลปากรเพื่อการศึกษาวิจัย จึงตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่พวกเขา . แหล่งข้อมูล: กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร . เรื่องและภาพ: วิศรุต วีระโสภณ